ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมธุรกิจและการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation of Business and Marketing, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของนัก
ธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีตและการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากนักธุรกิจและผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,639 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 — 27
มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
นักธุรกิจและผู้ประกอบการส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 6.4 และร้อยละ
0.7 เท่านั้นที่ติดตามเป็นบางสัปดาห์และไม่ได้ติดตามเลย
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามและวิเคราะห์ถึงช่องว่างระหว่างความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงต่อหลัก ธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่มา
จากการเลือกตั้งในอดีต พบปัญหาวิกฤตสำคัญอันดับแรกสุดคือ ปัญหาการร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง การ
เลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญาธุรกิจ และการทุจริตคอรัปชั่น เพราะผลสำรวจพบมีกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการคาด
หวังต่อการร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง การเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญา
ธุรกิจ และการทุจริตคอรัปชั่น สูงถึงร้อยละ 89.8 แต่เห็นจริงร้อยละ 20.4 จึงมีช่องว่างมากถึงร้อยละ 69.4
ปัญหาหลักธรรมาภิบาลรองลงมาคือ การที่รัฐบาลไม่เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ เพราะผลสำรวจพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะมีรัฐบาล
เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้สูงถึงร้อยละ 93.8 แต่เห็นจริงได้เพียงร้อยละ 26.0 จึงมีช่องว่างมากถึงร้อยละ 67.8 ในขณะที่ปัญหาหลักธรรมาภิบาล
อันดับที่สาม คือ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ เพราะผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะมีองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้สูงถึงร้อยละ 82.7 แต่เห็นจริงร้อยละ 22.4 มีช่องว่างสูงถึงร้อยละ 60.3
นอกจากนี้ ปัญหาช่องว่างของความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงในเรื่องหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่สำคัญรองๆ ลงไปคือ
ร้อยละ 59.6 เป็นเรื่องของการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 58.5 เป็นเรื่องการตรวจสอบรัฐบาล ร้อยละ 58.3 เป็นเรื่องนักการ
เมืองเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 58.2 เป็นเรื่องความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 57.9 เป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือกัน
พัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาล ราชการและภาคประชาชน ร้อยละ 51.1 เป็นเรื่องการลดปัญหาความยากจน ในขณะที่ร้อยละ 48.3 เป็นเรื่องการ
ตรวจสอบองค์กรอิสระ และร้อยละ 40.8 เป็นเรื่องของการเข้าใจ เข้าถึงหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ในกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลชุดปัจจุบันคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ของกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการระบุว่า ยัง
คงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น ร้อยละ 64.9 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง ร้อยละ 55.7
ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับสูง ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
และเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้นที่ระบุไม่มีปัญหาแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มผู้ที่ตอบว่ายังพบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้น ร้อยละ 35.7 ระบุมีปัญหารุนแรงในกลุ่มข้าราชการระดับสูง ร้อยละ 41.7
ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 22.6 ระบุระดับเบาบาง สำหรับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่างร้อยละ 54.2 ระบุระดับรุนแรง ร้อย
ละ 34.5 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 11.3 ระดับเบาบาง นอกจากนี้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นร้อยละ 66.8 ระบุ
ระดับรุนแรง ร้อยละ 22.7 ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.5 ระดับเบาบาง และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบันร้อยละ
20.4 ระบุระดับรุนแรง ร้อยละ 51.2 ระดับปานกลาง และร้อยละ 28.4 ระดับเบาบาง
