ความรู้เกี่ยวกับตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(1): ความเป็นมาของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ตลาดสินค้าล่วงหน้า (Futures Exchange) เป็นตลาดรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตลาด Futures ไม่ใช่ตลาดรูปแบบใหม่ หากถ้าได้มองย้อนหลังไปเมื่อ 270 ปีก่อน ตามหลักฐานที่ได้มีการบันทึกไว้ ตลาดสินค้าล่วงหน้าได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าตลาดข้าวโดจิม่า (Dojima Rice Market) หรือที่รู้จักกันในนามของ Cho-ai-Mai หรือแปลว่า "rice trade on book" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "การซื้อขายบนกระดาษ" ในรัชสมัยของ โชกุน โตกุกาว่า อิเอยาสึ ปี ค.ศ. 1730 หรือราวปี พ.ศ. 2143 ตลาด Cho-ai-Mai นี้…..ออกแบบไว้สำหรับการซื้อขายล่วงหน้าข้าว (Rice Futures Contracts) เงื่อนไขสัญญาที่ทำการซื้อในตลาดนี้คล้ายคลึงกับสัญญามาตรฐานที่ทำการซื้อขายกันในปัจจุบันอย่างมาก เว้นแต่สมัยนั้นจะไม่อนุญาตให้มีการส่งมอบ-รับมอบสินค้ากันจริง เมื่อสัญญาครบกำหนด
ถัดมาในปี 1852 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังขยายตัว ตลาดสินค้าล่วงหน้าแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า ตลาดหอการค้าแห่งนครชิคาโก หรือ Chicago Board of Trade (CBOT) ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมมือกันของกลุ่มพ่อค้าในนครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สินค้าชนิดแรกที่มีซื้อขายโดยการนำมาทำเป็นสัญญาซื้อขายคือ ข้าวโพด ซึ่งเป็นผลผลิตทางเกษตรหลักของเกษตรกรในแถบนั้น โดยการซื้อขายการใน CBOT ในช่วงแรกเป็นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ Forward Contracts ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงคุณลักษณะของสินค้า (Specification) กันเอง ที่ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ซึ่งความไม่เป็นมาตรฐานนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้ CBOT จึงได้เริ่มพัฒนารูปแบบการซื้อขายของตนให้เป็นสัญญาที่มีมาตรฐาน (Standardized Contracts) รูปแบบคล้ายกับตลาดข้าวโดจิม่าที่มีในญี่ปุ่นมาแล้วกว่า 100 ปีก่อน แต่การซื้อขายที่ได้พัฒนาที่ CBOT นั้น อนุญาตให้มีการส่งมอบ-รับมอบสินค้ากันเมื่อสัญญาครบกำหนด ซึ่งรูปแบบดังที่กล่าวนี้ได้ถูกยกให้เป็นแม่แบบของการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าในตลาดต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลาต่อมา
สำหรับประเทศไทย มีการศึกษาและพูดกันถึงการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตร และที่รู้กันดีว่าสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มีความไม่แน่นอนด้านราคาที่สูงมาก ซึ่งโดยปกติแล้วเกษตรกรหรือผู้ประกอบการภาคเกษตรส่วนใหญ่จะไม่มีความสามารถแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาได้ เช่น หากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เกษตรกรอาจจะประสบปัญหาขาดทุน และขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ได้ริเริ่มและก่อตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ตสล.) ขึ้นเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ.2542 ตลาดฯทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตลาดฯโดยสำนักหักบัญชีจะรับประกันการซื้อขายที่เกิดขึ้นโดยจะทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อให้กับผู้ขายและผู้ขายให้กับผู้ซื้อ เพื่อให้คู่สัญญาเกิดความมั่นใจว่า จะได้รับการปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด
เกษตรกรหรือผู้ประกอบการสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดฯ ในฐานะผู้ประกันความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาที่ต้องเผชิญอยู่ โดยกระบวนการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าควบคู่กับกระบวนการค้าในตลาดสินค้าจริงตามปกติ ผู้มีความเสี่ยงด้านราคาขาย เช่น เกษตรกร สามารถลดความเสี่ยงจากการตกต่ำของราคาสินค้าเกษตรได้ โดยการขายล่วงหน้าสินค้าของตนในตลาดฯ ในทำนองเดียวกัน ผู้มีเสี่ยงด้านราคาซื้อ เช่น ผู้ส่งออก ก็สามารถลดความเสี่ยงจากราคาสินค้าเกษตรที่เป็นต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้โดยเข้าซื้อสินค้าที่ตนต้องการล่วงหน้าในตลาดฯ
