ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานของรัฐบาลในช่วง
ครึ่งปีแรก: กรณีศึกษาประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา” จำนวนทั้ง
สิ้น 2,404 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ดร.นพดลกล่าวว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.0 ระบุติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.3 ระบุ
ติดตามเป็นบางสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่ง
แก้ไข/เร่งดำเนินการนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 96.3 ระบุปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 94.1 ระบุปัญหายา
เสพติด ร้อยละ 90.7 ระบุปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ 89.1 ระบุการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา และร้อยละ 88.9 ระบุปัญหาการทุจริต
คอรัปชั่น
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่นๆที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาทิ ตัวอย่างร้อยละ 88.5 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ และภาวะ
หนี้สินและปัญหาการมั่วสุมรวมกลุ่มกันของเด็ก/เยาวชน ร้อยละ 85.7 ระบุการสร้างสมานฉันท์ในสังคม ร้อยละ 80.5 ระบุการช่วยเหลือคนพิการ/คน
ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ และร้อยละ 79.7 ระบุควบคุมการจำหน่ายสุราและบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา ตามลำดับ
สำหรับผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนพอใจนั้น ร้อยละ 39.7 ระบุพอใจในผลงานการสร้างความสมานฉันท์ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ใต้ ในขณะที่ร้อยละ 26.4 ระบุพอใจในผลงานเรื่องการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น /การอายัดทรัพย์สิน ร้อยละ 16.4 ระบุพอใจในเรื่องการปราบ
ปรามเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ เทปผีซีดีเถื่อน ร้อยละ 12.2 ระบุพอใจในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด และร้อยละ 8.8 ระบุพอใจในเรื่อง
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนไม่พึงพอใจ 5 อันดับแรกได้แก่ การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3
จังหวัดชายแดนใต้ (ร้อยละ 49.3 ระบุไม่พอใจ) การแก้ไขปํญหาเศรษฐกิจ (ร้อยละ 30.2 ระบุไม่พอใจ) การแก้ไขปัญหายาเสพติด (ร้อยละ
15.0 ระบุไม่พอใจ) ความล่าช้าในการทำงาน (ร้อยละ 9.0 ระบุไม่พอใจ) และการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 8.4 ระบุไม่พอใจ)
และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อผลงานของกระทรวงต่างๆโดยภาพรวม พบว่า กระทรวง ที่ประชาชนพอใจในผลงาน
มากที่สุด 10 อันดับแรกหรือ ท็อปเทน ได้แก่ อันดับที่หนึ่ง คือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 55.2 อันดับที่สองได้แก่ กระทรวงสาธารณ
สุข ร้อยละ 52.7 อันดับที่สามได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 52.0 อันดับที่สี่ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ
สาร ร้อยละ 51.0 อันดับที่ห้า ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม ร้อยละ 50.5 อันดับที่หก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 46.3 อันดับที่เจ็ด ได้แก่
กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 46.2 อันดับที่แปด ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อันดับที่เก้า ได้แก่ กระทรวงพลังงาน ร้อยละ 45.0 และอันดับที่สิบ
ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 44.6 ในขณะที่สำนักนายกรัฐมนตรีมีประชาชนพอใจในสัด
ส่วนที่ต่ำสุดจาก 20 หน่วยงาน คือได้ร้อยละ 35.1
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความพอใจโดยภาพรวมต่อผลงานของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้น พบว่า ร้อยละ 46.0
พอใจ ร้อยละ 37.4 ไม่พอใจ และร้อยละ 16.6 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ในกลุ่มพลังเงียบพบว่าร้อยละ 43.6 พอใจ ร้อยละ 37.5 ไม่พอใจ และร้อย
ละ 18.9 ไม่มีความเห็นต่อผลงานของนายกรัฐมนตรี
แต่เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความต้องการต่อนายกรัฐมนตรีกรณี ให้ลาออกตามข้อเรียกร้องของฝ่ายชุมนุมต่อต้านหรือต้องการให้อยู่ต่อ
เพื่อนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้ง นั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.0 ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรีอยู่ต่อเพื่อนำพาประเทศไป
สู่การเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 19.7 ระบุให้ลาออกตามข้อเรียกร้องของฝ่ายชุมนุมคัดค้าน และร้อยละ 25.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้จริงหรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 58.9 ระบุคิดว่าช่วยได้ ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุไม่ได้ และร้อยละ 24.2 ไม่แสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการทำงานของกระทรวงต่างๆ
3. เพื่อสำรวจปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานของรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรก: กรณีศึกษา
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่
30 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิง
ชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
