นั้นถูกต้อง โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับแจ้งจากสมาชิกผู้ซื้อเป็นอย่างอื่นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่า
เอกสารที่แก้ไขนั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้อง และให้ดุลยพินิจของสำนักหักบัญชีเป็นที่สุด ให้
สำนักหักบัญชีออกใบแจ้งหนี้ (Debit Note) ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อภายในเวลา 16.00 น. ของวัน
ทำการที่สอง (2) นับแต่วันที่สำนักหักบัญชีได้รับเอกสารตาม (4)
ในกรณีตาม (5) ข้างต้น สมาชิกผู้ขายจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ตลาด
ในอัตราร้อยละ 0.1 ของมูลค่าอ้างอิงที่ตลาดประกาศกำหนดของข้อตกลงต่อวัน นับตั้งแต่
วันที่สมาชิกผู้ซื้อแจ้งให้สมาชิกผู้ขายแก้ไขเอกสารตาม (3) จนถึงวันที่สมาชิกผู้ซื้อและ
สำนักหักบัญชีได้รับเอกสารที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวจากสมาชิกผู้ขาย
(6) ในกรณีที่มีการล่าช้าเกิดขึ้นเนื่องจากการแก้ไขเอกสารตาม (5) จนทำให้
กำหนดวันนำสินค้าออกจากคลังสินค้าต้องล่าช้าออกไปกว่าวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัด
จากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ สำนักหักบัญชีอาจกำหนดวันนำสินค้าออกจากคลังสินค้าใหม่
ก็ได้ และผู้ขายจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อ
สมาชิกผู้ซื้อ และคลังสินค้า จากการที่ต้องเลื่อนกำหนดวันนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
แต่หากสำนักหักบัญชีเห็นว่าเอกสารที่แก้ไขตาม (5) ยังไม่ถูกต้องให้ถือ
ว่าสมาชิกผู้ขายเป็นผู้ผิดนัดส่งมอบสินค้าและต้องชำระค่าปรับให้แก่ตลาดตามอัตราที่กำหนด
ในข้อ 25 (3) นอกเหนือจากค่าปรับตาม (5) ข้างต้น
ข้อ 20. การชำระราคาสินค้าและการแลกเปลี่ยนเอกสาร
(1) สมาชิกผู้ซื้อต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อทำการชำระราคาสินค้าตามจำนวน
ที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ให้แก่สำนักหักบัญชีภายในเวลา 12.00 น. ของวันทำการที่สี่ (4)
หลังจากวันที่ได้รับใบแจ้งหนี้จากสำนักหักบัญชี ตามข้อ 19 (3) หรือ (5) แล้วแต่กรณี โดย
ชำระเป็นเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคารสั่งจ่ายผู้ขาย
(2) เมื่อสำนักหักบัญชีได้รับเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคารของผู้ซื้อ
จากสมาชิกผู้ซื้อแล้ว สำนักหักบัญชีจะทำการส่งมอบเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคาร
ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายผ่านสมาชิกผู้ขาย และส่งมอบเอกสารตามที่ได้รับจากสมาชิกผู้ขาย
ตาม ข้อ 19 (1) หรือ (4) แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ซื้อผ่านสมาชิกผู้ซื้อ ภายในเวลา 17.00 น.
