ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนหลังคดียุบพรรค
การเมือง: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,189 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80
ติดตามข่าวการเมืองเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงระดับความสุขโดยรวมเปรียบเทียบกับความสุขที่ประชาชนเคยมีในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 62.6 ระบุว่า
ความสุขโดยรวมลดลง เพราะปัญหาความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจภาระหนี้สินค่าครองชีพสูง ความไม่สงบสุขในสังคม ปัญหา
อาชญากรรม ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว และปัญหาสภาพแวดล้อม เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 14.9 ระบุมีความสุข
เพิ่มขึ้น
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อความรักความสามัคคีของคนในประเทศในช่วง 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 39.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อย
ละ 7.5 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ค่อนข้างเชื่อมั่น และร้อยละ 12.8 เชื่อมั่น และเมื่อถามถึงคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทยที่อยากเห็น
ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 อยากเห็นความรักความสามัคคี รองลงมาคือร้อยละ 87.2 อยากเห็นความมีสติสัมปชัญญะ
ร้อยละ 85.6 อยากเห็นความเคารพในกฎกติกาของสังคม ร้อยละ 64.9 อยากเห็นความซื่อสัตย์สุจริตของคนในสังคม ร้อยละ 61.8 อยากเห็นความ
อดทนของคนในสังคม ร้อยละ 59.2 อยากเห็นความเสียสละ ร้อยละ 57.7 อยากเห็นความรับผิดชอบ ร้อยละ 56.4 อยากเห็นความกตัญญูต่อชาติบ้าน
เมือง ร้อยละ 52.8 อยากเห็นการให้อภัย ร้อยละ 48.2 อยากเห็นความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ และร้อยละ 18.1 อยากเห็นคุณธรรมด้านอื่นๆ
เช่น การไม่ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศตนเอง การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน และความรู้สึกสำนึกในความเป็นคนไทย เป็นต้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อพฤติกรรมนักการเมืองหลังคดียุบพรรค พบว่า ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 63.4 ระบุจะเหมือนเดิม ร้อย
ละ 15.6 ระบุจะแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 8.7 ระบุจะดีขึ้น และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 46.7 อยากให้มีการ
เลือกตั้งไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป ในขณะที่ ร้อยละ 38.1 อยากให้มีการเลือกตั้งภายใน 3 — 6 เดือนข้างหน้า และร้อยละ 15.2 อยากให้มีการ
เลือกตั้งหลังช่วงปีใหม่ไปแล้ว ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ หลังการเลือกตั้งประชาชนร้อยละ 76.8 อยากได้รัฐบาลที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน รองลงมาคือร้อยละ 75.3
อยากได้รัฐบาลที่เก่งมีความสามารถ ร้อยละ 73.9 อยากได้รัฐบาลที่ทำงานหนัก ร้อยละ 71.7 อยากได้รัฐบาลที่รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน ร้อย
ละ 68.4 อยากได้รัฐบาลที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ร้อยละ 57.2 อยากได้รัฐบาลที่ไม่ทะเลาะ แตกแยกกัน และร้อยละ 24.4 ระบุอื่นๆ อยากได้
รัฐบาลที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ร่ำรวย อยู่ใกล้ชิดประชาชน และกระจายอำนาจ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็วภายในปีนี้ และอยากได้รัฐบาล
ที่ “ดี” “เก่ง” และ “รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน” นอกจากนี้ผลสำรวจพบด้วยว่าความสุขของประชาชนที่ลดลงเป็นเพราะปัญหาความขัดแย้ง
วุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ และความไม่สงบสุขในสังคม ประชาชนจึงอยากเห็นความรักความสามัคคี ความมีสติสัมปชัญญะ และความเคารพ
ในกฎกติกาของสังคม เป็นคุณธรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองได้ ส่วนพฤติกรรมของนักการเมืองหลังคดียุบพรรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยัง
คิดว่าจะเหมือนเดิม ดังนั้นสิ่งที่น่าพิจารณาคือ การเสนอให้มีองค์กรอิสระควบคุมพฤติกรรมนักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ดังนี้
1) จัดตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังพฤติกรรมนักการเมืองในทุกชุมชน มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความประพฤติมิ
ชอบในกลุ่มนักการเมือง
2) จัดตั้งระบบจัดระเบียบพฤติกรรมนักการเมืองเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูลระดับชุมชนสู่องค์กรอิสระอื่นๆ เช่น ปปช. ศาล
ปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเฝ้าติดตาม รายงานความประพฤติของนักการเมือง ทำเป็นระบบฐานข้อมูลภาพลักษณ์ที่ดี
และไม่ดีของนักการเมือง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายคดีความต่างๆ ของนักการเมือง
3) จัดตั้งคณะทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูนักการเมืองที่หลงผิดกลับเป็นคนดีคืนสู่สังคม เช่น สร้างเสริมจิตสำนึกที่ดีให้คำนึงถึงประโยชน์ส่วน
รวมของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าเครือญาติและพวกพ้อง