2,404 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 30.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.1 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 21.7 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 25.1 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 54.0
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.5
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 17.3
5 ไม่ได้ติดตาม 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขหรือดำเนินการ(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขหรือดำเนินการ ค่าร้อยละ
1 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 96.3
2 ปัญหายาเสพติด 94.1
3 ปัญหาอาชญากรรม 90.7
4 ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา 89.1
5 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 88.9
6 ปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะหนี้สิน 88.5
7 ปัญหาการมั่วสุมรวมกลุ่มกันของเด็ก/เยาวชน 88.5
8 การสร้างสมานฉันท์ในสังคม 85.7
9 ช่วยเหลือคนพิการ/คนด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ 80.5
10 ควบคุมการจำหน่ายสุราและบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี 79.7
11 ควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา 79.7
12 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคม 76.6
13 ปัญหาจราจร 75.8
14 ปัญหาสิ่งแวดล้อม 74.0
15 จัดระเบียบสถานบันเทิงให้ออกนอกพื้นที่สถานศึกษาและที่พักอาศัยของประชาชน 73.1
16 จัดระเบียบร้านเกมส์-อินเทอร์เน็ต 72.4
17 ปัญหาโรคเอดส์ 67.9
18 ปัญหาไข้หวัดนก 65.7
19 ปัญหาที่อยู่อาศัย 63.8
20 ปัญหาเทปผีซีดีเถื่อน 60.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลงานรัฐบาลที่พึงพอใจ (ตอบได้มกกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาลที่พึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 การสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 39.7
2 การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น /การอายัดทรัพย์สิน 26.4
3 การปราบปรามเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ เทปผีซีดีเถื่อน 16.4
4 การปราบปรามยาเสพติด 12.2
5 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 8.8
6 การสนับสนุนด้านการศึกษา 5.8
7 โครงการ 30 บาท 5.5
8 การส่งเสริมความรักความสามัคคีของคนในชาติ 5.0
9 อื่นๆ อาทิ การยุบพรรคการเมือง/เศรษฐกิจพอเพียง/การจัดระเบียบสังคม/การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 12.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลงานรัฐบาลที่ไม่พึงพอใจ (ตอบได้มกกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานที่ไม่พึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 49.3
2 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 30.2
3 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 15.0
4 วิธีการทำงานที่ล่าช้า 9.0
5 การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 8.4
6 ปัญหาอาชญากรรม และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน 7.7
7 อื่นๆ อาทิ การร่างรัฐธรรมนูญ /ปัญหาหวยบนดิน /การยุบพรรค 11.0
ตารางที่ 5 แสดงรายชื่อกระทรวงที่ประชาชนพอใจ (เมื่อประชาชนระบบชื่อกระทรวงที่พอใจได้มากกว่า 1 กระทรวง)
ลำดับที่ กระทรวง ร้อยละ
1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 55.2
2 กระทรวงสาธารณสุข 52.7
3 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 52.0
4 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 51.0
5 กระทรวงวัฒนธรรม 50.5
6 กระทรวงศึกษาธิการ 46.3
7 กระทรวงยุติธรรม 46.2
8 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 45.2
9 กระทรวงพลังงาน 45.0
10 กระทรวงการต่างประเทศ 44.6
11 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 44.6
12 กระทรวงอุตสาหกรรม 44.2
13 กระทรวงแรงงาน 43.8
14 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 42.4
15 กระทรวงคมนาคม 41.7
16 กระทรวงกลาโหม 41.0
17 กระทรวงการคลัง 40.3
18 กระทรวงพาณิชย์ 40.3
19 กระทรวงมหาดไทย 38.5
20 สำนักนายกรัฐมนตรี 35.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อ พล.อ.สุรยทุธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความพึงพอใจโดยรวมต่อพล.อ.สุรยทุธ์ สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ภาพรวมค่าร้อยละ
จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
1 พอใจ 77.8 15.0 43.6 46.0
2 ไม่พอใจ 15.5 77.0 37.5 37.4
3 ไม่มีความเห็น 6.7 8.0 18.9 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความต้องการต่อนายกรัฐมนตรีกรณีการลาออกตามข้อ
เรียกร้องของฝ่ายชุมนุมต่อต้าน หรือการอยู่ต่อเพื่อนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความต้องการ ค่าร้อยละ
1 ลาออกตามข้อเรียกร้องของฝ่ายชุมนุมต่อต้าน 19.7
2 อยู่ต่อเพื่อนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้ง 55.0
3 ไม่มีความเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความคิดเห็นกรณีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้น
ตัวได้จริงหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าช่วยได้ 58.9
2 ไม่ได้ 16.9
3 ไม่มีความเห็น 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานของรัฐบาลในช่วง
