ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ข่าวดีข่าวร้ายทางการเมืองและบุคคลแห่งปี 2549 ในทรรศนะของคอการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนที่สนใจข่าวการเมือง (คอการเมือง) ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,609 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-30 ธันวาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าข่าวดีทางด้านการเมืองแห่งปี พ.ศ. 2549 คือ ร้อยละ 69.5 ระบุเป็นข่าวประธาน คมช. ประกาศไม่สืบทอดอำนาจ รองลงมาคือร้อยละ 65.8 ระบุเป็นข่าวการปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน ร้อยละ 54.4 ระบุเป็นข่าว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเคยประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ร้อยละ 52.6 ระบุข่าวแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 45.1 ระบุเป็นข่าวบทบาทของศาลต่างๆ ในการคลี่คลายวิกฤตการเมืองช่วงต้นปี 2549 เป็นต้น
สำหรับข่าวร้ายน่าเศร้าทางการเมืองแห่งปี พบว่าร้อยละ 75.7 ระบุเป็นเหตุการณ์ม็อบต้าน “ชน” ม็อบหนุนรัฐบาลทักษิณ ร้อยละ 55.1 ระบุข่าว พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 46.9 ระบุข่าวบ้านนายกฯ พล.อ.สุรยุทธ์ บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ร้อยละ 46.2 ระบุข่าวความวุ่นวายในการจัดการเลือกตั้งปี 49 หันคูหาออกนอกหน่วย พรรคใหญ่จ้างวานพรรคเล็ก ร้อยละ 45.8 ระบุข่าวการเลี่ยงภาษีของคนใกล้ชิดอดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 43.8 ระบุข่าวแทรกแซงสื่อ ร้อยละ 39.5 ระบุข่าวอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา และร้อยละ 21.0 ระบุข่าวปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบุคคลแห่งปี 2549 พบว่า ร้อยละ 35.0 ระบุเป็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองลงมาคือร้อยละ 23.9 ระบุเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 19.1 ระบุเป็น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 9.7 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 3.7 ระบุเป็นนายสนธิ ลิ้มทองกุล ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนได้โหวตฉายาของรัฐบาลชุดปัจจุบันโดยพบว่า ร้อยละ 23.1 โหวตให้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นรัฐบาลนามธรรม รองลงมาคือร้อยละ 20.9 โหวตให้เป็นรัฐบาลขิงแก่ตามที่สื่อมวลชนเรียก ร้อยละ 12.5 โหวตให้เป็นรัฐบาลปากว่าตาขยิบ ร้อยละ 11.6 โหวตให้เป็นรัฐบาลแก่แต่เจ๋ง ร้อยละ 8.5 โหวตให้เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจ และร้อยละ 7.2 โหวตให้เป็นรัฐบาลอืดอาด ตามลำดับ
สำหรับของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2550 ที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาล อันดับแรก ร้อยละ 40.6 ระบุอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องปากท้องและความยากจนให้แก่ประชาชนเป็นของขวัญปีใหม่ รองลงมาคือร้อยละ 34.0 ระบุเป็นการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 13.6 ระบุการตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 8.2 สร้างความสมานฉันท์ในประเทศ ร้อยละ 7.2 แก้ปัญหายาเสพติด และร้อยละ 7.1 พัฒนาด้านการศึกษา ตามลำดับ
แต่เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองหรือความมั่นคงทางการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 20.3 เชื่อมั่นและร้อยละ 16.9 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 22.4 เชื่อมั่น และร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเชื่อว่าในปี 2550 เป็นปีที่มีปัญหาวิกฤตกับเด็กและเยาวชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 เชื่อว่าปีหน้าเป็นปีที่วิกฤตปัญหาเด็กและเยาวชน ร้อยละ 15.0 ไม่เชื่อ และร้อยละ 13.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า การที่รัฐบาลได้รับฉายาจากคอการเมืองว่าเป็น “รัฐบาลนามธรรม” อันดับแรก เพราะรัฐบาลยังไม่มีอะไรใหม่เป็นผลงานหรือนโยบายสาธารณะที่โดนใจประชาชนแบบจับต้องได้ และการประกาศของนายกรัฐมนตรีวันรับตำแหน่งว่าจะเน้นความผาสุกของประชาชนมากกว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ทำให้สาธารณชนเห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอันจนอาจกลายเป็นเพียงคำพูดที่สวยหรูและสร้างความประทับใจในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่มีการขับเคลื่อนแท้จริงให้ปรากฎในการรับรู้ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจนอาจทำให้สังคมมองว่า พล.อ.