4) จัดตั้งระบบงานด้านการปราบปรามกลุ่มนักการเมืองที่ประพฤติผิดทั้งในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคอรัปชั่น การปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เป็น
ธรรม และเรื่องส่วนตัว เช่น ความผิดด้านชู้สาว และเรื่องอื้อฉาวต่างๆ
5) จัดสร้างระบบที่สามารถลงโทษกลุ่มบุคคลทั้งนายทุน นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น แม้ไม่มีใบเสร็จก็สามารถเอาผิดในฐานะที่มีเพียงพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
6) จัดสร้างระบบที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อทำให้ภาค
ประชาชนตื่นตัวและมีจิตสำนึกเข้าร่วมแก้ปัญหามากขึ้น
7) จัดสร้างระบบที่ทำให้รัฐสภาและสภาท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง ด้วยกฎหมายที่สามารถเอาผิดพรรคการ
เมืองและปิดโอกาสไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนได้อีก
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่ออนาคตการเมืองไทยหลังคดียุบพรรคการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนหลังคดี
ยุบพรรคการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,189 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี
สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอด
คล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,189 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95
ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 21.6 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 4.9 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.2 ระบุเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 22.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.3 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยะ 4.9 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ในขณะที่ร้อยละ 73.4 ระบุอยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 26.6 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.2
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 24.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 13.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 16.7
5 ไม่ได้ติดตาม 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความสุขโดยรวมเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพอใจ ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 14.9
2 เหมือนเดิม 22.5
3 ลดลง เพราะ ปัญหาความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจภาระหนี้สินค่าครองชีพสูง
ความไม่สงบสุขในสังคม ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาสภาพแวดล้อม เป็นต้น 62.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อความรักความสามัคคีของคนในประเทศในช่วง 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความหวัง ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 12.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 28.6
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.1
4 ไม่เชื่อมั่น 7.5
5 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณธรรมของประชาชนในสังคมไทยที่อยากเห็นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเมืองของประเทศให้ผ่านพ้นไปได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความหวัง ร้อยละ
1 ความรักความสามัคคี 91.4
2 ความมีสติสัปปชัญญะ 87.2
3 ความเคารพในกฎกติกาของสังคม 85.6
4 ความซื่อสัตย์สุจริต 64.9
5 ความอดทน 61.8
6 ความเสียสละ 59.2
7 ความรับผิดชอบ 57.7
8 ความกตัญญูต่อชาติบ้านเมือง 56.4
9 การให้อภัย 52.8
10 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ (กฎแห่งกรรม) 48.2
11 อื่นๆ อาทิ การไม่ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศตนเอง /
การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน / และความรู้สึกสำนึกในความเป็นคนไทย เป็นต้น 18.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมนักการเมืองหลังคดียุบพรรค
ลำดับที่ พฤติกรรมนักการเมือง ค่าร้อยละ
1 จะดีขึ้น 8.7
2 จะเหมือนเดิม 63.4
3 จะแย่ลง 15.6
4 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ลำดับที่ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป 46.7
2 ช่วง 3 — 6 เดือน 38.1
3 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป (หลังปีใหม่) 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รัฐบาลที่อยากได้หลังเลือกตั้งใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รัฐบาลที่อยากได้ ค่าร้อยละ
1 มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน 76.8
2 เก่ง มีความสามารถ 75.3
3 ทำงานหนัก 73.9
4 รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน 71.7
5 โปร่งใส ตรวจสอบได้ 68.4
6 ไม่ทะเลาะ แตกแยกกัน 57.2
7 อื่นๆ อาทิ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม / ร่ำรวย / อยู่ใกล้ชิดประชาชน/
กระจายอำนาจ เป็นต้น 24.4
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacpoll.com หรือ www.abacpoll.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนหลังคดียุบพรรค
การเมือง: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,189 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80