(2): การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในต่างประเทศ
ตลาดสินค้าล่วงหน้าในต่างประเทศที่เป็นเป็นแม่แบบของตลาดสินค้าล่วงหน้าต่าง ๆคือ ตลาด Chicago Board of Trade (CBOT) ซึ่งตั้งอยู่ที่นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ตลาด CBOT นี้เปิดทำการครั้งแรกในปี ในปี 1852 หรือ ราวปี พ.ศ. 2395 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4
ในปัจจุบัน ตลาดสินค้าล่วงหน้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของผู้ค้าโดยทั่วไป เช่น ตลาดล่วงหน้าในสหรัฐอเมริกา อาทิ Chicago Board of Trade (CBOT), Chicago Mercantile Exchange (CME), New York Board of Trade (NYBOT), ตลาดล่วงหน้าในอังกฤษ คือ London International Financial Futures and Options Exchange (LIFFE), ตลาดล่วงหน้าในญี่ปุ่น อาทิ Tokyo Commodity Exchange (TOCOM) และ Osaka Mercantile Exchange (OME), ตลาดล่วงหน้าในสิงคโปร์ คือ Singapore Commodity Exchange (SICOM) หรือประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่าง มาเลเซีย ก็มีตลาดสินค้าล่วงหน้าคือ Malaysia Derivatives Exchange (MDEX)
สินค้าเกษตรที่มีการซื้อขายในตลาดสินค้าล่วงหน้าในต่างประเทศ ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายชนิด อาทิ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำมันปาล์มดิบ ยางพารา ข้าว กุ้ง วัว หมู เนื้อไก่ โกโก้ ฝ้าย น้ำส้ม ไหม เนย ไข่ ไม้แปรรูป ขนแกะ ฯลฯ ซึ่งสินค้าในแต่ละชนิด มีตลาดหลัก ๆ ที่ผู้ค้านิยมเข้ามาซื้อขายและใช้อ้างอิงราคา เช่น ผู้ค้านิยมใช้ตลาด CBOT ในการอิงราคาข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง, ตลาด CME ในการอิงราคา เนยและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนม, ตลาด NYBOT ในการอิงราคาน้ำตาลทรายดิบ, ตลาด LIFFE ในการอิงราคา น้ำตาลทรายขาว และ กาแฟ, ตลาด TOCOM และ SICOM ในการอิงราคา ผลิตภัณฑ์ยางพารา, และ ตลาด MDEX ในการอิงราคาน้ำมันปาล์มดิบ เป็นต้น และเป็นที่น่าสังเกตว่ายังไม่มีตลาดล่วงหน้าในประเทศใด..ที่ผู้ค้าใช้อ้างอิงราคาข้าวเจ้า ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ มีความเป็นไปได้สูงว่า…ผู้ค้าข้าวทั่วโลกจะหันมาใช้บริการการซื้อขายข้าวเจ้าล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ตสล.) เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงและอ้างอิงราคา
นอกเหนือจากสินค้าเกษตรที่มีการนำมาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว สินค้าอื่น ๆ ที่จับต้องได้ เช่น น้ำมันดิบ ทองคำ เงิน ดีบุก ทองแดง หรือ สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (และไม่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยของคนไทย) เช่น ตัวแปรชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ดัชนีหลักทรัพย์ต่าง ๆ (เช่น ดัชนี S&P 500) อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ก็มีการนำมาซื้อขายกันในตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศ นอกเหนือจากสินค้าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สินค้าที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถนำมาซื้อขายกันได้ เช่น อุณหภูมิอากาศในเมืองต่าง ๆ หรือ สารเคมีบางตัว เช่น Benzene และ Xylene ก็มีการนำมาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าที่สหรัฐ
(3): การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แตกต่างจากการซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีอยู่แล้วอย่างไร
ความแตกต่างของการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Futures Trading) ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Agricultural Futures Exchange of Thailand หรือ AFET) มีความแตกต่างไปจากการซื้อขายสินค้าเกษตรที่กระทำกันอยู่แล้วในปัจจุบันทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอย่างไร