สุรยุทธ์ กำลังจะกลายเป็นผู้ล้มเหลวในคำพูดของตนเอง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงจากการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาคือ พบว่าฐานสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันมีลักษณะเป็น “ฐานกลวง” คือไม่เหนียวแน่นอย่างแท้จริง พล.อ.สุรยุทธ์จึงต้องเร่งทำงานอย่างหนักด้วยการจัดเตรียมสังคมไทยสู่เป้าหมายสังคมแห่งความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันแท้จริง แต่เมื่อรัฐบาลมีเวลาน้อย รัฐบาลจึงควรมีชุมชนต้นแบบ 5 ภาค เสนอให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่างของชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข มีความพอเพียงและเข้มแข็ง บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณีไทย ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนเร่งด่วนระดับพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ เพื่อให้เห็นผลงานรัฐบาลเป็นชิ้นเป็นอัน
“การที่รัฐบาลมีฐานสนับสนุนแบบ “ฐานกลวง” เห็นได้จากกระแสสนับสนุนรัฐบาลเปลี่ยนไปทันทีเมื่อสอบถามถึงข่าวร้ายทางการเมืองทำให้กรณีบ้านของนายกรัฐมนตรีที่เขายายเที่ยงกลายเป็นข่าวร้ายอันดับสาม สะท้อนให้เห็นว่าเป็นเรื่องอันตรายเพราะในปีใหม่นี้จะมีคดีความทางการเมืองหลายคดีที่ศาลต่างๆ จะพิพากษาตัดสิน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันจึงอาจเกิดคลื่นมวลชนเผชิญหน้ากันได้ง่าย เดือนมีนาคมและพฤษภาคมจึงเป็นเดือนอันตรายเพราะเป็นเดือนแห่งสัญญาลักษณ์ทางการเมืองและช่วงเวลาที่ประชาชนรากหญ้าว่างเว้นจากการทำงานจำนวนมาก” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องให้ความชัดเจนกับสาธารณชนว่านโยบายรัฐบาลจะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นแบบจับต้องได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย สาธารณูปโภค การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติเช่น ที่ดินทำกิน แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ให้ประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน การบริการของข้าราชการต่อประชาชน และการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เป็นต้น ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและประพฤติมิชอบถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมแบบเห็นกรรมทันตา ในขณะเดียวกัน เสนอแนะให้รัฐบาลเร่งจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเตรียมความพร้อมให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาแทนรัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะเป็นรัฐบาลที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้ว่าอยู่บนหลักธรรมาภิบาลและมั่นคงไม่สั่นคลอนตามเกมการเมืองแบบไทยๆ ที่มักใช้สารพัดยุทธการลดทอนความเชื่อมั่นศรัทธาได้ทุกรัฐบาลจนอายุสั้นและตกภายใต้อิทธิพลการชี้นำล็อบบี้ของกลุ่มนายทุน
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจข่าวดีข่าวร้ายทางการเมืองแห่งปี 2549
2.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลแห่งปี 2549
3.เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ข่าวดีข่าวร้ายทางการเมืองและบุคคลแห่งปี 2549 ในทรรศนะของคอการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนที่สนใจข่าวการเมือง (คอการเมือง) ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 13-30 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่สนใจข่าวการเมือง (คอการเมือง)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และแบบเฉพาะเจาะจงประชาชนที่สนใจข่าวการเมือง จาก 17 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี ระยอง นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ลำปาง เชียงราย อุตรดิตถ์ สุราษฎร์ธานี และสตูล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,609 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และหัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวศรีสุดา จันทะไทย หัวหน้างานสถิติและข้อมูล
นายจิรศักดิ์ สมบัติ นักวิจัย
นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวเบญจพร รักษะโบ๊ะ ผู้ช่วยนักวิจัย
นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้ดูแลทีมงานภาคสนาม
นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ
พร้อมด้วยนักสถิติ นักวิจัย พนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 141 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 69.4 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 30.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 73.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 8.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 4.9 ระบุว่างงาน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 29.2 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวดีทางการเมืองแห่งปี 2549 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวดีทางการเมืองแห่งปี 2549 ค่าร้อยละ