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 60.7 ระบุปัญหาในกลุ่มข้าราชการระดับสูงจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 23.2 จะรุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 16.1 จะลดลง สำหรับปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่างร้อยละ 57.6 ระบุจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 31.7 ระบุจะรุนแรงมากขึ้น และร้อยละ 10.7 ระบุจะลดลง
ตัวอย่างร้อยละ 56.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 34.6 จะมากขึ้นและร้อยละ 9.3 จะลด
ลง
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ร้อยละ 36.9 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองจะกลับมารุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 54.9 จะเหมือน
เดิม และเพียงร้อยละ 8.2 ระบุจะลดลง
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำทั้งตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 ระบุการแข่ง
ขันทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ร้อยละ 80.4 คิดว่าตนเองเป็นคนที่มุมานะทำงานหนักมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนอื่นอีกประมาณ 100 คน แต่ที่
น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ระบุการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 64.4 ระบุทำธุรกิจเพื่อเอาชนะและต้อง
ทำให้คู่แข่งเติบโตในวงจำกัด ร้อยละ 63.5 คิดว่าถ้าธุรกิจที่กำลังทำขณะนี้ประสบปัญหาจะเดือดร้อนต้องพึ่งพาผู้อื่น ร้อยละ 58.6 ระบุธุรกิจที่กำลังทำ
อยู่มีปัญหาความสิ้นเปลืองอยู่มาก ในขณะที่ร้อยละ 24.9 ระบุทุกวันนี้มุ่งทำธุรกิจเพื่อพออยู่ได้มากกว่ามุ่งหาผลกำไร และร้อยละ 11.6 ระบุคิดอยากลง
ทุนอะไรก็จะลงทุนทันที
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงหลายเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต กำลัง
เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถ้าระบบโครงสร้างของประเทศไทยและคุณภาพของคนยังคงเป็นอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น ความรู้สึกนึกคิด
ของกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจและผู้ประกอบการในการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นจริงตามที่ค้นพบ เพราะกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขณะนี้คิดกันว่าการ
ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผลที่ตามมาก็คือ การลงทุนลงแรงแลกด้วยชีวิตของกลุ่มผู้ยึดอำนาจ (คมช.) จากรัฐบาลชุดที่แล้วก็จะไม่เกิด
ประโยชน์อะไร ถ้าการยึดอำนาจนั้นทำได้เพียงเปลี่ยนมือกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่นจากฝ่ายการเมืองกลุ่มหนึ่งมาสู่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐในท้อง
ถิ่น และกลุ่มนักการเมืองกลุ่มอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง ส่งผลให้วัฏจักรแห่งความชั่วร้ายและข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มผู้ที่จะยึดอำนาจในอนาคตยัง
คงมีอยู่ต่อไป แนวทางแก้ไขที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกที่จะตามมาควรทำให้ชัดเจนเข้าใจง่ายว่า เพียงแค่มีพฤติการณ์วิ่งเต้นล็อบบี้เพื่อเอื้อ
ประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนและพวกพ้อง โดยไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จก็เป็นความผิดได้ เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและสายสัมพันธ์ที่ส่อไป
ในทางที่เกินควรของผู้มีอำนาจตัดสินใจโครงการลงทุนของภาครัฐกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้มีอาชีพวิ่งเต้นล็อบบี้ต่างๆ เป็นต้น
ประการที่สอง รัฐควรเร่งให้การศึกษาสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับชุมชนในการแก้
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะผลสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มนักธุรกิจประสบปัญหาการทุจิรตคอรัปชั่น
และประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยสื่อมวลชนและการศึกษาแบบเป็นทางการในระบบ นำประวัติศาสตร์ความ
ผิดพลาดของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาๆ ในโครงการต่างๆ เช่น ค่าโง่ทางด่วน โครงการโฮปเวย์ บ่อบำบัดน้ำเสีย และสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น เข้าสู่
เนื้อหาในตำราเรียนปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปของชุมชนท้องถิ่นและเด็กเยาวชนชนรุ่นหลังเพื่อต่อต้านพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ
และทุกระดับ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและการเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องของผู้มีอำนาจได้ทำลายความภาคภูมิใจของคนไทยต่อโครงการ
ขนาดใหญ่ที่ถูกคาดหวังจากประชาชนว่าจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนและของประเทศ
ประการที่สาม กลไกต่างๆ ของรัฐต้องรวดเร็วฉับไวต่อการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเมื่อได้รับเรื่องราวร้องทุกข์กล่าวโทษต้องรีบดำเนิน