การซื้อขายสินค้าเกษตรที่คุ้นเคยกันอยู่ในปัจจุบัน อาจทำกันตามตลาดสินค้าที่กระจายอยู่ทั่วประเทศตัวอย่างของตลาดสินค้าที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ตลาดสดตามชุมชน ตลาดไทย ตลาดสี่มุมเมือง ท่าข้าวกำนันทรงที่นครสวรรค์ ตลาดกลางยางพาราที่หาดใหญ่ หรือตลาดกลางกุ้งกุลาดำที่มหาชัย ซึ่งการซื้อขายในตลาดดังกล่าวที่ว่านี้เรียกว่า การซื้อขายในตลาดสินค้าจริง หรือ ตลาดปัจจุบัน (Spot or Cash Market) ซึ่งโดยทั่วไปผู้ซื้อผู้ขายในตลาดสินค้าจริงเหล่านี้จะตกลงซื้อขายกันทันทีในตลาด และมีการส่งมอบสินค้าและการจ่ายเงินกัน ณ ช่วงเวลานั้น
การซื้อขายสินค้าเกษตรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นรู้จักกันดีของคนไทย คือ การซื้อขายสินค้าล่วงหน้าแบบผู้ซื้อผู้ขายตกลงเงื่อนไขกันเองนอกตลาด หรือ ที่รู้จักในนามของการซื้อขายแบบทำสัญญา Forward ตัวอย่างของการซื้อขายแบบ Forward เช่น โรงสีไปตกลงเงื่อนไขสัญญาซื้อข้าวเปลือก 8 ตัน ล่วงหน้ากับชาวนาก่อนที่ชาวนาจะทำการปลูกข้าว หรือ โรงงานผลิตยางแผ่น ที่หาดใหญ่ ไปทำสัญญาขายล่วงหน้ายางแผ่น 11 ตัน กับบริษัทผลิตยางรถยนต์ที่แหลมฉบัง ที่จะส่งมอบยางแผ่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า เป็นต้น
การซื้อขายในรูปแบบ Forward ที่ว่านี้จะทำกันนอกตลาด กล่าวคือ ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงเงื่อนไขของสัญญาและราคากันเองโดยไม่มีตัวกลาง ซึ่งการซื้อขายสัญญาแบบตกลงเงื่อนไขกันเองโดยไม่มีตัวกลางนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือ สัญญา Forward ที่ว่าจะมีความยืดหยุ่นสูงเนื่องจากสัญญานั้นเกิดจากความพึงพอใจทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งสองฝ่ายจะตกลงเงื่อนไขสัญญากันอย่างไรก็ได้หากคู่สัญญาเห็นชอบด้วย เช่น อาจจะตกลงขายยางแผ่นที่น้ำหนัก 1.666 ตัน เป็นต้น
ข้อเสียของการซื้อขายแบบ Forward คือ สัญญา Forward นั้นจะมีข้อผูกพันจนถึงวันครบกำหนดรับมอบส่งมอบที่ระบุไว้ในสัญญา ข้อผูกพันดังกล่าวทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ต้องการส่งหรือรับสินค้าชนิดนั้น เพราะว่าสัญญา Forward ที่ว่านี้ไม่มีมาตรฐานทำให้หาผู้มารับช่วงสัญญาได้ยาก (หรือที่เราเรียกว่า ไม่มีสภาพคล่อง) ฉะนั้นหากผู้ซื้อผู้ขายไม่ต้องการรับมอบส่งมอบสินค้าจริงแล้ว คู่สัญญาอาจบิดพลิ้วสัญญาโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้สัญญากันไว้
เพื่อเป็นการแก้ข้อจำกัดของการซื้อขายแบบ Forward จึงได้มีการพัฒนารูปแบบสัญญาซื้อขายที่เป็นมาตรฐานที่เรียกกันว่า Futures Contracts ที่ออกแบบให้ซื้อขายกันในตลาดสินค้าล่วงหน้า (Futures Exchange) โดยเราจะเรียกการซื้อขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าแบบนี้ว่า Futures Trading ตลาดสินค้าล่วงหน้าจะเป็นผู้กำหนดขนาด คุณสมบัติ คุณภาพและปริมาณของสินค้า คำสั่งซื้อและคำสั่งขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จะมาจับคู่กันที่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตลาด ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางและรับประกันการซื้อขายที่เกิดขึ้น หากกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ ตลาดจะหาสินค้ามาส่งให้ผู้ซื้อแทน ดังนั้นผู้ซื้อ-ผู้ขายจะสามารถมั่นใจได้ว่า
ธุรกรรมของตนในตลาด ฯ จะไม่มีการบิดพลิ้วเพราะว่าตลาด ฯ เป็นผู้รับความเสี่ยงดังกล่าวให้แทน
ข้อดีอีกข้อหนึ่งของการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าล่วงหน้า คือ ความคล่องตัวในการปลดภาระของสัญญาของตนที่มีอยู่ในตลาด ฯ ผู้ซื้อหรือผู้ขายล่วงหน้าในตลาด ฯ ที่ไม่ต้องการรับมอบหรือส่งมอบสินค้า ก็สามารถหักล้าง (Offset) สัญญา ที่ตนถืออยู่ได้ โดยการส่งคำสั่งขายหรือซื้อ (คำสั่งชนิดตรงข้ามกับที่ตนถืออยู่) ของสัญญาชนิดเดียวกันที่ตนถืออยู่ โดยผู้ซื้อจะได้กำไรหากราคาขายที่ขายได้สูงกว่าราคาซื้อที่เคยซื้อไว้เดิม (ซื้อถูกขายคืนแพง) ในทำนองเดียวกัน ผู้ขายจะได้กำไรหากราคาซื้อที่ซื้อได้ตอนหลังถูกกว่าราคาขายที่ขายได้เดิม (ขายแพงซื้อคืนถูก) การส่งคำสั่งชนิดตรงข้ามเข้ามาในตลาดนี้ เรียกว่าการปลดภาระสัญญา (Offset) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายหมดภาระผูกพันที่มีอยู่กับตลาด ฯ โดยไม่ต้องทำการส่งมอบ-รับมอบสินค้าจริง
