เอแบคโพลล์: ถามใจตำรวจ คิดอย่างไรต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนต่อไป

ข่าวผลสำรวจ Wednesday August 11, 2010 09:04 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ด้วยวิธี การสุ่มตัวอย่างเชิงระบบจากบัญชีรายชื่อ เรื่อง ถามใจตำรวจ คิดอย่างไรต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนต่อไป กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่ว ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,057 นาย ดำเนินการสำรวจในวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า

ตัวอย่างร้อยละ 96.9 ระบุทราบข่าว พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ในขณะที่มี เพียงร้อยละ 3.1 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 80.5 เห็นด้วยที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 7.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็นในเรื่องดังกล่าว

สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อปัญหาด้านชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยากให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไข นั้นพบว่า ร้อยละ 95.0 ระบุด้านสวัสดิการ เช่น เงินเดือน ค่าน้ำมัน เบี้ยเลี้ยง ยานพาหนะ เบี้ยเลี้ยงค่าเสี่ยงภัย ร้อยละ 8.9 ระบุการจัดสรรที่ พักอาศัย ร้อยละ 3.3 ระบุเรื่องเกี่ยวกับภาระหนี้สินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 3.1 ระบุการโยกย้ายกลับภูมิลำเนาตามอาวุโสในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 2.4 ระบุการปรับชั้นยศของนายตำรวจชั้นประทวน ร้อยละ 2.2 ระบุส่งเสริมการศึกษา และร้อยละ 6.3 ระบุเรื่องอื่นๆ อาทิ การติดยศก่อน เกษียณอายุ/การพบปะ พูดคุยให้คำปรึกษาและขวัญกำลังใจ/การดูแลด้านสุขภาพ/สวัสดิการที่ดีให้กับครอบครัวของตำรวจ

สำหรับปัญหาด้านการบริหารจัดการที่อยากให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไขนั้นพบว่า ร้อยละ 98.0 ระบุด้านการจัดสรรงบ ประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐให้กับตำรวจให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน รองลงมาคือร้อยละ 96.3 ระบุการจัด เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 95.8 ระบุการจัดสรรจำนวนคนให้เพียงพอกับปริมาณงาน ร้อยละ 89.9 ระบุการแก้ไข ความไม่เป็นธรรมในหน่วยงานตำรวจ

นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 88.8 ระบุการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 88.8 เช่นเดียวกันที่ระบุการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ร้อยละ 86.6 ระบุการสร้างความ ปรองดองในหน่วยงานตำรวจ ร้อยละ 84.9 ระบุการอบรมเพิ่มพูนทักษะและความรู้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 80.7 เท่ากันระบุความชัดเจนใน การมอบหมายงานและการสื่อสารทำความเข้าใจที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยกันเองร้อยละ 80.5 ระบุแก้ปัญหาการเลื่อนไหลของชั้นยศตามลำดับ

ดร.นพดลกล่าวต่อว่า เมื่อสอบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงานของตนนั้นพบ ว่า ร้อยละ 23.2 ระบุใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (อาทิ เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) ร้อยละ 31.3 ระบุ ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่น การพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส ทั้งนี้ร้อยละ 45.5 ระบุใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 96.9 ระบุเป็นชาย

ในขณะที่ร้อยละ 3.1 ระบุเป็นหญิง

                              ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง         ร้อยละ 6.5  อายุต่ำกว่า 30 ปี

ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

                              รองลงมาคือ           ร้อยละ 46.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 89.9 ระบุชั้นยศเป็นตำรวจชั้นประทวน

ในขณะที่ร้อยละ 10.1 ระบุเป็นข้าราชการตำรวจระดับสัญญาบัตร

สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 58.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ในขณะที่ร้อยละ 39.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป

ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 อยู่ในสายงานปราบปราม

ร้อยละ 16.2 อยู่ในสายงานธุรการ

ร้อยละ 6.1 อยู่ในสายงานสอบสวน

ร้อยละ 4.8 อยู่ในสายงานสืบสวน

ในขณะที่ ร้อยละ 20.2 อยู่ในสายงานอื่นๆ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุการรับทราบข่าว พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับคัดเลือก

เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่

ลำดับที่          การรับทราบข่าว          ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                    96.9
2          ไม่ทราบข่าว                   3.1
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุความคิดเห็นกรณี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับคัดเลือก

เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่

ลำดับที่          ความคิดเห็น             ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                     80.5
2          ไม่เห็นด้วย                    7.2
3          ไม่มีความเห็น                 12.3
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุปัญหาด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่อยากให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

คนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ปัญหาด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่อยากให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเร่งแก้ไข               ค่าร้อยละ
1          ด้านสวัสดิการ เช่น เงินเดือน ค่าน้ำมัน เบี้ยเลี้ยง ยานพาหนะ เบี้ยเลี้ยงค่าเสี่ยงภัย          95.0
2          การจัดสรรที่พักอาศัย                                                          8.9
3          ภาระหนี้สินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ                                                  3.3
4          การโยกย้ายกลับภูมิลำเนาตามอาวุโสในการปฎิบัติงาน                                  3.1
5          การปรับชั้นยศของนายตำรวจชั้นประทวน                                            2.4
6          ส่งเสริมการศึกษา                                                            2.2
7          อื่นๆ อาทิ การติดยศก่อนเกษียณอายุ/การพบปะ พูดคุยให้คำปรึกษาและขวัญกำลังใจ/
           การดูแลด้านสุขภาพ/สวัสดิการที่ดีให้กับครอบครัวของตำรวจ                              6.3

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุปัญหาด้านการบริหารจัดการที่อยากให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

คนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ปัญหาด้านการบริหารจัดการที่อยากให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่เร่งแก้ไข                        ค่าร้อยละ
1          การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นของรัฐให้กับตำรวจให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทำงาน   98.0
2          การจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ                                               96.3
3          การจัดสรรจำนวนคนให้เพียงพอกับปริมาณงาน                                                       95.8
4          การแก้ไขความไม่เป็นธรรมในหน่วยงานตำรวจ                                                      89.9
5          การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ                              88.8
6          การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ                          88.8
7          การสร้างความปรองดองในหน่วยงานตำรวจ                                                        86.6
8          การอบรมเพิ่มพูนทักษะและความรู้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ                                                  84.9
9          ความชัดเจนในการมอบหมายงาน                                                                80.7
10          การสื่อสารทำความเข้าใจที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยกันเอง                                        80.7
11          แก้ปัญหาการเลื่อนไหลของชั้นยศ                                                                80.5

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบ

ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงานของตน

ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงานของตน    ค่าร้อยละ
1          ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (อาทิ เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง)        23.2
2          ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่น การพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส                  31.3
3          ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน                                                                 45.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