ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจต่อเนื่องภายใต้โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไทย เรื่อง เกรดตก เครียด กินเหล้า จากตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษาปริญญาเอกทั้ง 76 จังหวัด ทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 23,088 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา
ผลวิจัยพบว่า นักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนในภาคการเรียนครั้งล่าสุดต่ำกว่า 2.00 มีสัดส่วนของคนที่รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิตมากกว่ากลุ่มคนที่มีผลการเรียนดีกว่า กล่าวคือ ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 ร้อยละ 40.0 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต ขณะที่ร้อยละ 33.9 ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนระหว่าง 2.00 — 3.00 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต และในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนมากกว่า 3.00 ร้อยละ 25.7 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิตเช่นกัน จะเห็นได้ว่า ยิ่งนักเรียนนักศึกษามีผลการเรียนต่ำยิ่งมีจำนวนคนที่เครียด หมดหวังในชีวิตมากขึ้น ในการสำรวจครั้งนี้
ที่น่าพิจารณาคือ นักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.7 ดื่มเหล้าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีสัดส่วนของคนที่ดื่มเหล้าสูงกว่ากลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนระหว่าง 2.00 — 3.00 ที่ดื่มเหล้าร้อยละ 49.6 และในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนมากกว่า 3.00 ที่ดื่มเหล้าร้อยละ 34.0
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า แม้แต่ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษา ยังรู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิตสูงถึงร้อยละ 23.1 แต่จะมากสุดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช./ ปวส. ที่มีอยู่ร้อยละ 35.5 และในกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่มีอยู่ร้อยละ 32.7
และเมื่อจำแนกกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า พบว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช. ปวส. มีกลุ่มคนที่ดื่มมากที่สุดคือ ร้อยละ 63.3 และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 60.6 ส่วนกลุ่มที่สูงกว่าปริญญาตรีมีอยู่ร้อยละ 50.3 ตามลำดับ
แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ค่าเฉลี่ยของอายุในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า พบว่า มีอายุเฉลี่ย 19 ปี และอายุต่ำสุดคือ เพียง 10 ปีเท่านั้นในการวิจัยครั้งนี้
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า กลุ่มนายทุนที่ขายเหล้ากำลังประสบความสำเร็จทางธุรกิจค่อนข้างสูงมากในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และผลวิจัยหลายชิ้นที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ระบุชัดเจนว่า เหล้า เป็นปัจจัยสำคัญของการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน และอาชญากรรมอื่นๆ จำนวนมาก ถ้าหากรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มนายทุน และบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมยังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป คุณภาพเด็กนักเรียนนักศึกษาและสังคมไทยโดยรวมทั้งปัจจุบันและอนาคตจะอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทางออกที่น่าพิจารณาคือ 7 มาตรการหยุดยั้ง “เหล้า” ในกลุ่มคนไทยเพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้น ได้แก่
1) มาตรการเข้มงวดในการห้ามการโฆษณาเหล้าและสัญญาลักษณ์ชี้ชวนตลอด 24 ชั่วโมง 2) มาตรการด้านภาษี 3) จัดโซนนิ่งร้านเหล้าปั่นและปราบปรามอย่างจริงจังในการขายเหล้าให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด 4) เข้มงวดจับกุมผู้ปกครองที่ปล่อยปะละเลยให้เด็กอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนดดื่มเหล้าในที่พักอาศัย 5) จับกุมผู้ที่ดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเช่น ป้ายรถเมล์ ทางเดิน และร้านค้าเปิดโล่ง 6) จับกุมผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีขวดเหล้าเปิดดื่มแล้วอยู่ภายในรถ 7) เร่งรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความรุนแรง และอาชญากรรมอื่นๆ จากการดื่มเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.1 เป็นชาย
ร้อยละ 41.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.1 อายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 42.7 อายุระหว่าง 15 - 20 ปี
ร้อยละ 10.2 อายุระหว่าง 21 - 25 ปี
และร้อยละ 9.0 อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ร้อยละ 33.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ร้อยละ 13.0 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช.
ร้อยละ 11.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.
ร้อยละ 9.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 10.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ลำดับที่ รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต ต่ำกว่า 2.00 ระหว่าง2.00 — 3.00 มากกว่า3.00 1 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต 40.0 33.9 25.7 2 ไม่รู้สึกเช่นนั้น 60.0 66.1 74.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า จำแนกตาม ผลการเรียน ลำดับที่ การดื่มเหล้า ต่ำกว่า 2.00 ระหว่าง2.00 — 3.00 มากกว่า3.00 1 ดื่มเหล้า 56.7 49.6 34.0 2 ไม่ดื่ม 43.3 50.4 66.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่รู้สึก เครียดและหมดหวังในชีวิต จำแนกตาม ระดับการศึกษา ลำดับที่ รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปวช. / ปวส. ปริญญาตรี สูงกว่า ป.ตรี 1 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต 23.1 32.7 35.5 29.6 20.6 2 ไม่รู้สึกเช่นนั้น 76.9 67.3 64.5 70.4 79.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า จำแนกตาม ระดับการศึกษา ลำดับที่ ดื่มเหล้า ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปวช. / ปวส. ปริญญาตรี สูงกว่า ป.ตรี 1 ดื่มเหล้า 9.4 28.7 63.3 60.6 50.3 2 ไม่ดื่ม 90.6 71.3 36.7 39.4 49.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า จำแนกตาม อายุโดยเฉลี่ย ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา (ประถม — ปริญญาเอก) ลำดับที่ การดื่มเหล้า อายุเฉลี่ย อายุต่ำสุด อายุสูงสุด 1 ดื่มเหล้า 19 ปี 10 ปี 63 ปี --เอแบคโพลล์-- -พห-