ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นและพฤติกรรม
การใช้อินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย: กรณีตัวอย่างประชาชนทั่วไปอายุ 15-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,303 ตัวอย่าง ระยะ
เวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-5 มกราคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา ผลสำรวจพบหลายประเด็นสำคัญดังนี้
เมื่อพิจารณาข้อมูลทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 94.8 ยังเป็นนักเรียน/นักศึกษาอยู่ ในขณะที่มีเพียง ร้อยละ 5.2 เท่านั้นที่
ระบุว่า สำเร็จการศึกษาแล้ว โดยร้อยละ 65.9 ระบุพักอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่ ร้อยละ 22.2 พักอาศัยอยู่ตามลำพัง ร้อยละ 10.5 พักอาศัย
อยู่กับญาติ/เพื่อน
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวอย่าง ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 48.4 ระบุเริ่มใช้อินเทอร์เน็ต
เมื่อช่วงอายุ 13-15 ปี ร้อยละ 25.4 ระบุเริ่มใช้มาตั้งแต่อายุต่ำกว่าอายุ 12 ปี ร้อยละ 19.9 ระบุ เริ่มใช้อายุ 16-18 ปี ทั้งนี้มีเพียงร้อย
ละ 6.3 เท่านั้นที่ระบุเริ่มใช้เมื่ออายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงจุดประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือ
ร้อยละ 90.0 ระบุใช้เพื่อค้นหาข้อมูล หาความรู้ ร้อยละ 53.9 ระบุเล่นเกมส์ออนไลน์ ร้อยละ 50.9 ระบุคุยผ่านทางโปรแกรม (เช่น MSN,
Yahoo, ICQ) ร้อยละ 50.0 ระบุดาวน์โหลดเพลง / ภาพยนตร์ และร้อยละ 49.3 ระบุติดตามข่าวสารประเภทบันเทิง ดารา ตามลำดับ
สำหรับสถานที่ที่ตัวอย่างมักจะใช้ในการเล่นอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.4 ระบุที่บ้าน/ ที่พัก ร้อยละ 65.1 ระบุที่สถาน
ศึกษา ร้อยละ 52.0 ระบุเล่นที่ร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และประมาณร้อยละ 10 ระบุเล่นที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า บ้าน
แฟน / ที่ทำงานของพ่อ-แม่ ตามลำดับ ทั้งนี้ผลสำวรจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.3 ระบุใช้อินเทอร์เน็ตในบริเวณที่มีคนอื่นๆ อยู่ด้วย ในขณะที่ร้อย
ละ 48.7 ระบุใช้ในห้องส่วนตัวคนเดียว โดยเฉลี่ยพบว่าเล่นประมาณวันละ 3 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน และประมาณครึ่งหนึ่งระบุนิยมเล่นในช่วงเวลา 2
ทุ่ม ถึง เที่ยงคืน
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 62.6 ระบุเคยดูภาพโป๊/เว็บโป้ทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่
ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.4 ระบุไม่เคยดู
ทั้งนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่เคยดูนั้น ร้อยละ 54.8 ระบุเคยใช้บริการดาวน์โหลดภาพ /วีดีโอโป๊ ร้อยละ 26.6 ระบุเคยใช้บริการเว็บ
แคม เช่น Camfrog ร้อยละ 13.3 ระบุพูดคุยเรื่องเพศกับคนอื่นบนเว็บ ร้อยละ 12.5 ระบุเล่นเกมส์ผ่านเว็บโป๊ และร้อยละ 11.8 ระบุส่ง
ภาพ /ข้อความทางเพศไปในเว็บโป๊ สำหรับการรับรู้แหล่งภาพโป๊/เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุรับรู้โดยบังเอิญ
ร้อยละ 46.2 ระบุเพื่อนแนะนำ ร้อยละ 24.9 ระบุ ค้นหาจากเว็บไซด์ที่บริการค้นหาข้อมูล(เช่น Google , MSN ,Siam guru) ร้อยละ 24.6
ระบุได้รับรู้ข้อมูลที่ส่งมาทางอีเมล์ และร้อยละ 21.6 ระบุรับรู้จากเว็บบอร์ด/กระทู้ต่างๆ
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงการมีสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.7 ระบุยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 30.1
ระบุยอมรับไม่ได้ และร้อยละ 23.1 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ระบุการเคยพูดคุยผ่านทางโปรแกรม (เช่น MSN Yahoo ICQ)หรือคุยในห้อง
สนทนา (chat room) บนอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ระบุไม่เคย ทั้งนี้ ตัวอย่างประมาณร้อยละ 30 เคยพูดคุยเรื่องเซ็กส์ทางอิน
เทอร์เน็ต และยังพบว่าตัวอย่างประมาณร้อยละ 30 เช่นกันที่เคยนัดพบเจอคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