ของวันทำการถัดไป หลังจากนั้น ให้สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อลงนามในหนังสือยืนยัน
การส่งมอบสินค้า การแลกเปลี่ยนเอกสารและการชำระราคาตามแบบที่ตลาดกำหนด
เพื่อยืนยันการส่งมอบสินค้า การแลกเปลี่ยนเอกสารและการชำระราคาตามข้อบังคับนี้ให้แก่
สำนักหักบัญชี
(3) เมื่อได้มีการลงนามในหนังสือยืนยันการส่งมอบสินค้า การแลกเปลี่ยน
เอกสาร และการชำระราคาตาม (2) แล้ว หากผู้ขายและผู้ซื้อไม่ได้มีการเรียกร้องค่าเสียหาย
อันเกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องของอีกฝ่ายหนึ่งโดยผ่านสมาชิกผู้ขายหรือสมาชิก
ผู้ซื้อมายังสำนักหักบัญชีภายในสอง (2) วันทำการหลังจากได้รับเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงิน
ธนาคารและเอกสารการส่งมอบตาม (2) ให้ถือว่าผู้ขายและผู้ซื้อยอมรับการส่งมอบ-รับมอบ
รวมทั้งการชำระราคาและกระบวนการส่งมอบ-รับมอบสินค้าเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และ
ให้ถือว่าผู้ขายและผู้ซื้อสละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งนี้ หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของตลาด สำนักหักบัญชี สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อตามข้อบังคับนี้ให้เป็นอันสิ้นสุดลง
พร้อมกัน
(4) หากสมาชิกผู้ซื้อไม่ดำเนินการให้ผู้ซื้อทำการชำระราคาสินค้าให้ถูกต้อง
ตาม (1) ให้ถือว่าสมาชิกผู้ซื้อเป็นผู้ผิดนัดการรับมอบสินค้า และให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับ
การผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบสินค้าตามข้อ 25 มาใช้บังคับ และสมาชิกผู้ซื้อจะต้อง
รับผิดชอบในบรรดาค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ขาย สมาชิกผู้ขาย และ
คลังสินค้าอันเนื่องมาจากการผิดนัดดังกล่าว
(5) สำนักหักบัญชีจะไม่รับผิดชอบต่อการส่งมอบเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงิน
ธนาคารให้แก่ผู้ขายโดยผ่านสมาชิกผู้ขายเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับเอกสารที่ส่งมอบโดย
สมาชิกผู้ขายให้แก่สำนักหักบัญชี หากปรากฏแก่สำนักหักบัญชีว่าเป็นเอกสารอันควรเชื่อโดย
สุจริตว่าถูกต้อง
ข้อ 21. การนำสินค้าออกจากคลังสินค้ารับรองโดยผู้ซื้อ
(1) เมื่อผู้ขายได้รับชำระราคาสินค้า และผู้ซื้อได้รับมอบต้นฉบับเอกสาร
ต่างๆ ตามข้อ 20 (2) เรียบร้อยแล้ว สมาชิกผู้ซื้อจะต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อนำสินค้าออกจาก
คลังสินค้าภายในวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบและชำระ
ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าตามที่ระบุไว้ในข้อ 22 เว้นแต่จะได้ตกลงกับ
คลังสินค้าเป็นอย่างอื่น โดยการดำเนินการดังกล่าวให้ผู้ซื้อตกลงกับคลังสินค้าเป็นการ
ล่วงหน้าตามเวลาที่สมควรเพื่อกำหนดเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ
ภายในวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ หรือ ข้อ 19 (6)
แล้วแต่กรณี
(ก) วันและเวลาที่จะเริ่มนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
(ข) วิธีการรับมอบสินค้า
(ค) แผนการนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
(ง) สิ่งอำนวยความสะดวกที่คลังสินค้าต้องจัดหา
(จ) รายการอื่นๆ ตามที่คลังสินค้ากำหนด
(2) คลังสินค้าจะต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อนำสินค้าออกจากคลังสินค้าโดยไม่
ชักช้า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่นำสินค้าออกจากคลังสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม (1)
ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าใช้จ่ายให้แก่คลังสินค้าตามที่คลังสินค้ากำหนด เว้นแต่กรณีที่การล่าช้า
ในการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ซื้อ
ข้อ 22. ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบต่อคลังสินค้า
ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรับมอบสินค้าที่คลังสินค้าเรียกเก็บ