ติดตามข่าวการเมืองเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงระดับความสุขโดยรวมเปรียบเทียบกับความสุขที่ประชาชนเคยมีในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 62.6 ระบุว่า
ความสุขโดยรวมลดลง เพราะปัญหาความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจภาระหนี้สินค่าครองชีพสูง ความไม่สงบสุขในสังคม ปัญหา
อาชญากรรม ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว และปัญหาสภาพแวดล้อม เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 14.9 ระบุมีความสุข
เพิ่มขึ้น
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อความรักความสามัคคีของคนในประเทศในช่วง 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 39.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อย
ละ 7.5 ไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ค่อนข้างเชื่อมั่น และร้อยละ 12.8 เชื่อมั่น และเมื่อถามถึงคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทยที่อยากเห็น
ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 อยากเห็นความรักความสามัคคี รองลงมาคือร้อยละ 87.2 อยากเห็นความมีสติสัมปชัญญะ
ร้อยละ 85.6 อยากเห็นความเคารพในกฎกติกาของสังคม ร้อยละ 64.9 อยากเห็นความซื่อสัตย์สุจริตของคนในสังคม ร้อยละ 61.8 อยากเห็นความ
อดทนของคนในสังคม ร้อยละ 59.2 อยากเห็นความเสียสละ ร้อยละ 57.7 อยากเห็นความรับผิดชอบ ร้อยละ 56.4 อยากเห็นความกตัญญูต่อชาติบ้าน
เมือง ร้อยละ 52.8 อยากเห็นการให้อภัย ร้อยละ 48.2 อยากเห็นความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ และร้อยละ 18.1 อยากเห็นคุณธรรมด้านอื่นๆ
เช่น การไม่ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศตนเอง การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน และความรู้สึกสำนึกในความเป็นคนไทย เป็นต้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อพฤติกรรมนักการเมืองหลังคดียุบพรรค พบว่า ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 63.4 ระบุจะเหมือนเดิม ร้อย
ละ 15.6 ระบุจะแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 8.7 ระบุจะดีขึ้น และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 46.7 อยากให้มีการ
เลือกตั้งไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป ในขณะที่ ร้อยละ 38.1 อยากให้มีการเลือกตั้งภายใน 3 — 6 เดือนข้างหน้า และร้อยละ 15.2 อยากให้มีการ
เลือกตั้งหลังช่วงปีใหม่ไปแล้ว ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ หลังการเลือกตั้งประชาชนร้อยละ 76.8 อยากได้รัฐบาลที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน รองลงมาคือร้อยละ 75.3
อยากได้รัฐบาลที่เก่งมีความสามารถ ร้อยละ 73.9 อยากได้รัฐบาลที่ทำงานหนัก ร้อยละ 71.7 อยากได้รัฐบาลที่รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน ร้อย
ละ 68.4 อยากได้รัฐบาลที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ร้อยละ 57.2 อยากได้รัฐบาลที่ไม่ทะเลาะ แตกแยกกัน และร้อยละ 24.4 ระบุอื่นๆ อยากได้
รัฐบาลที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ร่ำรวย อยู่ใกล้ชิดประชาชน และกระจายอำนาจ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็วภายในปีนี้ และอยากได้รัฐบาล
ที่ “ดี” “เก่ง” และ “รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน” นอกจากนี้ผลสำรวจพบด้วยว่าความสุขของประชาชนที่ลดลงเป็นเพราะปัญหาความขัดแย้ง
วุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ และความไม่สงบสุขในสังคม ประชาชนจึงอยากเห็นความรักความสามัคคี ความมีสติสัมปชัญญะ และความเคารพ
ในกฎกติกาของสังคม เป็นคุณธรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองได้ ส่วนพฤติกรรมของนักการเมืองหลังคดียุบพรรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยัง
คิดว่าจะเหมือนเดิม ดังนั้นสิ่งที่น่าพิจารณาคือ การเสนอให้มีองค์กรอิสระควบคุมพฤติกรรมนักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ดังนี้
1) จัดตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังพฤติกรรมนักการเมืองในทุกชุมชน มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความประพฤติมิ
ชอบในกลุ่มนักการเมือง
2) จัดตั้งระบบจัดระเบียบพฤติกรรมนักการเมืองเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูลระดับชุมชนสู่องค์กรอิสระอื่นๆ เช่น ปปช. ศาล
ปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเฝ้าติดตาม รายงานความประพฤติของนักการเมือง ทำเป็นระบบฐานข้อมูลภาพลักษณ์ที่ดี
และไม่ดีของนักการเมือง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายคดีความต่างๆ ของนักการเมือง
3) จัดตั้งคณะทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูนักการเมืองที่หลงผิดกลับเป็นคนดีคืนสู่สังคม เช่น สร้างเสริมจิตสำนึกที่ดีให้คำนึงถึงประโยชน์ส่วน
รวมของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าเครือญาติและพวกพ้อง
4) จัดตั้งระบบงานด้านการปราบปรามกลุ่มนักการเมืองที่ประพฤติผิดทั้งในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคอรัปชั่น การปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เป็น
ธรรม และเรื่องส่วนตัว เช่น ความผิดด้านชู้สาว และเรื่องอื้อฉาวต่างๆ
