ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ตสล.) ลงนามความร่วมมือด้านการพัฒนาตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตร กับตลาด Kansai Commodities Exchange (KEX) ประเทศญี่ปุ่น หวังผลักดันสภาพคล่องในตลาด เพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ผู้จัดการ ตสล. ย้ำเป็นตลาดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการซื้อขายกุ้งล่วงหน้า และเป็นตลาดที่มีการพัฒนาด้านสินค้าอย่างมาก และถือเป็นการสานต่อความสัมพันธ์ ภายหลังตสล.เคยเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของ KEX เมื่อครั้งไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น
ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ในฐานะประธานกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ต.ส.ล.) และ Mr.Makoto Iwamura ประธานกรรมการตลาด Kansai Commodities Exchange (KEX) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านต่างๆ ณ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โดยสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงอยู่ที่ การสร้างสภาพคล่อง ประสิทธิภาพ และ ความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของตลาดโดยการพัฒนาด้านความร่วมมือ ตลอดจนโอกาสทางธุรกิจใหม่ร่วมกัน นอกจากนั้น จะมีการสร้างกระบวนการในการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างสองตลาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการทำงานของตลาดจะมีความโปร่งใส เป็นธรรม ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของตลาดจะครอบคลุมถึง การออกแบบข้อตกลงล่วงหน้าสินค้าเกษตร การดำเนินงานด้านการตลาด วิธีการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และกำกับการซื้อขายในตลาด พร้อมทั้งขั้นตอนการซื้อขาย กฎหมายต่างๆ ของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำสินค้าตัวใหม่ๆเข้ามาซื้อขายในตลาด ตลอดจนข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการขยายธุรกรรมด้านการซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ทั้งสองตลาดยังจะมีการประชุม และการส่งพนักงานเข้ามาดำเนินกิจการต่างๆโดยตรงอีกด้วย
“ ตลาด Kansai Commodities Exchange หรือ KEX ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตร หรือ คอมโมดิตี้ เหมือนตลาดบ้านเรา โดยอยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของประเทศญี่ปุ่น เป็นตลาดล่วงหน้าที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่ง โดยตัวตลาดตั้งอยู่เมืองโอซาก้า เมืองท่าสำคัญของประเทศ ปริมาณการซื้อขายโดยรวมในปี 2544-2546 อยู่ที่ 2.90, 4.48 และ 3.44 ล้านสัญญา ตามลำดับ มีการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอนุพันธ์ของสินค้าเกษตรหลายต่อหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคากาแฟ ดัชนีราคาข้าวโพด ถั่วเหลืองชนิดนำเข้า ถั่วแดง น้ำตาลดิบ เส้นไหมดิบ ออฟชั่นของฟิวเจอร์ส น้ำตาลดิบ และกุ้งแช่แข็ง ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ตลาดไทยสนใจนำเข้ามาซื้อขายอยู่แล้ว และตลาด KEX ถือเป็นตลาดที่มีการพัฒนาสินค้าในตลาดหลากหลาย เช่นมีการนำดัชนีราคาและมีการซื้อขายออฟชั่นของฟิวเจอร์ส ดังนั้นการลงนามในครั้งนี้ จะช่วยในการพัฒนาสินค้าที่ตลาดจะนำมาซื้อขาย รวมถึงกระบวนการรับ และส่งมอบสินค้า การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น” นางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย กล่าว
นางนภาภรณ์ ยังย้ำอีกว่า แม้ตลาดล่วงหน้าไทยเป็นตลาดน้องใหม่ของโลก แต่ก็น่ายินดีที่มีตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ ให้ความสนใจเข้ามาขอเป็นพันธมิตรกับเรามากมาย เนื่องจากมองเห็นว่าไทยเป็นตลาดของประเทศผู้ผลิต และผู้ส่งออกชั้นนำของโลก ตลาดเราจึงมีศักยภาพที่สูงมากที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ชี้นำราคาสินค้าเกษตร ส่วนตลาด KEX นั้น เราได้เคยไปชมการดำเนินงานและพูดคุยเบื้องต้นมาแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม การลงนามในครั้งนี้ เป็นการยืนยันความสัมพันธ์และความร่วมมือที่จะได้สานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนการซื้อขายกุ้งล่วงหน้านั้น ทาง KEX ก็ได้ให้คำแนะนำในเรื่องของขนาดของสัญญาที่จะนำเข้ามาซื้อขาย ตลอดจนกระบวนการรับมอบ ส่งมอบ เนื่องจากเป็นของสด และเป็นข้อที่ตลาดไทยให้ความกังวลใจมาก คิดว่าการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและศึกษาการดำเนินงานร่วมกัน จะช่วยให้ตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตรได้มีการเติบโต และพัฒนา เป็นตลาดที่มีความสำคัญในฐานะเป็นผู้กำหนดราคาล่วงหน้า และเป็นแหล่งอ้างอิงราคาได้ในที่สุด
