ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “พรรคพลังประชาชนในสายตาประชาชนและความ
คิดเห็นต่อการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญ: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,135 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 วัน โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ทราบข่าวอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ไม่ทราบข่าว โดยร้อยละ 33.6 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 17.3 ไม่เห็นด้วย และประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ไม่มี
ความเห็น นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มประชาชนจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง พบว่า ผู้ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.9 เห็นด้วยกับอดีต
สมาชิกพรรคไทยรักไทยที่ย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชาชน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาความมั่นใจของประชาชนต่อพรรคพลังประชาชนเปรียบเทียบกับพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการแก้ปัญหา
เศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาการเมือง ถ้าพรรคใดพรรคหนึ่งได้เป็นรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 70 ขึ้นไป ไม่มั่นใจต่อทั้ง
สองพรรค อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มที่มั่นใจต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจพบ ผู้ที่มั่นใจต่อพรรคพลังประชาชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมีอยู่ร้อยละ 30.1 ซึ่งมีสัด
ส่วนสูงกว่าผู้ที่มั่นใจต่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 22.5 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในกลุ่มที่มั่นใจต่อการแก้ปัญหาสังคมพบ ผู้ที่มั่นใจต่อพรรคพลังประชาชนในการแก้ปัญหาสังคมคิดเป็น ร้อยละ 31.5 โดยมีสัดส่วน
สูงกว่าผู้ที่มั่นใจต่อพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอยู่ร้อยละ 18.1 อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่าสัดส่วนของประชาชนที่มั่นใจต่อทั้งสองพรรคไม่แตกต่างกันใน
การแก้ปัญหาปมและความแตกแยกกันทางการเมืองโดยมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ไม่สนใจ
เป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชนในขณะที่ร้อยละ 19.4 สนใจ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามการติดตามชมการดีเบต จุดเด่น-ข้อด้อยร่างรัฐธรรมนูญปี 50 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 68.5 ไม่ได้ติดตามเลยสำหรับคู่ของนายจรัญ ภักดีธนากุล กับนายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 ไม่ได้ติดตามเลยสำหรับคู่ของ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทองกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 ไม่ได้ติดตามเลยสำหรับคู่ของนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ กับนายวรเจตน์
ภาคีรัตน์
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ที่ได้ติดตามดูตั้งแต่ต้นจนจบนั้น พบว่า ร้อยละ 4.3 ระบุติดตามการดีเบตระหว่างนายเจิมศักดิ์ ปิ่น
ทอง กับ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ร้อยละ 3.6 ติดตามการดีเบตระหว่าง นายจรัญ ภักดีธนากุล กับ นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ และร้อยละ 2.9 ระบุ
ติดตามการดีเบตระหว่าง นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ - นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาความเข้าใจในเนื้อหาของการดีเบตแต่ละคู่นั้นพบว่า ในคู่ระหว่างนายจรัญ กับ นายนิธิ คนที่ดูแล้วเข้าใจกับไม่เข้าใจมีสัด
ส่วนก่ำกึ่งคือร้อยละ 50.3 ต่อร้อยละ 49.7 ในขณะที่คู่ของนายเจิมศักดิ์ กับนายจาตุรนต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.4 เข้าใจ แต่ร้อยละ
