เอแบคโพลล์เผยผลสำรวจรายการโทรทัศน์ไทย ช่อง 7 พบฉากตบตีสูงสุด ตามด้วยช่อง3, 5 ,TITV , 9 และ ช่อง 11 ตามลำดับ ชี้
ละครไทยครองแชมป์เนื้อหาส่อความรุนแรง พบ 80% หนุนจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ แนะออกมาตรการให้คำแนะนำคอยควบคุม
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองต่อการจัดเรตติ้งรายการทีวี: กรณีศึกษาประชาชนอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวน 2,486 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน-4 กรกฎาคม 2550 พบว่า ช่วงเวลาที่เด็กปฐมวัย (อายุ 3-
5 ปี) รับชมรายการมากที่สุดถึง ร้อยละ 58.6 คือช่วงเวลา 18.01-20.00 น. ในกลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) ร้อยละ 55.1 คือช่วงเวลา
18.01-20.00 น. และในกลุ่มเด็กวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) ร้อยละ 57.8 คือช่วงเวลา 20.01-22.00 น.
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำร้ายร่างกายกันใน
รายการโทรทัศน์ จำแนกตามกลุ่ม พบว่า ในกลุ่มเด็กปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) ร้อยละ 75.0 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 25.0 ระบุไม่เคยพบเห็น ใน
กลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) ร้อยละ 87.3 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 12.7 ระบุไม่เคยพบเห็น ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) ร้อย
ละ 84.0 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 16.0 ระบุไม่เคยพบเห็น และในกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 95.7 ระบุเคยพบเห็น และร้อย
ละ 4.3 ระบุไม่เคยพบเห็น ส่วนในภาพรวม ร้อยละ 91.5 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 8.5 ระบุไม่เคยพบเห็น
ส่วนความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ พบว่า ฉากความรุนแรงใน
รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศโดยช่อง 7 มากที่สุด รองลงมา คือ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง TITV ช่อง 9 และช่อง 11 ตามลำดับ
สำหรับช่วงเวลารายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสมออกอากาศ จากการสอบถามกับกลุ่มผู้ใหญ่
(อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) พบว่า ช่วง 20.01-22.00 น. มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.8 รองลงมา คือ ร้อยละ 22.9 ระบุช่วงเวลา 18.01-20.00
น. ร้อยละ 21.6 ระบุช่วงเวลา 22.01-24.00 น. ร้อยละ 8.8 ระบุช่วงเวลาหลัง 24.00 น. และร้อยละ 7.2 ระบุช่วง 16.01-18.00 น.
ด้านประเภทของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม จากการสอบถามกับกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป) เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ร้อยละ 86.2 ระบุละคร ร้อยละ 22.8 ระบุข่าว ร้อยละ 10.1 ระบุเกมส์โชว์ ร้อยละ 9.5 ระบุ
การ์ตูน ร้อยละ 9.4 ระบุวาไรตี้บันเทิง และร้อยละ 2.4 ระบุกีฬา
สำหรับความคิดเห็นในกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) เกี่ยวกับการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ต่างๆ พบว่า ร้อย
ละ 88.4 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 11.6 ระบุไม่เห็นด้วย ทั้งนี้เมื่อสอบถามกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) ถึงวิธีการดูแลปกป้องลูกหลาน ไม่ให้
รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม พบว่า ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ให้คำแนะนำชี้แจงเนื้อหาของบทละครต่างๆ /
แนะนำตักเตือน (ร้อยละ 44.0) 2) เปลี่ยนไปช่องอื่นหากมีฉากรุนแรง / หลีกเลี่ยงละครที่ใช้ความรุนแรง (ร้อยละ 13.3) 3) เลือกรายการที่จะ
ดู / เลือกรายการที่มีสาระ (ร้อยละ 12.8) 4) ให้ข้อมูลควบคู่ไปด้วยว่ารายการไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม (ร้อยละ 12.0) และ 5) ให้ทำ
กิจกรรมอื่นแทนการดูละคร (ร้อยละ 9.0)
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 3 ปีขึ้นไป ใน
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอด
คล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,486 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่
ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 57.5 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 อายุระหว่าง 3-5 ปี
ร้อยละ 18.5 อายุระหว่าง 6-12 ปี
ร้อยละ 16.3 อายุระหว่าง 13-18 ปี
ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 19—29 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 15.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 8.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 20.9 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 6.0 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 21.9 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์ หลังกลับจากโรงเรียน (เฉพาะเยาวชน) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี)
1 16.01-18.00 น. 47.1 40.5 16.8
2 18.01-20.00 น. 58.6 55.1 45.0
3 20.01-22.00 น. 40.2 37.3 57.8
4 22.01-24.00 น. 6.9 6.5 18.6
5 หลัง 24.00 น. - 0.9 5.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่บุตรหลานของตนชมรายการโทรทัศน์ หลังกลับจาก
โรงเรียน (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่บุตรหลานของตนชมรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 16.01-18.00 น. 35.5
2 18.01-20.00 น. 66.1
3 20.01-22.00 น. 39.1
4 22.01-24.00 น. 6.2
5 หลัง 24.00 น. 1.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หลังกลับ
จาก โรงเรียน (เฉพาะเยาวชน) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ค่าร้อยละ
ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี)
1 16.01-18.00 น. 28.9 19.5 13.6
2 18.01-20.00 น. 61.1 44.6 43.4
3 20.01-22.00 น. 37.8 51.0 57.1
4 22.01-24.00 น. 8.9 7.8 11.1
5 หลัง 24.00 น. - 1.8 1.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับบุตรหลาน หลังกลับจาก
โรงเรียน (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 16.01-18.00 น. 16.0
2 18.01-20.00 น. 55.4
3 20.01-22.00 น. 52.9
4 22.01-24.00 น. 5.4
5 หลัง 24.00 น. 1.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้คำแนะนำของพ่อ แม่ ผู้ปกครองในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเยาวชน)
ลำดับที่ การให้คำแนะนำของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ค่าร้อยละ
ในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี) รวม
1 เคยได้รับคำแนะนำ 84.4 79.9 82.2 81.3
2 ไม่เคยได้รับคำแนะนำ 15.6 20.1 17.8 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน ในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ การให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน ในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 เคยให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน 84.2
2 ไม่เคยให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน 15.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์
ลำดับที่ การพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี) ผู้ใหญ่(18 ปีขึ้น) รวม
1 เคย 75.0 87.3 84.0 95.7 91.5
2 ไม่เคย 25.0 12.7 16.0 4.3 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเด็กปฐมวัย 3-5 ปี)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 26.7 24.0 24.0 17.3 8.0 100.0
2 ช่อง 3 17.2 17.2 31.3 23.4 10.9 100.0
3 ช่อง 9 11.8 7.8 27.5 25.5 27.4 100.0
4 ช่อง TITV 11.6 9.3 27.9 23.3 27.9 100.0
5 ช่อง 11 7.9 7.9 10.6 36.8 36.8 100.0
6 ช่อง 5 7.5 15.0 27.5 27.5 22.5 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเด็กวัยเรียน 6-12 ปี)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 38.3 19.0 26.7 12.1 3.9 100.0
2 ช่อง 3 26.0 20.9 34.0 13.4 5.7 100.0
3 ช่อง TITV 12.6 11.4 26.4 24.3 25.3 100.0
4 ช่อง 5 11.5 15.2 33.1 25.3 14.9 100.0
5 ช่อง 9 7.5 7.5 28.1 28.1 28.8 100.0
6 ช่อง 11 3.8 5.3 17.3 23.3 50.3 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเด็กวัยรุ่น 13-18 ปี)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 23.0 39.3 28.2 7.7 1.8 100.0
2 ช่อง 3 15.5 32.8 36.4 11.3 4.0 100.0
3 ช่อง 5 11.0 23.4 33.1 20.8 11.7 100.0
4 ช่อง TITV 8.0 12.1 35.0 27.4 17.5 100.0
5 ช่อง 9 5.9 9.5 29.6 31.9 23.1 100.0
6 ช่อง 11 2.1 8.5 15.8 23.9 49.7 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 31.8 32.5 26.5 7.5 1.8 100.0
2 ช่อง TITV 31.7 32.5 26.5 7.5 1.8 100.0
3 ช่อง 3 25.4 30.4 33.4 8.5 2.3 100.0
4 ช่อง 9 25.4 30.4 33.4 8.5 2.3 100.0
5 ช่อง 5 10.4 20.4 42.7 20.4 6.1 100.0
