ต.ส.ล.เซ็นเอ็มโอยูโตคอม โตเกียวเกลน อาทิตย์นี้ แลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีร่วมกัน พร้อมเชื่อมโยงฐานลูกค้ากับโบรกเกอร์ญี่ปุ่น หวังดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าตลาด ระบุมีหลายรายให้ความสนใจ ด้านภาวะการลงทุนกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง มีเทรด 135 สัญญา ขณะที่ราคาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น
นายพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ กรรมการผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(ต.ส.ล.) กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ต.ส.ล.จะเซ็นบันทึกความร่วมมือกับตลาดล่วงหน้าของญี่ปุ่น 2 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดโตคอม(TOCOM) และตลาดโตเกียวเกลน(TGE)เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือและข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลการซื้อขายเรียลไทม์ ข้อมูลงานวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน และเทคโนโลยีต่างๆ
ทั้งนี้ในส่วนของตลาดโตคอม ซึ่งเป็นตลาดที่ซื้อขายยางพาราล่วงหน้า จะมีการร่วมมือกันในด้านการดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในต.ส.ล.มากขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงฐานลูกค้าเข้าด้วยกันกับโบรกเกอร์ของโตคอม
โดยปกติแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่เทรดสินค้าในตลาดใดตลาดหนึ่ง แต่จะเทรดในหลายๆตลาดเพื่อหาส่วนต่างของราคา ซึ่งเมื่อโบรกเกอร์ของญี่ปุ่นมีนักลงทุนที่ต้องการเทรดยางก็จะแนะนำให้เข้ามาเทรดที่ตลาดของไทยด้วย ซึ่งนักลงทุนดังกล่าวจะไม่ใช่แค่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่จะเป็นนักลงทุนจากทั่วโลก เนื่องจากโบรกเกอร์ของญี่ปุ่นมีเครือข่ายที่กว้างขวางมาก
ทั้งนี้โดยส่วนตัวเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค้าของโบรกเกอร์ญี่ปุ่นอย่างแน่นอนเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับต้นๆของโลก ซึ่งนักลงทุนจะมีความมั่นใจและมีโอกาสได้เห็นสินค้าก่อนการซื้อขายด้วย
นอกจากนั้นในส่วนของตลาดโตเกียวเกลน ซึ่งจะเปิดเทรดข้าวเร็วๆนี้ ก็จะทำความร่วมมือในลักษณะเดียวกันกับตลาดโตคอม แต่จะเป็นสินค้าประเภทข้าว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการซื้อขายและการเชื่อมโยงฐานลูกค้าระหว่างโบรกเกอร์ของทั้งสองตลาด ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าหากความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จจะทำให้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเทรดในต.ส.ล.มากขึ้นอย่างแน่นอน หลังจากที่ปัจจุบันเริ่มมีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้านภาวะการลงทุนในต.ส.ล.เมื่อวันศุกร์(23 ก.ค.)ที่ผ่านมา มีปริมาณการซื้อขายกระเตื้องขึ้นจากวันก่อนหน้าที่มีการซื้อขายกัน 120 สัญญา โดยเมื่อวันศุกร์มีปริมาณการซื้อขายกันทั้งสิ้น 135 สัญญา ขณะที่ราคาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกเดือนส่งมอบ
โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือน ก.ย. มีปริมาณการซื้อขาย 30 สัญญาราคาปิดที่ 49.90 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งล่าสุดที่ 48.7 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้หักล้างทั้งสิ้น 85 ข้อตกลง
ส่วนยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือน ต.ค.มีปริมาณการซื้อขาย 25 สัญญาราคาปิดที่ 49.30 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งก่อนที่ 48.70 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้ทำการหักล้างทั้งสิ้น 24 ข้อตกลง สำหรับยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือนพ.ย.มีปริมาณการซื้อขายมากสุดของวันที่ 35 สัญญา ราคาปิดที่ 49.20 บาทต่อกิโลกรัมจากราคาปิดครั้งก่อนที่ 49 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้หักล้างทั้งสิ้น 61 ข้อตกลง
ขณะที่นางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือน ธ.ค.มีปริมาณการซื้อขาย 25 สัญญาราคาปิดที่ 49.30 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งก่อนที่ 49.10 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้ทำการหักล้างทั้งสิ้น 172 ข้อตกลง และยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือนม.ค.48 มีปริมาณการซื้อขาย 20 สัญญา ราคาปิดที่ 49.30 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งก่อนที่ 49 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้หักล้าง 117 ข้อตกลง
ด้านแหล่งข่าวนักวิเคราะห์ กล่าวว่า สาเหตุที่ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเพราะ นักเก็งกำไรส่วนใหญ่ต้องการหักล้างสัญญาที่ใกล้กำหนดส่งมอบ เพราะไม่ต้องการส่งมอบกันจริง โดยเฉพาะในเดือน ก.ย. ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายถึง 30 สัญญา ทั้งที่วันก่อนหน้าไม่มีการซื้อขาย ส่วนราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดโตคอมของญี่ปุ่น นอกจากนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ก็เริ่มกลับเข้ามาซื้อเพราะเห็นว่าราคาลดลงมาต่ำมากแล้ว