การสืบสวนสอบสวนทันที รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนกลไกต่างๆ ของรัฐเหล่านี้ด้านทรัพยากรให้เพียงพอต่อปริมาณปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทุก
แห่งหนของประเทศขณะนี้ เพราะมันยังไม่ได้หายไปไหนแม้แต่ในห้วงเวลาของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
ประการที่สี่ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรแสดงให้สาธารณชนเห็นเป็นตัวอย่างของ
ประชาชนและนักธุรกิจที่มีความสุขจากการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแบบพอเพียงนำไปสู่ความเติบโตและมั่นคงในฐานะทาง
เศรษฐกิจของบริษัทห้างร้านต่างๆ อย่างยั่งยืน และสามารถเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต
2. เพื่อสำรวจสิ่งที่นักธุรกิจและผู้ประกอบการคิดและทำเกี่ยวกับตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมธุรกิจและการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจความคิดเห็น
ของนักธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีตและการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจและ
ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 — 27 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบจากบัญชีรายชื่อการประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,639 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่างร้อยละ 68.1 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 31.9 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 28.7 อายุต่ำกว่า 35 ปี
ร้อยละ 44.8 อายุระหว่าง 35 ถึง 50 ปี
และร้อยละ 26.5 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 62.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 14.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 23.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 21.7 ระบุธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน
ร้อยละ 40.8 ระบุธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง
ร้อยละ 26.4 เป็นธุรกิจบริการ
และร้อยละ 11.1 ระบุอื่นๆ เช่น ตลาดหุ้น การนำเข้าส่งออก ค้าขายทั่วไป อัญมณี และธุรกิจการศึกษา เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.9
2 3-4 วัน 23.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.4
5 ไม่ได้ติดตาม 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต
ลำดับที่ ประเด็นหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต ความคาดหวังค่าร้อยละ เห็นจริงค่าร้อยละ ส่วนต่างค่าร้อยละ
1 ความโปร่งใสของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต 84.9 28.3 -56.6
2 ความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 84.2 26.0 -58.2
3 ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือกันพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาล ราชการ
และภาคประชาชน 91.0 33.1 -57.9
4 การตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างแท้จริง 85.4 26.9 -58.5
5 การตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แท้จริง 85.0 25.4 -59.6
6 การตรวจสอบองค์กรอิสระได้แท้จริง 73.2 24.9 -48.3
7 การเข้าใจ เข้าถึง หลักรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 68.1 27.3 -40.8
8 ความสามารถทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง 66.1 29.6 -36.5
9 การพัฒนาที่ยั่งยืน 79.0 28.1 -50.9
10 การลดปัญหาความยากจน 76.2 25.1 -51.1
11 การมีส่วนร่วมของสาธารณชน 69.5 29.1 -40.4
12 รัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ 93.8 26.0 -67.8
13 นักการเมืองเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ 81.4 23.1 -58.3
14 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ 82.7 22.4 -60.3
15 ความตื่นตัวช่วยรณรงค์ในการเลือกตั้ง 65.1 38.9 -26.2
16 ความง่ายในการเข้าพบรัฐมนตรีเมื่อต้องการร้องเรียน 59.3 14.6 -44.7
17 ความง่ายในการเข้าพบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 50.8 20.9 -29.9
18 การร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง
การเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญาธุรกิจ
และการทุจริตคอรัปชั่น 89.8 20.4 -69.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ยังคงมีอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับสูง 55.7
2 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง 64.9
3 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น 69.7
4 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 13.8
5 ไม่มีปัญหาแล้ว 5.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ยังคงมีอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