แต่การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็มีข้อจำกัด คือ ผู้ซื้อ-ขายจะต้องซื้อขายอย่างน้อย 1 สัญญา ไม่สามารถซื้อ ครึ่งสัญญา หรือ 2/3 สัญญาได้ ซึ่งในกรณีข้าวขาว 5 % สัญญาได้ระบุไว้ว่าจะซื้อขายสัญญาละ 20 ตัน ผู้ซื้อ-ผู้ขายก็ต้องซื้อขายกันเป็นหน่วย 20, 40, 60 ตัน (หรือ 1, 2, 3 สัญญา ตามลำดับ) ผู้ขายที่ต้องการขายข้าวแค่ 22 ตัน จะสามารถขายได้แค่ 20 ตันเท่านั้น การกำหนดดังกล่าวช่วยให้ตลาด ฯ มีสภาพคล่อง ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถปลดภาระสัญญาและสามารถออกจากตลาด ฯ ได้โดยง่าย
(4): หน้าที่ของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยนั้น ไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนตลาดสินค้าเกษตรจริง หรือ ตลาดสินค้าปัจจุบัน ที่มีอยู่แล้วมากมายทั่วประเทศไทย ตัวอย่างของตลาดสินค้าจริงที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ตลาดสดตามชุมชน ตลาดไทย ตลาดสี่มุมเมือง ท่าข้าวกำนันทรงที่นครสวรรค์ ตลาดกลางยางพาราที่หาดใหญ่ หรือตลาดกลางกุ้งกุลาดำที่มหาชัย
แต่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมการทำหน้าที่ตลาดสินค้าจริง (ตลาดสินค้าปัจจุบัน) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตลาดโดยรวม (Marketing System) และ โดยตลาดสินค้าล่วงหน้าจะทำหน้าที่ (1) เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการใช้ในการลดความเสี่ยงด้านราคา (Hedging) และ (2) เป็นเครื่องมือการค้นหาราคาของสินค้าในอนาคต (Price Discovery) ซึ่งหน้าที่หลักมีดังนี้
1. เครื่องมือการบริหารความเสี่ยง (Hedging)
เกษตรกรหรือผู้ประกอบการจะสามารถใช้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาได้ โดยเข้ามาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Futures Trading) ควบคู่ไปกับกระบวนการค้าในตลาดสินค้าจริงที่ทำกันอยู่แล้วตามปกติ ผู้ที่มีความเสี่ยงด้านขาย ประกันความเสี่ยงด้านราคาขาย (Short Hedgers) เช่น เกษตรกรที่พร้อมที่จะขายข้าวในอีก 2 เดือน สามารถลดความเสี่ยงจากการตกต่ำของราคาข้าวได้โดยการเข้ามาขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้า ในทำนองเดียวกัน ผู้ประกันความเสี่ยงด้านราคาซื้อ (Long Hedgers) เช่น ผู้ส่งออกที่มีภาระในการส่งออกข้าวในอีก 2 เดือน ก็สามารถลดความเสี่ยงของตนจากต้นทุนที่สูงขึ้นได้ โดยการเข้าซื้อล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ถ้ามีตลาดสินค้าล่วงหน้า ผู้ประกอบการจะมีเครื่องมือในการประกันความเสี่ยงด้านราคา ผู้แปรรูปสินค้าเกษตรเช่น โรงสี สามารถลดความเสี่ยงของตนได้โดยซื้อขายผ่านตลาดสินค้าล่วงหน้า หรือเกษตรกรผู้ที่อาจจะไม่เข้ามาซื้อขายโดยตรงในตลาดสินค้าล่วงหน้าก็สามารถใช้ราคาในตลาดล่วงหน้า เป็นราคาอ้างอิงในการทำสัญญาขายล่วงหน้า (Forward) โดยตรงกับโรงสีได้
2. เครื่องมือการค้นหาราคาสินค้าเกษตรในอนาคต (Price Discovery)
ราคาและข้อมูลการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นข้อมูลที่เปิดเผย ซึ่งจะมีการเผยแพร่ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน สื่อวิทยุโทรทัศน์ เหมือนกับราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ราคาสินค้าเกษตรที่ว่านี้เป็นราคาที่เกิด Demand และ Supply ของสินค้าชนิดนั้นใน อีก 2, 4, หรือ 6 เดือนข้างหน้า โดยกลไกตลาดฯ เป็นผู้กำหนดราคาที่เหมาะสมของสินค้าเกษตรชนิดหนึ่ง ๆ ในอนาคต ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่น การเปลี่ยนไปของปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้คนตลาดเชื่อว่าส่งผลกระทบต่อสภาพของอุปสงค์หรืออุปทานของสินค้าชนิดนั้น ๆ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรที่ซื้อขายกันอยู่
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าเกษตรสามารถเห็นราคาข้าวขาว 5% มีการส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2547 แล้วใช้ราคาดังกล่าวมาวางแผนการผลิตของตนได้
ในประเด็นของความแม่นยำของราคาในตลาดล่วงหน้าว่ามีความแม่นยำเพียงใดนั้น จากการศึกษาข้อมูลของตลาดสินค้าล่วงหน้าในต่างประเทศ นักวิจัยพบว่าไม่ปรากฏเครื่องมือพยากรณ์ราคาที่ดีกว่าการใช้ราคาในตลาดล่วงหน้า อีกทั้งการใช้ราคาในตลาดล่วงหน้านั้นไม่มีค่าใช้จ่าย
