ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจต่อเนื่องภายใต้โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไทย เรื่อง สำรวจปัจจัยทำให้เด็กไทยเป็นคนดี จากตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษาปริญญาเอกทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 23,088 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ -กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา
พบว่า นักเรียนนักศึกษาไทยมีการคิดดีมากกว่าการทำดี จากผลวิจัยพบว่า นักเรียนนักศึกษาไทยมีค่าคะแนนเฉลี่ยของการคิดดีมากกว่าการทำดี คือคะแนนเฉลี่ยของการคิดดีอยู่ที่ 3.90 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 5 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยของการทำดีอยู่ที่ 3.35 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความสุขอยู่ที่ 3.78 คะแนน และคะแนนความภูมิใจในความเป็นไทยอยู่ที่ 4.09 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่าพิจารณาคือ แนวทางสนับสนุนให้เด็กนักเรียนไทยนอกจาก “คิดดี” แล้ว ต้อง “ทำดี” ด้วย และกลุ่มผู้ใหญ่รอบตัวพวกเขา เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะหาแนวทางสนับสนุนให้พวกเขาลงมือปฏิบัติตามแนวคิดดีๆ โดยมีผู้ใหญ่ได้ลงมือปฏิบัติการทำดีให้เห็นเป็นตัวอย่างควบคู่ไปด้วย เพราะสิ่งที่ค้นพบเพิ่มเติมในงานวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มปัจจัยที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยเป็นคนดี อันดับแรกคือ การไม่หลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุ โดยมีค่าสถิติวิจัยมากที่สุดในการวิจัยครั้งนี้อยู่ที่ 0.130 หมายความว่าถ้าทุกคนในสังคมไทยช่วยกันป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนนักศึกษาไทยหลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุได้จะเป็นการส่งเสริมทำให้พวกเขาเป็นคนดีมากขึ้น นอกจากนี้ ถ้ามีการชักชวนกันทำงานกลุ่ม ทำความดีกันเป็นหมู่คณะโดยมีค่าสถิติวิจัยอยู่ที่ 0.128 ก็จะยิ่งทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยเป็นคนดีมากขึ้นเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ผลวิจัยครั้งนี้ยังพบปัจจัยอื่นๆ ที่จะทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยเป็นคนดีด้วย เช่น การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ยินดีแบ่งปันสิ่งของตนเองให้ผู้ยากไร้ ความใจกว้างและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหาระหว่างเพื่อน การควบคุมอารมณ์เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง การคิดว่าทุกคนล้วนมีแต่สิ่งที่ดี หากเลือกสิ่งที่ดีมาสื่อสารกัน และความสามารถปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่พึงประสงค์ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบว่า สิ่งที่มีผลต่อความสุขของนักเรียนนักศึกษาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 ระบุเป็นเรื่องของอารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 61.8 ระบุเป็นเรื่องความรู้สึก ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นเรื่องงานหรือการบ้านที่ได้รับมอบหมาย ร้อยละ 35.6 ระบุเป็นเรื่องการนอน ร้อยละ 31.4 ระบุเป็นเรื่องการรับประทานอาหาร และรองๆ ลงไปคือ ความรู้สึกผิดพลาด การเป็นคนตื่นตกใจง่าย การเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับผู้อื่น อาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ และการตำหนิตนเอง ตามลำดับ
ผลวิจัยพบด้วยว่า สิ่งที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยมีความสุขอันดับแรกคือ การมีจิตใจดี มีอารมณ์ดี โดยมีค่าสถิติวิจัยมากที่สุดอยู่ที่ 0.373 รองๆ ลงมาคือ งานหรือการบ้านเสร็จทันเวลา การนอนหลับง่าย การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความสุขมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มปัจจัยที่ทำให้มีความสุขน้อยลงไปคือ ความรู้สึกอยากร้องไห้บ่อยๆ ความหมดหวังในชีวิต และความรู้สึกเบื่อหน่าย ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มปัจจัยที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยมีความภูมิใจในความเป็นไทย อันดับแรก คือ ความภูมิใจในแผ่นดินไทย ได้ค่าสถิติวิจัยมากที่สุดคือ 0.187 รองๆ ลงมา คือ การที่องค์กรระหว่างประเทศยกย่องคนไทยให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก อาหารไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย ประเพณีไทย ภาษาไทย และความภูมิใจที่ได้สื่อสารกับชาวต่างชาติด้วยภาษาไทย ตามลำดับ โดยสามารถสรุปแผนภาพของ การคิดดี ทำดี มีสุขและความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียนนักศึกษได้ดังนี้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.1 เป็นชาย
ร้อยละ 41.9 เป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 38.1 อายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 42.7 อายุระหว่าง 15 - 20 ปี
ร้อยละ 10.2 อายุระหว่าง 21 - 25 ปี
และร้อยละ 9.0 อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 21.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ร้อยละ 33.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ร้อยละ 13.0 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช.
