ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจดัชนีเชิงคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทย:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และนครศรีธรรมราช” จำนวนทั้งสิ้น 1,827 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ผลการสำรวจการมีคุณธรรมในเชิงพฤติกรรมของประชาชนด้วยการศึกษาถึงการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ซึ่งพบว่า พฤติกรรมที่สะท้อนถึงความเป็นคนมีคุณธรรมในกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ได้แก่ กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย ที่พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 มีพฤติกรรมดังกล่าว รองลงมาคือการปรับปรุงแก้ไขเมื่อตนเองกระทำในสิ่งผิด คิดเป็นร้อยละ 58.0 ในขณะที่ร้อยละ 53.0 ระบุการหากิจกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่าง ร้อยละ 36.2 ระบุการเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ และร้อยละ 25.3 ระบุไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ/วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านอื่นๆ นั้น พบว่าตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 72.0 มีความเอนเอียงที่จะไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์นั้นเป็นอุปสรรคในชีวิต ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 58.5 มีความเอนเอียงในการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามา และตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 49.6 มีความเอนเอียงที่จะใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ของคนไทยในสังคม เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มคน 2 วัยคือ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป นั้น พบความแตกต่างของคุณธรรมเชิงพฤติกรรมของทั้ง 2 กลุ่มอย่างชัดเจนคือ กรณีการกล่าวขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยนั้น พบว่า ร้อยละ 84.3 ของกลุ่มผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มเด็กและเยาวชนนั้นคิดเป็นร้อยละ 68.4 และเมื่อพิจารณาในเรื่องความเอนเอียงในการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามานั้น ผลการสำรวจพบว่าในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีความเอนเอียงในพฤติกรรมดังกล่าวสูงกว่าในกลุ่มผู้ใหญ่อย่างชัดเจน คือร้อยละ 71.1 และร้อยละ 52.5 และยังพบว่าความเอนเอียงในเรื่องการใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเองถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมายนั้น กลุ่มเด็กและเยาวชนก็มีความเอนเอียงดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน โดยคิดเป็นร้อยละ57.9 และร้อยละ 45.7 เช่นเดียวกับความเอนเอียงในเรื่องการไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์เป็นอุปสรรคในชีวิตนั้น ที่พบว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนมีความเอนเอียงในเรื่องดังกล่าวมากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพนั้น ผลสำรวจพบว่า โดยส่วนใหญ่ประชาชนทุกสาขาอาชีพมีพฤติกรรมเชิงคุณธรรมที่ใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้นในเรื่องของการกล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยที่พบว่าผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษามีสัดส่วนต่ำที่สุด โดยมีเพียงร้อยละ 66.8 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองได้กล่าวขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นๆ นั้นพบว่ามีตัวอย่างมากกว่า ร้อยละ 80 ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ในทางตรงกันข้าม เมื่อพิจารณาความเอนเอียงในเรื่องการใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย นั้นกลับพบว่า ในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษามีความเอนเอียงในเรื่องดังกล่าว สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น โดยคิดเป็นร้อยละ 65.1
นอกจากนี้ ผลสำรวจการทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในช่วง 30 วันที่ผ่านมาโดยพิจารณาจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ตัวอย่างได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ตามตัวชี้วัดคุณธรรม 8 ประการ ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีสติสัมปชัญญะ จิตอาสา (ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที และความอดทน นั้นพบว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมอันดับหนึ่งที่มีจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 22.23 ครั้ง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา รองลงมาคือเรื่องความขยันหมั่นเพียร 21.46 ครั้ง ความมีสติสัมปชัญญะ 20.41 ครั้ง ความซื่อสัตย์สุจริต 20.31 ครั้ง ความอดทน 19.87 ครั้ง ความมีระเบียบวินัย 19.65 ครั้ง และความรับผิดชอบ 19.09 ครั้ง ในขณะที่คุณธรรมด้านจิตอาสา/ความมีน้ำใจ/ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเท่ากับ 18.51 ครั้ง ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคุณธรรมด้านอื่นๆ
และเมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุนั้นพบว่า กลุ่มผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปมีจำนวนครั้งของการทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ทั้ง 8 ประการในช่วง 30 วันที่ผ่านมา สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ อย่างชัดเจน ในขณะที่เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีดังกล่าวตามกลุ่มอาชีพต่างๆ นั้น พบว่า ผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษาโดยส่วนใหญ่มีจำนวนครั้งของการทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่าง ๆ ต่ำกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจคุณธรรมเชิงพฤติกรรมของประชาชนในสังคมในด้านต่างๆ ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต สติสัมปชัญญะ จิตอาสา ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที และความอดทน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “สำรวจดัชนีเชิงคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทย : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และนครศรีธรรมราช” จำนวนทั้งสิ้น 1,827 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 12-65 ปีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และนครศรีธรรมราชเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,827 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ
หัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวสกุลรัตน์ พึ่งประดิษฐ์ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวอมตา เลิศนาคร นักสถิติ นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ นายคำพัน ราศรี นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี นายสมเจตน์ เจ๊ะสนิ นายภัทรวิชญ์ มั่งคั่ง นางสาวสุวิมล วันทา นายณัฐกิตติ์ สงรักษา ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้ดูแลทีมงานภาคสนาม นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศเลขานุการโครงการ พร้อมด้วยพนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 127 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 12-14 ปี ร้อยละ 12.3 อายุระหว่าง 15-19 ปี ร้อยละ 12.9 อายุระหว่าง 20-24 ปี ร้อยละ 12.9 อายุระหว่าง 25-29 ปี และร้อยละ 54.9 อายุ 30 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 28.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 22.7 มัธยมศึกษาตอนต้น/เทียบเท่า ร้อยละ 20.7 ระบุมัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า ร้อยละ 11.8 ระบุ ป.ว.ส./อนุปริญญา/เทียบเท่า ร้อยละ 14.5 ระบุ ปริญญาตรี ร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาคุณลักษณะของตัวอย่างจำแนกตามอาชีพพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 6.4 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 32.4 ระบุมีธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 19.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 21.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 5.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงานไม่มีงานทำ ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณารายได้ของครอบครัวต่อเดือนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.7 ระบุครอบครัวของตนมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 36.8 ระบุรายได้ 10,000-19,999 บาทต่อเดือน ร้อยละ 13.6 ระบุรายได้ 20,000-29,999 บาทต่อเดือน ร้อยละ 5.7 ระบุรายได้ 30,000-39,999 บาทต่อเดือน ร้อยละ 3.8 ระบุรายได้ 40,000-49,999 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ระบุครอบครัวของตนมีรายได้ตั้งแต่ 50,000ขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ
ลำดับที่ พฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย 79.2
2 ข้าพเจ้าไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์เป็นอุปสรรคในชีวิต 72.0
3 ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา 58.5
4 เมื่อกระทำในสิ่งที่ผิด จะรีบปรับปรุงแก้ไข 58.0
5 หากิจกรรมต่างๆ ทำเมื่อมีเวลาว่าง 53.0
6 ใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย 49.6
7 เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ 36.2
8 ไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ /วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง 25.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ พฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ เด็ก/เยาวชน(12-24 ปี)ค่าร้อยละ ผู้ใหญ่(25 ปีขึ้นไป)ค่าร้อยละ
1 ข้าพเจ้าไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์เป็นอุปสรรคในชีวิต 78.6 69.0
2 เมื่อกระทำในสิ่งที่ผิด จะรีบปรับปรุงแก้ไข 53.7 60.1
3 ใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง
ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย 57.9 45.7
4 ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา 71.1 52.5
5 เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ 30.8 38.7
6 หากิจกรรมต่างๆ ทำเมื่อมีเวลาว่าง 49.6 54.6
7 กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย 68.4 84.3
8 ไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ /วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง 23.2 26.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ จำแนกตามอาชีพ
พฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ข้าราชการ/ พนักงาน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/
รัฐวิสาหกิจ เอกชน ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป
1. ข้าพเจ้าไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์
เป็นอุปสรรคในชีวิต 70.2 74.3 69.8 77.2 73.5