38.6 ไม่เข้าใจ และในคู่ของนายสมคิด กับนายวรเจตน์ พบว่า ร้อยละ 52.1 เข้าใจ แต่ร้อยละ 47.9 ไม่เข้าใจ ทั้งนี้เมื่อถามถึงความชอบไม่
ชอบต่อการจัดดีเบตคู่ต่างๆ พบว่า ประมาณร้อยละ 40 ชอบ แต่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 ไม่ชอบ เพราะ ดีเบตกันในเรื่องไกลตัวประชาชน มีการ
แสดงความไม่เหมาะสม เช่น การโห่ไล่ แสดงความแตกแยกในสังคม และฟังไม่รู้เรื่อง เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในการดีเบตแต่ละคู่พบ
ว่า ร้อยละ 41.4 ระบุชอบการดี เบตระหว่างนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ กับ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในขณะที่ร้อยละ 41.0 ระบุชอบการดีเบตในคู่
ของนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง กับ นายจาตุรนต์ ฉายแสง และร้อยละ 40.6 ระบุชอบการดีเบตในคู่ของนายจรัญ ภักดีธนากุล กับ นายนิธิ เอี่ยวศรี
วงศ์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาทั้งหมดประมาณ 1 ใน 3 เห็นด้วยที่อดีต ส.ส. ของกลุ่มไทยรักไทย
ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน แต่โดยส่วนใหญ่ของผู้ที่เห็นด้วยเป็นผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อพรรคพลังประชาชนและ
พรรคประชาธิปัตย์ถูกมองได้อย่างน้อยสองแง่คือ ในแง่หนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นต่อทั้งสองพรรคในทุกเรื่องที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่า
เป็น ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และปมทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในเชิงเปรียบเทียบกลุ่มประชาชนที่เชื่อมั่นต่อพรรคพลังประชาชนกับพรรคประ
ชาธิปัตย์ พบว่า พรรคพลังประชาชนมีจุดเริ่มต้นที่สามารถใช้ทุนเดิมของกลุ่มไทยรักไทยได้ความเชื่อมั่นจากประชาชนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ในการแก้
ปัญหาประเทศสองเรื่องใหญ่คือเรื่อง แก้ปัญหาสังคมและปัญหาเศรษฐกิจ แต่เรื่องปมทางการเมือง ความแตกแยกทางสังคม กลับได้รับความเชื่อมั่นจาก
ประชาชนไม่แตกต่างกัน ดังนั้น พรรคการเมืองใดที่สามารถทำให้ประชาชนเห็นว่า จะเป็นผู้ทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ พรรคการเมืองนั้นก็จะได้รับการ
สนับสนุนและความเชื่อมั่นจากสาธารณชนเพิ่ม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นสำรวจเกี่ยวกับการดีเบตเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ 3 คู่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมากลับพบว่า ประชาชนส่วน
ใหญ่ไม่ได้ติดตามการถ่ายทอดสดเลย และคนที่ติดตามดูการดีเบตก็ไม่ชอบการจัดรายการนี้ เพราะเห็นว่า ดีเบตกันในเรื่องไกลตัวประชาชน มีการ
แสดงความไม่เหมาะสม เช่น การโห่ไล่ แสดงความแตกแยกในสังคม และฟังไม่รู้เรื่อง เป็นต้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขในช่วงเวลาที่จำกัดนี้น่าจะมีการ
ถ่ายทอดสดในช่วงไพร์มไทม์เวลาดีหลังข่าวภาคค่ำ นำเสนอประเด็นที่ใกล้ตัวประชาชนว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรในเรื่องใกล้ตัว และจุดด้อย
ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย หรืออาจมีการ์ตูนทางทีวีสั้นๆ หลังข่าวภาคค่ำเกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ควรตบท้ายด้วยข้อ
ความให้ประชาชนใช้วิจารณญาณตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะรับหรือไม่รับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวพรรคพลังประชาชน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายเรื่องจุดเด่น-ข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญปี 50
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “พรรคพลังประชาชนในสายตาประชาชนและความคิดเห็นต่อการดีเบตร่างรัฐ
ธรรมนูญ: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม พ.ศ.