ดังต่อไปนี้ ในทุกขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายนั้นๆ เกิดขึ้น
(1) ค่าตรวจสอบคุณภาพและน้ำหนักสินค้าในการนำสินค้าออกจาก
คลังสินค้า
(2) ค่าชั่งน้ำหนักสินค้าในการนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
(3) ค่าขนสินค้าออกจากคลังสินค้า
(4) ค่าจัดเก็บและดูแลสินค้าเป็นจำนวนเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าจัดเก็บสินค้า
สำหรับช่วงการส่งมอบ
(5) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่ตลาดกำหนด
ข้อ 23. การตรวจสอบสินค้าออกจากคลังสินค้ารับรอง
(1) หลังจากที่ผู้ซื้อได้ติดต่อนัดหมายกับคลังสินค้าเกี่ยวกับแผนการนำ
สินค้าออกจากคลังสินค้าแล้ว ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เลือกผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากรายชื่อ
ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ตลาดรับรอง โดยให้ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าทำการตรวจสอบ
น้ำหนักและคุณภาพของสินค้า ทั้งนี้ ผู้ซื้ออาจตกลงกับคลังสินค้าให้กำหนดผู้ตรวจสอบ
คุณภาพสินค้าจากบุคคลที่มิได้เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ตลาดรับรอง ให้เป็น
ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก็ได้
(2) หากผลการตรวจสอบคุณภาพและน้ำหนักของสินค้าไม่ถูกต้องตาม
ข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่บรรจุในกระสอบป่านใหม่
(สำหรับกรณีที่ผู้ขายส่งมอบโดยวิธีบรรจุในกระสอบ) ให้ผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า
ทั้งหมด แต่หากปรากฏว่าคุณภาพและน้ำหนักของสินค้าถูกต้องตามข้อกำหนดแล้ว ให้
ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าออกใบรับรองคุณภาพและน้ำหนักของสินค้า (Certificate of
Quality and Weight) ทั้งนี้ ให้ผลการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเป็นที่สุด
ข้อ 24. กรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยของสินค้า
(1) ความเสี่ยงภัยต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าให้ตกเป็นของผู้ขาย
หรือผู้ซื้อ ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีของผู้ขายให้ความเสี่ยงภัยสิ้นสุดลงเมื่อผู้ขายได้นำ
สินค้าเข้าคลังสินค้าและคลังสินค้าได้ออกใบรับของคลังสินค้าให้แก่ผู้ขายแล้ว
(ข) ในกรณีของผู้ซื้อให้ความเสี่ยงภัยตกเป็นของผู้ซื้อทันทีเมื่อ
ผู้ซื้อได้รับมอบสินค้าจากคลังสินค้า ทั้งนี้ การนำสินค้าออกจากคลังสินค้าจะต้องเสร็จสิ้น
ภายในวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ
(2) กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ส่งมอบจะโอนไปยังผู้ซื้อต่อเมื่อผู้ขายได้รับชำระ
ราคาสินค้าเป็นเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคารจากผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วตามข้อ 20 (2)
(3) ให้คลังสินค้ารับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บไว้ในคลังสินค้า จนกว่าผู้ซื้อ
จะนำสินค้าออกจากคลังสินค้า ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบ
กำหนดส่งมอบ หากมีความเสียหายเกี่ยวกับคุณภาพและน้ำหนักของสินค้าในระหว่าง
ระยะเวลาการจัดเก็บในคลังสินค้า คลังสินค้าต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายโดยจัดหา
สินค้าให้กับผู้ซื้อให้ครบทั้งจำนวน
ข้อ 25. การผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบสินค้า
(1) ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นเหตุของการผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบ
สินค้า
(ก) การที่สมาชิกผู้ขายไม่สามารถดำเนินการให้ผู้ขายนำสินค้าเข้า
คลังสินค้าภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ หรือ
(ข) การที่สมาชิกผู้ขายไม่ส่งมอบเอกสารตามข้อ 19 (1) หรือไม่สามารถ
ดำเนินการให้ผู้ขายทำการแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องตามเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนดตามที่
ระบุในข้อ 19 (6) หรือ
