ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(ต.ส.ล.)เผยผลจากการเข้าร่วมงานนิทรรศการตลาดอนุพันธ์แห่งเอเชียแปซิฟิก ณ ประเทศสิงคโปร์ ต่างชาติให้ความสนใจลงทุนในตลาดล่วงหน้าไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะการลงทุนในสินค้าข้าว แต่ต้องเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขาย เร่งสร้างระบบซื้อขายผ่านอินเตอร์เนต และ การเปิด Omnibus Account คาดการซื้อขายล่วงหน้า จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในวันที่ 28 ต.ค. ซื้อขายรวมสูงสุดถึง 429 สัญญา
นางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการเข้าร่วมงานนิทรรศการตลาดอนุพันธ์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ“Derivatives & Securities World ( DSW ) ” ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 19 - 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ประเทศสิงคโปร์ ว่าได้มีโอกาสเข้าพบปะพูดคุยกับผู้ค้ายางและผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกหลายแห่ง ซึ่งเป็นผู้ซื้อยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และเริ่มให้ความสนใจตลาดล่วงหน้าของไทยมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้พบปะกับผู้บริหารตลาดล่วงหน้าชั้นนำจากทั่วโลก อาทิ Chicago Board of Trade (CBOT), Chicago Mercantile Exchange, Eurex, Singapore Exchange (SGX), Tokyo International Financial Futures Exchange (TIFFE) ตลอดจนบริษัทที่ให้บริการด้านการซื้อขายล่วงหน้าและผู้จัดการกองทุนต่างๆ ทั้งนี้การซื้อขายข้าวถือเป็นจุดขายที่สำคัญ เพราะตลาดล่วงหน้าไทยถือเป็นตลาดล่วงหน้าข้าวสารแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก โดย ต.ส.ล.จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุน และ เพิ่มสภาพคล่องทางการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจูงใจและดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาด
“ การเข้าร่วมนิทรรศการระดับโลกครั้งนี้ของ ต.ส.ล. ในฐานะตลาดล่วงหน้าน้องใหม่ของโลกนั้น ได้ผลที่น่าพึงพอใจเกินความคาดหมาย เพราะต่างชาติให้ความสนใจตลาดสินค้าเกษตรของบ้านเรา ในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ส่วนการดึงต่างชาติให้มาลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าของไทย ยังจะต้องสร้างสภาพคล่องในการลงทุนให้มากขึ้นกว่านี้ โดยตลาดมีแผนจะพัฒนาระบบการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เนต ที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ต.ส.ล.กำลังเร่งการสร้างระบบ Omnibus Account ซึ่งเป็นบัญชีที่โบรกเกอร์ต่างประเทศ ส่งคำสั่งแทนให้ลูกค้าต่างประเทศของตนเข้ามาสู่ตลาดในรูปบัญชีรวม เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตามภายในสิ้นปีนี้ ต.ส.ล.มุ่งมั่นที่จะดึงดูดให้มีการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าได้ถึง 500 สัญญาต่อวันเป็นอย่างน้อย และ คาดว่าจะเร่งเพิ่มปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
นางนภาภรณ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า ตลาด ฯ กำลังเตรียมความพร้อมที่จะนำสินค้าใหม่ๆเพิ่มเข้าในตลาดฯ ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง น้ำยางข้นและข้าวนึ่ง โดยต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ อีกสักระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ต.ส.ล.เร่งทำการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มมากขึ้น โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันความเสี่ยงในตลาดล่วงหน้า ซึ่งมีทั้งกลุ่มองค์กรกลางที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร( ธกส.) ชมรมและสมาคมสินค้าเกษตรในจังหวัดต่างๆ กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งคือนักลงทุนทั่วไป ที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นในการเข้ามาทำกำไรในตลาดต่อไป
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-
นางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการเข้าร่วมงานนิทรรศการตลาดอนุพันธ์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ“Derivatives & Securities World ( DSW ) ” ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 19 - 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ประเทศสิงคโปร์ ว่าได้มีโอกาสเข้าพบปะพูดคุยกับผู้ค้ายางและผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกหลายแห่ง ซึ่งเป็นผู้ซื้อยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และเริ่มให้ความสนใจตลาดล่วงหน้าของไทยมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้พบปะกับผู้บริหารตลาดล่วงหน้าชั้นนำจากทั่วโลก อาทิ Chicago Board of Trade (CBOT), Chicago Mercantile Exchange, Eurex, Singapore Exchange (SGX), Tokyo International Financial Futures Exchange (TIFFE) ตลอดจนบริษัทที่ให้บริการด้านการซื้อขายล่วงหน้าและผู้จัดการกองทุนต่างๆ ทั้งนี้การซื้อขายข้าวถือเป็นจุดขายที่สำคัญ เพราะตลาดล่วงหน้าไทยถือเป็นตลาดล่วงหน้าข้าวสารแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก โดย ต.ส.ล.จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุน และ เพิ่มสภาพคล่องทางการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจูงใจและดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาด
“ การเข้าร่วมนิทรรศการระดับโลกครั้งนี้ของ ต.ส.ล. ในฐานะตลาดล่วงหน้าน้องใหม่ของโลกนั้น ได้ผลที่น่าพึงพอใจเกินความคาดหมาย เพราะต่างชาติให้ความสนใจตลาดสินค้าเกษตรของบ้านเรา ในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ส่วนการดึงต่างชาติให้มาลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าของไทย ยังจะต้องสร้างสภาพคล่องในการลงทุนให้มากขึ้นกว่านี้ โดยตลาดมีแผนจะพัฒนาระบบการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เนต ที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ต.ส.ล.กำลังเร่งการสร้างระบบ Omnibus Account ซึ่งเป็นบัญชีที่โบรกเกอร์ต่างประเทศ ส่งคำสั่งแทนให้ลูกค้าต่างประเทศของตนเข้ามาสู่ตลาดในรูปบัญชีรวม เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตามภายในสิ้นปีนี้ ต.ส.ล.มุ่งมั่นที่จะดึงดูดให้มีการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าได้ถึง 500 สัญญาต่อวันเป็นอย่างน้อย และ คาดว่าจะเร่งเพิ่มปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
นางนภาภรณ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า ตลาด ฯ กำลังเตรียมความพร้อมที่จะนำสินค้าใหม่ๆเพิ่มเข้าในตลาดฯ ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง น้ำยางข้นและข้าวนึ่ง โดยต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ อีกสักระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ต.ส.ล.เร่งทำการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มมากขึ้น โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันความเสี่ยงในตลาดล่วงหน้า ซึ่งมีทั้งกลุ่มองค์กรกลางที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร( ธกส.) ชมรมและสมาคมสินค้าเกษตรในจังหวัดต่างๆ กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งคือนักลงทุนทั่วไป ที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นในการเข้ามาทำกำไรในตลาดต่อไป
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-