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-
ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ในฐานะประธานกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ต.ส.ล.) และ Mr.Makoto Iwamura ประธานกรรมการตลาด Kansai Commodities Exchange (KEX) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านต่างๆ ณ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โดยสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงอยู่ที่ การสร้างสภาพคล่อง ประสิทธิภาพ และ ความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของตลาดโดยการพัฒนาด้านความร่วมมือ ตลอดจนโอกาสทางธุรกิจใหม่ร่วมกัน นอกจากนั้น จะมีการสร้างกระบวนการในการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างสองตลาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการทำงานของตลาดจะมีความโปร่งใส เป็นธรรม ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของตลาดจะครอบคลุมถึง การออกแบบข้อตกลงล่วงหน้าสินค้าเกษตร การดำเนินงานด้านการตลาด วิธีการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และกำกับการซื้อขายในตลาด พร้อมทั้งขั้นตอนการซื้อขาย กฎหมายต่างๆ ของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำสินค้าตัวใหม่ๆเข้ามาซื้อขายในตลาด ตลอดจนข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการขยายธุรกรรมด้านการซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ทั้งสองตลาดยังจะมีการประชุม และการส่งพนักงานเข้ามาดำเนินกิจการต่างๆโดยตรงอีกด้วย
“ ตลาด Kansai Commodities Exchange หรือ KEX ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตร หรือ คอมโมดิตี้ เหมือนตลาดบ้านเรา โดยอยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของประเทศญี่ปุ่น เป็นตลาดล่วงหน้าที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่ง โดยตัวตลาดตั้งอยู่เมืองโอซาก้า เมืองท่าสำคัญของประเทศ ปริมาณการซื้อขายโดยรวมในปี 2544-2546 อยู่ที่ 2.90, 4.48 และ 3.44 ล้านสัญญา ตามลำดับ มีการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอนุพันธ์ของสินค้าเกษตรหลายต่อหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคากาแฟ ดัชนีราคาข้าวโพด ถั่วเหลืองชนิดนำเข้า ถั่วแดง น้ำตาลดิบ เส้นไหมดิบ ออฟชั่นของฟิวเจอร์ส น้ำตาลดิบ และกุ้งแช่แข็ง ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ตลาดไทยสนใจนำเข้ามาซื้อขายอยู่แล้ว และตลาด KEX ถือเป็นตลาดที่มีการพัฒนาสินค้าในตลาดหลากหลาย เช่นมีการนำดัชนีราคาและมีการซื้อขายออฟชั่นของฟิวเจอร์ส ดังนั้นการลงนามในครั้งนี้ จะช่วยในการพัฒนาสินค้าที่ตลาดจะนำมาซื้อขาย รวมถึงกระบวนการรับ และส่งมอบสินค้า การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น” นางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย กล่าว
นางนภาภรณ์ ยังย้ำอีกว่า แม้ตลาดล่วงหน้าไทยเป็นตลาดน้องใหม่ของโลก แต่ก็น่ายินดีที่มีตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ ให้ความสนใจเข้ามาขอเป็นพันธมิตรกับเรามากมาย เนื่องจากมองเห็นว่าไทยเป็นตลาดของประเทศผู้ผลิต และผู้ส่งออกชั้นนำของโลก ตลาดเราจึงมีศักยภาพที่สูงมากที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ชี้นำราคาสินค้าเกษตร ส่วนตลาด KEX นั้น เราได้เคยไปชมการดำเนินงานและพูดคุยเบื้องต้นมาแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม การลงนามในครั้งนี้ เป็นการยืนยันความสัมพันธ์และความร่วมมือที่จะได้สานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนการซื้อขายกุ้งล่วงหน้านั้น ทาง KEX ก็ได้ให้คำแนะนำในเรื่องของขนาดของสัญญาที่จะนำเข้ามาซื้อขาย ตลอดจนกระบวนการรับมอบ ส่งมอบ เนื่องจากเป็นของสด และเป็นข้อที่ตลาดไทยให้ความกังวลใจมาก คิดว่าการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและศึกษาการดำเนินงานร่วมกัน จะช่วยให้ตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตรได้มีการเติบโต และพัฒนา เป็นตลาดที่มีความสำคัญในฐานะเป็นผู้กำหนดราคาล่วงหน้า และเป็นแหล่งอ้างอิงราคาได้ในที่สุด
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-