ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation
of Management and Business Analysis, Graduate School of Business of Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “ค่านิยมเด็กและวัยรุ่นไทยต่อวันวาเลนไทน์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างอายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,289 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้ง
นี้ มีดังนี้
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 ทราบว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้น
ที่ไม่ทราบ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อวันวาเลนไทน์ว่าถือเป็นวันพิเศษหรือวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีจำนวนก้ำ
กึ่งกันคือ ร้อยละ 50.9 ถือว่าเป็นวันพิเศษ ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ถือเป็นวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนไทยให้ความสำคัญกับ “วันมาฆบูชา” มากกว่า “วันวาเลน
ไทน์” เพิ่มมากขึ้นกว่าการสำรวจเมื่อปีก่อน คือจากร้อยละ 48.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 57.4 ในขณะที่เด็กและเยาวชนให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์ลดน้อย
ลงเมื่อเปรียบเทียบกับวันสำคัญทางศาสนา ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีทิศทางที่ชัดเจนในการหนุนเสริมค่านิยมของเด็กและเยาวชนไทยที่กำลัง
เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากการสำรวจครั้งนี้ เพื่อรักษาคุณภาพของเยาวชนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้หลงไปตามกระแสนิยมทางตะวันตกและโลกแห่งทุนนิยม
แบบสุดโต่ง สังคมไม่ควรยัดเยียดค่านิยมในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรมองเด็กและเยาวชนไทยในทางลบเกินความเป็นจริง
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ถึงแม้เด็กและเยาวชนไทยที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 ระบุว่ามีแฟนแล้ว ในขณะที่ร้อยละ
42.5 ยังไม่มีแฟน แต่เด็กและเยาวชนเหล่านี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 กลับตั้งใจจะมอบความรักให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง มากกว่าคนที่ตั้งใจจะมอบ
ความรักให้กับแฟนหรือคู่รักที่มีอยู่ร้อยละ 48.2 รองลงมาคือร้อยละ 39.7 ตั้งใจจะมอบความรักให้กับเพื่อน ร้อยละ 34.4 ให้กับครูอาจารย์ ร้อยละ
20.2 ให้กับนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 14.5 ตั้งใจจะมอบความรักให้กับเพื่อนบ้าน คนพิการ คนยากไร้ และคนที่ถูกทอดทิ้งตามบ้านสงเคราะห์ต่างๆ
เป็นต้น
โดยตัวอย่างร้อยละ 51.1 ระบุตั้งใจจะมอบดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ของความรัก รองลงมาคือร้อยละ 31.4 ระบุขนม เช่น ช็อคโกแลต ขนม
เค้ก คุ้กกี้ ร้อยละ 21.3 ระบุเป็นตุ๊กตา ร้อยละ 19.4 ระบุเป็นการ์ดอวยพร และร้อยละ 7.5 ระบุเป็นเครื่องประดับ เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันวาเลนไทน์ พบว่า ร้อยละ 42.0 ระบุดูภาพยนต์ที่โรงภาพยนต์ ร้อยละ 33.1 ทานอาหารนอก
บ้าน ร้อยละ 20.4 ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน ร้อยละ 39.7 เข้าห้องสมุดอ่านหนังสือ ร้อยละ 32.7 ช็อปปิ้งเดินห้างฯ ร้อยละ 11.7 นั่งเล่นใน
สวนสาธารณะ ร้อยละ 6.2 เที่ยวกลางคืน เธค ผับ บาร์ และร้อยละ 17.4 ไม่ตั้งใจจะทำอะไรเลย
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่ควรมีการรณรงค์ให้กลุ่มเด็กและเยาวชนในวันวาเลนไทน์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.1
เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้ลดเลิกการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 77.1 เห็นด้วยกับการตรวจตราการมั่วสุมในสถานบันเทิงอย่างเข้ม
งวดในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 68.8 ให้โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมนักเรียนนักศึกษาในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 62.5
รณรงค์ให้ผู้ปกครองไปเที่ยวกับบุตรหลานในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 71.9 ให้ตรวจตราตามโรงแรมในวันวาเลนไทน์ เพื่อไม่ให้เยาวชนไปใช้บริการ
