เอแบคโพลล์: ผู้บริโภคคิดอย่างไรต่อแนวคิดการขึ้นภาษี (VAT) โดยรัฐบาล

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 27, 2010 07:27 —เอแบคโพลล์

ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้อำนวยการโครงการ ABAC Consumer Index บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ และนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC — SIMBA) เปิดผลวิจัย ABAC Consumer Index ระดับครัวเรือน เรื่อง ผู้บริโภคคิดอย่างไรต่อแนวคิดการขึ้นภาษี (VAT) โดยรัฐบาล เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในระดับครัวเรือนอายุ 15 — 60 ปี จำนวน 2,250 ตัวอย่าง จาก 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา ระหว่างวันที่ 16 — 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

ประชาชนที่ถูกศึกษาจำนวนมากหรือร้อยละ 47.2 รู้สึกมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม จำนวนมากเช่นกันหรือเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.2 รู้สึกมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของรัฐบาลลดลง ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.6 รู้สึกเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น

ที่น่าเป็นห่วงคือ เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.8 ระบุรายได้ส่วนตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ระบุรายได้ส่วนตัวเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.5 เท่านั้นที่มีรายได้ส่วนตัวเพิ่มขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ของกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 48.0 ระบุเมื่อนำรายได้ของทุกคนในครอบครัวรวมกันแล้ว ในช่วงเดือนที่ผ่านมา พบว่ารายได้ครอบครัวลดลง ในขณะที่ร้อยละ 41.7 ระบุเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 10.3 ที่ระบุว่ามีรายได้ครอบครัวเพิ่มขึ้น

และเมื่อถามถึง ความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐที่จะขึ้นภาษี (VAT) ในสินค้าและบริการต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 ไม่เห็นด้วย เพราะภาระค่าใช้จ่ายตอนนี้มากพออยู่แล้ว ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้น้อยถ้าขึ้นภาษีราคาสินค้าก็จะสูงขึ้น มีปัญหาเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่ายมากพอแล้ว รัฐบาลควรมีมาตรการจัดเก็บภาษีจากคนที่มีรายสูงมากกว่า เป็นต้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้นที่เห็นด้วย เพราะจะได้นำเงินภาษีมาใช้ในการบริหารประเทศ และที่เหลือร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 59.6 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 40.4 เป็นเพศชาย

          ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่า          ร้อยละ 15.6 ระบุอายุ 15-24 ปี

ร้อยละ 29.1 อายุ 25-35 ปี

ร้อยละ 24.4 อายุ 36-45 ปี

ร้อยละ 30.9 ระบุอายุ 46-60 ปี

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า

ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/เทียบเท่า

ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.

ร้อยละ 7.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส./อนุปริญญา หรือเทียบเท่า

และร้อยละ 14.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 38.5 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย

ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 29.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 7.5 ระบุเป็น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ในขณะที่ ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

          ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่า        ร้อยละ 82.3 ระบุรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน

ในขณะที่ ร้อยละ 17.7 ระบุรายได้มากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพของรัฐบาล              ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                   15.6
2          เท่าเดิม                                                  47.2
3          ลดลง                                                    37.2
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0


ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายได้ส่วนตัวต่อเดือนเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา
ลำดับที่          รายได้ส่วนตัว เทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา           ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                    7.5
2          เท่าเดิม                                                  43.7
3          ลดลง                                                    48.8
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายได้ของครอบครัว (รายได้ของทุกคนรวมกันในครอบครัว)  ช่วงเดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่          รายได้ของทุกคนรวมกันในครอบครัว ช่วงเดือนที่ผ่านมา           ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                   10.3
2          เท่าเดิม                                                  41.7
3          ลดลง                                                    48.0
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกระแสข่าวแนวคิดของรัฐที่จะขึ้นภาษี (VAT) ในสินค้าและบริการต่าง
ลำดับที่          ข่าวแนวคิดของรัฐในการขึ้นภาษี (VAT)                                ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย เพราะจะได้นำเงินภาษีมาใช้ในการบริหารประเทศ                       2.8
2          ไม่เห็นด้วย เพราะภาระค่าใช้จ่ายตอนนี้มากพออยู่แล้ว ค่าครองชีพสูงขึ้น

รายได้น้อยถ้าขึ้นภาษีราคาสินค้าก็จะสูงขึ้นมีปัญหาเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่ายมากพอแล้ว

           รัฐบาลควรมีมาตรการจัดเก็บภาษีจากคนที่มีรายสูงมากกว่า เป็นต้น                  71.8
3          ไม่มีความเห็น                                                        25.4
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

สนใจติดต่อร่วมสนับสนุนเครือข่ายทางสังคมปฏิรูปดัชนีผู้บริโภค โทรศัพท์ 0-2719-1550 โทรสาร 0-2719-1955 abacpoll@au.edu

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