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,135 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ
95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 29.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 12.2 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 24.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 19.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.7 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 52.7
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 9.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 16.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 72.5
2 ไม่ทราบข่าว 27.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 33.6
2 ไม่เห็นด้วย 17.3
3 ไม่มีความเห็น 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรค
พลังประชาชน จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ
1 เห็นด้วย 36.0 69.9 29.2
2 ไม่เห็นด้วย 26.5 7.5 15.3
3 ไม่มีความเห็น 37.5 22.6 55.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้เป็น
รัฐบาลของสองพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น พลังประชาชนค่าร้อยละ ประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 30.1 22.5
2 ไม่มั่นใจ 69.9 77.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าปัญหาสังคมต่างๆ จะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
การได้เป็นรัฐบาลของสองพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าปัญหาสังคมต่างๆ พลังประชาชนค่าร้อยละ ประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
(อาทิ ยาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน )
จะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น
1 มั่นใจ 31.5 18.1
2 ไม่มั่นใจ 68.5 81.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าการเมืองจะมีเสถียรภาพ คนไทยจะรักสามัคคีกัน
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้เป็นรัฐบาลของสองพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าการเมืองจะมีเสถียรภาพ คนไทยจะรักสามัคคีกัน พลังประชาชนค่าร้อยละ ประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 23.5 21.6
2 ไม่มั่นใจ 76.5 78.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ ความสนใจ ค่าร้อยละ
1 สนใจ 19.4
2 ไม่สนใจ 80.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามชมการอภิปรายแสดงความคิดเห็นเรื่อง จุดเด่น-ข้อด้อยของ
ร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ระหว่างฝ่ายสนุบสนุนกับฝ่ายคัดค้าน
ลำดับที่ การอภิปรายของ.. ติดตามดูตั้งแต่ต้นจนจบ ติดตามบางส่วน ไม่ค่อยได้ติดตาม ไม่ได้ติดตามเลย รวมทั้งสิ้น
1 นายจรัญ ภักดีธนากุล-นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 3.6 16.2 11.7 68.5 100.0
2 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง-นายจาตุรนต์ ฉายแสง 4.3 16.0 9.1 70.6 100.0
3 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์-นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ 2.9 9.3 10.0 77.8 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเข้าใจในเนื้อหาการอภิปรายเรื่องจุดเด่น-ข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ
ปี 50 (เฉพาะผู้ที่ดูการดีเบต)
ลำดับที่ ฝ่ายสนับสนุน-ฝ่ายค้าน เข้าใจค่าร้อยละ ไม่เข้าใจค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1 นายจรัญ ภักดีธนากุล - นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 50.3 49.7 100.0
2 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง - นายจาตุรนต์ ฉายแสง 61.4 38.6 100.0
3 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ - นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ 52.1 47.9 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความชอบในการอภิปรายเรื่องจุดเด่น-ข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญปี 50
(เฉพาะผู้ที่ดูการดีเบต)
ลำดับที่ ฝ่ายสนับสนุน-ฝ่ายค้าน ชอบค่าร้อยละ ไม่ชอบค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1 นายจรัญ ภักดีธนากุล - นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 40.6 59.4 100.0
2 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง - นายจาตุรนต์ ฉายแสง 41.0 59.0 100.0
3 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ - นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ 41.4 58.6 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “พรรคพลังประชาชนในสายตาประชาชนและความ
คิดเห็นต่อการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญ: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,135 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 วัน โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ทราบข่าวอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ไม่ทราบข่าว โดยร้อยละ 33.6 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 17.3 ไม่เห็นด้วย และประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ไม่มี
ความเห็น นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มประชาชนจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง พบว่า ผู้ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.9 เห็นด้วยกับอดีต
สมาชิกพรรคไทยรักไทยที่ย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชาชน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาความมั่นใจของประชาชนต่อพรรคพลังประชาชนเปรียบเทียบกับพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการแก้ปัญหา
เศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาการเมือง ถ้าพรรคใดพรรคหนึ่งได้เป็นรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 70 ขึ้นไป ไม่มั่นใจต่อทั้ง
สองพรรค อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มที่มั่นใจต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจพบ ผู้ที่มั่นใจต่อพรรคพลังประชาชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมีอยู่ร้อยละ 30.1 ซึ่งมีสัด
