เอแบคโพลล์: เปิดใจสาธารณชน วิเคราะห์เชิงลึกกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้งถ้าเลือกตั้งใหม่วันนี้ พรรคการเมืองใหญ่สองพรรค ใครจะได้เป็นรัฐบาล

ข่าวผลสำรวจ Monday September 27, 2010 07:47 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย คอร์เนลล์ ( Cornell University) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เปิดใจสาธารณชน วิเคราะห์เชิงลึกกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้า เลือกตั้งใหม่วันนี้ พรรคการเมืองใหญ่สองพรรค ใครจะได้เป็นรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งและตัดสินใจแล้วใน 28 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านกระบวนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Multi-Stage Stratified Sample Selection) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานีและสงขลา จำนวนทั้ง สิ้น 4,312 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 25 กันยายน 2553 ผลการสำรวจพบว่า

ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ประชาชนที่ตัดสินใจแล้วประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.7 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ประมาณ เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 16.3 จะเลือกพรรคอื่นๆ

เมื่อวิเคราะห์เชิงลึกข้อมูลทางสถิติจำแนกลักษณะของผู้ตัดสินใจจะเลือกตั้ง พบความแตกต่างระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาย และหญิง โดย ผู้หญิงมีสัดส่วนของคนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่ากลุ่มผู้ชาย คือร้อยละ 54.8 ต่อร้อยละ 46.7 ในขณะที่กลุ่มคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยมี สัดส่วนของผู้ชาย มากกว่า ผู้หญิงคือร้อยละ 37.2 ต่อร้อยละ 28.8 อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่จะเลือกพรรคอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกัน

ที่น่าสนใจคือ เมื่อวิเคราะห์กลุ่มคนตามช่วงอายุ พบว่ากลุ่มคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทย ในทุกช่วงอายุ และที่น่าสังเกตคือ กลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด คือ ร้อยละ 56.3 ในขณะที่ กลุ่มคนที่อายุต่ำ กว่า 20 ปีจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ มีอยู่ร้อยละ 42.4

แต่เมื่อจำแนกตามอาชีพประจำของคนที่จะเลือกตั้ง พบว่า พรรคประชาธิปัตย์จะได้ใจมากที่สุดอยู่ที่กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน คือร้อยละ 57.7 แต่ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มอาชีพถูกแบ่งออกในสัดส่วนพอๆ กันที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย กลับกลายเป็นกลุ่มอาชีพข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ คือร้อยละ 47.8 ระบุจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 40.5 จะเลือกพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 11.7 จะเลือกพรรค อื่นๆ

จากข้อมูลที่ค้นพบนี้จะเห็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการสนับสนุนไม่ถึงครึ่งคือ ร้อยละ 47.8 กับร้อยละ 47.5 คือในกลุ่มข้า ราชการ พนักงานรัฐวิสหกิจ และกลุ่มเกษตรกร กับผู้รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า ถ้าคนที่มีรายได้สูงคือมากกว่า 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปจะมีสัดส่วนผู้จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ มากที่สุดคือร้อยละ 59.3 ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยคือต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพียงร้อยละ 45.5 เท่านั้น

และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 และร้อยละ 56.6 ที่สูงกว่า ปริญญาตรีจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถ้าต่ำกว่าปริญญาตรีมีเกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.3

เมื่อจำแนกตามเขตที่พักอาศัย พบว่า คนที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าคนที่พักอยู่นอกเขตเทศบาล คือร้อยละ 52.9 ต่อร้อยละ 49.6 ในขณะที่สัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล คือร้อยละ 35.7 ต่อ ร้อยละ 29.3

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงตั้งใจจะเลือกพรรคเพื่อไทย มากกว่า คนในภาคอื่นๆ โดยพบว่า เกือบครึ่ง หรือร้อยละ 49.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 32.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และเกือบ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 18.9 จะเลือกพรรค อื่นๆ ในกลุ่มคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เมื่อพิจารณาอีกด้านหนึ่งจะพบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการสนับสนุนเกินครึ่งในสองภูมิภาค คือ ภาค กลาง ร้อยละ 50.7 และภาคใต้ ร้อยละ 92.0 และหากพิจารณาภูมิภาคที่จะต่อสู้กันสูสีมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ที่พบว่า ร้อยละ 43.9 จะเลือกประ ชาธิปัตย์ และร้อยละ 41.7 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ พื้นที่กรุงเทพมหานคร คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 45.9 จะเลือกประชาธิปัตย์ แต่ร้อย ละ 36.7 ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากพอสมควรจะเลือกพรรคเพื่อไทย และที่เหลือคือร้อยละ 17.4 จะเลือกพรรคอื่นๆ ตามลำดับ

ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ถ้ากลไกและ “กติกา” การชนะการเลือกตั้งอาศัยคะแนนเสียงของสาธารณ ชนเป็นหลัก และฝ่ายการเมืองยึดถือธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติกันมา พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสสูงที่จะได้เป็นรัฐบาลใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ ถ้าฝ่ายการ เมืองยึดเอาจำนวนตัวเลขหรือ “โควต้า” ของ ส.ส. เป็นหลัก พรรคขนาดกลางน่าจะยังเป็นตัวแปรสำคัญว่าใครจะได้เป็นรัฐบาลในวัฏจักรเดิมๆ ที่ เคยเห็นกันมา โดยอาจนำมาซึ่ง การต่อรองผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ ให้ระวังเทคนิคที่แยบยลปฏิบัติการ “ถอนทุนคืน” ของฝ่ายการเมืองเพื่อใช้เป็นทุนในการเลือกตั้งครั้งใหม่

“เพราะถ้าเลือกตั้งใหม่วันนี้ พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคยังไม่สามารถครอบครองใจสาธารณชนให้ตัดสินใจเลือกตั้งจนมีเสียงมากพอ จะชนะขาดและจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ในฐานข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะมีจุดอ่อนอยู่ในกลุ่มเกษตรกร รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป และ กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย แต่ถ้ามองการเมือง ในเชิงสังคม มีความน่าเป็นห่วงคือ กลุ่มอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจกลับมีความแตกแยกออกเป็นสองกลุ่มที่มีฐานมากพอๆ กัน อย่างไรก็ ตาม น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ “ประชาชน” ในภาคเหนือ ที่จะกลายเป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันกันดุเดือดสูสี จึงต้องให้ฝ่ายการเมืองช่วยกันพิจารณา อย่าให้ การแข่งขันทางการเมืองทำลายความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของพี่น้องประชาชน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในการช่วยเหลือเกื้อกูลมีน้ำใจต่อกันของคนใน ภาคเหนือ และภาคอื่นๆ ตามเอกลักษณ์ของคนไทย” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 51.9 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 48.1 เป็นเพศชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20

ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี

ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี

ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี

และร้อยละ 19.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 24.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 31.3 ระบุพ่อค้า/นักธุรกิจ

ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 34.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 5.9 ระบุเป็น แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 31.8 ระบุมีรายได้ 5,001-10,000 บาท

ร้อยละ 6.6 ระบุมีรายได้ 10,001-15,000 บาท

ร้อยละ 11.5 ระบุมีรายได้ มากกว่า 15,000 บาท

ในขณะที่ร้อยละ 12.7 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

ตารางที่ 1 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง                              ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                                            50.7
2          พรรคเพื่อไทย                                                               33.0
3          พรรคอื่น อาทิ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาราช พรรคชาติไทย-พัฒนา
           พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองใหม่ และพรรคมาตุภูมิ                   16.3
          รวมทั้งสิ้น                                                                  100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามเพศ
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง     เพศชายค่าร้อยละ   เพศหญิงค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                        46.7          54.8
2          พรรคเพื่อไทย                                           37.2          28.8
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                        16.1          16.4
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0         100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง   ต่ำกว่า 20 ปี    20-29 ปี   30-39 ปี   40-49 ปี   50 ปีขึ้นไป
                                                         ค่าร้อยละ      ค่าร้อยละ   ค่าร้อยละ   ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                  42.4          49.8      50.9      49.6       56.3
2          พรรคเพื่อไทย                                     34.5          32.4      33.4      36.3       28.5
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                  23.1          17.8      15.7      14.1       15.2
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0         100.0     100.0     100.0      100.0

ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามอาชีพ
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง      ข้าราชการ/     พนักงานบริษัท     พ่อค้า/    นักเรียน    เกษตรกร
                                                           รัฐวิสาหกิจ                    นักธุรกิจ    นักศึกษา     รับจ้าง
1          พรรคประชาธิปัตย์                                     47.8         57.7          51.9      54.4      47.5
2          พรรคเพื่อไทย                                        40.5         27.6          31.4      25.3      35.9
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                     11.7         14.7          16.7      20.3      16.6
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0        100.0         100.0     100.0     100.0


ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง   ต่ำกว่า5,000 บ.   5000-10,000 บ.   10,001-15,000 บ.   มากกว่า 15,000 บ.
1          พรรคประชาธิปัตย์                                      45.5          57.4               51.7              59.3
2          พรรคเพื่อไทย                                         35.2          28.8               36.0              30.3
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                      19.3          13.8               12.3              10.4
          รวมทั้งสิ้น                                            100.0         100.0              100.0             100.0


ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง    ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ   ป.ตรีค่าร้อยละ    สูงกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                       49.3              58.1              56.6
2          พรรคเพื่อไทย                                          34.4              25.5              30.2
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                       16.3              16.4              13.2
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0             100.0             100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามที่พักอาศัย
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง    ในเขตเทศบาลค่าร้อยละ    นอกเขตเทศบาลค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                         52.9                  49.6
2          พรรคเพื่อไทย                                            29.3                  35.7
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                         17.8                  14.7
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0                 100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง  เหนือค่าร้อยละ   กลางค่าร้อยละ   ตอ./เหนือค่าร้อยละ   ใต้ค่าร้อยละ   กทม.ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                   43.9          50.7           32.1            92.0         45.9
2          พรรคเพื่อไทย                                      41.7          27.3           49.0             1.9         36.7
3          พรรคอื่นๆ รวมกัน                                   14.4          22.0           18.9             6.1         17.4
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0         100.0          100.0           100.0        100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