ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า ทางศูนย์วิจัยเอแบคฯ ได้ร่วมกับ
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการสำรวจวิจัยเรื่อง “ความ
คิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สาธารณะ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบ
รวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,207 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 27-29
มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
จากการสอบถามเกี่ยวกับประเภทของรายการโทรทัศน์ที่กลุ่มตัวอย่างสนใจติดตามชมใน 10 อันดับแรก มีดังนี้ 1) ข่าวประจำวัน (ร้อย
ละ 82.1) 2) ละคร (ร้อยละ 51.6) 3) ตลก (ร้อยละ 35.6) 4) เพลง / มิวสิควีดีโอ (ร้อยละ 33.2) 5) สารคดีท่องเที่ยว (ร้อยละ
32.0) 6) ข่าวดารา / บันเทิง (ร้อยละ 30.4) 7) วาไรตี้ / ทอล์คโชว์ (ร้อยละ 29.2) 8) กีฬา (ร้อยละ 28.2) 9) เกมโชว์ (ร้อยละ
27.8) และ 10) สนทนา / วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน (ร้อยละ 20.7)
เกี่ยวกับความพอเพียงของข่าวสารทางโทรทัศน์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ผลสำรวจในประเด็นต่างๆ มีดังนี้ 1) ให้ความบันเทิง พบว่า ร้อยละ
76.1 ระบุเพียงพอ อีกร้อยละ 13.4 ระบุไม่เพียงพอ และที่เหลือร้อยละ 10.5 ไม่แน่ใจ 2) ให้สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ พบว่า ร้อยละ 56.0
ระบุเพียงพอ อีกร้อยละ 33.5 ระบุไม่เพียงพอ และที่เหลือร้อยละ 10.5 ไม่แน่ใจ 3) ให้ข่าวสารอย่างรอบด้านเมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมือง
พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุเพียงพอ อีกร้อยละ 39.8 ระบุไม่เพียงพอ และที่เหลือร้อยละ 17.0 ไม่แน่ใจ 4) เปิดโอกาสให้ถกเถียงกันอย่างรอบด้าน
ในประเด็นขัดแย้งทางสังคมที่สำคัญ พบว่า ร้อยละ 30.8 ระบุเพียงพอ อีกร้อยละ 47.6 ระบุไม่เพียงพอ และที่เหลือร้อยละ 21.6 ไม่แน่ใจ 5) ให้
ข่าวสารอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยธรรมชาติ พบว่า ร้อยละ 56.5 ระบุเพียงพอ อีกร้อยละ 32.4 ระบุไม่เพียงพอ และที่
เหลือร้อยละ 11.1 ไม่แน่ใจ และ 6) เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ พบว่า ร้อยละ 39.8 ระบุเพียงพอ อีกร้อย
ละ 45.8 ระบุไม่เพียงพอ และที่เหลือร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความมั่นใจที่มีต่อสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ผลสำรวจในประเด็นต่างๆ มีดังนี้ 1) โทรทัศน์ขณะนี้ “ไม่ถูก
แทรกแซง” จากอิทธิพลผลประโยชน์ทางธุรกิจ พบว่า ร้อยละ 12.7 ระบุมั่นใจ อีกร้อยละ 64.5 ระบุไม่มั่นใจ และที่เหลือร้อยละ 22.8 ไม่แน่ใจ
2) โทรทัศน์ขณะนี้ “ไม่ถูกแทรกแซง” จากอิทธิพลของนักการเมือง พบว่า ร้อยละ 12.5 ระบุมั่นใจ อีกร้อยละ 64.1 ระบุไม่มั่นใจ และที่เหลือ
ร้อยละ 23.4 ไม่แน่ใจ 3) โทรทัศน์ขณะนี้ “ไม่ถูกแทรกแซง” จากระบบราชการ พบว่า ร้อยละ 16.6 ระบุมั่นใจ อีกร้อยละ 57.8 ระบุไม่มั่นใจ
และที่เหลือร้อยละ 25.6 ไม่แน่ใจ 4) โทรทัศน์ขณะนี้ “มีจุดยืนรักษาผลประโยชน์” ของประชาชนอย่างแท้จริง พบว่า ร้อยละ 18.7 ระบุมั่นใจ อีก
ร้อยละ 57.5 ระบุไม่มั่นใจ และที่เหลือร้อยละ 23.8 ไม่แน่ใจ และ 5) โทรทัศน์ขณะนี้ “จะเป็นที่พึ่งได้” เมื่อประชาชนถูกรังแก/เอาเปรียบ พบว่า
ร้อยละ 28.1 ระบุมั่นใจ อีกร้อยละ 48.5 ระบุไม่มั่นใจ และที่เหลือร้อยละ 23.4 ไม่แน่ใจ
ส่วนความคิดเห็นต่อการที่ประเทศไทยควรจะมีสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงโดยนักการเมืองและกลุ่มธุรกิจนั้น พบ
ว่า ร้อยละ 69.3 ระบุเห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ประชาชนจะได้รับข่าวสารที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา ประชาชนมีสิทธิรับรู้
