ทุ่ม 90 ล้านบาท เร่งจัดตั้งตลาดกลางเพิ่ม 3 แห่ง ระยอง บุรีรัย์ และหนองคาย แก้ปัญหาเกษตรกรถูกเอาเปรียบด้านราคาและน้ำหนัก
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดงบประมาณ 90 ล้านบาท ดำเนินการพัฒนาระบบตลาดยางในประเทศไทย ตามแผนพัฒนายางพาราครบวงจรโดยได้จัดตั้งตลาดกลางยางพาราเพิ่มขึ้นอีก 3 โครงการ อยู่ที่จ.ระยอง, จ.บุรีรัมย์, และจ.หนองคาย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านน้ำหนักคุณภาพและราคายาง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารด้านราคาและสถานการณ์ตลาดที่สะท้อนการซื้อขายจริงในพื้นที่เพื่อนำราคายางที่ตลาดกลางไปต่อรองกับพ่อค้าในท้องถิ่นและเกษตรกรยังจะได้นำความรู้เกี่ยวกับคุณภาพยางที่มีการซื้อขายในตลาดไปปรับปรุงคุณภาพยางของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของพ่อค้าและเป็นทางเลือกในการขายยางพารา ที่มีต้นทุนทางการตลาดต่ำกว่าตลาดท้องถิ่นซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านตลาดยางของโลกได้
ทั้งนี้เนื่องจาก แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลกแต่ระบบตลาดยางพาราบางส่วนยังมีปัญหาโดยเฉพาะตลาดยางแผ่นดิบซึ่งเป็นตลาดพื้นฐานทำให้เกษตรกรชาวสวนยางไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งด้านราคา, คุณภาพ, และน้ำหนักยาง เนื่องจากโครงสร้างตลาดเป็นโครงสร้างเพื่อการส่งออกซึ่งอิงราคาของตลาดโลกที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
"สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาผลการให้บริการซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้พบว่าปี 2546 มีเกษตรกรนำยางพารามาจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 37,416 ราย มีผู้ร่วมประมูล 1,661ราย รวมมูลค่ากว่า 2,293 ล้านบาท โดยเกษตรกรไม่ถูกโกงน้ำหนัก ขายยางได้ตามคุณภาพและได้ราคาสูงกว่าราคาท้องถิ่นเฉลี่ย 1.24 บาทต่อกิโลกรัมสามารถตัดปัญหาเรื่องพ่อค้าคนกลางและเกษตรกรไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบในการซื้อขายยางทุกขั้นตอน" นายฉกรรจ์ กล่าว
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดงบประมาณ 90 ล้านบาท ดำเนินการพัฒนาระบบตลาดยางในประเทศไทย ตามแผนพัฒนายางพาราครบวงจรโดยได้จัดตั้งตลาดกลางยางพาราเพิ่มขึ้นอีก 3 โครงการ อยู่ที่จ.ระยอง, จ.บุรีรัมย์, และจ.หนองคาย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านน้ำหนักคุณภาพและราคายาง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารด้านราคาและสถานการณ์ตลาดที่สะท้อนการซื้อขายจริงในพื้นที่เพื่อนำราคายางที่ตลาดกลางไปต่อรองกับพ่อค้าในท้องถิ่นและเกษตรกรยังจะได้นำความรู้เกี่ยวกับคุณภาพยางที่มีการซื้อขายในตลาดไปปรับปรุงคุณภาพยางของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของพ่อค้าและเป็นทางเลือกในการขายยางพารา ที่มีต้นทุนทางการตลาดต่ำกว่าตลาดท้องถิ่นซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านตลาดยางของโลกได้
ทั้งนี้เนื่องจาก แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลกแต่ระบบตลาดยางพาราบางส่วนยังมีปัญหาโดยเฉพาะตลาดยางแผ่นดิบซึ่งเป็นตลาดพื้นฐานทำให้เกษตรกรชาวสวนยางไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งด้านราคา, คุณภาพ, และน้ำหนักยาง เนื่องจากโครงสร้างตลาดเป็นโครงสร้างเพื่อการส่งออกซึ่งอิงราคาของตลาดโลกที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
"สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาผลการให้บริการซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้พบว่าปี 2546 มีเกษตรกรนำยางพารามาจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 37,416 ราย มีผู้ร่วมประมูล 1,661ราย รวมมูลค่ากว่า 2,293 ล้านบาท โดยเกษตรกรไม่ถูกโกงน้ำหนัก ขายยางได้ตามคุณภาพและได้ราคาสูงกว่าราคาท้องถิ่นเฉลี่ย 1.24 บาทต่อกิโลกรัมสามารถตัดปัญหาเรื่องพ่อค้าคนกลางและเกษตรกรไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบในการซื้อขายยางทุกขั้นตอน" นายฉกรรจ์ กล่าว
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-