และร้อยละ 56.3 เห็นด้วยกับการแจกถุงยางอนามัย ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.0 เห็นด้วยกับการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความรู้
เรื่องเพศสัมพันธ์ให้มากขึ้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า มีบางแง่มุมที่สังคมอาจมองข้ามค่านิยมที่ดีงามของเด็กและเยาวชนไทยไปอย่างน่า
เสียดาย อาจส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมในทางลบเพราะการชี้นำของสังคมทั้งๆ ที่ค่านิยมที่ดีในกลุ่มเด็กและเยาวชนยังมีอยู่มากตามผลสำรวจที่
ค้นพบครั้งนี้คือ เด็กให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชาเพิ่มขึ้น เด็กตั้งใจจะมอบความรักให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่าแฟนหรือคู่รัก และสัญลักษณ์ของความรักคือ
ดอกไม้ แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสังคมควรชี้นำชี้แนะเด็กและเยาวชนคือ การใช้โอกาสกระแสนิยมวันวาเลนไทน์เป็นช่วงเวลาให้เด็กมอบความรักแก่พ่อแม่ด้วย
การทำความดีเป็นลูกที่ดีของพ่อและแม่ ส่วนกับแฟนหรือคู่รัก เด็กและเยาวชนควรมีความรักที่เหมาะสมตามวัยและความพร้อมของการอยู่ร่วมกันด้วย
ความซื่อสัตย์ตามจารีตประเพณี และที่น่าสนใจในผลสำรวจครั้งนี้คือมีเด็กและเยาวชนไทยส่วนหนึ่งตั้งใจจะมอบความรักให้กับคนที่ถูกทอดทิ้ง คนพิการ
และผู้ยากไร้ ซึ่งผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะชี้นำชี้แนะความดีงามเหล่านี้มากกว่าชี้ให้เห็นแต่แง่ลบของเด็กและเยาวชนที่มีเพียงส่วนน้อยของสังคม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นต่อวันวาเลนไทน์
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ค่านิยมเด็กและวัยรุ่นไทยต่อวันวาเลนไท
น์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างอายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,289 ตัวอย่าง ซึ่ง
ดำเนินมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ เยาวชน อายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 1,289 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 อายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 15-17 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 18-20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 21-23 ปี
และร้อยละ 5.0 อายุ 24 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 85.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 12.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 82.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 4.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 4.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
และร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ การทราบว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 94.9
2 ไม่ทราบ 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าวันวาเลนไทน์เป็นวันพิเศษ
ลำดับที่ ความคิดเห็นว่าวันวาเลนไทน์เป็นวันพิเศษ ค่าร้อยละ
1 ถือเป็นวันพิเศษ 50.9
2 เป็นวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์”
ลำดับที่ การให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์” ก.พ. 49ค่าร้อยละ ก.พ. 50 ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 48.7 58.4
2 ให้ความสำคัญ “วันวาเลนไทน์” มากกว่า 13.8 10.5
3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 37.5 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ามีแฟน
ลำดับที่ การมีแฟน ค่าร้อยละ
1 มี 57.5
2 ไม่มี 42.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่ตั้งใจจะมอบความรักให้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ตั้งใจจะมอบความรักให้ ค่าร้อยละ
1 พ่อแม่ ผู้ปกครอง 56.3
2 แฟนหรือคู่รัก 48.2
3 เพื่อน 39.7
4 ครูอาจารย์ 34.4
5 นายกรัฐมนตรี 20.2
6 อื่นๆ เพื่อนบ้าน คนพิการ คนยากไร้ คนที่ถูกทอดทิ้งตามบ้านสงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น 14.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะให้แฟนหรือคนรักในวันวาเลนไทน์ (เฉพาะผู้ที่มีแฟนแล้ว โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะให้แฟนหรือคนรักในวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ
1 ดอกไม้ 51.1
2 ขนม/ช็อคโกแลต เค้ก คุ้กกี้ 31.4
3 ตุ๊กตา 21.3
4 การ์ดอวยพร 19.4
5 เครื่องประดับ 7.5
6 เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 9.0
7 อุปกรณ์การเรียน 1.9
8 อื่นๆ อาทิ สิ่งของจำเป็นต่อชีวิต ของบริจาค 8.2
9 ไม่มีความตั้งใจจะให้อะไร 11.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันวาเลนไทน์ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่มีแฟนแล้วและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น คนที่มีแฟนค่าร้อยละ
1 ดูภาพยนตร์ (ในโรงภาพยนตร์) 42.0
2 เข้าห้องสมุด อ่านหนังสือ 39.7
3 ไปทานอาหารนอกบ้าน 33.1
4 ช็อปปิ้ง/เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า 32.7
5 ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน 20.4
6 นั่งเล่นในสวนสาธารณะ 11.7
7 เที่ยวกลางคืน (เธค ผับ บาร์) 6.2
8 ไปเที่ยวต่างจังหวัด 4.2
9 ไม่มีความตั้งใจจะทำอะไร 17.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ควรรณรงค์ในวันวาเลนไทน์ในปีต่อๆ ไป (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ประเด็นที่ควรรณรงค์ในวันวาเลนไทน์ในปีต่อๆ ไป เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. รณรงค์ให้ลด-เลิกการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในวันวาเลนไทน์ 67.1 12.0 20.9 100.0
2. ตรวจตราการมั่วสุมในสถานบันเทิงอย่างเข้มงวดในวันวาเลนไทน์ 77.1 11.9 11.0 100.0
3. ให้โรงเรียนต่าง ๆ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรม นักเรียนในวันวาเลนไทน์ 68.8 17.1 14.1 100.0
4. การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความรู้ เรื่องเพศสัมพันธ์ให้มากขึ้น 85.0 9.8 5.2 100.0
5. รณรงค์ให้ผู้ปกครองไปเที่ยวกับบุตรหลานในวันวาเลนไทน์ 62.5 18.0 19.4 100.0
6. ตรวจตราตามโรงแรมในวันวาเลนไทน์เพื่อไม่ให้เยาวชนไปใช้บริการ 71.9 13.4 14.8 100.0
7. แจกถุงยางอนามัยในวันวาเลนไทน์ 56.3 25.4 18.2 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
of Management and Business Analysis, Graduate School of Business of Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “ค่านิยมเด็กและวัยรุ่นไทยต่อวันวาเลนไทน์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างอายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,289 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้ง
นี้ มีดังนี้
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 ทราบว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้น
ที่ไม่ทราบ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อวันวาเลนไทน์ว่าถือเป็นวันพิเศษหรือวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีจำนวนก้ำ
กึ่งกันคือ ร้อยละ 50.9 ถือว่าเป็นวันพิเศษ ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ถือเป็นวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนไทยให้ความสำคัญกับ “วันมาฆบูชา” มากกว่า “วันวาเลน
ไทน์” เพิ่มมากขึ้นกว่าการสำรวจเมื่อปีก่อน คือจากร้อยละ 48.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 57.4 ในขณะที่เด็กและเยาวชนให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์ลดน้อย
ลงเมื่อเปรียบเทียบกับวันสำคัญทางศาสนา ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีทิศทางที่ชัดเจนในการหนุนเสริมค่านิยมของเด็กและเยาวชนไทยที่กำลัง
เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากการสำรวจครั้งนี้ เพื่อรักษาคุณภาพของเยาวชนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้หลงไปตามกระแสนิยมทางตะวันตกและโลกแห่งทุนนิยม
แบบสุดโต่ง สังคมไม่ควรยัดเยียดค่านิยมในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรมองเด็กและเยาวชนไทยในทางลบเกินความเป็นจริง
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ถึงแม้เด็กและเยาวชนไทยที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 ระบุว่ามีแฟนแล้ว ในขณะที่ร้อยละ
42.5 ยังไม่มีแฟน แต่เด็กและเยาวชนเหล่านี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 กลับตั้งใจจะมอบความรักให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง มากกว่าคนที่ตั้งใจจะมอบ
