ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation,
Assumption University) ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 22 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,363 คน ซึ่งดำเนิน
โครงการ ระหว่างวันที่ 20 เมษายน — 12 พฤษภาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2549 เป็นต้นมา ความสุขมวลรวมของคนไทยลดต่ำลงมาโดยตลอดจาก 5.74 มาอยู่ที่ 5.11 แต่
ยังถือว่ามีความสุขอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยคนในภาคใต้มีความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 4.99 คนกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 5.07 คนในภาคตะวันออก
เฉียงเหนืออยู่ที่ 5.08 คนในภาคกลางอยู่ที่ 5.15 และคนในภาคเหนืออยู่ที่ 5.20
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ประชาชนยังคงมีความสุขอยู่ได้ ผลวิจัยพบว่า ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยมี
ความสุขมากเป็นอันดับหนึ่ง มีค่าความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 7.19 รองลงมาคือ สุขภาพกาย ได้ 7.00 อันดับสามได้แก่ วัฒนธรรมประเพณีไทย ความมีน้ำใจให้
แก่กัน ความรักความสามัคคีของคนในชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้ 6.26 อันดับที่สี่ได้แก่ สุขภาพใจ สุขภาพจิต ได้ 6.25 อันดับที่ห้าได้แก่
การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้ 5.99 อันดับที่หก ได้แก่ ครอบครัว และคุณภาพเด็กและเยาวชน ได้ 5.72 และอันดับที่เจ็ด ได้แก่ ความพึง
พอใจในงาน ได้ 5.59 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย (ค่าความสุขเฉลี่ยต่ำกว่า 5.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
เรียงตามลำดับ ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่าความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 2.72 ในขณะที่ ด้านสภาพแวด
ล้อมและที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา ได้เพียง 3.51 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล และองค์กรอิสระ ได้
เพียง 3.68 ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้เพียง 3.77 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมได้เพียง 4.49 ด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรมได้เพียง 4.74 ด้านการศึกษาได้เพียง 4.78 และด้านบรรยากาศภายในชุมชน เช่น การ
ช่วยกันรักษาทรัพย์สินของชุมชน ช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน ได้เพียง 4.82 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ในวันรับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีที่เคยกล่าวว่าจะเน้นที่ความผาสุกของประชาชนเป็นหลักไม่ใช่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
เพียงอย่างเดียว และผลสำรวจในช่วงเวลานั้นประชาชนในภาคใต้เป็นฐานสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ผลวิจัยครั้งนี้พบ
ว่า ความสุขของคนไทยโดยภาพรวมลดต่ำลงไปในทิศทางเดียวกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และคนในภาคใต้ คนกรุงเทพมหานคร และคนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขน้อยที่สุด
ผลวิจัยค้นพบเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ฐานประชาชนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลมีระดับความสุขต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันกลุ่มประชาชนที่เป็นฐานสนับสนุน
กลุ่มอำนาจเก่าก็มีระดับความสุขน้อยเช่นกัน รัฐบาลจึงกำลังตกอยู่ในสภาพที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน ตามหลักการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนระบุไว้
ว่า ถ้ารัฐบาลต้องการมีเสถียรภาพและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ให้สำเร็จ รัฐบาลต้องมีวิธีการรักษาฐานสนับสนุนเดิมไว้และขยายฐานที่เคยต่อต้านให้
กลับมาสนับสนุนตน
ดังนั้น รัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ที่เป็นกลไกของรัฐ และประชาชนทุกคนน่าจะให้ความสำคัญช่วยกันทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยกลับคืน
มาโดยเร็ว โดยน่าจะมีความรับผิดชอบร่วมกันดังนี้
ประการแรก รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นกลไกของรัฐต้องเร่งแก้ปัญหาที่ทำให้คนไทยเป็นทุกข์ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบันภายใน
ประเทศที่เกี่ยวกับ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์การเมือง และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยทำให้สถานการณ์ทั้งสามด้าน
เหล่านี้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ มีสัญญาณเตือนภัยให้คนไทยรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น
นอกจากนี้ กระทรวงและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยของประชาชน เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำ
ประปา ต้องเร่งทำให้ประชาชนมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานสากลเท่าเทียมกันและทั่วถึง
สำหรับหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความสุขทั้งทางใจและกายของประชาชน ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตสูง
นั้น ต้องทำให้ประชาชนรับรู้ด้านความโปร่งใสของรัฐบาล ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน รัฐบาลต้องเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งของประชาชน
ได้ นักการเมืองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นไปยังระดับชาติต้องเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งของประชาชน รัฐบาลต้องรับรู้และแก้ปัญหาความเดือดร้อนตอบสนอง
ความต้องการของประชาชน องค์กรอิสระต้องเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ และประชาชนต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง
ด้านกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ผลวิจัยพบว่า ประชาชนมีความสุขต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นประตูสู่