(ค) การที่สมาชิกผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการให้ผู้ซื้อทำการชำระราคา
สินค้า ตามที่ระบุในข้อ 20 (1) หรือ
(ง) กรณีอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการตลาดกำหนด
(2) หากเกิดกรณีการผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบสินค้า ให้สมาชิกผู้ขาย
หรือสมาชิกผู้ซื้อดำเนินการให้มีการระงับข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29
(3) สมาชิกฝ่ายที่เป็นผู้ผิดนัดต้องดำเนินการให้มีการชำระค่าปรับให้แก่
ตลาด ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าอ้างอิงที่ตลาดประกาศกำหนดของข้อตกลง แต่ต้องไม่
น้อยกว่า 12,000 บาทต่อหนึ่งข้อตกลง นอกจากนี้ ตลาดมีอำนาจกำหนดมาตรการอื่นๆ
เพื่อบังคับกับสมาชิกฝ่ายที่ผิดนัดตามที่ตลาดเห็นสมควร
ข้อ 26. การคืนเงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ และ
หลักประกันการส่งมอบ-รับมอบ
(1) เมื่อสิ้นวันซื้อขายสุดท้ายสำหรับข้อตกลงใดๆ ให้ถือว่าภาระผูกพันของ
เงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบตามข้อตกลงนั้นๆ ได้สิ้นสุดลง และเมื่อสมาชิก
ผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อได้ดำเนินการตามข้อ 11 วรรคแรกแล้วให้ถือว่าสำนักหักบัญชีได้คืน
เงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบให้แก่สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อแล้ว
หากปรากฏว่ายังมีเงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบคงเหลือ
อยู่ สำนักหักบัญชีจะดำเนินการคืนเงินส่วนที่เหลือนั้นให้แก่สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้
ซื้อนั้นตามข้อบังคับคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการวางหรือรักษาเงินประกัน การปรับฐานะบัญชีเงินประกัน การถอน
เงินประกัน และการผิดนัดชำระเงินประกัน พ.ศ. 2547 หรือที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
(2) สำนักหักบัญชีจะคืนหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบโดยไม่มีดอกผล
หลังจากหักค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายที่สำนักหักบัญชีมีอำนาจหักได้ตามข้อบังคับ
นี้ให้แก่สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ในวันทำการถัดไปหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาของการยื่นข้อเรียกร้อง
ค่าเสียหายตามข้อ 20 (3)
(ข) หากมีการเรียกร้องค่าเสียหายโดยสมาชิกผู้ขายหรือสมาชิกผู้ซื้อ
และสำนักหักบัญชีได้รับคำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่เป็นที่สุดตาม
ข้อ 29 (2) หรือคำชี้ขาดข้อพิพาทตามข้อ 30 แล้ว การคืนหลักประกันการส่งมอบ -รับมอบ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่ตลาดกำหนด
(ค) ในวันทำการถัดจากวันที่ได้รับคำบอกกล่าวการส่งมอบโดยทางเลือก
อื่นจากสมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อ
(ง) ในวันทำการถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากสมาชิก
ผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อว่าไม่ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ต่อกัน
ข้อ 27. ความรับผิดของตลาด
ในการส่งมอบ-รับมอบตามข้อบังคับนี้ ตลาด สำนักหักบัญชี กรรมการ
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของตลาดมีหน้าที่เพื่อให้มีการ
ดำเนินการให้ครบถ้วนตามข้อบังคับนี้ และไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ตลาดจะไม่รับผิดชอบต่อ
การกระทำไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ การฉ้อฉล หรือการผิดนัดใดๆ ของผู้ขาย ผู้
ซื้อหรือสมาชิกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลอื่นใดที่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการใด ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการส่งมอบหรือรับมอบสินค้าภายใต้ข้อบังคับนี้
ข้อ 28. เหตุสุดวิสัย
ในกรณีที่เกิดอุปสรรคในการส่งมอบ-รับมอบ เนื่องจากเหตุสุดวิสัย (Force