6 ช่อง 11 10.4 20.4 42.7 20.4 6.1 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (ภาพรวมทั้งหมด)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 30.7 28.1 27.1 10.6 3.4 100.0
2 ช่อง 3 20.6 25.9 34.9 13.3 5.3 100.0
3 ช่อง 5 11.0 19.1 32.8 23.3 13.8 100.0
4 ช่อง TITV 10.4 11.6 30.4 25.7 21.9 100.0
5 ช่อง 9 7.1 8.5 28.7 29.7 26.0 100.0
6 ช่อง 11 3.2 7.0 16.2 24.5 49.1 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคะแนนระดับความรุนแรงของรายการต่างๆ ที่ออกอากาศตามสถานีโทรทัศน์
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ ค่าคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี) ผู้ใหญ่(18 ปีขึ้น) รวม
1 ช่อง 7 5.99 6.93 6.88 6.95 6.91
2 ช่อง 3 5.75 6.32 6.33 6.64 6.51
3 ช่อง 5 4.93 5.44 5.64 5.65 5.60
4 ช่อง TITV 5.23 5.58 5.30 4.93 5.11
5 ช่อง 9 4.88 5.20 4.78 4.92 4.94
6 ช่อง 11 4.38 4.15 4.22 4.00 4.07
คะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวม 5.25 5.91 5.67 5.80 5.78
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ต่างๆ (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ต่างๆ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 88.4
2 ไม่เห็นด้วย 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรู้เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ที่บุตรหลานรับชม (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ การรู้เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ที่บุตรหลานชม ค่าร้อยละ
1 รู้เป็นอย่างดี 31.0
2 รู้ค่อนข้างดี 28.6
3 รู้บ้างไม่รู้บ้าง 36.6
4 ไม่ค่อยรู้ 3.0
5 ไม่เคยรู้เลย 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปริมาณของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่
เหมาะสมที่บุตรหลานได้รับชมในปัจจุบัน (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ ปริมาณของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสมที่บุตรหลานได้รับชมในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มาก 9.6
2 ค่อนข้างมาก 21.9
3 ปานกลาง 42.8
4 ค่อนข้างน้อย 16.7
5 น้อย 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่รายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม
ออกอากาศ (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่รายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสมออกอากาศ ค่าร้อยละ
1 16.01-18.00 น. 7.2
2 18.01-20.00 น. 22.9
3 20.01-22.00 น. 68.8
4 22.01-24.00 น. 21.6
5 หลัง 24.00 น. 8.8
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่
เหมาะสม (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม ค่าร้อยละ
1 ละคร 86.2
2 ข่าว 22.8
3 เกมส์โชว์ 10.1
4 การ์ตูน 9.5
5 วาไรตี้บันเทิง 9.4
6 กีฬา 2.4
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการดูแลปกป้องบุตรหลาน ไม่ให้รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการดูแลปกป้องบุตรหลาน ไม่ให้รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม ค่าร้อยละ
1 ให้คำแนะนำชี้แจงเนื้อหาของบทละครต่างๆ / แนะนำตักเตือน 44.0
2 เปลี่ยนไปช่องอื่นหากมีฉากรุนแรง / หลีกเลี่ยงละครที่ใช้ความรุนแรง 13.3
3 เลือกรายการที่จะดู / เลือกรายการที่มีสาระ 12.8
4 ให้ข้อมูลควบคู่ไปด้วยว่ารายการไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม 12.0
5 ให้ทำกิจกรรมอื่นแทนการดูละคร 9.0
6 พยายามไม่ให้ดูช่องนั้น / เปลี่ยนช่อง 8.6
7 ปิดโทรทัศน์ 7.2
8 ดูบ้างแต่ควรพอประมาณหรือควรกำหนดเวลาดูโทรทัศน์ 7.2
9 ดูทีวีด้วยกัน 6.1
10 ไม่ให้ดูละคร 4.6
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ละครไทยครองแชมป์เนื้อหาส่อความรุนแรง พบ 80% หนุนจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ แนะออกมาตรการให้คำแนะนำคอยควบคุม
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองต่อการจัดเรตติ้งรายการทีวี: กรณีศึกษาประชาชนอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวน 2,486 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน-4 กรกฎาคม 2550 พบว่า ช่วงเวลาที่เด็กปฐมวัย (อายุ 3-
5 ปี) รับชมรายการมากที่สุดถึง ร้อยละ 58.6 คือช่วงเวลา 18.01-20.00 น. ในกลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) ร้อยละ 55.1 คือช่วงเวลา
18.01-20.00 น. และในกลุ่มเด็กวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) ร้อยละ 57.8 คือช่วงเวลา 20.01-22.00 น.