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-
(1): ความเป็นมาของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ตลาดสินค้าล่วงหน้า (Futures Exchange) เป็นตลาดรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตลาด Futures ไม่ใช่ตลาดรูปแบบใหม่ หากถ้าได้มองย้อนหลังไปเมื่อ 270 ปีก่อน ตามหลักฐานที่ได้มีการบันทึกไว้ ตลาดสินค้าล่วงหน้าได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าตลาดข้าวโดจิม่า (Dojima Rice Market) หรือที่รู้จักกันในนามของ Cho-ai-Mai หรือแปลว่า "rice trade on book" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "การซื้อขายบนกระดาษ" ในรัชสมัยของ โชกุน โตกุกาว่า อิเอยาสึ ปี ค.ศ. 1730 หรือราวปี พ.ศ. 2143 ตลาด Cho-ai-Mai นี้…..ออกแบบไว้สำหรับการซื้อขายล่วงหน้าข้าว (Rice Futures Contracts) เงื่อนไขสัญญาที่ทำการซื้อในตลาดนี้คล้ายคลึงกับสัญญามาตรฐานที่ทำการซื้อขายกันในปัจจุบันอย่างมาก เว้นแต่สมัยนั้นจะไม่อนุญาตให้มีการส่งมอบ-รับมอบสินค้ากันจริง เมื่อสัญญาครบกำหนด
ถัดมาในปี 1852 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังขยายตัว ตลาดสินค้าล่วงหน้าแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า ตลาดหอการค้าแห่งนครชิคาโก หรือ Chicago Board of Trade (CBOT) ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมมือกันของกลุ่มพ่อค้าในนครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สินค้าชนิดแรกที่มีซื้อขายโดยการนำมาทำเป็นสัญญาซื้อขายคือ ข้าวโพด ซึ่งเป็นผลผลิตทางเกษตรหลักของเกษตรกรในแถบนั้น โดยการซื้อขายการใน CBOT ในช่วงแรกเป็นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ Forward Contracts ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงคุณลักษณะของสินค้า (Specification) กันเอง ที่ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ซึ่งความไม่เป็นมาตรฐานนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้ CBOT จึงได้เริ่มพัฒนารูปแบบการซื้อขายของตนให้เป็นสัญญาที่มีมาตรฐาน (Standardized Contracts) รูปแบบคล้ายกับตลาดข้าวโดจิม่าที่มีในญี่ปุ่นมาแล้วกว่า 100 ปีก่อน แต่การซื้อขายที่ได้พัฒนาที่ CBOT นั้น อนุญาตให้มีการส่งมอบ-รับมอบสินค้ากันเมื่อสัญญาครบกำหนด ซึ่งรูปแบบดังที่กล่าวนี้ได้ถูกยกให้เป็นแม่แบบของการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าในตลาดต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลาต่อมา
สำหรับประเทศไทย มีการศึกษาและพูดกันถึงการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตร และที่รู้กันดีว่าสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มีความไม่แน่นอนด้านราคาที่สูงมาก ซึ่งโดยปกติแล้วเกษตรกรหรือผู้ประกอบการภาคเกษตรส่วนใหญ่จะไม่มีความสามารถแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาได้ เช่น หากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เกษตรกรอาจจะประสบปัญหาขาดทุน และขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ได้ริเริ่มและก่อตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ตสล.) ขึ้นเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ.2542 ตลาดฯทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตลาดฯโดยสำนักหักบัญชีจะรับประกันการซื้อขายที่เกิดขึ้นโดยจะทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อให้กับผู้ขายและผู้ขายให้กับผู้ซื้อ เพื่อให้คู่สัญญาเกิดความมั่นใจว่า จะได้รับการปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด
เกษตรกรหรือผู้ประกอบการสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดฯ ในฐานะผู้ประกันความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาที่ต้องเผชิญอยู่ โดยกระบวนการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าควบคู่กับกระบวนการค้าในตลาดสินค้าจริงตามปกติ ผู้มีความเสี่ยงด้านราคาขาย เช่น เกษตรกร สามารถลดความเสี่ยงจากการตกต่ำของราคาสินค้าเกษตรได้ โดยการขายล่วงหน้าสินค้าของตนในตลาดฯ ในทำนองเดียวกัน ผู้มีเสี่ยงด้านราคาซื้อ เช่น ผู้ส่งออก ก็สามารถลดความเสี่ยงจากราคาสินค้าเกษตรที่เป็นต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้โดยเข้าซื้อสินค้าที่ตนต้องการล่วงหน้าในตลาดฯ