ครึ่งปีแรก: กรณีศึกษาประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา” จำนวนทั้ง
สิ้น 2,404 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ดร.นพดลกล่าวว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.0 ระบุติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.3 ระบุ
ติดตามเป็นบางสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่ง
แก้ไข/เร่งดำเนินการนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 96.3 ระบุปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 94.1 ระบุปัญหายา
เสพติด ร้อยละ 90.7 ระบุปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ 89.1 ระบุการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา และร้อยละ 88.9 ระบุปัญหาการทุจริต
คอรัปชั่น
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่นๆที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาทิ ตัวอย่างร้อยละ 88.5 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ และภาวะ
หนี้สินและปัญหาการมั่วสุมรวมกลุ่มกันของเด็ก/เยาวชน ร้อยละ 85.7 ระบุการสร้างสมานฉันท์ในสังคม ร้อยละ 80.5 ระบุการช่วยเหลือคนพิการ/คน
ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ และร้อยละ 79.7 ระบุควบคุมการจำหน่ายสุราและบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา ตามลำดับ
สำหรับผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนพอใจนั้น ร้อยละ 39.7 ระบุพอใจในผลงานการสร้างความสมานฉันท์ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ใต้ ในขณะที่ร้อยละ 26.4 ระบุพอใจในผลงานเรื่องการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น /การอายัดทรัพย์สิน ร้อยละ 16.4 ระบุพอใจในเรื่องการปราบ
ปรามเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ เทปผีซีดีเถื่อน ร้อยละ 12.2 ระบุพอใจในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด และร้อยละ 8.8 ระบุพอใจในเรื่อง
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนไม่พึงพอใจ 5 อันดับแรกได้แก่ การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3
จังหวัดชายแดนใต้ (ร้อยละ 49.3 ระบุไม่พอใจ) การแก้ไขปํญหาเศรษฐกิจ (ร้อยละ 30.2 ระบุไม่พอใจ) การแก้ไขปัญหายาเสพติด (ร้อยละ
15.0 ระบุไม่พอใจ) ความล่าช้าในการทำงาน (ร้อยละ 9.0 ระบุไม่พอใจ) และการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 8.4 ระบุไม่พอใจ)
และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อผลงานของกระทรวงต่างๆโดยภาพรวม พบว่า กระทรวง ที่ประชาชนพอใจในผลงาน
มากที่สุด 10 อันดับแรกหรือ ท็อปเทน ได้แก่ อันดับที่หนึ่ง คือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 55.2 อันดับที่สองได้แก่ กระทรวงสาธารณ
สุข ร้อยละ 52.7 อันดับที่สามได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 52.0 อันดับที่สี่ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ
สาร ร้อยละ 51.0 อันดับที่ห้า ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม ร้อยละ 50.5 อันดับที่หก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 46.3 อันดับที่เจ็ด ได้แก่
กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 46.2 อันดับที่แปด ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อันดับที่เก้า ได้แก่ กระทรวงพลังงาน ร้อยละ 45.0 และอันดับที่สิบ
ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 44.6 ในขณะที่สำนักนายกรัฐมนตรีมีประชาชนพอใจในสัด
ส่วนที่ต่ำสุดจาก 20 หน่วยงาน คือได้ร้อยละ 35.1
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความพอใจโดยภาพรวมต่อผลงานของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้น พบว่า ร้อยละ 46.0
พอใจ ร้อยละ 37.4 ไม่พอใจ และร้อยละ 16.6 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้ในกลุ่มพลังเงียบพบว่าร้อยละ 43.6 พอใจ ร้อยละ 37.5 ไม่พอใจ และร้อย
ละ 18.9 ไม่มีความเห็นต่อผลงานของนายกรัฐมนตรี
แต่เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความต้องการต่อนายกรัฐมนตรีกรณี ให้ลาออกตามข้อเรียกร้องของฝ่ายชุมนุมต่อต้านหรือต้องการให้อยู่ต่อ
เพื่อนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้ง นั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.0 ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรีอยู่ต่อเพื่อนำพาประเทศไป
สู่การเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 19.7 ระบุให้ลาออกตามข้อเรียกร้องของฝ่ายชุมนุมคัดค้าน และร้อยละ 25.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้จริงหรือไม่นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 58.9 ระบุคิดว่าช่วยได้ ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุไม่ได้ และร้อยละ 24.2 ไม่แสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการทำงานของกระทรวงต่างๆ
3. เพื่อสำรวจปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อผลงานของรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรก: กรณีศึกษา
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่
30 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิง
ชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