Majeure) สมาชิกผู้ขายหรือสมาชิกผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี จะต้องแจ้งให้ตลาดทราบโดยทันที
พร้อมทั้งแจ้งยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทำการถัดไป หากตลาดมีความเห็นว่า
มีเหตุสุดวิสัยอันเป็นอุปสรรคในการส่งมอบ-รับมอบเกิดขึ้นจริง คณะกรรมการตลาดอาจ
พิจารณากำหนดมาตรการในการแก้ไขอุปสรรคนั้นตามที่เห็นสมควร เช่น ขยายเวลาใน
การส่งมอบ-รับมอบ หรือให้นำสินค้าอื่นที่มีชนิด และคุณภาพเท่าเทียมกันหรือดีกว่ามา
ส่งมอบแทน (Alternative Facilities) หรือให้ชดใช้ความเสียหายตามส่วนต่างของราคา
(Cash Settlement) ตามวิธีการที่ตลาดกำหนด
ทั้งนี้ หากสมาชิกผู้ขาย สมาชิกผู้ซื้อ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตาม
ข้อบังคับนี้ อันเป็นเหตุจากเหตุสุดวิสัย ตลาดอาจพิจารณายกเว้นบทลงโทษ และค่าปรับ
ตามความเหมาะสม
หากเหตุสุดวิสัยดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานโดยไม่อาจแก้ไขอุปสรรค
นั้นได้ แต่ไม่เกินสาม (3) เดือนนับแต่วันที่กำหนดให้แจ้งความประสงค์ส่งมอบ-รับมอบ
คณะกรรมการตลาดอาจพิจารณากำหนดวิธีการชดใช้ความเสียหายตามส่วนต่างของราคา
(Cash Settlement) ดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 29. การระงับข้อพิพาท
(1) ในกรณีที่มีข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับการส่งมอบ-รับมอบสินค้า รวมถึงการ
เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องของผู้ขาย ผู้ซื้อ หรือ
สมาชิกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามข้อบังคับนี้ ให้นำข้อพิพาทดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการ
หรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยเบื้องต้น
(2) หากผู้ขาย ผู้ซื้อ สมาชิกผู้ขาย หรือสมาชิกผู้ซื้อสามารถตกลงตาม
คำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ให้ความตกลงดังกล่าวเป็นที่สุด
(3) ผู้ขาย ผู้ซื้อ สมาชิกผู้ขาย หรือสมาชิกผู้ซื้อที่ไม่สามารถตกลงตาม
คำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ อาจยื่นคำร้องต่อตลาดหรือสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อขอให้มีการชี้ขาดข้อพิพาทตาม
พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542
ข้อ 30. การปฏิบัติตามคำไกล่เกลี่ยและคำชี้ขาด
เมื่อมีคำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอันเป็นที่สุด หรือ
คำชี้ขาดข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 แล้ว ให้
คู่กรณีผู้ที่มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามที่ได้ระบุไว้ในคำไกล่เกลี่ยหรือคำชี้ขาดนั้น
แจ้งให้สำนักหักบัญชีชำระค่าเสียหายจากหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบของคู่กรณี
ฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามคำชี้ขาด ในกรณีที่มีหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบคงเหลือ
ภายหลังจากหักค่าปรับ ค่าใช้จ่ายของตลาด และชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแล้ว ให้คืน
แก่คู่กรณีฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หากหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบไม่เพียงพอที่จะ
ชดใช้ค่าเสียหายตามคำชี้ขาด ให้คู่กรณีฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายรับผิดชอบค่าเสียหายให้
ครบตามจำนวน
ข้อ 31. ให้ผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยรักษาการ
ตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548
(ลงนาม) สุวรรณ วลัยเสถียร
(นายสุวรรณ วลัยเสถียร)
ประธานกรรมการ
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-
เอกสารที่แก้ไขนั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้อง และให้ดุลยพินิจของสำนักหักบัญชีเป็นที่สุด ให้
สำนักหักบัญชีออกใบแจ้งหนี้ (Debit Note) ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อภายในเวลา 16.00 น. ของวัน
ทำการที่สอง (2) นับแต่วันที่สำนักหักบัญชีได้รับเอกสารตาม (4)