(2): การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในต่างประเทศ
ตลาดสินค้าล่วงหน้าในต่างประเทศที่เป็นเป็นแม่แบบของตลาดสินค้าล่วงหน้าต่าง ๆคือ ตลาด Chicago Board of Trade (CBOT) ซึ่งตั้งอยู่ที่นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ตลาด CBOT นี้เปิดทำการครั้งแรกในปี ในปี 1852 หรือ ราวปี พ.ศ. 2395 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4
ในปัจจุบัน ตลาดสินค้าล่วงหน้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของผู้ค้าโดยทั่วไป เช่น ตลาดล่วงหน้าในสหรัฐอเมริกา อาทิ Chicago Board of Trade (CBOT), Chicago Mercantile Exchange (CME), New York Board of Trade (NYBOT), ตลาดล่วงหน้าในอังกฤษ คือ London International Financial Futures and Options Exchange (LIFFE), ตลาดล่วงหน้าในญี่ปุ่น อาทิ Tokyo Commodity Exchange (TOCOM) และ Osaka Mercantile Exchange (OME), ตลาดล่วงหน้าในสิงคโปร์ คือ Singapore Commodity Exchange (SICOM) หรือประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่าง มาเลเซีย ก็มีตลาดสินค้าล่วงหน้าคือ Malaysia Derivatives Exchange (MDEX)
สินค้าเกษตรที่มีการซื้อขายในตลาดสินค้าล่วงหน้าในต่างประเทศ ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายชนิด อาทิ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำมันปาล์มดิบ ยางพารา ข้าว กุ้ง วัว หมู เนื้อไก่ โกโก้ ฝ้าย น้ำส้ม ไหม เนย ไข่ ไม้แปรรูป ขนแกะ ฯลฯ ซึ่งสินค้าในแต่ละชนิด มีตลาดหลัก ๆ ที่ผู้ค้านิยมเข้ามาซื้อขายและใช้อ้างอิงราคา เช่น ผู้ค้านิยมใช้ตลาด CBOT ในการอิงราคาข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง, ตลาด CME ในการอิงราคา เนยและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนม, ตลาด NYBOT ในการอิงราคาน้ำตาลทรายดิบ, ตลาด LIFFE ในการอิงราคา น้ำตาลทรายขาว และ กาแฟ, ตลาด TOCOM และ SICOM ในการอิงราคา ผลิตภัณฑ์ยางพารา, และ ตลาด MDEX ในการอิงราคาน้ำมันปาล์มดิบ เป็นต้น และเป็นที่น่าสังเกตว่ายังไม่มีตลาดล่วงหน้าในประเทศใด..ที่ผู้ค้าใช้อ้างอิงราคาข้าวเจ้า ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ มีความเป็นไปได้สูงว่า…ผู้ค้าข้าวทั่วโลกจะหันมาใช้บริการการซื้อขายข้าวเจ้าล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ตสล.) เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงและอ้างอิงราคา
นอกเหนือจากสินค้าเกษตรที่มีการนำมาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว สินค้าอื่น ๆ ที่จับต้องได้ เช่น น้ำมันดิบ ทองคำ เงิน ดีบุก ทองแดง หรือ สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (และไม่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยของคนไทย) เช่น ตัวแปรชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ดัชนีหลักทรัพย์ต่าง ๆ (เช่น ดัชนี S&P 500) อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ก็มีการนำมาซื้อขายกันในตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศ นอกเหนือจากสินค้าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สินค้าที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถนำมาซื้อขายกันได้ เช่น อุณหภูมิอากาศในเมืองต่าง ๆ หรือ สารเคมีบางตัว เช่น Benzene และ Xylene ก็มีการนำมาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าที่สหรัฐ
(3): การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แตกต่างจากการซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีอยู่แล้วอย่างไร
ความแตกต่างของการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Futures Trading) ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Agricultural Futures Exchange of Thailand หรือ AFET) มีความแตกต่างไปจากการซื้อขายสินค้าเกษตรที่กระทำกันอยู่แล้วในปัจจุบันทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอย่างไร
