เอแบคโพลล์: ความเชื่อถือของประชาชนต่อ 3 บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร

ข่าวผลสำรวจ Friday March 23, 2007 08:05 —เอแบคโพลล์

          ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความเชื่อถือของ
ประชาชนต่อบุคคลสำคัญทางการเมือง “พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร” : กรณีศึกษาประชาชน
ในเขตเทศบาลจาก 17 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18-60 ปีที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลใน
17 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,868 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-21 มีนาคม
2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในกลุ่มนี้ประมาณครึ่งหนึ่งหรือ
ร้อยละ 50.8 ติดตามทุกวันหรือเกือบทุกวัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามถึงความน่าเชื่อถือของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 ยังคง
ให้ความเชื่อถือต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 8.5 ไม่ให้ความเชื่อถือ และร้อยละ 35.5 ไม่มีความเห็น โดยในกลุ่มที่ให้ความ
เชื่อถือต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ร้อยละ 61.1 ระบุเชื่อถือในความซื่อสัตย์ ความซื่อตรง ไม่ทุจริต มีสัจจะ รองลงมาคือร้อยละ 18.3 ระบุมีความเป็นผู้นำ
ร้อยละ 10.3 ระบุมีคุณธรรม จริยธรรมมีศีลธรรม ร้อยละ 8.7 ระบุสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดี ร้อยละ 7.9 ระบุมีความสุขุมรอบคอบ ร้อยละ 5.6 ระบุ
มีความยุติธรรม และร้อยละ 10.0 ระบุอื่นๆ เช่น มีความจริงใจ ให้ความสำคัญกับประชาชน พบปะประชาชนเสมอ เป็นคนสุภาพอ่อนโยน และมีภาพ
ลักษณ์ดี
เมื่อสอบถามถึงความน่าเชื่อถือของประชาชนต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. พบว่า
ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.1 ยังคงให้ความเชื่อถือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะที่ร้อยละ 10.4 ไม่ให้ความเชื่อถือ และร้อยละ
38.5 ไม่มีความเห็น โดยในกลุ่มที่ให้ความเชื่อถือต่อ พล.อ.สนธิ ร้อยละ 33.3 ระบุเชื่อถือในความเด็ดขาด เข้มแข็ง ร้อยละ 19.6 เชื่อถือความ
ซื่อสัตย์ ร้อยละ 13.7 เชื่อถือความเป็นผู้นำ ร้อยละ 11.8 เชื่อถือความจริงจังในการทำงาน ร้อยละ 9.8 เชื่อถือความตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน
ร้อยละ 8.8 เชื่อถือความตรงไปตรงมา และร้อยละ 8.9 เชื่อถือ ความกล้าหาญ อดทน เป็นคนรักษาคำพูด มีคุณธรรม ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อถือของประชาชนต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ร้อยละ 23.8 เชื่อถือ ร้อยละ 38.3 ไม่เชื่อถือ และร้อย
ละ 37.9 ไม่มีความเห็น โดยในกลุ่มที่เชื่อถือ พ.ต.ท.ทักษิณ ร้อยละ 28.7 เชื่อถือในหลักการบริหารแก้ปัญหาประเทศ ร้อยละ 22.6 เชื่อถือในความ
ช่วยเหลือประชาชนคนยากจน ร้อยละ 20.9 เชื่อถือในความสามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 13.0 เชื่อถือในความกล้าคิดกล้าตัดสินใจ ร้อยละ
10.4 เชื่อถือในผลงานด้านการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 5.2 เชื่อถือในการคิดเร็ว ทำเร็วฉับไว ร้อยละ 4.3 เชื่อถือในความคิดริเริมสร้างสรรค์
และร้อยละ 9.6 เชื่อถือในการพูดจริงทำจริง มีความรู้ความสามารถตั้งใจทำงาน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ถ้าพิจารณาลักษณะของบุคคลนัยสำคัญทางการเมืองทั้งสามท่านที่ประชาชนระบุให้ความเชื่อถือมา จะพบว่า พล.อ.สุ
รยุทธ์ จุลานนท์ และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน กำลังถูกมองว่าเป็นสัญญลักษณ์ของความดีคุณธรรม ความเด็ดขาดเข้มแข็งและจริงจังในการทำงาน จึงน่า
จะนำลักษณะพึงประสงค์บางอย่างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วง
อย่างยิ่ง “ไม่ใช่” เรื่องของความนิยมศรัทธาที่ถดถอยของสาธารณชนต่อพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แต่เป็นเรื่องของการ
ปฏิเสธของประชาชนต่อระบบคุณธรรมมากกว่า ถ้ารัฐบาลชุดปัจจุบันที่ถูกมองว่าเป็นรัฐบาลที่เชิดชูคุณธรรม กลับไม่สามารถทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขได้ตาม
ที่เคยกล่าวไว้ ประชาชนจำนวนมากจะเสื่อมศรัทธาต่อระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมากต่อสังคมไทย