ความรักให้กับแฟนหรือคู่รักที่มีอยู่ร้อยละ 48.2 รองลงมาคือร้อยละ 39.7 ตั้งใจจะมอบความรักให้กับเพื่อน ร้อยละ 34.4 ให้กับครูอาจารย์ ร้อยละ
20.2 ให้กับนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 14.5 ตั้งใจจะมอบความรักให้กับเพื่อนบ้าน คนพิการ คนยากไร้ และคนที่ถูกทอดทิ้งตามบ้านสงเคราะห์ต่างๆ
เป็นต้น
โดยตัวอย่างร้อยละ 51.1 ระบุตั้งใจจะมอบดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ของความรัก รองลงมาคือร้อยละ 31.4 ระบุขนม เช่น ช็อคโกแลต ขนม
เค้ก คุ้กกี้ ร้อยละ 21.3 ระบุเป็นตุ๊กตา ร้อยละ 19.4 ระบุเป็นการ์ดอวยพร และร้อยละ 7.5 ระบุเป็นเครื่องประดับ เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันวาเลนไทน์ พบว่า ร้อยละ 42.0 ระบุดูภาพยนต์ที่โรงภาพยนต์ ร้อยละ 33.1 ทานอาหารนอก
บ้าน ร้อยละ 20.4 ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน ร้อยละ 39.7 เข้าห้องสมุดอ่านหนังสือ ร้อยละ 32.7 ช็อปปิ้งเดินห้างฯ ร้อยละ 11.7 นั่งเล่นใน
สวนสาธารณะ ร้อยละ 6.2 เที่ยวกลางคืน เธค ผับ บาร์ และร้อยละ 17.4 ไม่ตั้งใจจะทำอะไรเลย
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่ควรมีการรณรงค์ให้กลุ่มเด็กและเยาวชนในวันวาเลนไทน์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.1
เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้ลดเลิกการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 77.1 เห็นด้วยกับการตรวจตราการมั่วสุมในสถานบันเทิงอย่างเข้ม
งวดในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 68.8 ให้โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมนักเรียนนักศึกษาในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 62.5
รณรงค์ให้ผู้ปกครองไปเที่ยวกับบุตรหลานในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 71.9 ให้ตรวจตราตามโรงแรมในวันวาเลนไทน์ เพื่อไม่ให้เยาวชนไปใช้บริการ
และร้อยละ 56.3 เห็นด้วยกับการแจกถุงยางอนามัย ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.0 เห็นด้วยกับการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความรู้
เรื่องเพศสัมพันธ์ให้มากขึ้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า มีบางแง่มุมที่สังคมอาจมองข้ามค่านิยมที่ดีงามของเด็กและเยาวชนไทยไปอย่างน่า
เสียดาย อาจส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมในทางลบเพราะการชี้นำของสังคมทั้งๆ ที่ค่านิยมที่ดีในกลุ่มเด็กและเยาวชนยังมีอยู่มากตามผลสำรวจที่
ค้นพบครั้งนี้คือ เด็กให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชาเพิ่มขึ้น เด็กตั้งใจจะมอบความรักให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่าแฟนหรือคู่รัก และสัญลักษณ์ของความรักคือ
ดอกไม้ แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสังคมควรชี้นำชี้แนะเด็กและเยาวชนคือ การใช้โอกาสกระแสนิยมวันวาเลนไทน์เป็นช่วงเวลาให้เด็กมอบความรักแก่พ่อแม่ด้วย
การทำความดีเป็นลูกที่ดีของพ่อและแม่ ส่วนกับแฟนหรือคู่รัก เด็กและเยาวชนควรมีความรักที่เหมาะสมตามวัยและความพร้อมของการอยู่ร่วมกันด้วย
ความซื่อสัตย์ตามจารีตประเพณี และที่น่าสนใจในผลสำรวจครั้งนี้คือมีเด็กและเยาวชนไทยส่วนหนึ่งตั้งใจจะมอบความรักให้กับคนที่ถูกทอดทิ้ง คนพิการ
และผู้ยากไร้ ซึ่งผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะชี้นำชี้แนะความดีงามเหล่านี้มากกว่าชี้ให้เห็นแต่แง่ลบของเด็กและเยาวชนที่มีเพียงส่วนน้อยของสังคม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นต่อวันวาเลนไทน์
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ค่านิยมเด็กและวัยรุ่นไทยต่อวันวาเลนไท
น์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างอายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,289 ตัวอย่าง ซึ่ง
ดำเนินมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ เยาวชน อายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 1,289 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 อายุต่ำกว่า 15 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 15-17 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 18-20 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 21-23 ปี
