กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 76 จังหวัดของประเทศ และประชาชนชาวบ้านผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 12 จังหวัดของประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งทั่วประเทศ แกนนำชุมนและชาวบ้านจะเลือกพรรคการเมืองใด กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศและประชาชนชาวบ้านผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 12 จังหวัดของประเทศ แกนนำชุมชนทั่วประเทศได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน และแกนนำหมู่บ้าน/ชุมชนตามธรรมชาติ จำนวนทั้งสิ้น 865 คน และประชาชนทั่วไป 1,898 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา พบว่า
ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ทั่วประเทศวันนี้ แกนนำชุมชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 จะไม่ชักชวนให้คนอื่นๆ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่เพียงร้อยละ 42.1 ที่จะชักชวน
เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่แกนนำชุมชนตั้งใจจะเลือก พบว่า ร้อยละ 34.9 ของแกนนำชุมชนจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 12.9 ระบุพรรคการเมืองอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แกนนำชุมชนจำนวนมากหรือร้อยละ 40.5 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก
เมื่อถามแกนนำชุมชนว่า และชาวบ้านจะเลือกใคร พบว่า ก้ำกึ่งกัน คือร้อยละ 32.5 และร้อยละ 31.9 ระบุว่าชาวบ้านจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย ตามลำดับ ในขณะที่ร้อยละ 10.7 บอกว่าชาวบ้านจะเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ และร้อยละ 24.9 ไม่ระบุ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามกลุ่มชาวบ้านเอง พบว่า ผลสำรวจออกมาใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 28.1 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 24.1 ระบุพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 7.1 ระบุพรรคการเมืองอื่น และที่เหลือร้อยละ 40.7 ระบุยังไม่ตัดสินใจ
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 46.4 เป็นเพศชาย
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่าร้อยละ 34.6 ระบุอายุไม่เกิน 35 ปี
ร้อยละ 28.9 อายุ 36-45 ปี
และร้อยละ 36.5 อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 85.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 14.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 34.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 32.5 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 7.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.1 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 เป็นชาย
ร้อยละ 22.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 3.1 ระบุอายุไม่เกิน 35 ปี
ร้อยละ 36.3 อายุ 36-45 ปี
และร้อยละ 60.6 อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 46.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 14.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 15.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การชักชวนคนอื่นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ค่าร้อยละ 1 ชักชวน 42.1 2 ไม่ชักชวน 57.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างแกนนำที่ระบุพรรคการเมืองที่ตนเองและคนอื่นในหมู่บ้าน/ชุมชนตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วน หากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วน ตนเองจะเลือกค่าร้อยละ คิดว่าคนอื่นจะเลือกค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 34.9 32.5 2 พรรคเพื่อไทย 11.7 31.9 3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย/พรรคกิจสังคม/
พรรคชาติไทยพัฒนา/พรรคประชาราช/พรรครวมชาติพัฒนา/
พรรคเพื่อแผ่นดิน(รวมใจไทยชาติพัฒนา)/พรรคมาตุภูมิ/
พรรคการเมืองใหม่ 12.9 10.7 4 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก 40.5 24.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนหากมีการ เลือกตั้งใหม่ในวันนี้ ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วน ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์ 28.1 2 พรรคเพื่อไทย 24.1 3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย/พรรคกิจสังคม/พรรคชาติไทยพัฒนา/พรรคประชาราช/พรรครวมชาติพัฒนา / พรรคเพื่อแผ่นดิน (รวมใจไทยชาติพัฒนา) /พรรคมาตุภูมิ/ พรรคการเมืองใหม่ 7.1 4 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก 40.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-