เมื่อพิจารณาความคิดเห็นเพิ่มเติมเฉพาะในกลุ่มประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองจำนวน 1,561
คน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 เห็นว่าสถานการณ์การเมืองของประเทศขณะนี้มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก รองลงมาคือร้อยละ 68.4 เห็นว่านักการ
เมืองยึดถือประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ ร้อยละ 64.7 ระบุมีการใช้ความรุนแรงกันมากขึ้น ร้อยละ 56.5 ประชาชนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 48.2 ระบุมีความเป็นประชาธิปไตยสูง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามตัวอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 นั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 ยังไม่
เคยอ่านรัฐธรรมนูญเลย เพราะไม่สนใจ ไม่มีเวลา ไม่รู้จะอ่านจากที่ไหน ไม่เห็นสำคัญอะไรกับชีวิต และถ้อยคำยากไม่เข้าใจ ในขณะที่ร้อยละ 36.7
อ่านบางส่วน และเพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่เคยอ่านทั้งฉบับ อย่างไรก็ตาม ประชาชนประมาณครึ่งหรือร้อยละ 49.9 ยังมีความเชื่อมั่นว่ารัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า มีแนวโน้มดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.0 คิดว่าจะย่ำอยู่กับที่ ไม่ดีขึ้นไม่แย่ลง และร้อยละ 12.1 คิดว่าจะถอย
หลังเข้าคลอง มีแต่แย่ลง
ที่น่าพิจารณาคือ ถ้าวันนี้เป็นวันลงประชามติ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ตั้งใจจะลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้เหตุผลว่า
ความวุ่นวายจะได้จบๆ ไป และอยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากคือเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.3 จะลงมติ
ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อสอบถามถึงช่วงเวลาที่ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลสำรวจพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.2 คิดว่าควรก่อนเดือนกันยายน
2550 ในขณะที่ร้อยละ 24.1 คิดว่าควรอยู่ระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคมปีนี้ และร้อยละ 25.7 ควรจัดการเลือกตั้งต้นปี 2551 แต่ถ้าวันนี้เป็นวัน
เลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.8 ระบุยังไม่มีพรรคการเมืองที่ชอบ ร้อยละ 22.3 จะเลือกพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.6 จะ
เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.0 จะเลือกพรรคชาติไทย ร้อยละ 0.2 จะเลือกพรรคอื่นๆ
สำหรับมุมมองของประชาชนต่ออนาคตการเมืองการปกครองไทยที่ควรจะเป็นในอนาคต ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 คิดว่า
ควรเพิ่มบทบาทของผู้นำชุมชน หมู่บ้านให้ดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 84.1 คิดว่าควรมีกฎหมายให้ชุมชนเข้มแข็งดูแลตนเองได้ ร้อยละ
76.8 คิดว่าแต่ละจังหวัดควรมีสิทธิเสนอกฎหมายเพื่อประชาชนในพื้นที่ได้แต่ไม่ขัดกับความมั่นคงของประเทศ และร้อยละ 64.9 คิดว่าควรลดบทบาทของ
บรรดารัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีให้เป็นเพียงผู้สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและดูแลความมั่นคงของประเทศเท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงเวลาการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ผู้นำ
ประเทศมีภาพลักษณ์ที่ซื่อสัตย์สุจริต แต่กลับพบว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังคงมีอยู่ในสายตาประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.7 เห็นว่า
คอรัปชั่นยังคงเกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง ร้อยละ 72.3 เห็นว่าคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น ร้อยละ 70.4 เห็นว่าการติดสินบนหา
หลักฐานในการเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 67.9 เห็นว่าคอรัปชั่นยังเกิดขึ้นในกลุ่มรัฐมนตรี ร้อยละ 64.9 เห็นว่าเจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการ
เอาผิด ร้อยละ 64.1 เห็นว่าการติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 60.2 เห็นว่าผู้ที่จ่ายสินบนมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจาก