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นต้น อีกร้อยละ 4.8 ระบุไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ มีสถานีโทรทัศน์หลายสถานีแล้ว สิ้นเปลือง
งบประมาณโดยใช่เหตุ เป็นต้น และที่เหลือร้อยละ 25.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบหรือคุณสมบัติของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ หากมีการก่อตั้งขึ้น ผลสำรวจในประเด็นต่างๆ มีดังนี้ 1)
เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ประชาชนรับชมได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าสมาชิกและสามารถรับชมได้ทั่วทุกกลุ่มทั่วประเทศ (คล้ายฟรีทีวี) พบว่า ร้อยละ 82.0 ระบุเห็น
ด้วย อีกร้อยละ 4.7 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 13.3 ไม่มีความเห็น 2) เน้นผลิตรายการที่มีคุณภาพสูงเช่น ข่าว สถานการณ์ปัจจุบัน
สารคดี รายการเพื่อเด็ก / ครอบครัว การพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า ร้อยละ 89.4 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 3.6 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ
7.0 ไม่มีความเห็น 3) มีมาตรฐานการผลิตรายการโดยเน้นหลักจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า ร้อยละ 88.6 ระบุเห็นด้วย อีกร้อย
ละ 2.8 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 8.6 ไม่มีความเห็น 4) เปิดโอกาสให้ประชาชนในวงกว้างเข้ามาร่วมรับผิดชอบดูแลคุณภาพรายการ พบ
ว่า ร้อยละ 79.3 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 6.9 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 13.8 ไม่มีความเห็น และ 5) มีการสำรวจเพื่อรับฟังความคิด
เห็นของผู้ชมและประชาชนอย่างต่อเนื่อง พบว่า ร้อยละ 87.8 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 3.9 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 8.3 ไม่มีความเห็น
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ผลสำรวจในประเด็นต่างๆ มีดังนี้ 1) ปฏิรูปช่อง 11 ให้เป็นสถานี
โทรทัศน์สาธารณะ พบว่า ร้อยละ 55.7 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 18.9 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น 2) ปฏิรูปช่อง “ที
ไอทีวี” ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ พบว่า ร้อยละ 57.9 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 18.4 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 23.7 ไม่มีความ
เห็น และ 3) ลงทุนจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะขึ้นใหม่ (ประมาณ 3,200—3,400 ล้านบาท) พบว่า ร้อยละ 35.0 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 34.3
ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 30.7 ไม่มีความเห็น
ส่วนกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้เข้ามาเป็นคณะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สาธารณะ หากมีการจัดตั้งขึ้นใน 5 อันดับแรก มีดังนี้
1) นักวิชาชีพสื่อสารมวลชน (ร้อยละ 65.0) 2) อาจารย์ / นักวิชาการ (ร้อยละ 44.2) 3) ผู้แทนเครือข่ายครอบครัว (ร้อยละ 27.3) 4) ผู้
ด้อยโอกาสทางสังคม (ร้อยละ 23.6) และ 5) ผู้แทนลูกจ้าง / แรงงาน (ร้อยละ 19.2)
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับวิธีการจัดหารายได้ เพื่อนำมาใช้ดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ผลสำรวจใน
ประเด็นต่างๆ มีดังนี้ 1) จัดสรรมาจากงบประมาณของรัฐ พบว่า ร้อยละ 59.2 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 19.1 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ
21.7 ไม่มีความเห็น 2) แบ่งมาจากรายได้ของสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ พบว่า ร้อยละ 48.9 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 22.5 ระบุไม่เห็นด้วย และที่
เหลือร้อยละ 28.6 ไม่มีความเห็น 3) รายได้จากการโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรธุรกิจ พบว่า ร้อยละ 65.7 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 10.6 ระบุไม่เห็น
ด้วย และที่เหลือร้อยละ 23.7 ไม่มีความเห็น 4) นำมาจากการเก็บภาษีของสื่อบันเทิง (เช่น หนัง ละคร ฯลฯ) พบว่า ร้อยละ 69.6 ระบุเห็นด้วย
อีกร้อยละ 12.0 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 18.4 ไม่มีความเห็น 5) เก็บภาษีจากสินค้าอบายมุข (เช่น เหล้า บุหรี่ หวย บ่อน) พบว่า ร้อย
ละ 77.4 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 10.3 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น 6) นำมาจากการเก็บภาษีค่าสาธารณูปโภค เช่น
ค่าไฟฟ้า ประปา พบว่า ร้อยละ 30.3 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 48.5 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 21.2 ไม่มีความเห็น 7) เก็บค่าบริการ
เฉพาะจากบ้านที่เปิดรับโทรทัศน์สาธารณะ พบว่า ร้อยละ 24.8 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 54.8 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 20.4 ไม่มีความ
เห็น และ 8) รับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา พบว่า ร้อยละ 59.9 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 18.1 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 22.0 ไม่มี
ความเห็น ทั้งนี้ จากผลสำรวจยังพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.7 ระบุพร้อมจะบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งคิดเป็นมูลค่า โดย
เฉลี่ยเป็นจำนวน 583.89 บาท
ด้านความเชื่อมั่นต่อบุคคลหรือสถาบันในการที่จะผลักดันให้มีสถานีโทรทัศน์สาธารณะอย่างจริงจัง ผลการสำรวจในประเด็นต่างๆ มีดังนี้
1) นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) พบว่า ร้อยละ 31.0 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 36.6 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 32.4 ไม่มีความ
เห็น 2) คณะรัฐมนตรี (ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์) พบว่า ร้อยละ 27.2 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 39.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 33.6 ไม่มี
ความเห็น 3) ประธาน คมช. (พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) พบว่า ร้อยละ 28.2 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 37.9 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ
33.9 ไม่มีความเห็น 4) คณะบุคคลใน คมช. พบว่า ร้อยละ 23.2 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 39.5 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 37.3 ไม่มีความ
เห็น 5) สภาร่างรัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 28.4 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 33.5 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 38.1 ไม่มีความเห็น 6) สภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ร้อยละ 28.5 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 32.6 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 38.9 ไม่มีความเห็น 7) ข้าราชการ พบว่า
ร้อยละ 22.4 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 40.4 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 37.2 ไม่มีความเห็น 8) ผู้นำความคิดในสังคมพบว่า ร้อยละ 32.9
ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 31.3 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 35.8 ไม่มีความเห็น 9) สื่อมวลชน พบว่า ร้อยละ 44.1 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ
24.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และที่เหลือร้อยละ 31.7 ไม่มีความเห็น และ 10) นักธุรกิจ พบว่า ร้อยละ 26.3 ระบุเชื่อมั่น อีกร้อยละ 37.2 ระบุไม่เชื่อ
มั่น และที่เหลือร้อยละ 36.5 ไม่มีความเห็น
ส่วนความเชื่อว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะได้สำเร็จนั้น พบว่า ร้อยละ 17.4 ระบุเชื่อว่าจะทำได้
สำเร็จ อีกร้อยละ 32.5 ระบุเชื่อว่าไม่สำเร็จ และที่เหลือร้อยละ 50.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับข้อเสนอแนะในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะที่กลุ่มตัวอย่างระบุมาใน 5 อันดับแรก มีดังนี้ 1) ควรมีความเป็นกลาง ไม่
ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มต่างๆ (ร้อยละ 33.2) 2) ควรเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง ตรงความเป็นจริง ทันเหตุการณ์ (ร้อยละ 29.7) 3) ควรนำ
เสนอรายการ เนื้อหาสาระที่ดี มีประโยชน์ต่อสังคม (ร้อยละ 27.1) 4) ควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางรายการ
ต่างๆ (ร้อยละ 26.6) และ 5) ควรมีอิสระในการทำงาน ไม่ถูกแทรกแซง ไม่เกรงอิทธิพลของกลุ่มต่างๆ (ร้อยละ 20.5)
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สาธารณะในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ
สถานีโทรทัศน์สาธารณะ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,207 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 44.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อย
ละ 6.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และ 21.4 ร้อยละ ระบุ ปริญญาตรีหรือสูงกว่า
ตัวอย่างร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพ รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.7 ระบุ ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 26.6 ระบุค้าขาย
ทั่วไป/รายย่อย ร้อยละ 19.7 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 3.8 ระบุ ช่วยงาน/กิจการของครอบครัว ร้อยละ 0.2 ระบุ เกษตรกร ร้อยละ 0.8
วิชาชีพอิสระเฉพาะทางเช่น แพทย์ ทนาย ฯลฯ ร้อยละ 8.6 ระบุ ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 5.2 ระบุ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อย
ละ 12.2 ระบุ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.0 ระบุ ว่างงาน และร้อยละ 0.6 ระบุ อื่น ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของรายการโทรทัศน์ที่สนใจติดตามชม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของรายการโทรทัศน์ที่สนใจติดตามชม ค่าร้อยละ
1 ข่าวประจำวัน 82.1
2 ละคร 51.6
3 ตลก 35.6
4 เพลง / มิวสิควีดีโอ 33.2
5 สารคดีท่องเที่ยว 32.0
6 ข่าวดารา / บันเทิง 30.4
7 วาไรตี้ / ทอล์คโชว์ 29.2
8 กีฬา 28.2
9 เกมโชว์ 27.8
10 สนทนา / วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน 20.7
11 ภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องยาว 19.9
12 สารคดีไทย 19.7
13 สารคดีต่างประเทศ 19.0
14 รายการอาหาร 17.5
15 แฟชั่น 16.3
16 การ์ตูน 15.4
17 ภาพยนตร์ไทยเรื่องยาว 12.6
18 จัดสวน / แต่งบ้าน 9.6
19 รถยนต์ / ยานยนต์ 8.5
20 ไม่ชอบดูรายการประเภทใดเป็นพิเศษ 3.1
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอเพียงของข่าวสารทางโทรทัศน์ที่มีอยู่ในขณะนี้ในประเด็นต่างๆ
ลำดับที่ ประเด็น ความพอเพียง รวม
เพียงพอ ไม่เพียงพอ ไม่แน่ใจ
1 ให้ความบันเทิง 76.1 13.4 10.5 100.0
