ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อประเทศสิงคโปร์กรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,572 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 ทราบข่าวเกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์และให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ CNN ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ไม่ทราบข่าว เมื่อสอบถามกลุ่มผู้ที่ทราบข่าวถึงความคิดเห็นต่อการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ พบว่า ร้อยละ 54.7 คิดว่าเป็นเรื่องไม่ปกติธรรมดา ในขณะที่ร้อยละ 21.6 คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาและร้อยละ 23.7 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจพบด้วยว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 คิดว่าการพบปะกันดังกล่าวเป็นการหวังผลทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 22.9 ไม่คิดว่าจะหวังผลทางการเมือง และร้อยละ 20.3 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงผลกระทบต่อการเมืองไทยหลังการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.2 รู้สึกวุ่นวายสับสน ในขณะที่ร้อยละ 10.1 ไม่รู้สึกวุ่นวายอะไร และร้อยละ 12.7 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.4 เห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลสิงคโปร์หลังการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 คิดว่ารัฐบาลสิงคโปร์ควรขอโทษคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 21.6 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องขอโทษ และร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 49.8 คิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์จะเหมือนเดิม ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะแย่ลง มีเพียงร้อยละ 6.7 คิดว่าจะดีขึ้นและร้อยละ 15.4 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7 เห็นด้วยกับการประกาศท่าทีของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณที่ว่า “พอคือพอ” กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการยุติบทบาททางการเมือง โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองต้องการความสงบ ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำแล้ว มีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น สังคมแตกแยก และอยู่เฉยๆ ดีกว่า เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 24.5 ไม่เห็นด้วย เพราะยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ควรกลับมาร่วมมือกันแก้ปัญหาประเทศ และช่วยเหลือคนจนได้อย่างแท้จริง เป็นต้น และร้อยละ 16.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยที่ถูกศึกษามีความอ่อนไหวกับสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประเด็นการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละเรื่องมักจะเป็นเรื่องในทางลบสร้างความรู้สึกสับสนวุ่นวายในหมู่ประชาชน แสดงให้เห็นด้วยว่าขณะนี้สังคมไทยยังมีลักษณะแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมากพอที่จะกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน สิ่งที่จะช่วยทำให้บรรยากาศการเมืองและสังคมดีขึ้นน่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อย่างน้อยสามประการคือ
ประการแรก รัฐบาล คมช. และกลไกต่างๆ ของรัฐควรอยู่เหนือเกมการเมืองโดยพูดเรื่องการเมืองเฉพาะสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น เช่น เรื่องระบบการเมืองใหม่ที่มีหลักธรรมาภิบาลแท้จริง เรื่องการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับชุมชนเพื่ออยู่ดีมีสุขร่วมกัน เป็นต้น
ประการที่สอง สื่อมวลชนควรเป็นอิสระและปลอดจากการแทรกแซงทุกรูปแบบ รัฐบาลและ คมช. น่าจะมีท่าทีชัดเจนให้สื่อมวลชนทำงานได้อย่างเสรีและรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวสารแก่สาธารณชน ประการที่สาม รัฐบาล และ คมช. ควรเข้าถึงการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่เป็นหัวใจของฐานอำนาจเก่าในฐานะ “สามัญชน” ร่วมทุกช์ร่วมสุขกับประชาชนในพื้นที่เหล่านั้น ไม่ควรเข้าถึงประชาชนทั่วไปในฐานะผู้มีอำนาจที่มาปกครองและประชาชนรู้สึกว่า “ถูกควบคุม” จึงแนะให้บรรดาผู้มีอำนาจเลือกพื้นที่ปัญหาสำคัญๆ ของแต่ละภาคและไปร่วมอยู่ร่วมกินกับประชาชนในบ้านเดียวกันในชุมชนเดียวกันสักระยะหนึ่งและต่อเนื่อง เพราะการพูดการทำครั้งเดียวที่คิดว่าสำเร็จแล้วจะไม่ได้รับฐานสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างยั่งยืนเพียงพอ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ก่อนที่รัฐบาลและ คมช. จะเรียกร้องให้สังคมไทยเป็นเนื้อเดียวกัน รัฐบาลและ คมช. ควรแสดงออกให้เป็นตัวอย่างก่อนว่าการเป็นเนื้อเดียวกันกับชาวบ้านนั้นทำอย่างไร ถ้ารัฐบาลและ คมช. ทำให้สาธารณชนทั่วไปเห็นเป็นต้นแบบที่ยอมรับได้ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณจะบินไปพบปะผู้มีอำนาจในประเทศต่างๆ กี่ครั้งกี่หนก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการเมืองและสังคมภายในประเทศ จะไม่เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองและความสับสนวุ่นวายในหมู่ประชาชน เพราะมีการตกผลึกระหว่าง รัฐบาล คมช. และประชาชนภายในประเทศอย่างเข้มแข็งมั่นคง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบปะกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์และให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ CNN
2.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อประเทศสิงคโปร์กรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,572 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 1,572 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และหัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางศรีสุดา บุญยิ้ม หัวหน้างานสถิติและฐานข้อมูล และกลุ่มนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย ได้แก่ นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี
นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ และ
นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ
พร้อมด้วยนักสถิติ นักวิจัย พนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 108 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 28.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 75.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 21.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 15.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไปร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 11.3 ระบุเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 5.6 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
และให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ CNN
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 82.3
2 ไม่ทราบข่าว 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
(เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องปกติธรรมดา 21.6
2 ไม่ปกติธรรมดา 54.7
3 ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการหวังผลประโยชน์ทางการเมืองจากการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
กับรองนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 หวังผลทางการเมือง 56.8
2 ไม่คิดว่าจะหวังผลทางการเมือง 22.9
3 ไม่มีความเห็น 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการเมืองไทยหลังการพบปะกันระหว่างอดีต นายกรัฐมนตรีทักษิณ กับรองนายกรัฐมนตรี
สิงคโปร์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกวุ่นวายสับสน 77.2
2 ไม่รู้สึกวุ่นวายอะไร 10.1
3 ไม่มีความเห็น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีของประเทศไทยที่มีต่อประเทศสิงคโปร์หลังจากการพบปะกันระหว่าง
อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณและรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย 64.4
2 ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย 18.3
3 ไม่มีความเห็น 17.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีของประเทศสิงคโปร์ที่ปล่อยให้มีการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับ
รองนายกรัฐมนตรีสิงห์โปร์จนเกิดปัญหาทางการเมืองในประเทศไทย(เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรขอโทษคนไทย 55.9
2 ไม่จำเป็นต้องขอโทษ 21.6
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ในอนาคต (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะดีขึ้น 6.7
2 คิดว่าจะเหมือนเดิม 49.8
3 คิดว่าจะแย่ลง 28.1
4 ไม่มีความเห็น 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการประกาศท่าทีของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณว่า “พอคือพอ”
กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะบ้านเมืองต้องการความสงบไม่
เหมาะสมกับการเป็นผู้นำแล้วมีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น
สังคมแตกแยก และอยู่เฉยๆ ดีกว่า เป็นต้น 58.7
2 ไม่เห็นด้วย เพราะยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
ควรกลับมาร่วมมือกันแก้ปัญหาประเทศ
และช่วยเหลือคนจนได้อย่างแท้จริง เป็นต้น 24.5
3 ไม่มีความเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-
ผลสำรวจพบด้วยว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 คิดว่าการพบปะกันดังกล่าวเป็นการหวังผลทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 22.9 ไม่คิดว่าจะหวังผลทางการเมือง และร้อยละ 20.3 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงผลกระทบต่อการเมืองไทยหลังการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.2 รู้สึกวุ่นวายสับสน ในขณะที่ร้อยละ 10.1 ไม่รู้สึกวุ่นวายอะไร และร้อยละ 12.7 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.4 เห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลสิงคโปร์หลังการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 คิดว่ารัฐบาลสิงคโปร์ควรขอโทษคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 21.6 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องขอโทษ และร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 49.8 คิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์จะเหมือนเดิม ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะแย่ลง มีเพียงร้อยละ 6.7 คิดว่าจะดีขึ้นและร้อยละ 15.4 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7 เห็นด้วยกับการประกาศท่าทีของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณที่ว่า “พอคือพอ” กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการยุติบทบาททางการเมือง โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองต้องการความสงบ ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำแล้ว มีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น สังคมแตกแยก และอยู่เฉยๆ ดีกว่า เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 24.5 ไม่เห็นด้วย เพราะยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ควรกลับมาร่วมมือกันแก้ปัญหาประเทศ และช่วยเหลือคนจนได้อย่างแท้จริง เป็นต้น และร้อยละ 16.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยที่ถูกศึกษามีความอ่อนไหวกับสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประเด็นการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละเรื่องมักจะเป็นเรื่องในทางลบสร้างความรู้สึกสับสนวุ่นวายในหมู่ประชาชน แสดงให้เห็นด้วยว่าขณะนี้สังคมไทยยังมีลักษณะแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมากพอที่จะกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน สิ่งที่จะช่วยทำให้บรรยากาศการเมืองและสังคมดีขึ้นน่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อย่างน้อยสามประการคือ