ความผิดได้ง่าย ร้อยละ 59.9 เห็นว่าควรเอาผิดลงโทษคนที่ทุจริตคอรัปชั่นไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ และร้อยละ 54.8 เห็นว่าคอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิด
ขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย
แต่เมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่าจะมีการสั่งฟ้องคดีหลีกเลี่ยงภาษีการซื้อหุ้นในเครือชินวัตรโดยมีภรรยาและเครือญาติของอดีตนายก
รัฐมตรีเป็นผู้ถูกกล่าวหา หากรัฐบาลทักษิณยังอยู่ในอำนาจ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.4 ไม่เชื่อว่าจะมีการสั่งฟ้อง ในขณะที่ร้อยละ
25.6 เชื่อว่าจะมีการสั่งฟ้อง
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสามารถพิจารณากฎหมายให้กับประชาชนโดยไม่เห็นแก่
ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.3 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่น ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.8 ที่เชื่อมั่นและร้อยละ 18.0
ค่อนข้างเชื่อมั่น ที่เหลือร้อยละ 14.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นข้อกฎหมายที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด คือ ร้อยละ 60.0 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช.
จะสามารถออกกฎหมายขจัดต้นตอการทุจริตคอรัปชั่นได้ ร้อยละ 58.6 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช. จะออกกฎหมายยึดทรัพย์กลุ่มที่ล็อบบี้วิ่งเต้นเพื่อประโยชน์ส่วน
ตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 58.1 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช. จะออกกฎหมายขจัดแหล่งอบายมุข สถานที่เสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพอนาคตของเยาวชนไทย ร้อย
ละ 56.6 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช. จะออกกฎหมายเพิ่มโทษเอาผิดขบวนการก่อการร้าย ร้อยละ 53.7 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช. จะออกกฎหมายเพิ่มโทษเอาผิด
ผู้สร้างมลพิษสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 45.5 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช. จะออกกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตลอด 24 ชั่วโมง และร้อยละ 45.3 ไม่เชื่อมั่นว่า สนช. จะออกกฎหมายควบคุมการขับขี่รถยนต์และการจำกัดความเร็วของผู้ขับขี่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางแก้วิกฤตของประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 เห็นด้วยที่ควรเพิ่ม
พื้นที่ดีส่งเสริมคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย ร้อยละ 86.3 เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลเปิดโอกาสและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 81.7 เห็น
ด้วยที่ควรขจัดพื้นที่เสี่ยงทำลายคุณภาพเยาวชนไทย ร้อยละ 80.9 เห็นด้วยที่ควรปฏิรูปสังคม ร้อยละ 80.8 เห็นด้วยที่ควรปฏิรูปเศรษฐกิจ ร้อยละ
76.4 เห็นด้วยที่ควรให้เยาวชนมีส่วนร่วมทางการเมือง และร้อยละ 74.5 เห็นด้วยที่ควรปฏิรูปการเมือง ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความเชื่อถือต่อ 3 บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองอื่นๆ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความเชื่อถือต่อบุคคลสำคัญทางการ
เมือง “พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร : กรณีศึกษาประชาชนในเขตเทศบาล 17 จังหวัดทั่ว
ประเทศ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-21 มีนาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-60
ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตเทศบาลจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท เพชรบุรี ระยอง ปทุมธานี นนทบุรี นครราชสีมา กาฬสินธุ์
อุดรธานี ศรีสะเกษ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ลำปาง ตาก ตรัง สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,868 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.2 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุไม่เกิน 20 ปี