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำร้ายร่างกายกันใน
รายการโทรทัศน์ จำแนกตามกลุ่ม พบว่า ในกลุ่มเด็กปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) ร้อยละ 75.0 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 25.0 ระบุไม่เคยพบเห็น ใน
กลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) ร้อยละ 87.3 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 12.7 ระบุไม่เคยพบเห็น ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) ร้อย
ละ 84.0 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 16.0 ระบุไม่เคยพบเห็น และในกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 95.7 ระบุเคยพบเห็น และร้อย
ละ 4.3 ระบุไม่เคยพบเห็น ส่วนในภาพรวม ร้อยละ 91.5 ระบุเคยพบเห็น และร้อยละ 8.5 ระบุไม่เคยพบเห็น
ส่วนความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ พบว่า ฉากความรุนแรงใน
รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศโดยช่อง 7 มากที่สุด รองลงมา คือ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง TITV ช่อง 9 และช่อง 11 ตามลำดับ
สำหรับช่วงเวลารายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสมออกอากาศ จากการสอบถามกับกลุ่มผู้ใหญ่
(อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) พบว่า ช่วง 20.01-22.00 น. มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.8 รองลงมา คือ ร้อยละ 22.9 ระบุช่วงเวลา 18.01-20.00
น. ร้อยละ 21.6 ระบุช่วงเวลา 22.01-24.00 น. ร้อยละ 8.8 ระบุช่วงเวลาหลัง 24.00 น. และร้อยละ 7.2 ระบุช่วง 16.01-18.00 น.
ด้านประเภทของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม จากการสอบถามกับกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป) เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ร้อยละ 86.2 ระบุละคร ร้อยละ 22.8 ระบุข่าว ร้อยละ 10.1 ระบุเกมส์โชว์ ร้อยละ 9.5 ระบุ
การ์ตูน ร้อยละ 9.4 ระบุวาไรตี้บันเทิง และร้อยละ 2.4 ระบุกีฬา
สำหรับความคิดเห็นในกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) เกี่ยวกับการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ต่างๆ พบว่า ร้อย
ละ 88.4 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 11.6 ระบุไม่เห็นด้วย ทั้งนี้เมื่อสอบถามกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) ถึงวิธีการดูแลปกป้องลูกหลาน ไม่ให้
รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม พบว่า ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ให้คำแนะนำชี้แจงเนื้อหาของบทละครต่างๆ /
แนะนำตักเตือน (ร้อยละ 44.0) 2) เปลี่ยนไปช่องอื่นหากมีฉากรุนแรง / หลีกเลี่ยงละครที่ใช้ความรุนแรง (ร้อยละ 13.3) 3) เลือกรายการที่จะ
ดู / เลือกรายการที่มีสาระ (ร้อยละ 12.8) 4) ให้ข้อมูลควบคู่ไปด้วยว่ารายการไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม (ร้อยละ 12.0) และ 5) ให้ทำ
กิจกรรมอื่นแทนการดูละคร (ร้อยละ 9.0)
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 3 ปีขึ้นไป ใน
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอด
คล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,486 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่
ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 57.5 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 อายุระหว่าง 3-5 ปี
ร้อยละ 18.5 อายุระหว่าง 6-12 ปี
ร้อยละ 16.3 อายุระหว่าง 13-18 ปี
ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 19—29 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 15.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 8.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 20.9 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 6.0 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 21.9 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์ หลังกลับจากโรงเรียน (เฉพาะเยาวชน) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี)