1 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประกาศไม่สืบทอดอำนาจ 69.5
2 การปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน 65.8
3 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประกาศเว้นวรรคทางการเมือง 54.4
4 ข่าวแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี 52.6
5 บทบาทของศาลต่างๆ ในการคลี่คลายวิกฤตการเมืองต้นปี 49 45.1
6 การสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 44.9
7 อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศแก้ปัญหาสังคม 42.2
8 เรียลลิตี้แก้จนของอดีตนายกรัฐมนตรี 14.8
9 อื่นๆ อาทิ ข่าวจำคุกอดีต กกต. / ครม. อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
สัญจรลงพื้นที่แก้ปัญหาเดือดร้อนชาวบ้าน เป็นต้น 25.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวร้ายทางการเมืองแห่งปี 2549 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวร้ายทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เหตุการณ์ม็อบต้านชนม็อบหนุนรัฐบาลทักษิณ 75.7
2 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ 55.1
3 ข่าวบ้านนายก พล.อ.สุรยุทธ์ บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน 46.9
4 ข่าวความวุ่นวายในการจัดการเลือกตั้ง หันคูหาออกนอกหน่วย
พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก และอื่นๆ 46.2
5 ข่าวการเลี่ยงภาษีของคนใกล้ชิดอดีตนายกรัฐมนตรี 45.8
6 ข่าวการแทรกแซงสื่อ 43.8
7 อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
เป็นเรื่องปกติธรรมดา 39.5
8 ข่าวปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน 21.0
9 อื่นๆ เช่น ข่าวลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี (คาร์บอมม์) /
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอนาคต ส.ส.ชูวิทย์ /
คนของพรรคประชาธิปัตย์ถูกร้ายขณะปราศรัยที่ จ.เชียงใหม่ /
ข่าวจำคุกอดีต กกต. เป็นต้น 18.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลแห่งปี 2549
ลำดับที่ บุคคลแห่งปี 2549 ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 35.0
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 23.9
3 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 19.1
4 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 9.7
5 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 3.7
6 อื่นๆ เช่น นายสุริยะใส กตะสิลา / นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ /
นายชวน หลีกภัย / นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุฉายาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ลำดับที่ ฉายาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลนามธรรม 23.1
2 รัฐบาลขิงแก่ 20.9
3 รัฐบาลปากว่าตาขยิบ 12.5
4 รัฐบาลแก่แต่เจ๋ง 11.6
5 รัฐบาลเฉพาะกิจ 8.5
6 รัฐบาลอืดอาด 7.2
7 รัฐบาลเปาบุ้นจิ้น 5.0
8 อื่นๆ เช่น รัฐบาลสมานฉันท์ / รัฐบาลสมถะ / รัฐบาลส้มหล่น /
รัฐบาลเผด็จการ / รัฐบาลพาร์ทไทม์ / รัฐบาลปัดกวาด 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2550 ที่อยากได้จากรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2550 ที่อยากได้จากรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 แก้ไขปัญหาปากท้องและความยากจน 40.6
2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 34.0
3 ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น 13.6
4 สร้างความสมานฉันท์ในประเทศ 8.2
5 แก้ไขปัญหายาเสพติด 7.2
6 พัฒนาด้านการศึกษา 7.1
7 คืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว 5.9
8 เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 5.9
9 ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 5.7
10 อื่นๆ เช่น แก้ไขปัญหาการจราจร / แก้ไขปัญหสิ่งแวดล้อม /
สานต่อนโยบายรัฐบาลชุดก่อน / รับฟังความคิดเห็นของประชาชน /
ดูแลเด็ก คนแก่ คนด้อยโอกาส / สนับสนุนการกีฬา 31.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมือง (ความมั่นคงทางการเมือง) ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 20.3
2 ไม่เชื่อมั่น 62.8
3 ไม่มีความเห็น 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ)ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 22.4
2 ไม่เชื่อมั่น 61.7
3 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าปี 2550 ประเทศไทยจะประสบปัญหาสังคมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอย่างรุนแรง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 71.2