ส่วนสูงกว่าผู้ที่มั่นใจต่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 22.5 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ในกลุ่มที่มั่นใจต่อการแก้ปัญหาสังคมพบ ผู้ที่มั่นใจต่อพรรคพลังประชาชนในการแก้ปัญหาสังคมคิดเป็น ร้อยละ 31.5 โดยมีสัดส่วน
สูงกว่าผู้ที่มั่นใจต่อพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอยู่ร้อยละ 18.1 อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่าสัดส่วนของประชาชนที่มั่นใจต่อทั้งสองพรรคไม่แตกต่างกันใน
การแก้ปัญหาปมและความแตกแยกกันทางการเมืองโดยมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ไม่สนใจ
เป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชนในขณะที่ร้อยละ 19.4 สนใจ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามการติดตามชมการดีเบต จุดเด่น-ข้อด้อยร่างรัฐธรรมนูญปี 50 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 68.5 ไม่ได้ติดตามเลยสำหรับคู่ของนายจรัญ ภักดีธนากุล กับนายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 ไม่ได้ติดตามเลยสำหรับคู่ของ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทองกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 ไม่ได้ติดตามเลยสำหรับคู่ของนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ กับนายวรเจตน์
ภาคีรัตน์
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ที่ได้ติดตามดูตั้งแต่ต้นจนจบนั้น พบว่า ร้อยละ 4.3 ระบุติดตามการดีเบตระหว่างนายเจิมศักดิ์ ปิ่น
ทอง กับ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ร้อยละ 3.6 ติดตามการดีเบตระหว่าง นายจรัญ ภักดีธนากุล กับ นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ และร้อยละ 2.9 ระบุ
ติดตามการดีเบตระหว่าง นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ - นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาความเข้าใจในเนื้อหาของการดีเบตแต่ละคู่นั้นพบว่า ในคู่ระหว่างนายจรัญ กับ นายนิธิ คนที่ดูแล้วเข้าใจกับไม่เข้าใจมีสัด
ส่วนก่ำกึ่งคือร้อยละ 50.3 ต่อร้อยละ 49.7 ในขณะที่คู่ของนายเจิมศักดิ์ กับนายจาตุรนต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.4 เข้าใจ แต่ร้อยละ
38.6 ไม่เข้าใจ และในคู่ของนายสมคิด กับนายวรเจตน์ พบว่า ร้อยละ 52.1 เข้าใจ แต่ร้อยละ 47.9 ไม่เข้าใจ ทั้งนี้เมื่อถามถึงความชอบไม่
ชอบต่อการจัดดีเบตคู่ต่างๆ พบว่า ประมาณร้อยละ 40 ชอบ แต่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 ไม่ชอบ เพราะ ดีเบตกันในเรื่องไกลตัวประชาชน มีการ
แสดงความไม่เหมาะสม เช่น การโห่ไล่ แสดงความแตกแยกในสังคม และฟังไม่รู้เรื่อง เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในการดีเบตแต่ละคู่พบ
ว่า ร้อยละ 41.4 ระบุชอบการดี เบตระหว่างนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ กับ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในขณะที่ร้อยละ 41.0 ระบุชอบการดีเบตในคู่
ของนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง กับ นายจาตุรนต์ ฉายแสง และร้อยละ 40.6 ระบุชอบการดีเบตในคู่ของนายจรัญ ภักดีธนากุล กับ นายนิธิ เอี่ยวศรี
วงศ์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาทั้งหมดประมาณ 1 ใน 3 เห็นด้วยที่อดีต ส.ส. ของกลุ่มไทยรักไทย
ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน แต่โดยส่วนใหญ่ของผู้ที่เห็นด้วยเป็นผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อพรรคพลังประชาชนและ
พรรคประชาธิปัตย์ถูกมองได้อย่างน้อยสองแง่คือ ในแง่หนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นต่อทั้งสองพรรคในทุกเรื่องที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่า
เป็น ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และปมทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในเชิงเปรียบเทียบกลุ่มประชาชนที่เชื่อมั่นต่อพรรคพลังประชาชนกับพรรคประ
ชาธิปัตย์ พบว่า พรรคพลังประชาชนมีจุดเริ่มต้นที่สามารถใช้ทุนเดิมของกลุ่มไทยรักไทยได้ความเชื่อมั่นจากประชาชนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ในการแก้
ปัญหาประเทศสองเรื่องใหญ่คือเรื่อง แก้ปัญหาสังคมและปัญหาเศรษฐกิจ แต่เรื่องปมทางการเมือง ความแตกแยกทางสังคม กลับได้รับความเชื่อมั่นจาก
ประชาชนไม่แตกต่างกัน ดังนั้น พรรคการเมืองใดที่สามารถทำให้ประชาชนเห็นว่า จะเป็นผู้ทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ พรรคการเมืองนั้นก็จะได้รับการ
สนับสนุนและความเชื่อมั่นจากสาธารณชนเพิ่ม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นสำรวจเกี่ยวกับการดีเบตเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ 3 คู่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมากลับพบว่า ประชาชนส่วน
ใหญ่ไม่ได้ติดตามการถ่ายทอดสดเลย และคนที่ติดตามดูการดีเบตก็ไม่ชอบการจัดรายการนี้ เพราะเห็นว่า ดีเบตกันในเรื่องไกลตัวประชาชน มีการ
แสดงความไม่เหมาะสม เช่น การโห่ไล่ แสดงความแตกแยกในสังคม และฟังไม่รู้เรื่อง เป็นต้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขในช่วงเวลาที่จำกัดนี้น่าจะมีการ
ถ่ายทอดสดในช่วงไพร์มไทม์เวลาดีหลังข่าวภาคค่ำ นำเสนอประเด็นที่ใกล้ตัวประชาชนว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรในเรื่องใกล้ตัว และจุดด้อย
ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย หรืออาจมีการ์ตูนทางทีวีสั้นๆ หลังข่าวภาคค่ำเกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ควรตบท้ายด้วยข้อ
ความให้ประชาชนใช้วิจารณญาณตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะรับหรือไม่รับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวพรรคพลังประชาชน
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายเรื่องจุดเด่น-ข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญปี 50
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “พรรคพลังประชาชนในสายตาประชาชนและความคิดเห็นต่อการดีเบตร่างรัฐ
ธรรมนูญ: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม พ.ศ.