และเมื่อสอบถามตัวอย่างที่เคยคุยในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ตนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.5 ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่รู้จักทางอิน
เทอร์เน็ต ร้อยละ 85.5 ระบุไม่เคย ทั้งนี้ร้อยละ 47.4 ระบุเพศสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปด้วยความเต็มใจ ร้อยละ 28.6 ระบุไม่เต็มใจ และร้อย
ละ 24.0 ระบุไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 60.2 ระบุการเคยพูดไม่จริงหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่รู้จักกันทางอิน
เทอร์เน็ต เป็นบางครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 19.3 ระบุเคยบ่อย และร้อยละ 20.5 ระบุไม่เคย
สำหรับประสบการณ์ในการเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรงนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุเคยเข้าเว็บไซต์ลักษณะดังกล่าว ในขณะที่
ร้อยละ 68.5 ระบุไม่เคย ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ที่เคยเข้าเว็บไซต์ดังกล่าว นั้น ร้อยละ 46.6 ระบุเป็นเนื้อหาประเภทฆาตกรรม ร้อยละ 35.6 ระบุการฆ่า
ตัวตาย ร้อยละ 24.4 ระบุเนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ร้อยละ 19.3 ระบุการทำระเบิด และร้อยละ 16.3 ระบุเป็นลัทธินิยม โดย
ตัวอย่างร้อยละ 70.7 ระบุคิดว่าเนื้อหาดังกล่าวเป็นอันตรายต่อสังคม ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ระบุไม่เป็นอันตรายต่อสังคม และร้อยละ 21.1 ไม่
ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างถึงอันตรายของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงทางอินเทอร์เน็ตที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบันนี้
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.7 ระบุทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป/หมกมุ่นในสิ่งที่ไม่ดี ร้อยละ 56.7 ระบุอาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น ก่อ
ความวุ่นวาย การฆ่าตัวตาย อาชญากรรม และร้อยละ 45.7 ระบุขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ดูและมุมมองของแต่ละคน ตามลำดับ
สำหรับการรับรู้ของตัวอย่างที่มีต่อนโยบายการปกป้องข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ การให้บริการออนไลน์ที่มีการกรอกข้อมูลส่วนตัว นั้น
ตัวอย่างร้อยละ 57.0 ระบุรับรู้ว่าจะต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบเป็นความลับในขณะที่ ร้อยละ 23.7 ระบุไม่รู้และร้อยละ 19.3 ไม่แน่ใจ
สำหรับการรับรู้ต่อนโยบายเกี่ยวกับการไม่ขายข้อมูลส่วนตัวให้กับบุคคลที่สามนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.5 ระบุรับรู้ ร้อยละ 28.4 ระบุไม่รับรู้
และร้อยละ 23.1 ไม่แน่ใจ
ตัวอย่างร้อยละ 63.4 ระบุเคยใช้บริการออนไลน์ หรือเว็บไซต์ที่ต้องสมัครสมาชิก และ กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ เพศ ที่อยู่ เบอร์
โทรศัพท์ อีเมล์ ในขณะที้ร้อยละ 27.6 ไม่เคย และร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 33.1 ระบุว่าเคยถูกบุคคลที่ไม่รู้จักติดต่อเข้าถึงตัวโทรมาหา อีเมล์มาหา
โดยได้จากข้อมูลที่เคยกรอกลงในเว็บไซต์ หรือบริการออนไลน์ ร้อยละ 61.0 ระบุไม่เคย และร้อยละ 5.9 ไม่แน่ใจ ทั้งนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่
เคยมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.9 ระบุเป็นการพูดคุยธรรมดา ร้อยละ 14.3 ระบุมีการชักชวนออกไปพบกัน ร้อย
ละ 5.5 ระบุใช้คำพูดลวนลามเรื่องเพศ ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับตัวเองหรือไม่ กรณีที่เคยถูกบุคคลที่ไม่รู้จัก ติดต่อเข้าถึงตัว เช่น โทรมาหา อีเมล์
มาหา โดยได้จากข้อมูลที่เคยกรอกลงในเว็บไซต์ หรือบริการออนไลน์ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.6 ระบุเคยมี ในขณะที่ร้อยละ 71.4 ระบุไม่
เคยมี โดยในกลุ่มตัวอย่างมีเคยประสบด้วยตนเองนั้นร้อยละ 46.2 ระบุทำให้ไม่สบายใจ คิดมาก ร้อยละ 19.2 ระบุถูกลวนลาม ร้อยละ
14.1 ระบุถูกทำให้เสื่อมเสีย อับอาย ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้บริการออนไลน์หรือเว็บไซต์นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.0 ระบุไม่ควร