ในกรณีตาม (5) ข้างต้น สมาชิกผู้ขายจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ตลาด
ในอัตราร้อยละ 0.1 ของมูลค่าอ้างอิงที่ตลาดประกาศกำหนดของข้อตกลงต่อวัน นับตั้งแต่
วันที่สมาชิกผู้ซื้อแจ้งให้สมาชิกผู้ขายแก้ไขเอกสารตาม (3) จนถึงวันที่สมาชิกผู้ซื้อและ
สำนักหักบัญชีได้รับเอกสารที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวจากสมาชิกผู้ขาย
(6) ในกรณีที่มีการล่าช้าเกิดขึ้นเนื่องจากการแก้ไขเอกสารตาม (5) จนทำให้
กำหนดวันนำสินค้าออกจากคลังสินค้าต้องล่าช้าออกไปกว่าวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัด
จากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ สำนักหักบัญชีอาจกำหนดวันนำสินค้าออกจากคลังสินค้าใหม่
ก็ได้ และผู้ขายจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อ
สมาชิกผู้ซื้อ และคลังสินค้า จากการที่ต้องเลื่อนกำหนดวันนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
แต่หากสำนักหักบัญชีเห็นว่าเอกสารที่แก้ไขตาม (5) ยังไม่ถูกต้องให้ถือ
ว่าสมาชิกผู้ขายเป็นผู้ผิดนัดส่งมอบสินค้าและต้องชำระค่าปรับให้แก่ตลาดตามอัตราที่กำหนด
ในข้อ 25 (3) นอกเหนือจากค่าปรับตาม (5) ข้างต้น
ข้อ 20. การชำระราคาสินค้าและการแลกเปลี่ยนเอกสาร
(1) สมาชิกผู้ซื้อต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อทำการชำระราคาสินค้าตามจำนวน
ที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ให้แก่สำนักหักบัญชีภายในเวลา 12.00 น. ของวันทำการที่สี่ (4)
หลังจากวันที่ได้รับใบแจ้งหนี้จากสำนักหักบัญชี ตามข้อ 19 (3) หรือ (5) แล้วแต่กรณี โดย
ชำระเป็นเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคารสั่งจ่ายผู้ขาย
(2) เมื่อสำนักหักบัญชีได้รับเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคารของผู้ซื้อ
จากสมาชิกผู้ซื้อแล้ว สำนักหักบัญชีจะทำการส่งมอบเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคาร
ดังกล่าวให้แก่ผู้ขายผ่านสมาชิกผู้ขาย และส่งมอบเอกสารตามที่ได้รับจากสมาชิกผู้ขาย
ตาม ข้อ 19 (1) หรือ (4) แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ซื้อผ่านสมาชิกผู้ซื้อ ภายในเวลา 17.00 น.
ของวันทำการถัดไป หลังจากนั้น ให้สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อลงนามในหนังสือยืนยัน
การส่งมอบสินค้า การแลกเปลี่ยนเอกสารและการชำระราคาตามแบบที่ตลาดกำหนด
เพื่อยืนยันการส่งมอบสินค้า การแลกเปลี่ยนเอกสารและการชำระราคาตามข้อบังคับนี้ให้แก่
สำนักหักบัญชี
(3) เมื่อได้มีการลงนามในหนังสือยืนยันการส่งมอบสินค้า การแลกเปลี่ยน
เอกสาร และการชำระราคาตาม (2) แล้ว หากผู้ขายและผู้ซื้อไม่ได้มีการเรียกร้องค่าเสียหาย
อันเกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องของอีกฝ่ายหนึ่งโดยผ่านสมาชิกผู้ขายหรือสมาชิก
ผู้ซื้อมายังสำนักหักบัญชีภายในสอง (2) วันทำการหลังจากได้รับเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงิน
ธนาคารและเอกสารการส่งมอบตาม (2) ให้ถือว่าผู้ขายและผู้ซื้อยอมรับการส่งมอบ-รับมอบ
รวมทั้งการชำระราคาและกระบวนการส่งมอบ-รับมอบสินค้าเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และ
ให้ถือว่าผู้ขายและผู้ซื้อสละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งนี้ หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของตลาด สำนักหักบัญชี สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อตามข้อบังคับนี้ให้เป็นอันสิ้นสุดลง
พร้อมกัน
(4) หากสมาชิกผู้ซื้อไม่ดำเนินการให้ผู้ซื้อทำการชำระราคาสินค้าให้ถูกต้อง
ตาม (1) ให้ถือว่าสมาชิกผู้ซื้อเป็นผู้ผิดนัดการรับมอบสินค้า และให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับ
การผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบสินค้าตามข้อ 25 มาใช้บังคับ และสมาชิกผู้ซื้อจะต้อง
รับผิดชอบในบรรดาค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ขาย สมาชิกผู้ขาย และ
คลังสินค้าอันเนื่องมาจากการผิดนัดดังกล่าว