ร้อยละ 29.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.9 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 80.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือ ร้อยละ 18.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 42.2 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 26.6 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.1 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 7.3 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.7 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.2 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.2 ระบุว่า ว่างงาน
และร้อยละ 0.7 ประกอบอาชีพอิสระ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 50.8
2 3-4 วัน ต่อสัปดาห์ 18.8
3 1-2 วัน ต่อสัปดาห์ 13.7
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือต่อ “พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์” นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเชื่อถือ ค่าร้อยละ
1 เชื่อถือ 56.0
2 ไม่เชื่อถือ 8.5
3 ไม่มีความเห็น 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือที่มีต่อ “พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์” นายกรัฐมนตรี
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ เชื่อถือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เพราะ... ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์/ความซื่อตรง/ไม่ทุจริต /มีสัจจะ 61.1
2 มีความเป็นผู้นำ 18.3
3 มีคุณธรรม จริยธรรม มีศีลธรรม 10.3
4 สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดี 8.7
5 มีความสุขุมรอบคอบ 7.9
6 มีความยุติธรรม 5.6
7 อื่นๆ อาทิ มีความจริงไจ/ให้ความสำคัญกับประชาชน/
พบปะประชาชนเสมอ /เป็นคนสุภาพอ่อนโยน /มีภาพลักษณ์ดี 10.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือต่อ “พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน” ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
ลำดับที่ ความเชื่อถือ ค่าร้อยละ
1 เชื่อถือ 51.1
2 ไม่เชื่อถือ 10.4
3 ไม่มีความเห็น 38.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือที่มีต่อ “พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน”
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ เชื่อถือพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เพราะ... ค่าร้อยละ
1 มีความเด็ดขาด/ เข้มแข็ง 33.3
2 มีความซื่อสัตย์ 19.6
3 มีความเป็นผู้นำ 13.7
4 มีความจริงจังในการทำงาน 11.8
5 ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 9.8
6 เป็นคนตรงไปตรงมา/เป็นทหารที่มีระเบียบวินัย 8.8
7 อื่นๆ อาทิ มีความกล้าหาญ/อดทน /เป็นคนที่รักษาคำพูด/มีคุณธรรม/ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม 8.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือต่อ “พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเชื่อถือ ค่าร้อยละ
1 เชื่อถือ 23.8
2 ไม่เชื่อถือ 38.3
3 ไม่มีความเห็น 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือที่มีต่อ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ เชื่อถือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะ... ค่าร้อยละ
1 หลักการบริหารแก้ปัญหาประเทศ 28.7
2 ช่วยเหลือประชาชนคนยากจน (กองทุนหมู่บ้าน) 22.6
3 ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น 20.9
4 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 13.0
5 มีผลงานด้านการแก้ปัญหายาเสพติด 10.4
6 คิดเร็ว ทำเร็ว ฉับไว 5.2
7 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4.3
8 อื่นๆ อาทิพูดจริง ทำจริง /มีความรู้ความสามารถ/ตั้งใจทำงาน 9.6
ประเด็นสำคัญทางการเมืองในทรรศนะคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1) มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก 73.3 18.6 8.1 100.0
2) นักการเมืองยึดถือประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ 68.4 20.2 11.4 100.0
3) มีการใช้ความรุนแรงกันมากขึ้น 64.7 23.8 11.5 100.0
4) ประชาชนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น 56.5 32.1 11.4 100.0
5) มีความเป็นประชาธิปไตยสูง(ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ
มีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน) 48.2 36.3 15.5 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ค่าร้อยละ
1 เคยอ่านทั้งฉบับ 3.7
2 เคยอ่านบางส่วน 36.7
3 ไม่เคยอ่านเลย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ไม่สนใจ ไม่มีเวลา
ไม่รู้จะอ่านจากที่ใด ไม่เห็นสำคัญอะไรกับชีวิต และถ้อยคำยากไม่เข้าใจ เป็นต้น 59.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่ออนาคตของประเทศไทยที่มีผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค่าร้อยละ
1 เจริญก้าวหน้า มีแนวโน้มดีขึ้น 49.9
2 ย่ำอยู่กับที่ ไม่ดีขึ้น ไม่แย่ลง 38.0
3 ถอยหลังเข้าคลอง มีแต่แย่ลง 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากวันนี้เป็นวันลงมติ
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะ ความวุ่นวายจะได้จบๆ ไป -
และอยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว 62.7
2 ลงมติไม่ยอมรับ 37.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ควรจัดการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 ก่อนเดือนกันยายน 2550 50.2
2 ระหว่างเดือนกันยายน — ธันวาคม 2550 24.1
3 ต้นปี 2551 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการเลือกพรรคการเมือง หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยังไม่มีพรรคที่ชอบ 57.8
2 พรรคไทยรักไทย 22.3
3 พรรคประชาธิปัตย์ 16.6
4 พรรคชาติไทย 3.0
5 พรรคอื่นๆ 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลักษณะการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอนาคต
การเมืองการปกครองของประเทศไทยในอนาคต ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. ควรเพิ่มบทบาทของผู้นำชุมชน หมู่บ้านให้ดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ 81.7 8.4 9.9 100.0
2. ควรมีกฎหมายให้ชุมชนเข้มแข็ง ดูแลตนเองได้ 84.1 6.5 9.4 100.0
3. แต่ละจังหวัดควรมีสิทธิเสนอกฎหมายเพื่อประชาชนในพื้นที่ได้
แต่ไม่ขัดกับความมั่นคงของประเทศ 76.8 11.8 11.4 100.0
4. ควรลดบทบาทของบรรดารัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้เป็นเพียง
ผู้สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและดูแลความมั่นคงของประเทศเท่านั้น 64.9 17.5 17.6 100.0
ตารางที่ 15 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงเวลาทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ความคิดเห็นของตัวอย่าง รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง 72.7 13.3 14.0 100.0
2. คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่น 72.3 14.1 13.6 100.0
3. การติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก 70.4 18.0 11.6 100.0
4. คอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มรัฐมนตรี 67.9 16.7 15.4 100.0
5. เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด 64.9 23.0 12.1 100.0
6. การติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง 64.1 23.4 12.4 100.0
7. ผู้ที่จ่ายติดสินบนมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย 60.2 25.6 14.2 100.0
8. การเอาผิดลงโทษคนที่ทุจริตคอรัปชั่นไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ
แค่มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น 59.9 25.3 14.8 100.0
9. คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย 54.8 29.7 15.5 100.0
ตารางที่ 16 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อกรณีการสั่งฟ้องคดีหลีกเลี่ยงภาษีการซื้อหุ้นในเครือชินวัตร
โดยมีภรรยาและเครือญาติของอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกกล่าวหา หากรัฐบาลทักษิณยังอยู่ในอำนาจ
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีการสั่งฟ้อง 25.6
2 ไม่เชื่อว่าจะมีการสั่งฟ้อง 74.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสามารถพิจารณากฎหมาย
ให้กับประชาชนโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 8.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 18.0
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 34.1
4 ไม่เชื่อมั่น 24.2
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