ร้อยละ 11.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.
ร้อยละ 9.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 10.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ลำดับที่ สรุปภาพรวมของค่าเฉลี่ย คะแนนเต็ม 5 คะแนน 1 คิดดี 3.90 2 ทำดี 3.35 3 มีสุข 3.78 4 ภูมิใจในความเป็นไทย 4.09 ตารางที่ 2 แสดงค่าผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัย กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการเป็นคนดีของนักเรียน/นักศึกษาไทย ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการเป็นคนดีของนักเรียน/นักศึกษาไทย ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยมาตรฐาน 1 ไม่หลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุ 0.130* 2 ชักชวนกันทำงานกลุ่ม ทำความดีเป็นหมู่คณะ 0.128* 3 การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น 0.097* 4 ยินดีแบ่งปันสิ่งของของตนเองให้ผู้ยากไร้หรือเพื่อนๆ เมื่อมีโอกาส 0.095* 5 ใจกว้างและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น 0.086* 6 มักจะเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหาระหว่างเพื่อน 0.064* 7 ควบคุมอารมณ์ได้เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง 0.059* 8 ทุกคนล้วนมีดี หากเลือกสิ่งดีๆ มาสื่อสารกัน สังคมจะสงบสุข 0.049* 9 สามารถปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่พึงประสงค์ได้ 0.048*
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 10 กลุ่ม กับการเป็นคนดีของนักเรียน/นักศึกษาไทย
R = 0.509 / Adjusted R Square = 0.258
ลำดับที่ สิ่งที่จะมีผลต่อความสุขของตนเอง ค่าร้อยละ 1 อารมณ์ 62.0 2 ความรู้สึก 61.8 3 งานหรือ การบ้านที่ได้รับมอบหมาย 48.1 4 การนอน 35.6 5 รับประทานอาหาร 31.4 6 ความรู้สึกผิดพลาด 21.4 7 เป็นคนตื่นตกใจง่าย 16.9 8 การเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับสิ่งที่ผู้อื่นมี 15.3 9 อาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ 13.3 10 การตำหนิตนเองในเรื่องต่างๆ 12.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัย กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความสุขของนักเรียน/นักศึกษาไทย ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความสุขของนักเรียน/นักศึกษาไทย ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยมาตรฐาน 1 จิตใจดี อารมณ์ดี 0.373* 2 งาน หรือ การบ้านที่ได้รับมอบหมายเสร็จทัน 0.081* 3 นอนหลับง่าย 0.079* 4 ความรู้สึกอยากร้องไห้บ่อยๆ -0.069* 5 ความรู้สึกหมดหวังในชีวิต -0.064* 6 การได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ 0.058* 7 ความรู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า -0.050* 8 การได้ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาบ่อยๆ 0.043* 9 การนอนหลับสนิทอย่างน้อย 6 ชั่วโมงในแต่ละคืน 0.035* 10 ความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร -0.034*
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 10 กลุ่ม กับความสุขของนักเรียน/นักศึกษาไทยวันนี้
R = 0.531 / Adjusted R Square = 0.281
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียน/นักศึกษาไทย ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยมาตรฐาน 1 ภูมิใจในแผ่นดินไทย 0.187* 2 การที่องค์กรระหว่างประเทศ เช่นยูเนสโก ยกย่องคนไทยให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก 0.145* 3 อาหารไทย 0.136* 4 วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย 0.092* 5 ประเพณีไทย 0.090* 6 ภาษาไทย 0.074* 7 ความภูมิใจที่ได้สื่อสารกับคนอื่นด้วยภาษาไทย 0.069* 8 การตั้งชื่อผลิตภัณฑ์สินค้าไทยด้วยภาษาไทย 0.047*
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 9 กลุ่ม กับความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียน/นักศึกษาไทย
R = 0.568 / Adjusted R Square = 0.322
--เอแบคโพลล์--