(5) สำนักหักบัญชีจะไม่รับผิดชอบต่อการส่งมอบเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงิน
ธนาคารให้แก่ผู้ขายโดยผ่านสมาชิกผู้ขายเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับเอกสารที่ส่งมอบโดย
สมาชิกผู้ขายให้แก่สำนักหักบัญชี หากปรากฏแก่สำนักหักบัญชีว่าเป็นเอกสารอันควรเชื่อโดย
สุจริตว่าถูกต้อง
ข้อ 21. การนำสินค้าออกจากคลังสินค้ารับรองโดยผู้ซื้อ
(1) เมื่อผู้ขายได้รับชำระราคาสินค้า และผู้ซื้อได้รับมอบต้นฉบับเอกสาร
ต่างๆ ตามข้อ 20 (2) เรียบร้อยแล้ว สมาชิกผู้ซื้อจะต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อนำสินค้าออกจาก
คลังสินค้าภายในวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบและชำระ
ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าตามที่ระบุไว้ในข้อ 22 เว้นแต่จะได้ตกลงกับ
คลังสินค้าเป็นอย่างอื่น โดยการดำเนินการดังกล่าวให้ผู้ซื้อตกลงกับคลังสินค้าเป็นการ
ล่วงหน้าตามเวลาที่สมควรเพื่อกำหนดเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ
ภายในวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ หรือ ข้อ 19 (6)
แล้วแต่กรณี
(ก) วันและเวลาที่จะเริ่มนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
(ข) วิธีการรับมอบสินค้า
(ค) แผนการนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
(ง) สิ่งอำนวยความสะดวกที่คลังสินค้าต้องจัดหา
(จ) รายการอื่นๆ ตามที่คลังสินค้ากำหนด
(2) คลังสินค้าจะต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อนำสินค้าออกจากคลังสินค้าโดยไม่
ชักช้า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่นำสินค้าออกจากคลังสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม (1)
ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าใช้จ่ายให้แก่คลังสินค้าตามที่คลังสินค้ากำหนด เว้นแต่กรณีที่การล่าช้า
ในการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ซื้อ
ข้อ 22. ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบต่อคลังสินค้า
ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรับมอบสินค้าที่คลังสินค้าเรียกเก็บ
ดังต่อไปนี้ ในทุกขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายนั้นๆ เกิดขึ้น
(1) ค่าตรวจสอบคุณภาพและน้ำหนักสินค้าในการนำสินค้าออกจาก
คลังสินค้า
(2) ค่าชั่งน้ำหนักสินค้าในการนำสินค้าออกจากคลังสินค้า
(3) ค่าขนสินค้าออกจากคลังสินค้า
(4) ค่าจัดเก็บและดูแลสินค้าเป็นจำนวนเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าจัดเก็บสินค้า
สำหรับช่วงการส่งมอบ
(5) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่ตลาดกำหนด
ข้อ 23. การตรวจสอบสินค้าออกจากคลังสินค้ารับรอง
(1) หลังจากที่ผู้ซื้อได้ติดต่อนัดหมายกับคลังสินค้าเกี่ยวกับแผนการนำ
สินค้าออกจากคลังสินค้าแล้ว ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เลือกผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากรายชื่อ
ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ตลาดรับรอง โดยให้ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าทำการตรวจสอบ
น้ำหนักและคุณภาพของสินค้า ทั้งนี้ ผู้ซื้ออาจตกลงกับคลังสินค้าให้กำหนดผู้ตรวจสอบ
คุณภาพสินค้าจากบุคคลที่มิได้เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ตลาดรับรอง ให้เป็น
ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก็ได้
(2) หากผลการตรวจสอบคุณภาพและน้ำหนักของสินค้าไม่ถูกต้องตาม
ข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่บรรจุในกระสอบป่านใหม่
(สำหรับกรณีที่ผู้ขายส่งมอบโดยวิธีบรรจุในกระสอบ) ให้ผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า
ทั้งหมด แต่หากปรากฏว่าคุณภาพและน้ำหนักของสินค้าถูกต้องตามข้อกำหนดแล้ว ให้
ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าออกใบรับรองคุณภาพและน้ำหนักของสินค้า (Certificate of
Quality and Weight) ทั้งนี้ ให้ผลการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเป็นที่สุด
