เอแบคโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไรต่อการใช้จ่ายงบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง

ข่าวผลสำรวจ Monday May 31, 2010 07:41 —เอแบคโพลล์

สำนักวิจัยวิจัยเอแบคโพลล์ (ABAC POLL) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อการใช้จ่ายงบ ประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ มหานคร ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ ปราจีนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี หนองคาย สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ ธานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 1,137 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 - 29 พฤษภาคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 คิดว่ารัฐบาลมีงบประมาณจำกัด ในขณะที่ร้อยละ 26.1 คิดว่ารัฐบาลมีงบประมาณไม่จำกัด อย่างไร ก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.6 คิดว่ารัฐบาลควรใช้งบประมาณเข้าไปช่วยเหลือชดเชยเมื่อเกิดการเผาทำลายสถานที่ราชการอาคารบ้าน เรือนต่างๆ

และเมื่อถามถึงผลเสียจากการที่รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือชดเชยกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 71.8 คิดว่าจะทำให้งบประมาณของรัฐบาลที่ใช้ในการบริหารประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.2 ยังคงคิดว่า รัฐบาลควรใช้ งบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเสียหายจากภัยธรรมชาติ

แต่เมื่อเกิดเหตุจลาจลขึ้นและรัฐบาลต้องใช้งบประมาณไปแก้ปัญหา จึงส่งผลให้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 คิดว่าชาวบ้าน เกษตรกรก็จะได้รับความเดือดร้อน ถ้างบประมาณของรัฐบาลมีไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือเยียวยาจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น

และเมื่อถามว่า อย่างไหนที่คนไทยจะช่วยกันป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้จนทำให้งบประมาณรัฐบาลลดลง และประชาชนคนไทยเดือด ร้อน ระหว่างภัยอันตรายจากปัญหาความไม่สงบ กับ ปัญหาภัยจากธรรมชาติ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.5 คิดว่าคนไทยจะช่วยกันป้องกัน ภัยจากความไม่สงบได้มากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 19.5 ระบุช่วยกันป้องกันภัยธรรมชาติได้มากกว่า

เมื่อถามถึงความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรณรงค์ให้คนไทยรักกันและช่วยกันป้องกันปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้นในสังคมพบว่า ร้อยละ 51.7 พร้อมช่วยรณรงค์และจะชักชวนคนอื่นๆ ให้รักกัน และร้อยละ 24.3 พร้อมช่วยรณรงค์ ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ไม่พร้อม และร้อยละ 10.4 ไม่ พร้อมและจะบอกให้คนอื่นอยู่แบบตัวใครตัวมัน

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 ไม่เชื่อมั่นต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐในการรับแจ้งเหตุร้าย ว่าจะทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวดเร็วทันสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชนได้ ในขณะที่ 42.7 เชื่อมั่น

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.1 คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังรักกันและอยากอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ในขณะที่ร้อยละ 26.9 คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่รักกันแล้ว

แต่เมื่อวิเคราะห์ระดับความสุขมวลรวมของคนไทยทั้งประเทศประจำเดือนพฤษภาคมนี้ พบว่า มีแนวโน้มลดลงจาก 7.15 ในเดือน มีนาคม มาอยู่ที่ 6.46 ในเดือนพฤษภาคม

นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 เห็นด้วยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ร้อยละ74.9 อยากเห็นการอภิปรายเชิง สร้างสรรค์หาทางออกของประเทศ แต่ร้อยละ 51.8 กังวลว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหม่

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 45.1 เป็นชาย

ร้อยละ 54.9 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 27.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 67.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 24.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 7.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 19.4 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 12.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.1 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 1.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลไทยที่มีอยู่
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          คิดว่ารัฐบาลมีงบประมาณจำกัด             73.9
2          ไม่จำกัด                             26.1
          รวมทั้งสิ้น                            100.0


ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าไปช่วยเหลือชดเชย
เมื่อเกิดการเผาทำลายสถานที่ราชการอาคารบ้านเรือนต่างๆ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          คิดว่ารัฐบาลควรเข้าไปช่วยเหลือชดเชย      87.6
2          ไม่ควรช่วยเหลือ                       12.4
          รวมทั้งสิ้น                            100.0


ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่องบประมาณในการบริหารประเทศเมื่อรัฐบาล
เข้าไปช่วยเหลือชดเชยกลุ่มคนที่สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                               ค่าร้อยละ
1          คิดว่าจะทำให้งบประมาณในการบริหารประเทศลดลง         71.8
2          ไม่ลดลง                                         28.2
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0


ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการช่วยเหลือชดเชยให้กับเกษตรกร กรณีเกิดภัยธรรมชาติ
ที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย หรือทำลายพื้นที่เพาะปลูก
ลำดับที่          ความคิดเห็น                              ค่าร้อยละ
1          คิดว่ารัฐบาลควรเข้าไปช่วยเหลือ                     89.2
2          ไม่ควรช่วยเหลือ                                 10.8
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0


ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับความเดือดร้อนของชาวบ้าน/เกษตรกรหากงบประมาณ
ในการช่วยเหลือชดเชยไม่เพียงพอ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                              ค่าร้อยละ
1          คิดว่าชาวบ้าน/เกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อน          84.5
2          ไม่เดือดร้อน                                    15.5
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคนไทยในการช่วยกันป้องกันการก่อความไม่สงบจากการชุมนุม
กับการช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ
ลำดับที่                    ความคิดเห็น                              ค่าร้อยละ
1          คิดว่าคนไทยจะช่วยป้องกันความไม่สงบจากการชุมนุมได้มากกว่า         80.5
2          ช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ ได้มากกว่า                             19.5
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0


ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรณรงค์ให้คนไทยรักกัน และช่วยป้องกันปัญหา
ความไม่สงบเกิดขึ้นในสังคมไทย
ลำดับที่          ความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรณรงค์ให้คนไทยรักกัน          ค่าร้อยละ
1          ไม่พร้อม และจะบอกคนอื่นให้อยู่กันแบบตัวใครตัวมัน                   10.4
2          ไม่พร้อม                                                  13.6
3          พร้อมช่วยรณรงค์                                            24.3
4          พร้อมช่วยรณรงค์ และจะชักชวนคนอื่นๆ ให้รักกัน                     51.7
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0


ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐในการรับแจ้งเหตุร้ายว่า
จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันสถานการณ์
ลำดับที่       ความคิดเห็น                   ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่น                          42.7
2          ไม่เชื่อมั่น                        57.3
          รวมทั้งสิ้น                        100.0


ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศในการรักและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศในการรักและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ     ค่าร้อยละ
1          คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังรักกันและอยากอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข                        73.1
2          คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่รักกันแล้ว                                            26.9
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

ตารางที่  10  แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน  จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม   มี.ค.  เม.ย.52   ต้น     ก.ค.   ส.ค.  ต้นต.ค.  พ.ย.52  ปลาย   ม.ค.  ต้นมี.ค.  ปลาย
   ของคนไทยภายในประเทศ                   มิ.ย.52                               ธ.ค.52               พ.ค.53
(Gross Domestic Happiness) 6.18   7.17    7.15    5.92   7.18   6.83    7.52   7.26   6.52   7.15   6.46

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล    ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                                         63.2
2          ไม่เห็นด้วย                                       36.8
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0


ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลักษณะการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ประชาชนอยากเห็น
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อลักษณะการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ประชาชนอยากเห็น          ค่าร้อยละ
1          อยากเห็นการอภิปรายเชิงสร้างสรรค์หาทางออกของประเทศ                     74.9
2          ไม่คิดเช่นนั้น                                                         4.3
3          ไม่มีความเห็น                                                       20.8
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0

ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหม่
ลำดับที่          ความกังวลต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหม่   ค่าร้อยละ
1          กังวล                                                             51.8
2          ไม่กังวล                                                           48.2
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