2 ให้สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ 56.0 33.5 10.5 100.0
3 ให้ข่าวสารอย่างรอบด้านเมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมือง 43.2 39.8 17.0 100.0
4 เปิดโอกาสให้ถกเถียงกันอย่างรอบด้านในประเด็นขัดแย้งทางสังคมที่สำคัญ 30.8 47.6 21.6 100.0
5 ให้ข่าวสารอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยธรรมชาติ 56.5 32.4 11.1 100.0
6 เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ 39.8 45.8 14.4 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจที่มีต่อสถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในขณะนี้ในประเด็นต่างๆ
ลำดับที่ ประเด็น ความมั่นใจ รวม
มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ
1 โทรทัศน์ขณะนี้ “ไม่ถูกแทรกแซง” จากอิทธิพลผลประโยชน์ทางธุรกิจ 12.7 64.5 22.8 100.0
2 โทรทัศน์ขณะนี้ “ไม่ถูกแทรกแซง” จากอิทธิพลของนักการเมือง 12.5 64.1 23.4 100.0
3 โทรทัศน์ขณะนี้ “ไม่ถูกแทรกแซง” จากระบบราชการ 16.6 57.8 25.6 100.0
4 โทรทัศน์ขณะนี้ “มีจุดยืนรักษาผลประโยชน์” ของประชาชนอย่างแท้จริง 18.7 57.5 23.8 100.0
5 โทรทัศน์ขณะนี้ “จะเป็นที่พึ่งได้” เมื่อประชาชนถูกรังแก/เอาเปรียบ 28.1 48.5 23.4 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ประเทศไทยควรจะมีสถานีโทรทัศน์สาธารณะ
ซึ่งเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงโดยนักการเมืองและกลุ่มธุรกิจ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ ประชาชนจะได้รับข่าวสารที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา
ประชาชนมีสิทธิรับรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นต้น 69.3
2 ไม่เห็นด้วย โดยตัวอย่างได้ให้เหตุผลต่างๆ ได้แก่ มีสถานีโทรทัศน์หลายสถานีแล้ว สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ เป็นต้น 4.8
3 ไม่มีความเห็น 25.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบหรือคุณสมบัติของสถานีโทรทัศน์
สาธารณะในประเด็นต่างๆ หากมีการก่อตั้งขึ้น
ลำดับที่ รูปแบบหรือคุณสมบัติของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ความคิดเห็น รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ประชาชนรับชมได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าสมาชิกและสามารถรับชมได้ทั่วทุกกลุ่ม
ทั่วประเทศ (คล้ายฟรีทีวี) 82.0 4.7 13.3 100.0
2 เน้นผลิตรายการที่มีคุณภาพสูงเช่น ข่าว สถานการณ์ปัจจุบัน สารคดี รายการเพื่อเด็ก/ครอบครัว
การพัฒนาคุณภาพชีวิต 89.4 3.6 7.0 100.0
3 มีมาตรฐานการผลิตรายการโดยเน้นหลักจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม 88.6 2.8 8.6 100.0
4 เปิดโอกาสให้ประชาชนในวงกว้างเข้ามาร่วมรับผิดชอบดูแลคุณภาพรายการ 79.3 6.9 13.8 100.0
5 มีการสำรวจเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ชมและประชาชนอย่างต่อเนื่อง 87.8 3.9 8.3 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะ
ลำดับที่ แนวทางการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ความคิดเห็น
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวม
1 ปฏิรูปช่อง 11 ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ 55.7 18.9 25.4 100.0
2 ปฏิรูปช่อง “ทีไอทีวี” ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ 57.9 18.4 23.7 100.0
3 ลงทุนจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะขึ้นใหม่ (ประมาณ 3,200—3,400 ล้านบาท) 35.0 34.3 30.7 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ต้องการให้เข้ามาเป็นคณะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์