1 16.01-18.00 น. 47.1 40.5 16.8
2 18.01-20.00 น. 58.6 55.1 45.0
3 20.01-22.00 น. 40.2 37.3 57.8
4 22.01-24.00 น. 6.9 6.5 18.6
5 หลัง 24.00 น. - 0.9 5.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่บุตรหลานของตนชมรายการโทรทัศน์ หลังกลับจาก
โรงเรียน (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่บุตรหลานของตนชมรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 16.01-18.00 น. 35.5
2 18.01-20.00 น. 66.1
3 20.01-22.00 น. 39.1
4 22.01-24.00 น. 6.2
5 หลัง 24.00 น. 1.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หลังกลับ
จาก โรงเรียน (เฉพาะเยาวชน) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ค่าร้อยละ
ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี)
1 16.01-18.00 น. 28.9 19.5 13.6
2 18.01-20.00 น. 61.1 44.6 43.4
3 20.01-22.00 น. 37.8 51.0 57.1
4 22.01-24.00 น. 8.9 7.8 11.1
5 หลัง 24.00 น. - 1.8 1.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับบุตรหลาน หลังกลับจาก
โรงเรียน (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ชมรายการโทรทัศน์กับบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 16.01-18.00 น. 16.0
2 18.01-20.00 น. 55.4
3 20.01-22.00 น. 52.9
4 22.01-24.00 น. 5.4
5 หลัง 24.00 น. 1.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้คำแนะนำของพ่อ แม่ ผู้ปกครองในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเยาวชน)
ลำดับที่ การให้คำแนะนำของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ค่าร้อยละ
ในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี) รวม
1 เคยได้รับคำแนะนำ 84.4 79.9 82.2 81.3
2 ไม่เคยได้รับคำแนะนำ 15.6 20.1 17.8 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน ในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ การให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน ในระหว่างที่ชมรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 เคยให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน 84.2
2 ไม่เคยให้คำแนะนำแก่บุตรหลาน 15.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์
ลำดับที่ การพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี) ผู้ใหญ่(18 ปีขึ้น) รวม
1 เคย 75.0 87.3 84.0 95.7 91.5
2 ไม่เคย 25.0 12.7 16.0 4.3 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเด็กปฐมวัย 3-5 ปี)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 26.7 24.0 24.0 17.3 8.0 100.0
2 ช่อง 3 17.2 17.2 31.3 23.4 10.9 100.0
3 ช่อง 9 11.8 7.8 27.5 25.5 27.4 100.0
4 ช่อง TITV 11.6 9.3 27.9 23.3 27.9 100.0
5 ช่อง 11 7.9 7.9 10.6 36.8 36.8 100.0
6 ช่อง 5 7.5 15.0 27.5 27.5 22.5 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเด็กวัยเรียน 6-12 ปี)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 38.3 19.0 26.7 12.1 3.9 100.0
2 ช่อง 3 26.0 20.9 34.0 13.4 5.7 100.0
3 ช่อง TITV 12.6 11.4 26.4 24.3 25.3 100.0
4 ช่อง 5 11.5 15.2 33.1 25.3 14.9 100.0
5 ช่อง 9 7.5 7.5 28.1 28.1 28.8 100.0
6 ช่อง 11 3.8 5.3 17.3 23.3 50.3 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะเด็กวัยรุ่น 13-18 ปี)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 23.0 39.3 28.2 7.7 1.8 100.0
2 ช่อง 3 15.5 32.8 36.4 11.3 4.0 100.0
3 ช่อง 5 11.0 23.4 33.1 20.8 11.7 100.0
4 ช่อง TITV 8.0 12.1 35.0 27.4 17.5 100.0
5 ช่อง 9 5.9 9.5 29.6 31.9 23.1 100.0
6 ช่อง 11 2.1 8.5 15.8 23.9 49.7 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (เฉพาะผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 31.8 32.5 26.5 7.5 1.8 100.0
2 ช่อง TITV 31.7 32.5 26.5 7.5 1.8 100.0
3 ช่อง 3 25.4 30.4 33.4 8.5 2.3 100.0
4 ช่อง 9 25.4 30.4 33.4 8.5 2.3 100.0
5 ช่อง 5 10.4 20.4 42.7 20.4 6.1 100.0
6 ช่อง 11 10.4 20.4 42.7 20.4 6.1 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเห็นฉากตบตี ด่าทอ ข่มขืน การทะเลาะ หรือการทำ