(เฉพาะผู้ตอบว่ามีปัญหาในแต่ละกลุ่ม)
ลำดับที่ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน รุนแรง ปานกลาง เบาบาง รวมทั้งสิ้น
1 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับสูง 35.7 41.7 22.6 100.0
2 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง 54.2 34.5 11.3 100.0
3 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น 66.8 22.7 10.5 100.0
4 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 20.4 51.2 28.4 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ลำดับที่ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน รุนแรงมากขึ้น กลับมาเหมือนเดิม ลดลง รวมทั้งสิ้น
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับสูง 23.2 60.7 16.1 100.0
2 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง 31.7 57.6 10.7 100.0
3 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น 34.6 56.1 9.3 100.0
4 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 36.9 54.9 8.2 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำ (ตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนแบบพอเพียง)
ลำดับที่ สิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำ (ตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนแบบพอเพียง) ค่าร้อยละ
1 การแข่งขันทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติ 87.3
2 คิดว่าตนเองเป็นคนที่มุมานะทำงานหนักมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนอื่นอีกประมาณ 100 คน 80.4
3 การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 72.1
4 ทำธุรกิจเพื่อเอาชนะและต้องทำให้คู่แข่งเติบโตในวงจำกัด 64.4
5 ถ้าธุรกิจที่กำลังทำขณะนี้ประสบปัญหา จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาผู้อื่น 63.5
6 ธุรกิจที่กำลังทำอยู่ยังมีปัญหาความสิ้นเปลืองอยู่มาก 58.6
7 ทุกวันนี้มุ่งทำธุรกิจเพื่อพออยู่ได้มากกว่ามุ่งหาผลกำไร 24.9
8 คิดอยากลงทุนอะไรก็จะลงทุนทันที 11.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation of Business and Marketing, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของนัก
ธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีตและการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากนักธุรกิจและผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,639 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 — 27
มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
นักธุรกิจและผู้ประกอบการส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 6.4 และร้อยละ
0.7 เท่านั้นที่ติดตามเป็นบางสัปดาห์และไม่ได้ติดตามเลย
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามและวิเคราะห์ถึงช่องว่างระหว่างความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงต่อหลัก ธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่มา
จากการเลือกตั้งในอดีต พบปัญหาวิกฤตสำคัญอันดับแรกสุดคือ ปัญหาการร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง การ
เลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญาธุรกิจ และการทุจริตคอรัปชั่น เพราะผลสำรวจพบมีกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการคาด
หวังต่อการร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง การเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญา
ธุรกิจ และการทุจริตคอรัปชั่น สูงถึงร้อยละ 89.8 แต่เห็นจริงร้อยละ 20.4 จึงมีช่องว่างมากถึงร้อยละ 69.4
ปัญหาหลักธรรมาภิบาลรองลงมาคือ การที่รัฐบาลไม่เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ เพราะผลสำรวจพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะมีรัฐบาล
เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้สูงถึงร้อยละ 93.8 แต่เห็นจริงได้เพียงร้อยละ 26.0 จึงมีช่องว่างมากถึงร้อยละ 67.8 ในขณะที่ปัญหาหลักธรรมาภิบาล
อันดับที่สาม คือ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ เพราะผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะมีองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้สูงถึงร้อยละ 82.7 แต่เห็นจริงร้อยละ 22.4 มีช่องว่างสูงถึงร้อยละ 60.3
นอกจากนี้ ปัญหาช่องว่างของความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงในเรื่องหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่สำคัญรองๆ ลงไปคือ
ร้อยละ 59.6 เป็นเรื่องของการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 58.5 เป็นเรื่องการตรวจสอบรัฐบาล ร้อยละ 58.3 เป็นเรื่องนักการ
เมืองเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 58.2 เป็นเรื่องความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 57.9 เป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือกัน
พัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาล ราชการและภาคประชาชน ร้อยละ 51.1 เป็นเรื่องการลดปัญหาความยากจน ในขณะที่ร้อยละ 48.3 เป็นเรื่องการ
ตรวจสอบองค์กรอิสระ และร้อยละ 40.8 เป็นเรื่องของการเข้าใจ เข้าถึงหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ในกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลชุดปัจจุบันคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ของกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการระบุว่า ยัง
คงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น ร้อยละ 64.9 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง ร้อยละ 55.7
ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับสูง ในขณะที่ร้อยละ 13.8 ระบุยังคงมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
และเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้นที่ระบุไม่มีปัญหาแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มผู้ที่ตอบว่ายังพบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้น ร้อยละ 35.7 ระบุมีปัญหารุนแรงในกลุ่มข้าราชการระดับสูง ร้อยละ 41.7
ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 22.6 ระบุระดับเบาบาง สำหรับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่างร้อยละ 54.2 ระบุระดับรุนแรง ร้อย
ละ 34.5 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 11.3 ระดับเบาบาง นอกจากนี้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นร้อยละ 66.8 ระบุ
ระดับรุนแรง ร้อยละ 22.7 ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.5 ระดับเบาบาง และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบันร้อยละ
20.4 ระบุระดับรุนแรง ร้อยละ 51.2 ระดับปานกลาง และร้อยละ 28.4 ระดับเบาบาง
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 60.7 ระบุปัญหาในกลุ่มข้าราชการระดับสูงจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 23.2 จะรุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 16.1 จะลดลง สำหรับปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่างร้อยละ 57.6 ระบุจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 31.7 ระบุจะรุนแรงมากขึ้น และร้อยละ 10.7 ระบุจะลดลง
ตัวอย่างร้อยละ 56.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 34.6 จะมากขึ้นและร้อยละ 9.3 จะลด
ลง
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ร้อยละ 36.9 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองจะกลับมารุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 54.9 จะเหมือน
เดิม และเพียงร้อยละ 8.2 ระบุจะลดลง
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำทั้งตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 ระบุการแข่ง
ขันทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ร้อยละ 80.4 คิดว่าตนเองเป็นคนที่มุมานะทำงานหนักมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนอื่นอีกประมาณ 100 คน แต่ที่
น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ระบุการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 64.4 ระบุทำธุรกิจเพื่อเอาชนะและต้อง
ทำให้คู่แข่งเติบโตในวงจำกัด ร้อยละ 63.5 คิดว่าถ้าธุรกิจที่กำลังทำขณะนี้ประสบปัญหาจะเดือดร้อนต้องพึ่งพาผู้อื่น ร้อยละ 58.6 ระบุธุรกิจที่กำลังทำ
อยู่มีปัญหาความสิ้นเปลืองอยู่มาก ในขณะที่ร้อยละ 24.9 ระบุทุกวันนี้มุ่งทำธุรกิจเพื่อพออยู่ได้มากกว่ามุ่งหาผลกำไร และร้อยละ 11.6 ระบุคิดอยากลง
ทุนอะไรก็จะลงทุนทันที
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงหลายเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต กำลัง
เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถ้าระบบโครงสร้างของประเทศไทยและคุณภาพของคนยังคงเป็นอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น ความรู้สึกนึกคิด
ของกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจและผู้ประกอบการในการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นจริงตามที่ค้นพบ เพราะกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขณะนี้คิดกันว่าการ
ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผลที่ตามมาก็คือ การลงทุนลงแรงแลกด้วยชีวิตของกลุ่มผู้ยึดอำนาจ (คมช.) จากรัฐบาลชุดที่แล้วก็จะไม่เกิด
ประโยชน์อะไร ถ้าการยึดอำนาจนั้นทำได้เพียงเปลี่ยนมือกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่นจากฝ่ายการเมืองกลุ่มหนึ่งมาสู่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐในท้อง
ถิ่น และกลุ่มนักการเมืองกลุ่มอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง ส่งผลให้วัฏจักรแห่งความชั่วร้ายและข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มผู้ที่จะยึดอำนาจในอนาคตยัง