เปิดเผยเลย ร้อยละ 24.7 ระบุทำได้ แต่ควรเปิดเผยเฉพาะข้อมูลบางส่วน ร้อยละ 18.3 ระบุทำได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป ใน
ขณะที่ร้อยละ 14.0 ระบุเป็นเรื่องปกติ
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการเข้าเว็บไซต์ที่มีสาระประโยชน์เมื่อเทียบกับ เว็บไซต์ประเภทบันเทิง / เว็บลามก นั้น
ตัวอย่างร้อยละ 8.0 ระบุเข้าเว็บที่มีสาระน้อยมาก เมื่อเทียบกับเว็บบันเทิง/เว็บลามก ร้อยละ 9.2 ระบุ น้อย ร้อยละ 44.5 ระบุปานกลาง/
พอๆกัน ร้อยละ 18.8 ระบุมาก และร้อยละ 19.5 ระบุเข้าเว็บที่มีสาระมากที่สุด เมื่อเทียบกับเว็บบันเทิง/เว็บลามก ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เข้าใช้
เว็บไซต์ / บริการออนไลน์ที่มีประโยชน์นั้น ร้อยละ 66.2 ระบุต้องการศึกษาหาความรู้ทั่วไป ร้อยละ 65.4 ระบุหาข้อมูลประกอบการศึกษา
การบ้าน รายงาน ร้อยละ 46.6 ระบุติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของโลก ร้อยละ 45.0 ระบุมีความสนใจเฉพาะด้าน และร้อยละ 13.6
ระบุต้องการเผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ให้คนอื่นรู้บ้าง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเยาวชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ ภาพโป๊ บนอินเทอร์เน็ต
3. เพื่อสำรวจประสบการณ์ความคิดเห็นต่อการเล่นเกมออนไลน์
4. เพื่อสำรวจประสบการณ์ความคิดเห็นต่อความรุนแรงบนอินเทอร์เน็ต
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออน์ไลน์
6. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางสร้างสรรค์
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์
เน็ตของเยาวชนไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปอายุ 15-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 2-5 มกราคม
พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15-24 ปีที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,303 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 45.5 เป็นชาย ร้อยละ 54.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 24.4 อายุ
ระหว่าง 15-17 ปี ร้อยละ 52.2 อายุระหว่าง 18-21 ปี และร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 22-24 ปี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 98.8 ระบุโสด ร้อย
ละ 0.9 ระบุสมรสและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 0.2 ระบุสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน และร้อยละ 0.1 ระบุเป็นม่าย / หย่าร้าง เมื่อพิจารณาถึงการศึกษา
ของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 94.8 ระบุว่ากำลังศึกษาอยู่ และร้อยละ 5.2 ระบุว่าสำเร็จการศึกษาแล้ว ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 65.9 พักอาศัยอยู่กับ
พ่อ-แม่ ร้อยละ 22.2 อยู่ลำพังในหอพัก / คอนโด / อพาร์ทเม้นต์ / บ้านเช่า ร้อยละ 10.5 อยู่กับญาติ / บ้านเพื่อน และร้อยละ 1.4 ระบุ
อื่นๆ อาทิ อยู่หอพักกับเพื่อน / อยู่วัด เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงอายุที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ ช่วงอายุที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 12 ปี 25.4
2 13-15 ปี 48.4
3 16-18 ปี 19.9
4 มากกว่า 18 ปีขึ้นไป 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
( อายุเฉลี่ย = 14.32 ปี S.D. = 2.76 ปี )
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดประสงค์ที่มักจะใช้อินเทอร์เน็ต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดประสงค์ที่มักจะใช้อินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 ค้นหาข้อมูล หาความรู้ 90.0
2 เล่นเกมส์ออนไลน์ 53.9
3 คุยผ่านทางโปรแกรม (เช่น MSN, Yahoo, ICQ) 50.9
4 ดาวน์โหลดเพลง / ภาพยนตร์ 50.0
5 ติดตามข่าวสารประเภทบันเทิง ดารา 49.3
6 ดาวน์โหลดโปรแกรม 42.4
7 ใช้บริการจดหมายอิเล็กโทรนิค (e- mail) 34.6
8 อ่านกระทู้ / ตั้งกระทู้ 28.8
9 ติดตามข่าวสารประเภทเทคโนโลยี ไอที 25.9