ความยุติธรรมต่ำที่สุด จึงจำเป็นต้องปฏิรูประบบงานตำรวจให้สำเร็จ การทำงานของกลไกด้านความยุติธรรมต้องทำให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม
โดยไม่เลือกปฏิบัติ และทำให้คนที่เคยผิดพลาดไปกลับเป็นคนดีคืนสู่สังคม
สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการยุติธรรมคือการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม ซึ่งผลสำรวจพบว่าประชาชนคนไทยมีความสุข
น้อยมากกับเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและความเท่าเทียมเป็นธรรมในการเป็นเจ้าของครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยคือ ระบบการศึกษา ผลวิจัยพบว่าประชาชนยังมีความสุขน้อยกับเรื่องการ
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การอบรมคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมให้กับเยาวชน การสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา การศึกษาที่มีมาตรฐานการ
ทดสอบที่ยอมรับได้ และคุณภาพที่ดีของบุคลากรทางการศึกษา
“สุดท้ายคือสิ่งที่เป็นความรับผิดชอบและปฏิบัติร่วมกันของประชาชนทุกคนร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ คือ การช่วยเหลือซึ่งกัน
และกันของชุมชนในการแก้ปัญหาอาชญากรรม การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่นไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์ ของชุมชน การช่วยกันสอดส่องดูแลของคน
ในชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด และบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาเดือดร้อนของคนในหมู่บ้านชุมชน” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนเมษายน พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 22 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวัน
ที่ 20 เมษายน — 12 พฤษภาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี
สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองคาย ขอนแก่น
เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี พัทลุง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,363 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 17.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 71.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.2 ระบุสถานภาพโสด
ร้อยละ 37.6 ระบุสถานภาพสมรส
และร้อยละ 5.2 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 65.7 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 34.3 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2550
เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค. ม.ค. ก.พ. เม.ย.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายในประเทศ
Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.3 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ประจำเดือนเมษายน 2550
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย(เต็ม 10)
1 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 7.19
2 สุขภาพกาย 7.00
3 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน ความรักความสามัคคีของคนในชาติ
ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.26
4 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.25
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5.99
6 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.72
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.59
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.25
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 4.82
10 ด้านการศึกษา 4.78
11 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 4.74
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.49
13 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.77
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.68
15 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย เช่น การช่วยกันรักษาทรัพย์สินของชุมชน ช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน เป็นต้น 3.51
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน 2.72
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนเมษายน 5.11
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนเมษายน ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนเมษายน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.64 3.68 3.35 3.21 3.41
2 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 4.94 4.92 4.82 4.39 4.75
3 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.99 5.74 5.79 5.43 5.68
4 สุขภาพกาย 7.16 6.90 7.00 7.04 7.06
5 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.51 6.16 6.21 6.36 6.29
6 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.82 3.80 3.64 3.54 3.55
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.58 5.74 5.61 5.67 5.41
8 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.05 3.83 3.78 3.43 3.70
9 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.12 5.98 5.94 6.02 5.97
10 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.17 5.21 5.24 5.25 5.30
11 ด้านการศึกษา 4.61 4.87 4.73 4.45 4.77
12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.00 4.83 4.59 4.66 4.65
13 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน
ความรักความสามัคคีของคนในชาติ ความเป็นเอกลักษณ์
ของคนไทย 6.23 6.24 6.24 6.18 6.29
14 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.79 4.57 4.48 4.23 4.39
15 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 7.06 7.17 7.12 7.30 7.23
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน 2.55 2.75 2.65 2.73 2.74
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนเมษายน 5.20 5.15 5.08 4.99 5.07