คงมีอยู่ต่อไป แนวทางแก้ไขที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกที่จะตามมาควรทำให้ชัดเจนเข้าใจง่ายว่า เพียงแค่มีพฤติการณ์วิ่งเต้นล็อบบี้เพื่อเอื้อ
ประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนและพวกพ้อง โดยไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จก็เป็นความผิดได้ เช่น การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและสายสัมพันธ์ที่ส่อไป
ในทางที่เกินควรของผู้มีอำนาจตัดสินใจโครงการลงทุนของภาครัฐกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้มีอาชีพวิ่งเต้นล็อบบี้ต่างๆ เป็นต้น
ประการที่สอง รัฐควรเร่งให้การศึกษาสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับชุมชนในการแก้
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะผลสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาพบว่าทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มนักธุรกิจประสบปัญหาการทุจิรตคอรัปชั่น
และประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยสื่อมวลชนและการศึกษาแบบเป็นทางการในระบบ นำประวัติศาสตร์ความ
ผิดพลาดของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาๆ ในโครงการต่างๆ เช่น ค่าโง่ทางด่วน โครงการโฮปเวย์ บ่อบำบัดน้ำเสีย และสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น เข้าสู่
เนื้อหาในตำราเรียนปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปของชุมชนท้องถิ่นและเด็กเยาวชนชนรุ่นหลังเพื่อต่อต้านพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ
และทุกระดับ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและการเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องของผู้มีอำนาจได้ทำลายความภาคภูมิใจของคนไทยต่อโครงการ
ขนาดใหญ่ที่ถูกคาดหวังจากประชาชนว่าจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนและของประเทศ
ประการที่สาม กลไกต่างๆ ของรัฐต้องรวดเร็วฉับไวต่อการสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเมื่อได้รับเรื่องราวร้องทุกข์กล่าวโทษต้องรีบดำเนิน
การสืบสวนสอบสวนทันที รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนกลไกต่างๆ ของรัฐเหล่านี้ด้านทรัพยากรให้เพียงพอต่อปริมาณปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทุก
แห่งหนของประเทศขณะนี้ เพราะมันยังไม่ได้หายไปไหนแม้แต่ในห้วงเวลาของรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
ประการที่สี่ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรแสดงให้สาธารณชนเห็นเป็นตัวอย่างของ
ประชาชนและนักธุรกิจที่มีความสุขจากการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแบบพอเพียงนำไปสู่ความเติบโตและมั่นคงในฐานะทาง
เศรษฐกิจของบริษัทห้างร้านต่างๆ อย่างยั่งยืน และสามารถเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้แท้จริง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต
2. เพื่อสำรวจสิ่งที่นักธุรกิจและผู้ประกอบการคิดและทำเกี่ยวกับตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมธุรกิจและการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจความคิดเห็น
ของนักธุรกิจและผู้ประกอบการต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีตและการลงทุนทำธุรกิจแบบพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจและ
ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 — 27 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มนักธุรกิจและผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบจากบัญชีรายชื่อการประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,639 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณ
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่างร้อยละ 68.1 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 31.9 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 28.7 อายุต่ำกว่า 35 ปี
ร้อยละ 44.8 อายุระหว่าง 35 ถึง 50 ปี
และร้อยละ 26.5 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 62.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 14.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 23.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 21.7 ระบุธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน
ร้อยละ 40.8 ระบุธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง
ร้อยละ 26.4 เป็นธุรกิจบริการ
และร้อยละ 11.1 ระบุอื่นๆ เช่น ตลาดหุ้น การนำเข้าส่งออก ค้าขายทั่วไป อัญมณี และธุรกิจการศึกษา เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.9
2 3-4 วัน 23.6
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 11.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 6.4