2. เมื่อกระทำในสิ่งที่ผิด จะรีบปรับปรุงแก้ไข 62.3 59.2 60.0 54.7 58.0
3. ใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด
สำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย 33.0 49.0 44.0 65.1 51.0
4. ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหา
ต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา 48.2 57.1 53.6 73.4 58.5
5. เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน
ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ 43.5 31.7 34.2 33.3 42.6
6. หากิจกรรมต่างๆ ทำเมื่อมีเวลาว่าง 49.1 52.4 55.0 50.1 54.4
7. กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือแม้
เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย 87.0 84.1 84.2 66.8 79.1
8. ไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ /วิจารณ์ด้วยถ้อยคำ
ที่รุนแรง 23.5 28.2 25.2 24.3 24.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ตัวชี้วัดคุณธรรมในด้านต่างๆ จำนวนครั้ง
1 ความกตัญญูกตเวที 22.23
2 ความขยันหมั่นเพียร 21.46
3 สติสัมปชัญญะ 20.41
4 ความซื่อสัตย์สุจริต 20.31
5 ความอดทน 19.87
7 ความมีระเบียบวินัย 19.65
8 ความรับผิดชอบ 19.09
9 จิตอาสา /ความมีน้ำใจ /เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 18.51
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามช่วงอายุ
ตัวชี้วัดคุณธรรมในด้านต่างๆ 12-14 ปี 15-19 ปี 20-24 ปี 25-29 ปี 30 ปีขึ้นไป
1. ความมีระเบียบวินัย 17.07 16.74 18.28 20.47 20.78
2. ความรับผิดชอบ 16.72 16.29 17.98 18.37 20.50
3. ความซื่อสัตย์สุจริต 17.82 17.43 19.55 20.84 21.37
4. สติสัมปชัญญะ 17.71 17.05 19.57 19.81 21.87
5. จิตอาสา /ความมีน้ำใจ /เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 17.89 17.41 18.36 17.68 19.07
6. ความขยันหมั่นเพียร 19.70 18.63 20.54 20.49 22.77
7. ความกตัญญูกตเวที 20.62 20.24 21.06 20.66 23.55
8. ความอดทน 17.09 18.49 18.96 19.41 20.84
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามอาชีพ
ตัวชี้วัดคุณธรรมในด้านต่างๆ ข้าราขการ/ พนักงาน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/
รัฐวิสาหกิจ เอกชน ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป
1. ความมีระเบียบวินัย 25.22 18.70 20.38 17.66 19.28
2. ความรับผิดชอบ 24.93 18.95 19.40 17.23 18.76
3. ความซื่อสัตย์สุจริต 24.98 20.28 21.22 18.22 19.26
4. สติสัมปชัญญะ 25.07 19.04 21.82 18.01 19.83
5. จิตอาสา /ความมีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 21.41 17.20 18.78 18.11 18.40
6. ความขยันหมั่นเพียร 23.55 19.73 22.85 19.61 21.04
7. ความกตัญญูกตเวที 24.04 20.79 22.73 21.10 22.04
8. ความอดทน 21.55 18.64 20.98 17.97 19.45
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-
ผลการสำรวจการมีคุณธรรมในเชิงพฤติกรรมของประชาชนด้วยการศึกษาถึงการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ซึ่งพบว่า พฤติกรรมที่สะท้อนถึงความเป็นคนมีคุณธรรมในกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ได้แก่ กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย ที่พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 มีพฤติกรรมดังกล่าว รองลงมาคือการปรับปรุงแก้ไขเมื่อตนเองกระทำในสิ่งผิด คิดเป็นร้อยละ 58.0 ในขณะที่ร้อยละ 53.0 ระบุการหากิจกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่าง ร้อยละ 36.2 ระบุการเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ และร้อยละ 25.3 ระบุไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ/วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านอื่นๆ นั้น พบว่าตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 72.0 มีความเอนเอียงที่จะไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์นั้นเป็นอุปสรรคในชีวิต ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 58.5 มีความเอนเอียงในการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามา และตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 49.6 มีความเอนเอียงที่จะใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ของคนไทยในสังคม เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มคน 2 วัยคือ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป นั้น พบความแตกต่างของคุณธรรมเชิงพฤติกรรมของทั้ง 2 กลุ่มอย่างชัดเจนคือ กรณีการกล่าวขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยนั้น พบว่า ร้อยละ 84.3 ของกลุ่มผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มเด็กและเยาวชนนั้นคิดเป็นร้อยละ 68.4 และเมื่อพิจารณาในเรื่องความเอนเอียงในการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามานั้น ผลการสำรวจพบว่าในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีความเอนเอียงในพฤติกรรมดังกล่าวสูงกว่าในกลุ่มผู้ใหญ่อย่างชัดเจน คือร้อยละ 71.1 และร้อยละ 52.5 และยังพบว่าความเอนเอียงในเรื่องการใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเองถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมายนั้น กลุ่มเด็กและเยาวชนก็มีความเอนเอียงดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน โดยคิดเป็นร้อยละ57.9 และร้อยละ 45.7 เช่นเดียวกับความเอนเอียงในเรื่องการไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์เป็นอุปสรรคในชีวิตนั้น