10 ติดตามข่าวสารประเภทการเมือง เศรษฐกิจ สังคม 23.9
11 คุยในห้องสนทนา (Chat room) 21.1
12 ดูเว็บหรือภาพโป๊ 20.2
13 เขียนเว็บบล็อก / เขียนไดอารี่บนเว็บ 11.5
14 อื่นๆ อาทิ ซื้อสินค้า / บริการ /เกี่ยวกับความรุนแรง/เล่นการพนัน /
ทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต /ฟังเพลงออนไลน์ / หางาน สมัครงาน เป็นต้น 21.3
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานที่ที่มักจะใช้อินเทอร์เน็ต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่มักจะใช้อินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 ที่บ้าน / ที่พัก 76.4
2 สถานศึกษา 65.1
3 ร้านที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) 52.0
4 ที่ทำงาน 6.1
5 ห้างสรรพสินค้า 5.5
6 อื่นๆ อาทิ บ้านแฟน / ที่ทำงานของพ่อ-แม่ เป็นต้น 1.1
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บริเวณที่มักจะใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยที่สุด(เฉพาะคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน /ที่พัก)
ลำดับที่ บริเวณที่มักจะใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยที่สุด ค่าร้อยละ
1 ใช้ในห้องส่วนตัวคนเดียว 48.7
2 ใช้ในห้อง /บริเวณร่วมกับคนอื่น 51.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน
ลำดับที่ ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 1 ชั่วโมง 13.8
2 ระหว่าง 1 ชั่วโมง — 2 ชั่วโมง 28.1
3 ระหว่าง 2 ชั่วโมง — 3 ชั่วโมง 23.1
4 ระหว่าง 3 ชั่วโมง — 4 ชั่วโมง 11.0
5 ระหว่าง 4 ชั่วโมง — 5 ชั่วโมง 10.2
6 มากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
( เวลาเฉลี่ย = 3.35 ชั่วโมง S.D. = 2.50 ชั่วโมง )
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาที่นิยมใช้อินเทอร์เน็ต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่นิยมใช้อินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 08.01 — 12.00 น. 13.5
2 12.01 — 16.00 น. 31.3
3 16.01 — 20.00 น. 44.4
4 20.01 — 24.00 น. 54.3
5 24.01 — 04.00 น. 12.8
6 04.01 — 08.00 น. 2.5
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยดูภาพโป๊ /เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ การเคยดูภาพโป๊ /เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 เคย 62.6
2 ไม่เคย 37.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้บริการที่เกี่ยวกับภาพโป๊ /เว็บโป๊ (เฉพาะคนที่ดูภาพโป๊ /
เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การใช้บริการที่เกี่ยวกับภาพโป๊ /เว็บโป๊ ค่าร้อยละ
1 ดาวน์โหลดภาพ /วีดีโอโป๊ 54.8
2 เว็บแคม เช่น Camfrog 26.6
3 พูดคุยเรื่องเพศกับคนอื่นบนเว็บ 13.3
4 เล่นเกมส์ผ่านเว็บโป๊ 12.5
5 ส่งภาพ /ข้อความทางเพศไปในเว็บโป๊ 11.8
6 ใช้บริการขอรับภาพ /วีดีโอส่งผ่านทางอีเมล์ 10.9
7 ติดต่อซื้อภาพ /วีดีโอที่มีจำหน่ายบนเว็บ 4.2
8 ใช้บริการอื่นๆ 6.9
9 ประกาศหาคู่ /เพื่อนเที่ยว 5.0
10 สมัครเป็นสมาชิกแบบเสียค่าบริการ 2.2
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้แหล่งภาพโป๊/เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต
(เฉพาะคนที่ดูภาพโป๊ /เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การรับรู้แหล่งภาพโป๊/เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 รับรู้โดยบังเอิญ 52.5
2 เพื่อนแนะนำ 46.2
3 ค้นหาจากเว็บไซด์ที่บริการค้นหาข้อมูล(เช่น Google , Msn ,Siam guru) 24.9
4 ได้รับรู้ข้อมูลที่ส่งมาทางอีเมล์ 24.6
5 รับรู้จากเว็บบอร์ด/กระทู้ต่างๆ 21.6
6 นิตยสาร /หนังสือ 10.1
7 รับรู้จากผู้ใหญ่ 2.7
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับได้ของการมีสื่อลามกทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
ลำดับที่ การยอมรับได้ของการมีสื่อลามกทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 46.7
2 ยอมรับไม่ได้ 30.1
3 ไม่มีความเห็น 23.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยพูดคุยผ่านทางโปรแกรม (เช่น MSN Yahoo ICQ) หรือ