2 ไม่เชื่อ 15.0
3 ไม่มีความเห็น 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-
ผลสำรวจพบว่าข่าวดีทางด้านการเมืองแห่งปี พ.ศ. 2549 คือ ร้อยละ 69.5 ระบุเป็นข่าวประธาน คมช. ประกาศไม่สืบทอดอำนาจ รองลงมาคือร้อยละ 65.8 ระบุเป็นข่าวการปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน ร้อยละ 54.4 ระบุเป็นข่าว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเคยประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ร้อยละ 52.6 ระบุข่าวแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 45.1 ระบุเป็นข่าวบทบาทของศาลต่างๆ ในการคลี่คลายวิกฤตการเมืองช่วงต้นปี 2549 เป็นต้น
สำหรับข่าวร้ายน่าเศร้าทางการเมืองแห่งปี พบว่าร้อยละ 75.7 ระบุเป็นเหตุการณ์ม็อบต้าน “ชน” ม็อบหนุนรัฐบาลทักษิณ ร้อยละ 55.1 ระบุข่าว พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 46.9 ระบุข่าวบ้านนายกฯ พล.อ.สุรยุทธ์ บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ร้อยละ 46.2 ระบุข่าวความวุ่นวายในการจัดการเลือกตั้งปี 49 หันคูหาออกนอกหน่วย พรรคใหญ่จ้างวานพรรคเล็ก ร้อยละ 45.8 ระบุข่าวการเลี่ยงภาษีของคนใกล้ชิดอดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 43.8 ระบุข่าวแทรกแซงสื่อ ร้อยละ 39.5 ระบุข่าวอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา และร้อยละ 21.0 ระบุข่าวปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบุคคลแห่งปี 2549 พบว่า ร้อยละ 35.0 ระบุเป็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองลงมาคือร้อยละ 23.9 ระบุเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 19.1 ระบุเป็น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 9.7 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 3.7 ระบุเป็นนายสนธิ ลิ้มทองกุล ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนได้โหวตฉายาของรัฐบาลชุดปัจจุบันโดยพบว่า ร้อยละ 23.1 โหวตให้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นรัฐบาลนามธรรม รองลงมาคือร้อยละ 20.9 โหวตให้เป็นรัฐบาลขิงแก่ตามที่สื่อมวลชนเรียก ร้อยละ 12.5 โหวตให้เป็นรัฐบาลปากว่าตาขยิบ ร้อยละ 11.6 โหวตให้เป็นรัฐบาลแก่แต่เจ๋ง ร้อยละ 8.5 โหวตให้เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจ และร้อยละ 7.2 โหวตให้เป็นรัฐบาลอืดอาด ตามลำดับ
สำหรับของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2550 ที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาล อันดับแรก ร้อยละ 40.6 ระบุอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องปากท้องและความยากจนให้แก่ประชาชนเป็นของขวัญปีใหม่ รองลงมาคือร้อยละ 34.0 ระบุเป็นการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 13.6 ระบุการตรวจสอบเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 8.2 สร้างความสมานฉันท์ในประเทศ ร้อยละ 7.2 แก้ปัญหายาเสพติด และร้อยละ 7.1 พัฒนาด้านการศึกษา ตามลำดับ
แต่เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองหรือความมั่นคงทางการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 20.3 เชื่อมั่นและร้อยละ 16.9 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 22.4 เชื่อมั่น และร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเชื่อว่าในปี 2550 เป็นปีที่มีปัญหาวิกฤตกับเด็กและเยาวชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 เชื่อว่าปีหน้าเป็นปีที่วิกฤตปัญหาเด็กและเยาวชน ร้อยละ 15.0 ไม่เชื่อ และร้อยละ 13.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า การที่รัฐบาลได้รับฉายาจากคอการเมืองว่าเป็น “รัฐบาลนามธรรม” อันดับแรก เพราะรัฐบาลยังไม่มีอะไรใหม่เป็นผลงานหรือนโยบายสาธารณะที่โดนใจประชาชนแบบจับต้องได้ และการประกาศของนายกรัฐมนตรีวันรับตำแหน่งว่าจะเน้นความผาสุกของประชาชนมากกว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ทำให้สาธารณชนเห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอันจนอาจกลายเป็นเพียงคำพูดที่สวยหรูและสร้างความประทับใจในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่มีการขับเคลื่อนแท้จริงให้ปรากฎในการรับรู้ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจนอาจทำให้สังคมมองว่า พล.อ.สุรยุทธ์ กำลังจะกลายเป็นผู้ล้มเหลวในคำพูดของตนเอง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงจากการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาคือ พบว่าฐานสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันมีลักษณะเป็น “ฐานกลวง” คือไม่เหนียวแน่นอย่างแท้จริง พล.อ.สุรยุทธ์จึงต้องเร่งทำงานอย่างหนักด้วยการจัดเตรียมสังคมไทยสู่เป้าหมายสังคมแห่งความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันแท้จริง แต่เมื่อรัฐบาลมีเวลาน้อย รัฐบาลจึงควรมีชุมชนต้นแบบ 5 ภาค เสนอให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่างของชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข มีความพอเพียงและเข้มแข็ง บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณีไทย ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนเร่งด่วนระดับพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ เพื่อให้เห็นผลงานรัฐบาลเป็นชิ้นเป็นอัน