5) จัดสร้างระบบที่สามารถลงโทษกลุ่มบุคคลทั้งนายทุน นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พาประเทศไปสู่ความเสี่ยงของปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น แม้ไม่มีใบเสร็จก็สามารถเอาผิดในฐานะที่มีเพียงพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าทุจริตคอรัปชั่น เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
6) จัดสร้างระบบที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อทำให้ภาค
ประชาชนตื่นตัวและมีจิตสำนึกเข้าร่วมแก้ปัญหามากขึ้น
7) จัดสร้างระบบที่ทำให้รัฐสภาและสภาท้องถิ่นสามารถต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง ด้วยกฎหมายที่สามารถเอาผิดพรรคการ
เมืองและปิดโอกาสไม่ให้สมาชิกพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะผู้แทนประชาชนได้อีก
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่ออนาคตการเมืองไทยหลังคดียุบพรรคการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนหลังคดี
ยุบพรรคการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 15 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,189 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี
สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอด
คล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,189 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95
ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 21.6 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 4.9 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.2 ระบุเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 22.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.3 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยะ 4.9 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ในขณะที่ร้อยละ 73.4 ระบุอยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 26.6 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 43.2
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 24.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 13.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 16.7
5 ไม่ได้ติดตาม 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความสุขโดยรวมเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพอใจ ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 14.9
2 เหมือนเดิม 22.5
3 ลดลง เพราะ ปัญหาความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจภาระหนี้สินค่าครองชีพสูง
ความไม่สงบสุขในสังคม ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาสภาพแวดล้อม เป็นต้น 62.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อความรักความสามัคคีของคนในประเทศในช่วง 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความหวัง ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 12.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 28.6
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.1
4 ไม่เชื่อมั่น 7.5
5 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณธรรมของประชาชนในสังคมไทยที่อยากเห็นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเมืองของประเทศให้ผ่านพ้นไปได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความหวัง ร้อยละ
1 ความรักความสามัคคี 91.4
2 ความมีสติสัปปชัญญะ 87.2
3 ความเคารพในกฎกติกาของสังคม 85.6
4 ความซื่อสัตย์สุจริต 64.9
5 ความอดทน 61.8
6 ความเสียสละ 59.2
7 ความรับผิดชอบ 57.7
8 ความกตัญญูต่อชาติบ้านเมือง 56.4
9 การให้อภัย 52.8
10 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ (กฎแห่งกรรม) 48.2
11 อื่นๆ อาทิ การไม่ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศตนเอง /
การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน / และความรู้สึกสำนึกในความเป็นคนไทย เป็นต้น 18.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมนักการเมืองหลังคดียุบพรรค
ลำดับที่ พฤติกรรมนักการเมือง ค่าร้อยละ
1 จะดีขึ้น 8.7
2 จะเหมือนเดิม 63.4
3 จะแย่ลง 15.6
4 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ลำดับที่ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป 46.7
2 ช่วง 3 — 6 เดือน 38.1
3 มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป (หลังปีใหม่) 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รัฐบาลที่อยากได้หลังเลือกตั้งใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รัฐบาลที่อยากได้ ค่าร้อยละ
1 มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน 76.8
2 เก่ง มีความสามารถ 75.3
3 ทำงานหนัก 73.9
4 รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาประชาชน 71.7
5 โปร่งใส ตรวจสอบได้ 68.4
6 ไม่ทะเลาะ แตกแยกกัน 57.2
7 อื่นๆ อาทิ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม / ร่ำรวย / อยู่ใกล้ชิดประชาชน/
กระจายอำนาจ เป็นต้น 24.4
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacpoll.com หรือ www.abacpoll.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-