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของตนประจำเดือนเมษายน 2550
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของคนไทยประจำเดือนเมษายน ค่าร้อยละ
1 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 91.1
2 สุขภาพกาย 90.8
3 ครอบครัว เด็กและเยาวชน 88.8
4 ความพึงพอใจในงาน 88.6
5 สภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 87.9
6 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 87.2
7 รูปแบบการดำเนินชีวิต 87.2
8 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 87.1
9 บรรยากาศภายในชุมชน 87.0
10 การศึกษา 84.6
11 วัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 83.9
12 ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 82.6
13 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 80.2
14 ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 79.7
15 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 77.3
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน 70.5
ตารางที่ 5 แสดงปัจจัยสำคัญที่มีค่าร้อยละของตัวอย่างอยู่ในลักษณะต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสุขมวลรวม
ของคนไทย พิจารณาจำแนกตามดัชนีความสุขมวลรวมแต่ละด้าน
1. ดัชนีความสุขต่อสถานการณ์และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ
ลำดับที่ สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน ค่าร้อยละ
1 ความทุกข์ใจจากปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 97.6
2 ความกังวลใจต่อการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ 95.1
3 การได้รับผลกระทบจากการชุมนุมประท้วง 87.8
4 ความวิตกกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 83.1
5 ความสุขต่อความคืบหน้าในการเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 36.1
6 ความสุขเมื่อรัฐบาลประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนธันวาคม 34.6
7 ความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน 16.2
2. ดัชนีความสุขด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย
ลำดับที่ ดัชนีความสุขด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 ความพอใจในการคมนาคม ถนนหนทาง 16.3
2 ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 37.1
3 ความสุขต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 17.4
4 ความพอใจต่อการบริการด้านไฟฟ้า 37.1
5 ความพอใจต่อน้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 29.3
3. ดัชนีความสุขด้านหลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ
ลำดับที่ หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ ค่าร้อยละ
1 รับรู้ด้านความโปร่งใสของรัฐบาล ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน 25.2
2 รัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 23.4
3 นักการเมืองเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 19.2
4 รับรู้ด้านการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 22.0
5 องค์กรอิสระเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 21.5
6 การมีส่วนร่วมทางการเมือง 25.1
4. ดัชนีความสุขด้านสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ลำดับที่ สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ค่าร้อยละ
1 การค้าเสรี 46.8
2 การแข่งขันที่เข้มข้นในการทำธุรกิจ 52.6
3 อัตราการจ้างงานและมีงานทำสูง 30.9
4 เงินเดือนหรือรายได้สูง 31.8
5 ความได้ประโยชน์จากระบบการค้าเสรี 34.6
5. ดัชนีความสุขด้านกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
ลำดับที่ กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ค่าร้อยละ
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 30.9
2 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 35.5
3 การทำงานของราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแห่งความพอเพียงสู่สังคม 33.4
4 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 35.4
5 ความเสมอภาค เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 33.2
6. ดัชนีความสุขด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม
ลำดับที่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม ค่าร้อยละ
1 ความสวยงามของธรรมชาติรอบชุมชน 36.0
2 ความหลากหลายทางธรรมชาติรอบชุมชน 32.5
3 ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 31.3
4 โอกาสที่เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบชุมชน 31.9
5 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเป็นเจ้าของ 30.5
7. ดัชนีความสุขด้านการศึกษา
ลำดับที่ ด้านการศึกษาของประเทศ ค่าร้อยละ
1 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 46.6
2 การอบรมคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมอันดีงามให้กับเยาวชน 42.9
3 การสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา 42.8
4 การศึกษามีมาตรฐานการทดสอบความรู้เป็นที่ยอมรับ 42.5
5 คุณภาพที่ดีของบุคลากรทางการศึกษา 43.8
8. ดัชนีความสุขด้านบรรยากาศภายในชุมชน
ลำดับที่ ด้านบรรยากาศภายในชุมชน ค่าร้อยละ
1 การช่วยเหลือกันในชุมชน 31.8
2 การแก้ปัญหายาเสพติด 30.0
3 การแก้ปัญหาอาชญากรรม 28.3
4 การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่นไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์ 29.2
5 การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 30.4
6 การช่วยกันทำความสะอาด 32.7
7 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 32.6
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1550 www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Assumption University) ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) ของ
ประชาชนภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 22 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,363 คน ซึ่งดำเนิน
โครงการ ระหว่างวันที่ 20 เมษายน — 12 พฤษภาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2549 เป็นต้นมา ความสุขมวลรวมของคนไทยลดต่ำลงมาโดยตลอดจาก 5.74 มาอยู่ที่ 5.11 แต่
ยังถือว่ามีความสุขอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยคนในภาคใต้มีความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 4.99 คนกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 5.07 คนในภาคตะวันออก
เฉียงเหนืออยู่ที่ 5.08 คนในภาคกลางอยู่ที่ 5.15 และคนในภาคเหนืออยู่ที่ 5.20
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ประชาชนยังคงมีความสุขอยู่ได้ ผลวิจัยพบว่า ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยมี
ความสุขมากเป็นอันดับหนึ่ง มีค่าความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 7.19 รองลงมาคือ สุขภาพกาย ได้ 7.00 อันดับสามได้แก่ วัฒนธรรมประเพณีไทย ความมีน้ำใจให้
แก่กัน ความรักความสามัคคีของคนในชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้ 6.26 อันดับที่สี่ได้แก่ สุขภาพใจ สุขภาพจิต ได้ 6.25 อันดับที่ห้าได้แก่
การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้ 5.99 อันดับที่หก ได้แก่ ครอบครัว และคุณภาพเด็กและเยาวชน ได้ 5.72 และอันดับที่เจ็ด ได้แก่ ความพึง
พอใจในงาน ได้ 5.59 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย (ค่าความสุขเฉลี่ยต่ำกว่า 5.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
เรียงตามลำดับ ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่าความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 2.72 ในขณะที่ ด้านสภาพแวด
ล้อมและที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา ได้เพียง 3.51 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล และองค์กรอิสระ ได้
เพียง 3.68 ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้เพียง 3.77 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมได้เพียง 4.49 ด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรมได้เพียง 4.74 ด้านการศึกษาได้เพียง 4.78 และด้านบรรยากาศภายในชุมชน เช่น การ
ช่วยกันรักษาทรัพย์สินของชุมชน ช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน ได้เพียง 4.82 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ในวันรับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีที่เคยกล่าวว่าจะเน้นที่ความผาสุกของประชาชนเป็นหลักไม่ใช่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
เพียงอย่างเดียว และผลสำรวจในช่วงเวลานั้นประชาชนในภาคใต้เป็นฐานสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ผลวิจัยครั้งนี้พบ
ว่า ความสุขของคนไทยโดยภาพรวมลดต่ำลงไปในทิศทางเดียวกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และคนในภาคใต้ คนกรุงเทพมหานคร และคนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขน้อยที่สุด
ผลวิจัยค้นพบเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ฐานประชาชนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลมีระดับความสุขต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันกลุ่มประชาชนที่เป็นฐานสนับสนุน
กลุ่มอำนาจเก่าก็มีระดับความสุขน้อยเช่นกัน รัฐบาลจึงกำลังตกอยู่ในสภาพที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน ตามหลักการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนระบุไว้
ว่า ถ้ารัฐบาลต้องการมีเสถียรภาพและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ให้สำเร็จ รัฐบาลต้องมีวิธีการรักษาฐานสนับสนุนเดิมไว้และขยายฐานที่เคยต่อต้านให้
กลับมาสนับสนุนตน
ดังนั้น รัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ที่เป็นกลไกของรัฐ และประชาชนทุกคนน่าจะให้ความสำคัญช่วยกันทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยกลับคืน
มาโดยเร็ว โดยน่าจะมีความรับผิดชอบร่วมกันดังนี้
ประการแรก รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นกลไกของรัฐต้องเร่งแก้ปัญหาที่ทำให้คนไทยเป็นทุกข์ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบันภายใน
ประเทศที่เกี่ยวกับ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์การเมือง และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยทำให้สถานการณ์ทั้งสามด้าน
เหล่านี้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ มีสัญญาณเตือนภัยให้คนไทยรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น
นอกจากนี้ กระทรวงและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยของประชาชน เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำ
ประปา ต้องเร่งทำให้ประชาชนมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานสากลเท่าเทียมกันและทั่วถึง
สำหรับหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความสุขทั้งทางใจและกายของประชาชน ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตสูง
นั้น ต้องทำให้ประชาชนรับรู้ด้านความโปร่งใสของรัฐบาล ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน รัฐบาลต้องเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งของประชาชน
ได้ นักการเมืองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นไปยังระดับชาติต้องเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งของประชาชน รัฐบาลต้องรับรู้และแก้ปัญหาความเดือดร้อนตอบสนอง
ความต้องการของประชาชน องค์กรอิสระต้องเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ และประชาชนต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง
ด้านกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ผลวิจัยพบว่า ประชาชนมีความสุขต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นประตูสู่
ความยุติธรรมต่ำที่สุด จึงจำเป็นต้องปฏิรูประบบงานตำรวจให้สำเร็จ การทำงานของกลไกด้านความยุติธรรมต้องทำให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม
โดยไม่เลือกปฏิบัติ และทำให้คนที่เคยผิดพลาดไปกลับเป็นคนดีคืนสู่สังคม
สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการยุติธรรมคือการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม ซึ่งผลสำรวจพบว่าประชาชนคนไทยมีความสุข
น้อยมากกับเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและความเท่าเทียมเป็นธรรมในการเป็นเจ้าของครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยคือ ระบบการศึกษา ผลวิจัยพบว่าประชาชนยังมีความสุขน้อยกับเรื่องการ
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การอบรมคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมให้กับเยาวชน การสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา การศึกษาที่มีมาตรฐานการ
ทดสอบที่ยอมรับได้ และคุณภาพที่ดีของบุคลากรทางการศึกษา
“สุดท้ายคือสิ่งที่เป็นความรับผิดชอบและปฏิบัติร่วมกันของประชาชนทุกคนร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ คือ การช่วยเหลือซึ่งกัน
และกันของชุมชนในการแก้ปัญหาอาชญากรรม การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่นไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์ ของชุมชน การช่วยกันสอดส่องดูแลของคน
ในชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด และบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาเดือดร้อนของคนในหมู่บ้านชุมชน” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนเมษายน พ.ศ.2550
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
ของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2550 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 22 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวัน
ที่ 20 เมษายน — 12 พฤษภาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 22 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี
สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองคาย ขอนแก่น
เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี พัทลุง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,363 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 17.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 71.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.2 ระบุสถานภาพโสด
ร้อยละ 37.6 ระบุสถานภาพสมรส
และร้อยละ 5.2 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 65.7 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 34.3 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2550
เปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.-ธ.ค. ม.ค. ก.พ. เม.ย.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายในประเทศ
Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34 6.3 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ประจำเดือนเมษายน 2550
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย(เต็ม 10)
1 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 7.19
2 สุขภาพกาย 7.00
3 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน ความรักความสามัคคีของคนในชาติ
ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 6.26
4 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.25
5 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5.99
6 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.72
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.59
8 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.25
9 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 4.82
10 ด้านการศึกษา 4.78
11 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 4.74
12 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.49
13 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 3.77
14 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.68
15 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย เช่น การช่วยกันรักษาทรัพย์สินของชุมชน ช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน เป็นต้น 3.51
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน 2.72
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนเมษายน 5.11
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมประจำเดือนเมษายน ที่มีต่อกลุ่มปัจจัยต่างๆ ของประชาชนจำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ประจำเดือนเมษายน เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 ด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 3.64 3.68 3.35 3.21 3.41
2 ด้านบรรยากาศภายในชุมชน 4.94 4.92 4.82 4.39 4.75
3 ด้านครอบครัว เด็กและเยาวชน 5.99 5.74 5.79 5.43 5.68
4 สุขภาพกาย 7.16 6.90 7.00 7.04 7.06
5 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 6.51 6.16 6.21 6.36 6.29
6 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 3.82 3.80 3.64 3.54 3.55
7 ด้านความพึงพอใจในงาน 5.58 5.74 5.61 5.67 5.41
8 ความสุขต่อระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 4.05 3.83 3.78 3.43 3.70
9 ด้านการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.12 5.98 5.94 6.02 5.97
10 รูปแบบการดำเนินชีวิต 5.17 5.21 5.24 5.25 5.30
11 ด้านการศึกษา 4.61 4.87 4.73 4.45 4.77
12 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 5.00 4.83 4.59 4.66 4.65
13 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ความมีน้ำใจให้แก่กัน
ความรักความสามัคคีของคนในชาติ ความเป็นเอกลักษณ์
ของคนไทย 6.23 6.24 6.24 6.18 6.29
14 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 4.79 4.57 4.48 4.23 4.39
15 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 7.06 7.17 7.12 7.30 7.23
