ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ( Cornell University) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง วัดใจสาธารณชนต่อแผนปรองดองของรัฐบาล เปรียบเทียบกับของฝ่ายค้าน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนคอการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,168 ครัวเรือน โดยดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 20 - 21 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่พบมีดังนี้
อันดับแรก หรือร้อยละ 37.5 ของประชาชนที่ศึกษาทั้งหมดชื่นชอบแผนปรองดองของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันและการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 33.2 ชื่นชอบการปรองดองด้วยการปฏิรูปด้านสวัสดิการ สร้างความเท่าเทียมกัน ด้านอาชีพ ที่ทำกิน การศึกษา สุขภาพ และอื่นๆ (เสนอโดยรัฐบาล) ร้อยละ 26.5 ชอบแผนปรองดองของฝ่ายค้านที่เสนอ “ให้อภัยต่อกัน” ในขณะที่ ร้อยละ 19.4 ชอบแผนปรองดองของฝ่ายค้านที่เสนอให้พูดจากันด้วยสันติวิธี ร้อยละ 14.3 ชอบแผนปรองดองของฝ่ายค้านที่เสนอให้ละเว้นการใช้ความรุนแรงทั้งวาจาและการกระทำ ร้อยละ 10.6 ชอบแผนปรองดองของฝ่ายรัฐบาลเรื่องการแก้ปัญหาขัดแย้งทางการเมือง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และรองๆ ลงไป เป็นเรื่อง การตั้งคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม และการปฏิรูปสื่อมวลชน ให้อิสระไม่แทรกแซง
อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนจำนวนมากคือร้อยละ 45.4 คาดหวังน้อยถึงไม่คาดหวังเลยต่อแผนปรองดองของฝ่ายค้าน ส่วนที่คาดหวังปานกลางมีอยู่ร้อยละ 25.2 และร้อยละ 29.4 คาดหวังค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด เช่นเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 47.1 คาดหวังน้อยถึงไม่คาดหวังเลยต่อแผนปรองดองที่ฝ่ายรัฐบาลเสนอ ส่วนที่คาดหวังปานกลางมีอยู่ร้อยละ 24.1 และ ร้อยละ 28.8 คาดหวังค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า “แผนปรองดอง” คือ เครื่องมือของหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาใช้เพื่อให้ประเทศนั้นๆ ไม่หยุดชะงัก ไม่ถูกสกัดกั้นในการพัฒนา แผนปรองดองจะต้องทำให้รัฐบาลและฝ่ายค้านทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยไม่ทำให้ฝ่ายการเมืองหรือกลุ่มบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกลายเป็น “ผู้แพ้” หรือ “ผู้ชนะ” แผนปรองดองต้องไม่กลายเป็น “ตัวสร้างเงื่อนไข” หรืออุปสรรคใดที่จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการหยุดการพัฒนาเสียเอง ตรงกันข้าม แผนปรองดองต้องทำให้เกิดพลังขับเคลื่อนในหมู่ประชาชน และความเป็นจริงที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้คือ แผนปรองดองที่มีการประกาศออกมาก็ได้รับการตอบรับจากสาธารณาชนดีพอสมควร ถึงขั้นสรุปได้ว่า ประชาชนจำนวนมากชื่นชอบ เพียงแต่ไม่คาดหวังอะไรต่อฝ่ายการเมืองในเรื่องแผนปรองดองแห่งชาติ สาเหตุหลักๆ น่าจะเป็นเพราะความไม่เชื่อมั่น ไม่ศรัทธาของสาธารณชนต่อฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน จึงมีความจำเป็นที่นักการเมืองต้องเร่งกอบกู้ปรับปรุงภาพลักษณ์โดยด่วน เพื่อรักษาเยียวยาระบบของสังคมไทยให้พัฒนาก้าวไปข้างหน้าบนวิถีทางประชาธิปไตยต่อไปได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 27.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 26.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 41.4 มีอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
รองลงมาร้อยละ 21.2 เป็นผู้รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 19.8 เป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 8.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ลำดับ ประเด็นแผนปรองดองของฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ 1 ความจงรักภักดีต่อสถาบัน และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ (เสนอโดยรัฐบาล) 37.5 2 ปรองดองด้วยการปฏิรูปด้านสวัสดิการ สร้างความเท่าเทียมกัน ด้านอาชีพ มีที่ทำกิน- การศึกษา สุขภาพ และอื่นๆ (เสนอโดยรัฐบาล) 33.2 4 การให้อภัยต่อกัน (เสนอโดยฝ่ายค้าน) 26.5 5 การพูดจากันด้วยสันติวิธี (เสนอโดยฝ่ายค้าน) 19.4 6 ละเว้นการใช้ความรุนแรง ทั้งวาจา และการกระทำ (เสนอโดยฝ่ายค้าน) 14.3 7 แก้ปัญหาการเมือง แก้รัฐธรรมนูญ (เสนอโดยรัฐบาล) 10.6 8 ตั้งกรรมการอิสระ ตรวจสอบการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม (เสนอโดยรัฐบาล) 9.8 9 ปฏิรูปสื่อมวลชน ให้อิสระ ไม่แทรกแซง (เสนอโดยรัฐบาล) 8.7 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังโดยภาพรวมกับแผนปรองดองที่ฝ่ายค้านเสนอ ลำดับ ความคาดหวังกับแผนปรองดองที่ฝ่ายค้านเสนอ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างน้อย - ไม่คาดหวังเลย 45.4 2 ปานกลาง 25.2 3 ค่อนข้างมาก — มากที่สุด 29.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังโดยภาพรวมต่อแผนปรองดองที่ฝ่ายรัฐบาลเสนอ ลำดับ ความคาดหวังกับแผนปรองดองที่ฝ่ายรัฐบาลเสนอ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างน้อย - ไม่คาดหวังเลย 47.1 2 ปานกลาง 24.1 3 ค่อนข้างมาก — มากที่สุด 28.8 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--