ประการแรก รัฐบาล คมช. และกลไกต่างๆ ของรัฐควรอยู่เหนือเกมการเมืองโดยพูดเรื่องการเมืองเฉพาะสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น เช่น เรื่องระบบการเมืองใหม่ที่มีหลักธรรมาภิบาลแท้จริง เรื่องการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับชุมชนเพื่ออยู่ดีมีสุขร่วมกัน เป็นต้น
ประการที่สอง สื่อมวลชนควรเป็นอิสระและปลอดจากการแทรกแซงทุกรูปแบบ รัฐบาลและ คมช. น่าจะมีท่าทีชัดเจนให้สื่อมวลชนทำงานได้อย่างเสรีและรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวสารแก่สาธารณชน ประการที่สาม รัฐบาล และ คมช. ควรเข้าถึงการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่เป็นหัวใจของฐานอำนาจเก่าในฐานะ “สามัญชน” ร่วมทุกช์ร่วมสุขกับประชาชนในพื้นที่เหล่านั้น ไม่ควรเข้าถึงประชาชนทั่วไปในฐานะผู้มีอำนาจที่มาปกครองและประชาชนรู้สึกว่า “ถูกควบคุม” จึงแนะให้บรรดาผู้มีอำนาจเลือกพื้นที่ปัญหาสำคัญๆ ของแต่ละภาคและไปร่วมอยู่ร่วมกินกับประชาชนในบ้านเดียวกันในชุมชนเดียวกันสักระยะหนึ่งและต่อเนื่อง เพราะการพูดการทำครั้งเดียวที่คิดว่าสำเร็จแล้วจะไม่ได้รับฐานสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างยั่งยืนเพียงพอ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ก่อนที่รัฐบาลและ คมช. จะเรียกร้องให้สังคมไทยเป็นเนื้อเดียวกัน รัฐบาลและ คมช. ควรแสดงออกให้เป็นตัวอย่างก่อนว่าการเป็นเนื้อเดียวกันกับชาวบ้านนั้นทำอย่างไร ถ้ารัฐบาลและ คมช. ทำให้สาธารณชนทั่วไปเห็นเป็นต้นแบบที่ยอมรับได้ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณจะบินไปพบปะผู้มีอำนาจในประเทศต่างๆ กี่ครั้งกี่หนก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการเมืองและสังคมภายในประเทศ จะไม่เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองและความสับสนวุ่นวายในหมู่ประชาชน เพราะมีการตกผลึกระหว่าง รัฐบาล คมช. และประชาชนภายในประเทศอย่างเข้มแข็งมั่นคง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบปะกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์และให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ CNN
2.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อประเทศสิงคโปร์กรณีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,572 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 1,572 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และที่ปรึกษาโครงการวิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ และหัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางศรีสุดา บุญยิ้ม หัวหน้างานสถิติและฐานข้อมูล และกลุ่มนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย ได้แก่ นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี
นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ และ
นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ
พร้อมด้วยนักสถิติ นักวิจัย พนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 108 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 28.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 75.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 21.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 15.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไปร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 11.3 ระบุเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 5.6 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
และให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ CNN
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 82.3
2 ไม่ทราบข่าว 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
(เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องปกติธรรมดา 21.6
2 ไม่ปกติธรรมดา 54.7
3 ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการหวังผลประโยชน์ทางการเมืองจากการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
กับรองนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 หวังผลทางการเมือง 56.8
2 ไม่คิดว่าจะหวังผลทางการเมือง 22.9
3 ไม่มีความเห็น 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการเมืองไทยหลังการพบปะกันระหว่างอดีต นายกรัฐมนตรีทักษิณ กับรองนายกรัฐมนตรี
สิงคโปร์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกวุ่นวายสับสน 77.2
2 ไม่รู้สึกวุ่นวายอะไร 10.1
3 ไม่มีความเห็น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีของประเทศไทยที่มีต่อประเทศสิงคโปร์หลังจากการพบปะกันระหว่าง
อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณและรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย 64.4
2 ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย 18.3
3 ไม่มีความเห็น 17.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีของประเทศสิงคโปร์ที่ปล่อยให้มีการพบปะกันระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณกับ
รองนายกรัฐมนตรีสิงห์โปร์จนเกิดปัญหาทางการเมืองในประเทศไทย(เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรขอโทษคนไทย 55.9
2 ไม่จำเป็นต้องขอโทษ 21.6
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ในอนาคต (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะดีขึ้น 6.7
2 คิดว่าจะเหมือนเดิม 49.8
3 คิดว่าจะแย่ลง 28.1
4 ไม่มีความเห็น 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการประกาศท่าทีของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณว่า “พอคือพอ”
กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะบ้านเมืองต้องการความสงบไม่
เหมาะสมกับการเป็นผู้นำแล้วมีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น
สังคมแตกแยก และอยู่เฉยๆ ดีกว่า เป็นต้น 58.7
2 ไม่เห็นด้วย เพราะยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
ควรกลับมาร่วมมือกันแก้ปัญหาประเทศ
และช่วยเหลือคนจนได้อย่างแท้จริง เป็นต้น 24.5
3 ไม่มีความเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-ฉอ-