ร้ายร่างกายกันในรายการโทรทัศน์ (ภาพรวมทั้งหมด)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่รับชม ค่าร้อยละการพบเห็นฉากรุนแรงในรายการโทรทัศน์
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) เห็นบ่อย ค่อนข้างบ่อย ไม่ค่อยบ่อย ไม่บ่อย ไม่เคยเห็น รวม
1 ช่อง 7 30.7 28.1 27.1 10.6 3.4 100.0
2 ช่อง 3 20.6 25.9 34.9 13.3 5.3 100.0
3 ช่อง 5 11.0 19.1 32.8 23.3 13.8 100.0
4 ช่อง TITV 10.4 11.6 30.4 25.7 21.9 100.0
5 ช่อง 9 7.1 8.5 28.7 29.7 26.0 100.0
6 ช่อง 11 3.2 7.0 16.2 24.5 49.1 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคะแนนระดับความรุนแรงของรายการต่างๆ ที่ออกอากาศตามสถานีโทรทัศน์
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ ค่าคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
(เฉพาะคนที่ชมช่องนั้น ๆ) ปฐมวัย(3-5 ปี) วัยเรียน(6-12 ปี) วัยรุ่น(13-18 ปี) ผู้ใหญ่(18 ปีขึ้น) รวม
1 ช่อง 7 5.99 6.93 6.88 6.95 6.91
2 ช่อง 3 5.75 6.32 6.33 6.64 6.51
3 ช่อง 5 4.93 5.44 5.64 5.65 5.60
4 ช่อง TITV 5.23 5.58 5.30 4.93 5.11
5 ช่อง 9 4.88 5.20 4.78 4.92 4.94
6 ช่อง 11 4.38 4.15 4.22 4.00 4.07
คะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวม 5.25 5.91 5.67 5.80 5.78
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ต่างๆ (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ต่างๆ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 88.4
2 ไม่เห็นด้วย 11.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรู้เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ที่บุตรหลานรับชม (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ การรู้เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ที่บุตรหลานชม ค่าร้อยละ
1 รู้เป็นอย่างดี 31.0
2 รู้ค่อนข้างดี 28.6
3 รู้บ้างไม่รู้บ้าง 36.6
4 ไม่ค่อยรู้ 3.0
5 ไม่เคยรู้เลย 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปริมาณของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่
เหมาะสมที่บุตรหลานได้รับชมในปัจจุบัน (เฉพาะผู้ใหญ่)
ลำดับที่ ปริมาณของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสมที่บุตรหลานได้รับชมในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มาก 9.6
2 ค่อนข้างมาก 21.9
3 ปานกลาง 42.8
4 ค่อนข้างน้อย 16.7
5 น้อย 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาที่รายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม
ออกอากาศ (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่รายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสมออกอากาศ ค่าร้อยละ
1 16.01-18.00 น. 7.2
2 18.01-20.00 น. 22.9
3 20.01-22.00 น. 68.8
4 22.01-24.00 น. 21.6
5 หลัง 24.00 น. 8.8
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่
เหมาะสม (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม ค่าร้อยละ
1 ละคร 86.2
2 ข่าว 22.8
3 เกมส์โชว์ 10.1
4 การ์ตูน 9.5
5 วาไรตี้บันเทิง 9.4
6 กีฬา 2.4
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการดูแลปกป้องบุตรหลาน ไม่ให้รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม (เฉพาะผู้ใหญ่) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการดูแลปกป้องบุตรหลาน ไม่ให้รับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ไม่เหมาะสม ค่าร้อยละ
1 ให้คำแนะนำชี้แจงเนื้อหาของบทละครต่างๆ / แนะนำตักเตือน 44.0
2 เปลี่ยนไปช่องอื่นหากมีฉากรุนแรง / หลีกเลี่ยงละครที่ใช้ความรุนแรง 13.3
3 เลือกรายการที่จะดู / เลือกรายการที่มีสาระ 12.8
4 ให้ข้อมูลควบคู่ไปด้วยว่ารายการไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม 12.0
5 ให้ทำกิจกรรมอื่นแทนการดูละคร 9.0
6 พยายามไม่ให้ดูช่องนั้น / เปลี่ยนช่อง 8.6
7 ปิดโทรทัศน์ 7.2
8 ดูบ้างแต่ควรพอประมาณหรือควรกำหนดเวลาดูโทรทัศน์ 7.2
9 ดูทีวีด้วยกัน 6.1
10 ไม่ให้ดูละคร 4.6
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-