“การที่รัฐบาลมีฐานสนับสนุนแบบ “ฐานกลวง” เห็นได้จากกระแสสนับสนุนรัฐบาลเปลี่ยนไปทันทีเมื่อสอบถามถึงข่าวร้ายทางการเมืองทำให้กรณีบ้านของนายกรัฐมนตรีที่เขายายเที่ยงกลายเป็นข่าวร้ายอันดับสาม สะท้อนให้เห็นว่าเป็นเรื่องอันตรายเพราะในปีใหม่นี้จะมีคดีความทางการเมืองหลายคดีที่ศาลต่างๆ จะพิพากษาตัดสิน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันจึงอาจเกิดคลื่นมวลชนเผชิญหน้ากันได้ง่าย เดือนมีนาคมและพฤษภาคมจึงเป็นเดือนอันตรายเพราะเป็นเดือนแห่งสัญญาลักษณ์ทางการเมืองและช่วงเวลาที่ประชาชนรากหญ้าว่างเว้นจากการทำงานจำนวนมาก” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องให้ความชัดเจนกับสาธารณชนว่านโยบายรัฐบาลจะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นแบบจับต้องได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย สาธารณูปโภค การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติเช่น ที่ดินทำกิน แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ให้ประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน การบริการของข้าราชการต่อประชาชน และการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน เป็นต้น ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและประพฤติมิชอบถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมแบบเห็นกรรมทันตา ในขณะเดียวกัน เสนอแนะให้รัฐบาลเร่งจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเตรียมความพร้อมให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาแทนรัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะเป็นรัฐบาลที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้ว่าอยู่บนหลักธรรมาภิบาลและมั่นคงไม่สั่นคลอนตามเกมการเมืองแบบไทยๆ ที่มักใช้สารพัดยุทธการลดทอนความเชื่อมั่นศรัทธาได้ทุกรัฐบาลจนอายุสั้นและตกภายใต้อิทธิพลการชี้นำล็อบบี้ของกลุ่มนายทุน
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจข่าวดีข่าวร้ายทางการเมืองแห่งปี 2549
2.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลแห่งปี 2549
3.เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ข่าวดีข่าวร้ายทางการเมืองและบุคคลแห่งปี 2549 ในทรรศนะของคอการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนที่สนใจข่าวการเมือง (คอการเมือง) ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 13-30 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่สนใจข่าวการเมือง (คอการเมือง)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และแบบเฉพาะเจาะจงประชาชนที่สนใจข่าวการเมือง จาก 17 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี ระยอง นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ลำปาง เชียงราย อุตรดิตถ์ สุราษฎร์ธานี และสตูล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,609 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และหัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวศรีสุดา จันทะไทย หัวหน้างานสถิติและข้อมูล
นายจิรศักดิ์ สมบัติ นักวิจัย
นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวเบญจพร รักษะโบ๊ะ ผู้ช่วยนักวิจัย
นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้ดูแลทีมงานภาคสนาม
นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ
พร้อมด้วยนักสถิติ นักวิจัย พนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 141 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 69.4 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 30.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 73.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 8.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 4.9 ระบุว่างงาน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 29.2 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวดีทางการเมืองแห่งปี 2549 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวดีทางการเมืองแห่งปี 2549 ค่าร้อยละ
