สำรวจผลกระทบของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
ที่มาของโครงการ
ภายหลังจากเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยได้เกิดขึ้น ประชาชนทุกหมู่เหล่าต่างแสดงความเศร้าเสียใจต่อการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศ เหตุการณ์อันไม่คาดคิดเช่นนี้ทำให้เกิดกระแสความคิดที่หลากหลายเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อร่างกายและจิตใจของประชาชนผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของตน นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่หลายๆ ฝ่ายควรพิจารณา คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ในการทำงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และการสร้างระบบเตือนภัยพิบัติแบบครบวงจร เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดในหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้
2.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนในการทำงานแก้ไขปัญหาภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ
3.เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจผลกระทบของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2547 — 2 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง(purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,288 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 14.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 11.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.3 ระบุอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียนอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ ร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 67.2
2 ติดตามบางวัน 32.4
3 ไม่ได้ติดตามเลย 0.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเศร้าเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
ลำดับที่ ความเศร้าเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ ร้อยละ
1 เศร้าสลดใจมาก 66.2
2 ค่อนข้างมาก 30.3
3 ค่อนข้างน้อย 2.2
4 น้อย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 ต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ 82.1
2 ไม่ต้องการ 5.5
3 ไม่มีความเห็น 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อรัฐบาลโดยภาพรวมในการแก้ปัญหาคลื่นยักษ์
ลำดับที่ ความพอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 53.2
2 ค่อนข้างพอใจ 24.3
3 ไม่ค่อยพอใจ 15.6
4 ไม่พอใจ 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อรัฐบาลโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 44.8
2 ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง (เท่าเดิม) 31.1
3 ลดลง 11.8
4 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 54.1
2 ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง (เท่าเดิม) 23.6
3 ลดลง 10.3
4 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้าราชการ นักการเมือง และหน่วยงานที่ประชาชนประทับใจในการทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้าราชการ นักการเมือง และหน่วยงานที่ประชาชน ร้อยละ
ประทับใจในการทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
1 พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 61.7
2 บุคลากรของหน่วยกู้ภัย 58.4
3 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 53.8
4 ทหาร เหล่าทัพต่างๆ 49.2
5 สื่อมวลชน 46.4
6 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 38.1
7 มหาวิทยาลัยต่างๆ 36.9
8 บุคลากรของกรมสุขภาพจิต 35.0
9 คณะแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ 31.1
10 อื่นๆ อาทิ นายสุวิทย์ คุณกิตติ /
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ / ตำรวจ /
องค์การระหว่างประเทศ / องค์กรการกุศลต่างๆ ฯลฯ 36.2
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสภาวะเศรษฐกิจในอีก ร้อยละ
6 เดือนข้างหน้า
1 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 18.7
2 ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง (เท่าเดิม) 36.8
3 เชื่อมั่นลดลง 40.2
4 ไม่มีความเห็น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อสินค้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า เช่น รถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชน ร้อยละ
1 ตั้งใจจะซื้อ 12.8
2 ไม่คิดจะซื้อ 87.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง เป็นต้น
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชน ร้อยละ
1 ตั้งใจจะซื้อ 24.3
2 ไม่คิดจะซื้อ 75.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเก็บออมเงินฝากธนาคาร
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชน ร้อยละ
1 ตั้งใจจะเก็บออมเงินฝากธนาคาร 73.8
2 ไม่คิดจะเก็บออม 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สำรวจผลกระทบของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,288 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2547 — 2 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 67.2 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ทุกวัน ร้อยละ 32.4 ติดตามบางวัน และร้อยละ 0.4 ไม่ได้ติดตามเลย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 66.2 รู้สึกเศร้าเสียใจมาก ร้อยละ 30.3 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 2.2 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 1.3 ระบุมีความรู้สึกเศร้าใจน้อย
สำหรับความต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ นั้น ร้อยละ 82.1 ต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ ร้อยละ 5.5 ระบุไม่ต้องการ และร้อยละ 12.4 ไม่มีความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 53.2 ระบุพอใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาคลื่นยักษ์ ร้อยละ 24.3 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 15.6 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 6.9 ระบุไม่พอใจต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง คือ ตัวอย่างร้อยละ 44.8 ระบุมีความนิยมต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.1 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 11.8 ระบุลดลง และร้อยละ 12.3 ไม่มีความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 54.1 ระบุมีความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.6 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 10.3 ระบุลดลง และร้อยละ 12.0 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อข้าราชการ นักการเมือง และหน่วยงานที่ประทับใจในการทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละ 61.7 ระบุประทับใจ พ.ญ. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ร้อยละ 58.4 ระบุบุคลากรของหน่วยกู้ภัย และร้อยละ 53.8 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
สำหรับความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า นั้น ตัวอย่างร้อยละ 40.2 มีความ เชื่อมั่นลดลง ร้อยละ 36.8 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 18.7 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 4.3 ระบุไม่มีความเห็น ทั้งนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อสินค้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า เช่น รถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ พบว่า ร้อยละ 87.2 ยังไม่คิดจะซื้อสินค้าเหล่านี้ และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึง ความตั้งใจจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.7 ยังไม่คิดจะซื้อสินค้าดังกล่าว ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 73.8 มีความตั้งใจจะเก็บออมเงินฝากธนาคาร
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และ คณะผู้วิจัย โทร.0-1-621-4526 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.com หรือ www.websurvey.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-
ที่มาของโครงการ
ภายหลังจากเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยได้เกิดขึ้น ประชาชนทุกหมู่เหล่าต่างแสดงความเศร้าเสียใจต่อการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศ เหตุการณ์อันไม่คาดคิดเช่นนี้ทำให้เกิดกระแสความคิดที่หลากหลายเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อร่างกายและจิตใจของประชาชนผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของตน นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่หลายๆ ฝ่ายควรพิจารณา คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ในการทำงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และการสร้างระบบเตือนภัยพิบัติแบบครบวงจร เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดในหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้
2.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนในการทำงานแก้ไขปัญหาภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ
3.เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจผลกระทบของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2547 — 2 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง(purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,288 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 14.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 11.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.3 ระบุอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียนอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ ร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 67.2
2 ติดตามบางวัน 32.4
3 ไม่ได้ติดตามเลย 0.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเศร้าเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
ลำดับที่ ความเศร้าเสียใจต่อเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ ร้อยละ
1 เศร้าสลดใจมาก 66.2
2 ค่อนข้างมาก 30.3
3 ค่อนข้างน้อย 2.2
4 น้อย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 ต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ 82.1
2 ไม่ต้องการ 5.5
3 ไม่มีความเห็น 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อรัฐบาลโดยภาพรวมในการแก้ปัญหาคลื่นยักษ์
ลำดับที่ ความพอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 53.2
2 ค่อนข้างพอใจ 24.3
3 ไม่ค่อยพอใจ 15.6
4 ไม่พอใจ 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อรัฐบาลโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 44.8
2 ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง (เท่าเดิม) 31.1
3 ลดลง 11.8
4 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 54.1
2 ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง (เท่าเดิม) 23.6
3 ลดลง 10.3
4 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้าราชการ นักการเมือง และหน่วยงานที่ประชาชนประทับใจในการทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้าราชการ นักการเมือง และหน่วยงานที่ประชาชน ร้อยละ
ประทับใจในการทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้
1 พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 61.7
2 บุคลากรของหน่วยกู้ภัย 58.4
3 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 53.8
4 ทหาร เหล่าทัพต่างๆ 49.2
5 สื่อมวลชน 46.4
6 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 38.1
7 มหาวิทยาลัยต่างๆ 36.9
8 บุคลากรของกรมสุขภาพจิต 35.0
9 คณะแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ 31.1
10 อื่นๆ อาทิ นายสุวิทย์ คุณกิตติ /
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ / ตำรวจ /
องค์การระหว่างประเทศ / องค์กรการกุศลต่างๆ ฯลฯ 36.2
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสภาวะเศรษฐกิจในอีก ร้อยละ
6 เดือนข้างหน้า
1 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 18.7
2 ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง (เท่าเดิม) 36.8
3 เชื่อมั่นลดลง 40.2
4 ไม่มีความเห็น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อสินค้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า เช่น รถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชน ร้อยละ
1 ตั้งใจจะซื้อ 12.8
2 ไม่คิดจะซื้อ 87.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง เป็นต้น
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชน ร้อยละ
1 ตั้งใจจะซื้อ 24.3
2 ไม่คิดจะซื้อ 75.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเก็บออมเงินฝากธนาคาร
ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชน ร้อยละ
1 ตั้งใจจะเก็บออมเงินฝากธนาคาร 73.8
2 ไม่คิดจะเก็บออม 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สำรวจผลกระทบของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,288 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2547 — 2 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 67.2 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ทุกวัน ร้อยละ 32.4 ติดตามบางวัน และร้อยละ 0.4 ไม่ได้ติดตามเลย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 66.2 รู้สึกเศร้าเสียใจมาก ร้อยละ 30.3 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 2.2 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 1.3 ระบุมีความรู้สึกเศร้าใจน้อย
สำหรับความต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ นั้น ร้อยละ 82.1 ต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างระบบเตือนภัยพิบัติ ร้อยละ 5.5 ระบุไม่ต้องการ และร้อยละ 12.4 ไม่มีความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 53.2 ระบุพอใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาคลื่นยักษ์ ร้อยละ 24.3 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 15.6 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 6.9 ระบุไม่พอใจต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง คือ ตัวอย่างร้อยละ 44.8 ระบุมีความนิยมต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.1 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 11.8 ระบุลดลง และร้อยละ 12.3 ไม่มีความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 54.1 ระบุมีความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.6 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 10.3 ระบุลดลง และร้อยละ 12.0 ระบุไม่มีความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อข้าราชการ นักการเมือง และหน่วยงานที่ประทับใจในการทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละ 61.7 ระบุประทับใจ พ.ญ. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ร้อยละ 58.4 ระบุบุคลากรของหน่วยกู้ภัย และร้อยละ 53.8 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
สำหรับความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า นั้น ตัวอย่างร้อยละ 40.2 มีความ เชื่อมั่นลดลง ร้อยละ 36.8 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 18.7 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 4.3 ระบุไม่มีความเห็น ทั้งนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อความตั้งใจจะใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อสินค้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า เช่น รถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ พบว่า ร้อยละ 87.2 ยังไม่คิดจะซื้อสินค้าเหล่านี้ และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึง ความตั้งใจจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.7 ยังไม่คิดจะซื้อสินค้าดังกล่าว ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 73.8 มีความตั้งใจจะเก็บออมเงินฝากธนาคาร
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และ คณะผู้วิจัย โทร.0-1-621-4526 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.com หรือ www.websurvey.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-