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,135 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ
95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 29.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 12.2 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 24.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 21.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 19.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.7 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 52.7
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 9.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 16.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 72.5
2 ไม่ทราบข่าว 27.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 33.6
2 ไม่เห็นด้วย 17.3
3 ไม่มีความเห็น 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยได้เข้าไปสังกัดพรรค
พลังประชาชน จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ
1 เห็นด้วย 36.0 69.9 29.2
2 ไม่เห็นด้วย 26.5 7.5 15.3
3 ไม่มีความเห็น 37.5 22.6 55.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้เป็น
รัฐบาลของสองพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น พลังประชาชนค่าร้อยละ ประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 30.1 22.5
2 ไม่มั่นใจ 69.9 77.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าปัญหาสังคมต่างๆ จะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
การได้เป็นรัฐบาลของสองพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าปัญหาสังคมต่างๆ พลังประชาชนค่าร้อยละ ประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
(อาทิ ยาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน )
จะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น
1 มั่นใจ 31.5 18.1
2 ไม่มั่นใจ 68.5 81.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่าการเมืองจะมีเสถียรภาพ คนไทยจะรักสามัคคีกัน
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้เป็นรัฐบาลของสองพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความมั่นใจว่าการเมืองจะมีเสถียรภาพ คนไทยจะรักสามัคคีกัน พลังประชาชนค่าร้อยละ ประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 23.5 21.6
2 ไม่มั่นใจ 76.5 78.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน
ลำดับที่ ความสนใจ ค่าร้อยละ
1 สนใจ 19.4
2 ไม่สนใจ 80.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามชมการอภิปรายแสดงความคิดเห็นเรื่อง จุดเด่น-ข้อด้อยของ
ร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ระหว่างฝ่ายสนุบสนุนกับฝ่ายคัดค้าน
ลำดับที่ การอภิปรายของ.. ติดตามดูตั้งแต่ต้นจนจบ ติดตามบางส่วน ไม่ค่อยได้ติดตาม ไม่ได้ติดตามเลย รวมทั้งสิ้น
1 นายจรัญ ภักดีธนากุล-นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 3.6 16.2 11.7 68.5 100.0
2 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง-นายจาตุรนต์ ฉายแสง 4.3 16.0 9.1 70.6 100.0
3 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์-นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ 2.9 9.3 10.0 77.8 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเข้าใจในเนื้อหาการอภิปรายเรื่องจุดเด่น-ข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ
ปี 50 (เฉพาะผู้ที่ดูการดีเบต)
ลำดับที่ ฝ่ายสนับสนุน-ฝ่ายค้าน เข้าใจค่าร้อยละ ไม่เข้าใจค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1 นายจรัญ ภักดีธนากุล - นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 50.3 49.7 100.0
2 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง - นายจาตุรนต์ ฉายแสง 61.4 38.6 100.0
3 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ - นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ 52.1 47.9 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความชอบในการอภิปรายเรื่องจุดเด่น-ข้อด้อยของร่างรัฐธรรมนูญปี 50
(เฉพาะผู้ที่ดูการดีเบต)
ลำดับที่ ฝ่ายสนับสนุน-ฝ่ายค้าน ชอบค่าร้อยละ ไม่ชอบค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1 นายจรัญ ภักดีธนากุล - นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 40.6 59.4 100.0
2 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง - นายจาตุรนต์ ฉายแสง 41.0 59.0 100.0
3 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ - นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ 41.4 58.6 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-