5 ไม่ได้ติดตาม 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังและสิ่งที่เห็นจริงต่อหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต
ลำดับที่ ประเด็นหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต ความคาดหวังค่าร้อยละ เห็นจริงค่าร้อยละ ส่วนต่างค่าร้อยละ
1 ความโปร่งใสของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในอดีต 84.9 28.3 -56.6
2 ความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 84.2 26.0 -58.2
3 ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือกันพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาล ราชการ
และภาคประชาชน 91.0 33.1 -57.9
4 การตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างแท้จริง 85.4 26.9 -58.5
5 การตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แท้จริง 85.0 25.4 -59.6
6 การตรวจสอบองค์กรอิสระได้แท้จริง 73.2 24.9 -48.3
7 การเข้าใจ เข้าถึง หลักรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 68.1 27.3 -40.8
8 ความสามารถทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง 66.1 29.6 -36.5
9 การพัฒนาที่ยั่งยืน 79.0 28.1 -50.9
10 การลดปัญหาความยากจน 76.2 25.1 -51.1
11 การมีส่วนร่วมของสาธารณชน 69.5 29.1 -40.4
12 รัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ 93.8 26.0 -67.8
13 นักการเมืองเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ 81.4 23.1 -58.3
14 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นที่ไว้วางใจและที่พึ่งได้ 82.7 22.4 -60.3
15 ความตื่นตัวช่วยรณรงค์ในการเลือกตั้ง 65.1 38.9 -26.2
16 ความง่ายในการเข้าพบรัฐมนตรีเมื่อต้องการร้องเรียน 59.3 14.6 -44.7
17 ความง่ายในการเข้าพบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 50.8 20.9 -29.9
18 การร้องเรียนยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาคดีหรือตำรวจดำเนินคดีทางการเมือง
การเลือกปฏิบัติเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ ความไม่เป็นธรรมในสัญญาธุรกิจ
และการทุจริตคอรัปชั่น 89.8 20.4 -69.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ยังคงมีอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับสูง 55.7
2 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง 64.9
3 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น 69.7
4 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 13.8
5 ไม่มีปัญหาแล้ว 5.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่ยังคงมีอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
(เฉพาะผู้ตอบว่ามีปัญหาในแต่ละกลุ่ม)
ลำดับที่ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน รุนแรง ปานกลาง เบาบาง รวมทั้งสิ้น
1 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับสูง 35.7 41.7 22.6 100.0
2 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง 54.2 34.5 11.3 100.0
3 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น 66.8 22.7 10.5 100.0
4 ยังคงมีอยู่ในกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 20.4 51.2 28.4 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ลำดับที่ ระดับความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน รุนแรงมากขึ้น กลับมาเหมือนเดิม ลดลง รวมทั้งสิ้น
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับสูง 23.2 60.7 16.1 100.0
2 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการระดับล่าง 31.7 57.6 10.7 100.0
3 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่น 34.6 56.1 9.3 100.0
4 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 36.9 54.9 8.2 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำ (ตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนแบบพอเพียง)
ลำดับที่ สิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำ (ตัวชี้วัดและตัวขัดแย้งการลงทุนแบบพอเพียง) ค่าร้อยละ
1 การแข่งขันทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติ 87.3
2 คิดว่าตนเองเป็นคนที่มุมานะทำงานหนักมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนอื่นอีกประมาณ 100 คน 80.4
3 การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 72.1
4 ทำธุรกิจเพื่อเอาชนะและต้องทำให้คู่แข่งเติบโตในวงจำกัด 64.4
5 ถ้าธุรกิจที่กำลังทำขณะนี้ประสบปัญหา จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาผู้อื่น 63.5
6 ธุรกิจที่กำลังทำอยู่ยังมีปัญหาความสิ้นเปลืองอยู่มาก 58.6
7 ทุกวันนี้มุ่งทำธุรกิจเพื่อพออยู่ได้มากกว่ามุ่งหาผลกำไร 24.9
8 คิดอยากลงทุนอะไรก็จะลงทุนทันที 11.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-