และร้อยละ 5.0 อายุ 24 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 85.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
และร้อยละ 12.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 82.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 4.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 4.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
และร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ การทราบว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 94.9
2 ไม่ทราบ 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าวันวาเลนไทน์เป็นวันพิเศษ
ลำดับที่ ความคิดเห็นว่าวันวาเลนไทน์เป็นวันพิเศษ ค่าร้อยละ
1 ถือเป็นวันพิเศษ 50.9
2 เป็นวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์”
ลำดับที่ การให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” และ “วันวาเลนไทน์” ก.พ. 49ค่าร้อยละ ก.พ. 50 ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 48.7 58.4
2 ให้ความสำคัญ “วันวาเลนไทน์” มากกว่า 13.8 10.5
3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 37.5 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ามีแฟน
ลำดับที่ การมีแฟน ค่าร้อยละ
1 มี 57.5
2 ไม่มี 42.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่ตั้งใจจะมอบความรักให้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ตั้งใจจะมอบความรักให้ ค่าร้อยละ
1 พ่อแม่ ผู้ปกครอง 56.3
2 แฟนหรือคู่รัก 48.2
3 เพื่อน 39.7
4 ครูอาจารย์ 34.4
5 นายกรัฐมนตรี 20.2
6 อื่นๆ เพื่อนบ้าน คนพิการ คนยากไร้ คนที่ถูกทอดทิ้งตามบ้านสงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น 14.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะให้แฟนหรือคนรักในวันวาเลนไทน์ (เฉพาะผู้ที่มีแฟนแล้ว โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะให้แฟนหรือคนรักในวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ
1 ดอกไม้ 51.1
2 ขนม/ช็อคโกแลต เค้ก คุ้กกี้ 31.4
3 ตุ๊กตา 21.3
4 การ์ดอวยพร 19.4
5 เครื่องประดับ 7.5
6 เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 9.0
7 อุปกรณ์การเรียน 1.9
8 อื่นๆ อาทิ สิ่งของจำเป็นต่อชีวิต ของบริจาค 8.2
9 ไม่มีความตั้งใจจะให้อะไร 11.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันวาเลนไทน์ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่มีแฟนแล้วและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น คนที่มีแฟนค่าร้อยละ
1 ดูภาพยนตร์ (ในโรงภาพยนตร์) 42.0
2 เข้าห้องสมุด อ่านหนังสือ 39.7
3 ไปทานอาหารนอกบ้าน 33.1
4 ช็อปปิ้ง/เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า 32.7
5 ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน 20.4
6 นั่งเล่นในสวนสาธารณะ 11.7
7 เที่ยวกลางคืน (เธค ผับ บาร์) 6.2
8 ไปเที่ยวต่างจังหวัด 4.2
9 ไม่มีความตั้งใจจะทำอะไร 17.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ควรรณรงค์ในวันวาเลนไทน์ในปีต่อๆ ไป (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ประเด็นที่ควรรณรงค์ในวันวาเลนไทน์ในปีต่อๆ ไป เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. รณรงค์ให้ลด-เลิกการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในวันวาเลนไทน์ 67.1 12.0 20.9 100.0
2. ตรวจตราการมั่วสุมในสถานบันเทิงอย่างเข้มงวดในวันวาเลนไทน์ 77.1 11.9 11.0 100.0
3. ให้โรงเรียนต่าง ๆ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรม นักเรียนในวันวาเลนไทน์ 68.8 17.1 14.1 100.0
4. การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความรู้ เรื่องเพศสัมพันธ์ให้มากขึ้น 85.0 9.8 5.2 100.0
5. รณรงค์ให้ผู้ปกครองไปเที่ยวกับบุตรหลานในวันวาเลนไทน์ 62.5 18.0 19.4 100.0
6. ตรวจตราตามโรงแรมในวันวาเลนไทน์เพื่อไม่ให้เยาวชนไปใช้บริการ 71.9 13.4 14.8 100.0
7. แจกถุงยางอนามัยในวันวาเลนไทน์ 56.3 25.4 18.2 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-