การซื้อขายสินค้าเกษตรที่คุ้นเคยกันอยู่ในปัจจุบัน อาจทำกันตามตลาดสินค้าที่กระจายอยู่ทั่วประเทศตัวอย่างของตลาดสินค้าที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ตลาดสดตามชุมชน ตลาดไทย ตลาดสี่มุมเมือง ท่าข้าวกำนันทรงที่นครสวรรค์ ตลาดกลางยางพาราที่หาดใหญ่ หรือตลาดกลางกุ้งกุลาดำที่มหาชัย ซึ่งการซื้อขายในตลาดดังกล่าวที่ว่านี้เรียกว่า การซื้อขายในตลาดสินค้าจริง หรือ ตลาดปัจจุบัน (Spot or Cash Market) ซึ่งโดยทั่วไปผู้ซื้อผู้ขายในตลาดสินค้าจริงเหล่านี้จะตกลงซื้อขายกันทันทีในตลาด และมีการส่งมอบสินค้าและการจ่ายเงินกัน ณ ช่วงเวลานั้น
การซื้อขายสินค้าเกษตรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นรู้จักกันดีของคนไทย คือ การซื้อขายสินค้าล่วงหน้าแบบผู้ซื้อผู้ขายตกลงเงื่อนไขกันเองนอกตลาด หรือ ที่รู้จักในนามของการซื้อขายแบบทำสัญญา Forward ตัวอย่างของการซื้อขายแบบ Forward เช่น โรงสีไปตกลงเงื่อนไขสัญญาซื้อข้าวเปลือก 8 ตัน ล่วงหน้ากับชาวนาก่อนที่ชาวนาจะทำการปลูกข้าว หรือ โรงงานผลิตยางแผ่น ที่หาดใหญ่ ไปทำสัญญาขายล่วงหน้ายางแผ่น 11 ตัน กับบริษัทผลิตยางรถยนต์ที่แหลมฉบัง ที่จะส่งมอบยางแผ่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า เป็นต้น
การซื้อขายในรูปแบบ Forward ที่ว่านี้จะทำกันนอกตลาด กล่าวคือ ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงเงื่อนไขของสัญญาและราคากันเองโดยไม่มีตัวกลาง ซึ่งการซื้อขายสัญญาแบบตกลงเงื่อนไขกันเองโดยไม่มีตัวกลางนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือ สัญญา Forward ที่ว่าจะมีความยืดหยุ่นสูงเนื่องจากสัญญานั้นเกิดจากความพึงพอใจทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งสองฝ่ายจะตกลงเงื่อนไขสัญญากันอย่างไรก็ได้หากคู่สัญญาเห็นชอบด้วย เช่น อาจจะตกลงขายยางแผ่นที่น้ำหนัก 1.666 ตัน เป็นต้น
ข้อเสียของการซื้อขายแบบ Forward คือ สัญญา Forward นั้นจะมีข้อผูกพันจนถึงวันครบกำหนดรับมอบส่งมอบที่ระบุไว้ในสัญญา ข้อผูกพันดังกล่าวทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ต้องการส่งหรือรับสินค้าชนิดนั้น เพราะว่าสัญญา Forward ที่ว่านี้ไม่มีมาตรฐานทำให้หาผู้มารับช่วงสัญญาได้ยาก (หรือที่เราเรียกว่า ไม่มีสภาพคล่อง) ฉะนั้นหากผู้ซื้อผู้ขายไม่ต้องการรับมอบส่งมอบสินค้าจริงแล้ว คู่สัญญาอาจบิดพลิ้วสัญญาโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้สัญญากันไว้
เพื่อเป็นการแก้ข้อจำกัดของการซื้อขายแบบ Forward จึงได้มีการพัฒนารูปแบบสัญญาซื้อขายที่เป็นมาตรฐานที่เรียกกันว่า Futures Contracts ที่ออกแบบให้ซื้อขายกันในตลาดสินค้าล่วงหน้า (Futures Exchange) โดยเราจะเรียกการซื้อขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าแบบนี้ว่า Futures Trading ตลาดสินค้าล่วงหน้าจะเป็นผู้กำหนดขนาด คุณสมบัติ คุณภาพและปริมาณของสินค้า คำสั่งซื้อและคำสั่งขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จะมาจับคู่กันที่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตลาด ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางและรับประกันการซื้อขายที่เกิดขึ้น หากกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ ตลาดจะหาสินค้ามาส่งให้ผู้ซื้อแทน ดังนั้นผู้ซื้อ-ผู้ขายจะสามารถมั่นใจได้ว่า
ธุรกรรมของตนในตลาด ฯ จะไม่มีการบิดพลิ้วเพราะว่าตลาด ฯ เป็นผู้รับความเสี่ยงดังกล่าวให้แทน
ข้อดีอีกข้อหนึ่งของการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าล่วงหน้า คือ ความคล่องตัวในการปลดภาระของสัญญาของตนที่มีอยู่ในตลาด ฯ ผู้ซื้อหรือผู้ขายล่วงหน้าในตลาด ฯ ที่ไม่ต้องการรับมอบหรือส่งมอบสินค้า ก็สามารถหักล้าง (Offset) สัญญา ที่ตนถืออยู่ได้ โดยการส่งคำสั่งขายหรือซื้อ (คำสั่งชนิดตรงข้ามกับที่ตนถืออยู่) ของสัญญาชนิดเดียวกันที่ตนถืออยู่ โดยผู้ซื้อจะได้กำไรหากราคาขายที่ขายได้สูงกว่าราคาซื้อที่เคยซื้อไว้เดิม (ซื้อถูกขายคืนแพง) ในทำนองเดียวกัน ผู้ขายจะได้กำไรหากราคาซื้อที่ซื้อได้ตอนหลังถูกกว่าราคาขายที่ขายได้เดิม (ขายแพงซื้อคืนถูก) การส่งคำสั่งชนิดตรงข้ามเข้ามาในตลาดนี้ เรียกว่าการปลดภาระสัญญา (Offset) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายหมดภาระผูกพันที่มีอยู่กับตลาด ฯ โดยไม่ต้องทำการส่งมอบ-รับมอบสินค้าจริง