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-
นายพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ กรรมการผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(ต.ส.ล.) กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ต.ส.ล.จะเซ็นบันทึกความร่วมมือกับตลาดล่วงหน้าของญี่ปุ่น 2 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดโตคอม(TOCOM) และตลาดโตเกียวเกลน(TGE)เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือและข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลการซื้อขายเรียลไทม์ ข้อมูลงานวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน และเทคโนโลยีต่างๆ
ทั้งนี้ในส่วนของตลาดโตคอม ซึ่งเป็นตลาดที่ซื้อขายยางพาราล่วงหน้า จะมีการร่วมมือกันในด้านการดึงนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในต.ส.ล.มากขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงฐานลูกค้าเข้าด้วยกันกับโบรกเกอร์ของโตคอม
โดยปกติแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่เทรดสินค้าในตลาดใดตลาดหนึ่ง แต่จะเทรดในหลายๆตลาดเพื่อหาส่วนต่างของราคา ซึ่งเมื่อโบรกเกอร์ของญี่ปุ่นมีนักลงทุนที่ต้องการเทรดยางก็จะแนะนำให้เข้ามาเทรดที่ตลาดของไทยด้วย ซึ่งนักลงทุนดังกล่าวจะไม่ใช่แค่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่จะเป็นนักลงทุนจากทั่วโลก เนื่องจากโบรกเกอร์ของญี่ปุ่นมีเครือข่ายที่กว้างขวางมาก
ทั้งนี้โดยส่วนตัวเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค้าของโบรกเกอร์ญี่ปุ่นอย่างแน่นอนเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับต้นๆของโลก ซึ่งนักลงทุนจะมีความมั่นใจและมีโอกาสได้เห็นสินค้าก่อนการซื้อขายด้วย
นอกจากนั้นในส่วนของตลาดโตเกียวเกลน ซึ่งจะเปิดเทรดข้าวเร็วๆนี้ ก็จะทำความร่วมมือในลักษณะเดียวกันกับตลาดโตคอม แต่จะเป็นสินค้าประเภทข้าว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการซื้อขายและการเชื่อมโยงฐานลูกค้าระหว่างโบรกเกอร์ของทั้งสองตลาด ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าหากความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จจะทำให้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเทรดในต.ส.ล.มากขึ้นอย่างแน่นอน หลังจากที่ปัจจุบันเริ่มมีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้านภาวะการลงทุนในต.ส.ล.เมื่อวันศุกร์(23 ก.ค.)ที่ผ่านมา มีปริมาณการซื้อขายกระเตื้องขึ้นจากวันก่อนหน้าที่มีการซื้อขายกัน 120 สัญญา โดยเมื่อวันศุกร์มีปริมาณการซื้อขายกันทั้งสิ้น 135 สัญญา ขณะที่ราคาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกเดือนส่งมอบ
โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือน ก.ย. มีปริมาณการซื้อขาย 30 สัญญาราคาปิดที่ 49.90 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งล่าสุดที่ 48.7 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้หักล้างทั้งสิ้น 85 ข้อตกลง
ส่วนยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือน ต.ค.มีปริมาณการซื้อขาย 25 สัญญาราคาปิดที่ 49.30 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งก่อนที่ 48.70 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้ทำการหักล้างทั้งสิ้น 24 ข้อตกลง สำหรับยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือนพ.ย.มีปริมาณการซื้อขายมากสุดของวันที่ 35 สัญญา ราคาปิดที่ 49.20 บาทต่อกิโลกรัมจากราคาปิดครั้งก่อนที่ 49 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้หักล้างทั้งสิ้น 61 ข้อตกลง
ขณะที่นางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือน ธ.ค.มีปริมาณการซื้อขาย 25 สัญญาราคาปิดที่ 49.30 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งก่อนที่ 49.10 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้ทำการหักล้างทั้งสิ้น 172 ข้อตกลง และยางแผ่นรมควันชั้น 3 สัญญาส่งมอบเดือนม.ค.48 มีปริมาณการซื้อขาย 20 สัญญา ราคาปิดที่ 49.30 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปิดครั้งก่อนที่ 49 บาทต่อกิโลกรัม มีสัญญาที่ยังไม่ได้หักล้าง 117 ข้อตกลง
ด้านแหล่งข่าวนักวิเคราะห์ กล่าวว่า สาเหตุที่ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเพราะ นักเก็งกำไรส่วนใหญ่ต้องการหักล้างสัญญาที่ใกล้กำหนดส่งมอบ เพราะไม่ต้องการส่งมอบกันจริง โดยเฉพาะในเดือน ก.ย. ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายถึง 30 สัญญา ทั้งที่วันก่อนหน้าไม่มีการซื้อขาย ส่วนราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดโตคอมของญี่ปุ่น นอกจากนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ก็เริ่มกลับเข้ามาซื้อเพราะเห็นว่าราคาลดลงมาต่ำมากแล้ว
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-