1 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประกาศไม่สืบทอดอำนาจ 69.5
2 การปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน 65.8
3 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประกาศเว้นวรรคทางการเมือง 54.4
4 ข่าวแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี 52.6
5 บทบาทของศาลต่างๆ ในการคลี่คลายวิกฤตการเมืองต้นปี 49 45.1
6 การสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 44.9
7 อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศแก้ปัญหาสังคม 42.2
8 เรียลลิตี้แก้จนของอดีตนายกรัฐมนตรี 14.8
9 อื่นๆ อาทิ ข่าวจำคุกอดีต กกต. / ครม. อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
สัญจรลงพื้นที่แก้ปัญหาเดือดร้อนชาวบ้าน เป็นต้น 25.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวร้ายทางการเมืองแห่งปี 2549 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวร้ายทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เหตุการณ์ม็อบต้านชนม็อบหนุนรัฐบาลทักษิณ 75.7
2 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ 55.1
3 ข่าวบ้านนายก พล.อ.สุรยุทธ์ บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน 46.9
4 ข่าวความวุ่นวายในการจัดการเลือกตั้ง หันคูหาออกนอกหน่วย
พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก และอื่นๆ 46.2
5 ข่าวการเลี่ยงภาษีของคนใกล้ชิดอดีตนายกรัฐมนตรี 45.8
6 ข่าวการแทรกแซงสื่อ 43.8
7 อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
เป็นเรื่องปกติธรรมดา 39.5
8 ข่าวปฏิรูปการปกครองฯ วันที่ 19 กันยายน 21.0
9 อื่นๆ เช่น ข่าวลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี (คาร์บอมม์) /
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอนาคต ส.ส.ชูวิทย์ /
คนของพรรคประชาธิปัตย์ถูกร้ายขณะปราศรัยที่ จ.เชียงใหม่ /
ข่าวจำคุกอดีต กกต. เป็นต้น 18.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลแห่งปี 2549
ลำดับที่ บุคคลแห่งปี 2549 ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 35.0
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 23.9
3 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 19.1
4 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 9.7
5 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 3.7
6 อื่นๆ เช่น นายสุริยะใส กตะสิลา / นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ /
นายชวน หลีกภัย / นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุฉายาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
ลำดับที่ ฉายาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลนามธรรม 23.1
2 รัฐบาลขิงแก่ 20.9
3 รัฐบาลปากว่าตาขยิบ 12.5
4 รัฐบาลแก่แต่เจ๋ง 11.6
5 รัฐบาลเฉพาะกิจ 8.5
6 รัฐบาลอืดอาด 7.2
7 รัฐบาลเปาบุ้นจิ้น 5.0
8 อื่นๆ เช่น รัฐบาลสมานฉันท์ / รัฐบาลสมถะ / รัฐบาลส้มหล่น /
รัฐบาลเผด็จการ / รัฐบาลพาร์ทไทม์ / รัฐบาลปัดกวาด 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2550 ที่อยากได้จากรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2550 ที่อยากได้จากรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 แก้ไขปัญหาปากท้องและความยากจน 40.6
2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 34.0
3 ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น 13.6
4 สร้างความสมานฉันท์ในประเทศ 8.2
5 แก้ไขปัญหายาเสพติด 7.2
6 พัฒนาด้านการศึกษา 7.1
7 คืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว 5.9
8 เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 5.9
9 ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 5.7
10 อื่นๆ เช่น แก้ไขปัญหาการจราจร / แก้ไขปัญหสิ่งแวดล้อม /
สานต่อนโยบายรัฐบาลชุดก่อน / รับฟังความคิดเห็นของประชาชน /
ดูแลเด็ก คนแก่ คนด้อยโอกาส / สนับสนุนการกีฬา 31.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมือง (ความมั่นคงทางการเมือง) ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 20.3
2 ไม่เชื่อมั่น 62.8
3 ไม่มีความเห็น 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ)ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 22.4
2 ไม่เชื่อมั่น 61.7
3 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าปี 2550 ประเทศไทยจะประสบปัญหาสังคมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอย่างรุนแรง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 71.2
2 ไม่เชื่อ 15.0
3 ไม่มีความเห็น 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-