แต่การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็มีข้อจำกัด คือ ผู้ซื้อ-ขายจะต้องซื้อขายอย่างน้อย 1 สัญญา ไม่สามารถซื้อ ครึ่งสัญญา หรือ 2/3 สัญญาได้ ซึ่งในกรณีข้าวขาว 5 % สัญญาได้ระบุไว้ว่าจะซื้อขายสัญญาละ 20 ตัน ผู้ซื้อ-ผู้ขายก็ต้องซื้อขายกันเป็นหน่วย 20, 40, 60 ตัน (หรือ 1, 2, 3 สัญญา ตามลำดับ) ผู้ขายที่ต้องการขายข้าวแค่ 22 ตัน จะสามารถขายได้แค่ 20 ตันเท่านั้น การกำหนดดังกล่าวช่วยให้ตลาด ฯ มีสภาพคล่อง ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถปลดภาระสัญญาและสามารถออกจากตลาด ฯ ได้โดยง่าย
(4): หน้าที่ของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยนั้น ไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนตลาดสินค้าเกษตรจริง หรือ ตลาดสินค้าปัจจุบัน ที่มีอยู่แล้วมากมายทั่วประเทศไทย ตัวอย่างของตลาดสินค้าจริงที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ตลาดสดตามชุมชน ตลาดไทย ตลาดสี่มุมเมือง ท่าข้าวกำนันทรงที่นครสวรรค์ ตลาดกลางยางพาราที่หาดใหญ่ หรือตลาดกลางกุ้งกุลาดำที่มหาชัย
แต่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมการทำหน้าที่ตลาดสินค้าจริง (ตลาดสินค้าปัจจุบัน) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตลาดโดยรวม (Marketing System) และ โดยตลาดสินค้าล่วงหน้าจะทำหน้าที่ (1) เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการใช้ในการลดความเสี่ยงด้านราคา (Hedging) และ (2) เป็นเครื่องมือการค้นหาราคาของสินค้าในอนาคต (Price Discovery) ซึ่งหน้าที่หลักมีดังนี้
1. เครื่องมือการบริหารความเสี่ยง (Hedging)
เกษตรกรหรือผู้ประกอบการจะสามารถใช้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาได้ โดยเข้ามาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Futures Trading) ควบคู่ไปกับกระบวนการค้าในตลาดสินค้าจริงที่ทำกันอยู่แล้วตามปกติ ผู้ที่มีความเสี่ยงด้านขาย ประกันความเสี่ยงด้านราคาขาย (Short Hedgers) เช่น เกษตรกรที่พร้อมที่จะขายข้าวในอีก 2 เดือน สามารถลดความเสี่ยงจากการตกต่ำของราคาข้าวได้โดยการเข้ามาขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้า ในทำนองเดียวกัน ผู้ประกันความเสี่ยงด้านราคาซื้อ (Long Hedgers) เช่น ผู้ส่งออกที่มีภาระในการส่งออกข้าวในอีก 2 เดือน ก็สามารถลดความเสี่ยงของตนจากต้นทุนที่สูงขึ้นได้ โดยการเข้าซื้อล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ถ้ามีตลาดสินค้าล่วงหน้า ผู้ประกอบการจะมีเครื่องมือในการประกันความเสี่ยงด้านราคา ผู้แปรรูปสินค้าเกษตรเช่น โรงสี สามารถลดความเสี่ยงของตนได้โดยซื้อขายผ่านตลาดสินค้าล่วงหน้า หรือเกษตรกรผู้ที่อาจจะไม่เข้ามาซื้อขายโดยตรงในตลาดสินค้าล่วงหน้าก็สามารถใช้ราคาในตลาดล่วงหน้า เป็นราคาอ้างอิงในการทำสัญญาขายล่วงหน้า (Forward) โดยตรงกับโรงสีได้
2. เครื่องมือการค้นหาราคาสินค้าเกษตรในอนาคต (Price Discovery)
ราคาและข้อมูลการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นข้อมูลที่เปิดเผย ซึ่งจะมีการเผยแพร่ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน สื่อวิทยุโทรทัศน์ เหมือนกับราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ราคาสินค้าเกษตรที่ว่านี้เป็นราคาที่เกิด Demand และ Supply ของสินค้าชนิดนั้นใน อีก 2, 4, หรือ 6 เดือนข้างหน้า โดยกลไกตลาดฯ เป็นผู้กำหนดราคาที่เหมาะสมของสินค้าเกษตรชนิดหนึ่ง ๆ ในอนาคต ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่น การเปลี่ยนไปของปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้คนตลาดเชื่อว่าส่งผลกระทบต่อสภาพของอุปสงค์หรืออุปทานของสินค้าชนิดนั้น ๆ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรที่ซื้อขายกันอยู่
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าเกษตรสามารถเห็นราคาข้าวขาว 5% มีการส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2547 แล้วใช้ราคาดังกล่าวมาวางแผนการผลิตของตนได้
ในประเด็นของความแม่นยำของราคาในตลาดล่วงหน้าว่ามีความแม่นยำเพียงใดนั้น จากการศึกษาข้อมูลของตลาดสินค้าล่วงหน้าในต่างประเทศ นักวิจัยพบว่าไม่ปรากฏเครื่องมือพยากรณ์ราคาที่ดีกว่าการใช้ราคาในตลาดล่วงหน้า อีกทั้งการใช้ราคาในตลาดล่วงหน้านั้นไม่มีค่าใช้จ่าย
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-