ที่พบว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนมีความเอนเอียงในเรื่องดังกล่าวมากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการมีพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพนั้น ผลสำรวจพบว่า โดยส่วนใหญ่ประชาชนทุกสาขาอาชีพมีพฤติกรรมเชิงคุณธรรมที่ใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้นในเรื่องของการกล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยที่พบว่าผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษามีสัดส่วนต่ำที่สุด โดยมีเพียงร้อยละ 66.8 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองได้กล่าวขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นๆ นั้นพบว่ามีตัวอย่างมากกว่า ร้อยละ 80 ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ในทางตรงกันข้าม เมื่อพิจารณาความเอนเอียงในเรื่องการใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย นั้นกลับพบว่า ในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษามีความเอนเอียงในเรื่องดังกล่าว สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น โดยคิดเป็นร้อยละ 65.1
นอกจากนี้ ผลสำรวจการทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในช่วง 30 วันที่ผ่านมาโดยพิจารณาจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ตัวอย่างได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ตามตัวชี้วัดคุณธรรม 8 ประการ ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีสติสัมปชัญญะ จิตอาสา (ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที และความอดทน นั้นพบว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมอันดับหนึ่งที่มีจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 22.23 ครั้ง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา รองลงมาคือเรื่องความขยันหมั่นเพียร 21.46 ครั้ง ความมีสติสัมปชัญญะ 20.41 ครั้ง ความซื่อสัตย์สุจริต 20.31 ครั้ง ความอดทน 19.87 ครั้ง ความมีระเบียบวินัย 19.65 ครั้ง และความรับผิดชอบ 19.09 ครั้ง ในขณะที่คุณธรรมด้านจิตอาสา/ความมีน้ำใจ/ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเท่ากับ 18.51 ครั้ง ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคุณธรรมด้านอื่นๆ
และเมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุนั้นพบว่า กลุ่มผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปมีจำนวนครั้งของการทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ทั้ง 8 ประการในช่วง 30 วันที่ผ่านมา สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ อย่างชัดเจน ในขณะที่เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีดังกล่าวตามกลุ่มอาชีพต่างๆ นั้น พบว่า ผู้ที่เป็นนักเรียนนักศึกษาโดยส่วนใหญ่มีจำนวนครั้งของการทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่าง ๆ ต่ำกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจคุณธรรมเชิงพฤติกรรมของประชาชนในสังคมในด้านต่างๆ ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต สติสัมปชัญญะ จิตอาสา ความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที และความอดทน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “สำรวจดัชนีเชิงคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทย : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และนครศรีธรรมราช” จำนวนทั้งสิ้น 1,827 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 12-65 ปีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และนครศรีธรรมราชเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,827 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ
หัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวสกุลรัตน์ พึ่งประดิษฐ์ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวอมตา เลิศนาคร นักสถิติ นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ นายคำพัน ราศรี นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี นายสมเจตน์ เจ๊ะสนิ นายภัทรวิชญ์ มั่งคั่ง นางสาวสุวิมล วันทา นายณัฐกิตติ์ สงรักษา ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้ดูแลทีมงานภาคสนาม นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศเลขานุการโครงการ พร้อมด้วยพนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 127 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 12-14 ปี ร้อยละ 12.3 อายุระหว่าง 15-19 ปี ร้อยละ 12.9 อายุระหว่าง 20-24 ปี ร้อยละ 12.9 อายุระหว่าง 25-29 ปี และร้อยละ 54.9 อายุ 30 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 28.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 22.7 มัธยมศึกษาตอนต้น/เทียบเท่า ร้อยละ 20.7 ระบุมัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า ร้อยละ 11.8 ระบุ ป.ว.ส./อนุปริญญา/เทียบเท่า ร้อยละ 14.5 ระบุ ปริญญาตรี ร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาคุณลักษณะของตัวอย่างจำแนกตามอาชีพพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 6.4 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 32.4 ระบุมีธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 19.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 21.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 5.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงานไม่มีงานทำ ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณารายได้ของครอบครัวต่อเดือนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.7 ระบุครอบครัวของตนมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 36.8 ระบุรายได้ 10,000-19,999 บาทต่อเดือน ร้อยละ 13.6 ระบุรายได้ 20,000-29,999 บาทต่อเดือน ร้อยละ 5.7 ระบุรายได้ 30,000-39,999 บาทต่อเดือน ร้อยละ 3.8 ระบุรายได้ 40,000-49,999 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ระบุครอบครัวของตนมีรายได้ตั้งแต่ 50,000ขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ
ลำดับที่ พฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย 79.2
2 ข้าพเจ้าไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์เป็นอุปสรรคในชีวิต 72.0
3 ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา 58.5
4 เมื่อกระทำในสิ่งที่ผิด จะรีบปรับปรุงแก้ไข 58.0
5 หากิจกรรมต่างๆ ทำเมื่อมีเวลาว่าง 53.0
6 ใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย 49.6
7 เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ 36.2
8 ไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ /วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง 25.3
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ พฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ เด็ก/เยาวชน(12-24 ปี)ค่าร้อยละ ผู้ใหญ่(25 ปีขึ้นไป)ค่าร้อยละ
1 ข้าพเจ้าไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์เป็นอุปสรรคในชีวิต 78.6 69.0
2 เมื่อกระทำในสิ่งที่ผิด จะรีบปรับปรุงแก้ไข 53.7 60.1
3 ใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดสำหรับตนเอง
ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย 57.9 45.7
4 ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา 71.1 52.5
5 เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ 30.8 38.7
6 หากิจกรรมต่างๆ ทำเมื่อมีเวลาว่าง 49.6 54.6
7 กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ แม้เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย 68.4 84.3
8 ไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ /วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง 23.2 26.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ จำแนกตามอาชีพ
พฤติกรรมบางประการของคุณธรรมด้านต่างๆ ข้าราชการ/ พนักงาน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/
รัฐวิสาหกิจ เอกชน ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป
1. ข้าพเจ้าไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ถ้ากฎเกณฑ์
เป็นอุปสรรคในชีวิต 70.2 74.3 69.8 77.2 73.5
2. เมื่อกระทำในสิ่งที่ผิด จะรีบปรับปรุงแก้ไข 62.3 59.2 60.0 54.7 58.0
3. ใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด
สำหรับตนเอง ถึงแม้เทคนิคนั้นจะผิดกฎหมาย 33.0 49.0 44.0 65.1 51.0
4. ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหา
ต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา 48.2 57.1 53.6 73.4 58.5
5. เข้าไปช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน
ก่อนที่ผู้นั้นจะร้องขอ 43.5 31.7 34.2 33.3 42.6
6. หากิจกรรมต่างๆ ทำเมื่อมีเวลาว่าง 49.1 52.4 55.0 50.1 54.4
7. กล่าวคำขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือแม้
เป็นการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย 87.0 84.1 84.2 66.8 79.1
8. ไม่โกรธเมื่อถูกตำหนิ /วิจารณ์ด้วยถ้อยคำ
ที่รุนแรง 23.5 28.2 25.2 24.3 24.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ตัวชี้วัดคุณธรรมในด้านต่างๆ จำนวนครั้ง
1 ความกตัญญูกตเวที 22.23
2 ความขยันหมั่นเพียร 21.46
3 สติสัมปชัญญะ 20.41
4 ความซื่อสัตย์สุจริต 20.31
5 ความอดทน 19.87
7 ความมีระเบียบวินัย 19.65
8 ความรับผิดชอบ 19.09
9 จิตอาสา /ความมีน้ำใจ /เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 18.51
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามช่วงอายุ
ตัวชี้วัดคุณธรรมในด้านต่างๆ 12-14 ปี 15-19 ปี 20-24 ปี 25-29 ปี 30 ปีขึ้นไป
1. ความมีระเบียบวินัย 17.07 16.74 18.28 20.47 20.78
2. ความรับผิดชอบ 16.72 16.29 17.98 18.37 20.50
3. ความซื่อสัตย์สุจริต 17.82 17.43 19.55 20.84 21.37
4. สติสัมปชัญญะ 17.71 17.05 19.57 19.81 21.87
5. จิตอาสา /ความมีน้ำใจ /เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 17.89 17.41 18.36 17.68 19.07
6. ความขยันหมั่นเพียร 19.70 18.63 20.54 20.49 22.77
7. ความกตัญญูกตเวที 20.62 20.24 21.06 20.66 23.55
8. ความอดทน 17.09 18.49 18.96 19.41 20.84
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ได้ทำตนเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาจำแนกตามอาชีพ
ตัวชี้วัดคุณธรรมในด้านต่างๆ ข้าราขการ/ พนักงาน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/
รัฐวิสาหกิจ เอกชน ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป
1. ความมีระเบียบวินัย 25.22 18.70 20.38 17.66 19.28
2. ความรับผิดชอบ 24.93 18.95 19.40 17.23 18.76
3. ความซื่อสัตย์สุจริต 24.98 20.28 21.22 18.22 19.26
4. สติสัมปชัญญะ 25.07 19.04 21.82 18.01 19.83
5. จิตอาสา /ความมีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 21.41 17.20 18.78 18.11 18.40
6. ความขยันหมั่นเพียร 23.55 19.73 22.85 19.61 21.04
7. ความกตัญญูกตเวที 24.04 20.79 22.73 21.10 22.04
8. ความอดทน 21.55 18.64 20.98 17.97 19.45
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-