2,404 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 30.8 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.1 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 21.7 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 25.1 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.4 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 54.0
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.5
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.5
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 17.3
5 ไม่ได้ติดตาม 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขหรือดำเนินการ(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขหรือดำเนินการ ค่าร้อยละ
1 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 96.3
2 ปัญหายาเสพติด 94.1
3 ปัญหาอาชญากรรม 90.7
4 ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา 89.1
5 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 88.9
6 ปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะหนี้สิน 88.5
7 ปัญหาการมั่วสุมรวมกลุ่มกันของเด็ก/เยาวชน 88.5
8 การสร้างสมานฉันท์ในสังคม 85.7
9 ช่วยเหลือคนพิการ/คนด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ 80.5
10 ควบคุมการจำหน่ายสุราและบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี 79.7
11 ควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา 79.7
12 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคม 76.6
13 ปัญหาจราจร 75.8
14 ปัญหาสิ่งแวดล้อม 74.0
15 จัดระเบียบสถานบันเทิงให้ออกนอกพื้นที่สถานศึกษาและที่พักอาศัยของประชาชน 73.1
16 จัดระเบียบร้านเกมส์-อินเทอร์เน็ต 72.4
17 ปัญหาโรคเอดส์ 67.9
18 ปัญหาไข้หวัดนก 65.7
19 ปัญหาที่อยู่อาศัย 63.8
20 ปัญหาเทปผีซีดีเถื่อน 60.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลงานรัฐบาลที่พึงพอใจ (ตอบได้มกกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาลที่พึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 การสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 39.7
2 การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น /การอายัดทรัพย์สิน 26.4
3 การปราบปรามเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ เทปผีซีดีเถื่อน 16.4
4 การปราบปรามยาเสพติด 12.2
5 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 8.8
6 การสนับสนุนด้านการศึกษา 5.8
7 โครงการ 30 บาท 5.5
8 การส่งเสริมความรักความสามัคคีของคนในชาติ 5.0
9 อื่นๆ อาทิ การยุบพรรคการเมือง/เศรษฐกิจพอเพียง/การจัดระเบียบสังคม/การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 12.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลงานรัฐบาลที่ไม่พึงพอใจ (ตอบได้มกกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานที่ไม่พึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 49.3
2 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 30.2
3 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 15.0
4 วิธีการทำงานที่ล่าช้า 9.0
5 การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 8.4
6 ปัญหาอาชญากรรม และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน 7.7
7 อื่นๆ อาทิ การร่างรัฐธรรมนูญ /ปัญหาหวยบนดิน /การยุบพรรค 11.0
ตารางที่ 5 แสดงรายชื่อกระทรวงที่ประชาชนพอใจ (เมื่อประชาชนระบบชื่อกระทรวงที่พอใจได้มากกว่า 1 กระทรวง)
ลำดับที่ กระทรวง ร้อยละ
1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 55.2
2 กระทรวงสาธารณสุข 52.7
3 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 52.0
4 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 51.0
5 กระทรวงวัฒนธรรม 50.5
6 กระทรวงศึกษาธิการ 46.3
7 กระทรวงยุติธรรม 46.2
8 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 45.2
9 กระทรวงพลังงาน 45.0
10 กระทรวงการต่างประเทศ 44.6
11 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 44.6
12 กระทรวงอุตสาหกรรม 44.2
13 กระทรวงแรงงาน 43.8
14 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 42.4
15 กระทรวงคมนาคม 41.7
16 กระทรวงกลาโหม 41.0
17 กระทรวงการคลัง 40.3
18 กระทรวงพาณิชย์ 40.3
19 กระทรวงมหาดไทย 38.5
20 สำนักนายกรัฐมนตรี 35.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อ พล.อ.สุรยทุธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความพึงพอใจโดยรวมต่อพล.อ.สุรยทุธ์ สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ภาพรวมค่าร้อยละ
จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
1 พอใจ 77.8 15.0 43.6 46.0
2 ไม่พอใจ 15.5 77.0 37.5 37.4
3 ไม่มีความเห็น 6.7 8.0 18.9 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความต้องการต่อนายกรัฐมนตรีกรณีการลาออกตามข้อ
เรียกร้องของฝ่ายชุมนุมต่อต้าน หรือการอยู่ต่อเพื่อนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความต้องการ ค่าร้อยละ
1 ลาออกตามข้อเรียกร้องของฝ่ายชุมนุมต่อต้าน 19.7
2 อยู่ต่อเพื่อนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้ง 55.0
3 ไม่มีความเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความคิดเห็นกรณีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้น
ตัวได้จริงหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าช่วยได้ 58.9
2 ไม่ได้ 16.9
3 ไม่มีความเห็น 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-