สาธารณะ หากมีการจัดตั้งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคล ค่าร้อยละ
1 นักวิชาชีพสื่อสารมวลชน 65.0
2 อาจารย์ / นักวิชาการ 44.2
3 ผู้แทนเครือข่ายครอบครัว 27.3
4 ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 23.6
5 ผู้แทนลูกจ้าง / แรงงาน 19.2
6 ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 18.8
7 ทนายความ 16.5
8 นักธุรกิจ 16.1
9 ผู้พิพากษา 14.9
10 ข้าราชการพลเรือน 14.5
11 ทหาร / ตำรวจ 9.2
12 นักการเมือง 9.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจัดหารายได้ เพื่อนำมาใช้ดำเนินงานของ
สถานีโทรทัศน์สาธารณะ
ที่ วิธีการจัดหารายได้ ความคิดเห็น รวม
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 จัดสรรมาจากงบประมาณของรัฐ 59.2 19.1 21.7 100.0
2 แบ่งมาจากรายได้ของสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ 48.9 22.5 28.6 100.0
3 รายได้จากการโฆษณาภาพลักษณ์องค์กรธุรกิจ 65.7 10.6 23.7 100.0
4 นำมาจากการเก็บภาษีของสื่อบันเทิง (เช่น หนัง ละคร ฯลฯ) 69.6 12.0 18.4 100.0
5 เก็บภาษีจากสินค้าอบายมุข (เช่น เหล้า บุหรี่ หวย บ่อน) 77.4 10.3 12.3 100.0
6 นำมาจากการเก็บภาษีค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ประปา 30.3 48.5 21.2 100.0
7 เก็บค่าบริการเฉพาะจากบ้านที่เปิดรับโทรทัศน์สาธารณะ 24.8 54.8 20.4 100.0
8 รับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา 59.9 18.1 22.0 100.0
โดยตัวอย่างร้อยละ 9.7 ระบุพร้อมจะบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยจำนวน 583.89 บาท
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อบุคคลหรือสถาบันในการที่จะผลักดันให้มี
สถานีโทรทัศน์สาธารณะอย่างจริงจัง
ลำดับที่ บุคคลหรือสถาบัน ความเชื่อมั่น
เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวม
1 นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) 31.0 36.6 32.4 100.0
2 คณะรัฐมนตรี (ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์) 27.2 39.2 33.6 100.0
3 ประธาน คมช. (พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) 28.2 37.9 33.9 100.0
4 คณะบุคคลใน คมช. 23.2 39.5 37.3 100.0
5 สภาร่างรัฐธรรมนูญ 28.4 33.5 38.1 100.0
6 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 28.5 32.6 38.9 100.0
7 ข้าราชการ 22.4 40.4 37.2 100.0
8 ผู้นำความคิดในสังคม 32.9 31.3 35.8 100.0
9 สื่อมวลชน 44.1 24.2 31.7 100.0
10 นักธุรกิจ 26.3 37.2 36.5 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถจัดตั้งสถานีโทรทัศน์
สาธารณะได้สำเร็จ
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะทำได้สำเร็จ 17.4
2 เชื่อว่าไม่สำเร็จ 32.5
3 ไม่มีความเห็น 50.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะ
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ค่าร้อยละ
1 ควรมีความเป็นกลาง ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มต่างๆ 33.2
2 ควรเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง ตรงความเป็นจริง ทันเหตุการณ์ 29.7
3 ควรนำเสนอรายการ เนื้อหาสาระที่ดี มีประโยชน์ต่อสังคม 27.1
4 ควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางรายการต่างๆ 26.6
5 ควรมีอิสระในการทำงาน ไม่ถูกแทรกแซง ไม่เกรงอิทธิพลของกลุ่มต่างๆ 20.5
6 ควรนำเสนอรายการที่หลากหลาย ครบทั้งสาระและบันเทิง 15.3
7 ควรนำเสนอรายการเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในสังคม หรือเปิดโปงความผิดต่างๆ 6.1
8 ควรให้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือค่าสมาชิก 4.8
9 ควรมีจรรยาบรรณของสื่อมวลชนที่ดีในการทำงาน 3.9
10 ให้เป็นเรื่องของเอกชน 3.5
(ยังมีต่อ)