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน 2.55 2.75 2.65 2.73 2.74
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนเมษายน 5.20 5.15 5.08 4.99 5.07
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของตนประจำเดือนเมษายน 2550
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของคนไทยประจำเดือนเมษายน ค่าร้อยละ
1 สุขภาพใจ สุขภาพจิต 91.1
2 สุขภาพกาย 90.8
3 ครอบครัว เด็กและเยาวชน 88.8
4 ความพึงพอใจในงาน 88.6
5 สภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย 87.9
6 ความปลาบปลื้มต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ 87.2
7 รูปแบบการดำเนินชีวิต 87.2
8 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 87.1
9 บรรยากาศภายในชุมชน 87.0
10 การศึกษา 84.6
11 วัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย 83.9
12 ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม 82.6
13 กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม 80.2
14 ระบบการค้าเสรีในกระแสโลกาภิวัฒน์ 79.7
15 หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ 77.3
16 สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน 70.5
ตารางที่ 5 แสดงปัจจัยสำคัญที่มีค่าร้อยละของตัวอย่างอยู่ในลักษณะต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสุขมวลรวม
ของคนไทย พิจารณาจำแนกตามดัชนีความสุขมวลรวมแต่ละด้าน
1. ดัชนีความสุขต่อสถานการณ์และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ
ลำดับที่ สถานการณ์ปัจจุบันประจำเดือนเมษายน ค่าร้อยละ
1 ความทุกข์ใจจากปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 97.6
2 ความกังวลใจต่อการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ 95.1
3 การได้รับผลกระทบจากการชุมนุมประท้วง 87.8
4 ความวิตกกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 83.1
5 ความสุขต่อความคืบหน้าในการเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น 36.1
6 ความสุขเมื่อรัฐบาลประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนธันวาคม 34.6
7 ความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองในปัจจุบัน 16.2
2. ดัชนีความสุขด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย
ลำดับที่ ดัชนีความสุขด้านสภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 ความพอใจในการคมนาคม ถนนหนทาง 16.3
2 ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 37.1
3 ความสุขต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 17.4
4 ความพอใจต่อการบริการด้านไฟฟ้า 37.1
5 ความพอใจต่อน้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 29.3
3. ดัชนีความสุขด้านหลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ
ลำดับที่ หลักธรรมาภิบาล การเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ ค่าร้อยละ
1 รับรู้ด้านความโปร่งใสของรัฐบาล ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน 25.2
2 รัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 23.4
3 นักการเมืองเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 19.2
4 รับรู้ด้านการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 22.0
5 องค์กรอิสระเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 21.5
6 การมีส่วนร่วมทางการเมือง 25.1
4. ดัชนีความสุขด้านสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ลำดับที่ สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ค่าร้อยละ
1 การค้าเสรี 46.8
2 การแข่งขันที่เข้มข้นในการทำธุรกิจ 52.6
3 อัตราการจ้างงานและมีงานทำสูง 30.9
4 เงินเดือนหรือรายได้สูง 31.8
5 ความได้ประโยชน์จากระบบการค้าเสรี 34.6
5. ดัชนีความสุขด้านกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
ลำดับที่ กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ค่าร้อยละ
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 30.9
2 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 35.5
3 การทำงานของราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแห่งความพอเพียงสู่สังคม 33.4
4 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 35.4
5 ความเสมอภาค เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 33.2
6. ดัชนีความสุขด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม
ลำดับที่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรอย่างเป็นธรรม ค่าร้อยละ
1 ความสวยงามของธรรมชาติรอบชุมชน 36.0
2 ความหลากหลายทางธรรมชาติรอบชุมชน 32.5
3 ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 31.3
4 โอกาสที่เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบชุมชน 31.9
5 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเป็นเจ้าของ 30.5
7. ดัชนีความสุขด้านการศึกษา
ลำดับที่ ด้านการศึกษาของประเทศ ค่าร้อยละ
1 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 46.6
2 การอบรมคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมอันดีงามให้กับเยาวชน 42.9
3 การสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา 42.8
4 การศึกษามีมาตรฐานการทดสอบความรู้เป็นที่ยอมรับ 42.5
5 คุณภาพที่ดีของบุคลากรทางการศึกษา 43.8
8. ดัชนีความสุขด้านบรรยากาศภายในชุมชน
ลำดับที่ ด้านบรรยากาศภายในชุมชน ค่าร้อยละ
1 การช่วยเหลือกันในชุมชน 31.8
2 การแก้ปัญหายาเสพติด 30.0
3 การแก้ปัญหาอาชญากรรม 28.3
4 การรักษาทรัพย์สินส่วนรวม เช่นไฟฟ้าส่องทางเดิน ตู้โทรศัพท์ 29.2
5 การช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 30.4
6 การช่วยกันทำความสะอาด 32.7
7 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการดูแลป้องกันและแก้ปัญหาของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 32.6
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร.0-2719-1550 www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-