คุยในห้องสนทนา (chat room) บนอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ การเคยพูดคุยผ่านทางโปรแกรม(เช่น MSN Yahoo ICQ)หรือคุยในห้องสนทนา(chat room)บนอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 เคย 80.4
2 ไม่เคย 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยพูดคุยเรื่องเซ็กส์ทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ การเคยพูดคุยเรื่องเซ็กส์ทางอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 เคยบ่อย/เกือบทุกครั้ง 4.4
2 เป็นบางครั้ง 23.9
3 ไม่เคย 71.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยนัดพบเจอคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ การเคยนัดพบเจอคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต ภาพรวม ชาย หญิง
1 เคยบ่อย/เกือบทุกครั้ง 5.4 8.2 2.9
2 เป็นบางครั้ง 25.5 31.3 20.7
3 ไม่เคย 69.1 60.5 76.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
(เฉพาะคนที่เคยคุยในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต)
ลำดับที่ การเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต ภาพรวม ชาย หญิง
1 เคย 14.5 22.4 7.4
2 ไม่เคย 85.5 77.6 92.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 15 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเต็มใจ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต)
ลำดับที่ ความเต็มใจ ภาพรวม ชาย หญิง
1 เต็มใจ 47.4 55.2 27.0
2 ไม่เต็มใจ 28.6 22.9 43.2
3 ไม่แน่ใจ 24.0 21.9 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 16 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยพูดไม่จริงหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ การเคยพูดไม่จริงหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 เคยบ่อย 19.3
2 บางครั้ง 60.2
3 ไม่เคย 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง
ลำดับที่ เคยหรือไม่ ค่าร้อยละ
1 เคย 31.5
2 ไม่เคย 68.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง (เฉพาะคนที่เคยเข้า และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การเคยเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง ค่าร้อยละ
1 ฆาตกรรม 46.6
2 ฆ่าตัวตาย 35.6
3 เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ 24.4
4 การทำระเบิด 19.3
5 ลัทธินิยม 16.3
6 ใช้ยาพิษ 9.0
7 อื่นๆ อาทิ ภาพการชุมนุมประท้วง ภาพศพ เป็นต้น 2.9
ตารางที่ 19 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง (เช่น การทำระเบิด
ฆาตกรรม ใช้ยาพิษ เป็นต้น) ทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง(เช่น การทำระเบิดฆาตกรรม ใช้ยาพิษ เป็นต้น) ทางอินเทอร์เน็ต ค่าร้อยละ
1 ไม่น่าสนใจ 32.8
2 ตกใจ / สะเทือนใจ/ กระทบกระเทือนจิตใจ 32.6
3 ธรรมดาเป็นเรื่องปกติ 17.8
4 ตื่นเต้น/ เป็นเรื่องแปลกใหม่ / น่าค้นหา ติดตาม 15.9
5 อื่นๆ อาทิ เป็นเรื่องไร้สาระ น่ากลัว เป็นต้น 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 20 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงทางอินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคม
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงทางอินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคม ค่าร้อยละ
1 เป็นอันตรายต่อสังคม 70.7
2 ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม 8.2
3 ไม่มีความเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 21 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อันตรายของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงทาง
อินเทอร์เน็ตต่อสังคมในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อันตรายของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงทางอินเทอร์เน็ตต่อสังคมในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป/หมกมุ่นในสิ่งที่ไม่ดี 63.7
2 อาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น ก่อความวุ่นวาย การฆ่าตัวตาย อาชญากรรม 56.7
3 ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ดูและมุมมองของแต่ละคน 45.7
(ยังมีต่อ)