ข้อ 24. กรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยของสินค้า
(1) ความเสี่ยงภัยต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าให้ตกเป็นของผู้ขาย
หรือผู้ซื้อ ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีของผู้ขายให้ความเสี่ยงภัยสิ้นสุดลงเมื่อผู้ขายได้นำ
สินค้าเข้าคลังสินค้าและคลังสินค้าได้ออกใบรับของคลังสินค้าให้แก่ผู้ขายแล้ว
(ข) ในกรณีของผู้ซื้อให้ความเสี่ยงภัยตกเป็นของผู้ซื้อทันทีเมื่อ
ผู้ซื้อได้รับมอบสินค้าจากคลังสินค้า ทั้งนี้ การนำสินค้าออกจากคลังสินค้าจะต้องเสร็จสิ้น
ภายในวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ
(2) กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ส่งมอบจะโอนไปยังผู้ซื้อต่อเมื่อผู้ขายได้รับชำระ
ราคาสินค้าเป็นเช็คธนาคารหรือตั๋วแลกเงินธนาคารจากผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วตามข้อ 20 (2)
(3) ให้คลังสินค้ารับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บไว้ในคลังสินค้า จนกว่าผู้ซื้อ
จะนำสินค้าออกจากคลังสินค้า ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ยี่สิบ (20) ของเดือนถัดจากเดือนที่ครบ
กำหนดส่งมอบ หากมีความเสียหายเกี่ยวกับคุณภาพและน้ำหนักของสินค้าในระหว่าง
ระยะเวลาการจัดเก็บในคลังสินค้า คลังสินค้าต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายโดยจัดหา
สินค้าให้กับผู้ซื้อให้ครบทั้งจำนวน
ข้อ 25. การผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบสินค้า
(1) ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นเหตุของการผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบ
สินค้า
(ก) การที่สมาชิกผู้ขายไม่สามารถดำเนินการให้ผู้ขายนำสินค้าเข้า
คลังสินค้าภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ หรือ
(ข) การที่สมาชิกผู้ขายไม่ส่งมอบเอกสารตามข้อ 19 (1) หรือไม่สามารถ
ดำเนินการให้ผู้ขายทำการแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องตามเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนดตามที่
ระบุในข้อ 19 (6) หรือ
(ค) การที่สมาชิกผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการให้ผู้ซื้อทำการชำระราคา
สินค้า ตามที่ระบุในข้อ 20 (1) หรือ
(ง) กรณีอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการตลาดกำหนด
(2) หากเกิดกรณีการผิดนัดการส่งมอบ-รับมอบสินค้า ให้สมาชิกผู้ขาย
หรือสมาชิกผู้ซื้อดำเนินการให้มีการระงับข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29
(3) สมาชิกฝ่ายที่เป็นผู้ผิดนัดต้องดำเนินการให้มีการชำระค่าปรับให้แก่
ตลาด ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าอ้างอิงที่ตลาดประกาศกำหนดของข้อตกลง แต่ต้องไม่
น้อยกว่า 12,000 บาทต่อหนึ่งข้อตกลง นอกจากนี้ ตลาดมีอำนาจกำหนดมาตรการอื่นๆ
เพื่อบังคับกับสมาชิกฝ่ายที่ผิดนัดตามที่ตลาดเห็นสมควร
ข้อ 26. การคืนเงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ และ
หลักประกันการส่งมอบ-รับมอบ
(1) เมื่อสิ้นวันซื้อขายสุดท้ายสำหรับข้อตกลงใดๆ ให้ถือว่าภาระผูกพันของ
เงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบตามข้อตกลงนั้นๆ ได้สิ้นสุดลง และเมื่อสมาชิก
ผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อได้ดำเนินการตามข้อ 11 วรรคแรกแล้วให้ถือว่าสำนักหักบัญชีได้คืน
เงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบให้แก่สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อแล้ว
หากปรากฏว่ายังมีเงินประกันสำหรับเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบคงเหลือ
อยู่ สำนักหักบัญชีจะดำเนินการคืนเงินส่วนที่เหลือนั้นให้แก่สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้
ซื้อนั้นตามข้อบังคับคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการวางหรือรักษาเงินประกัน การปรับฐานะบัญชีเงินประกัน การถอน
เงินประกัน และการผิดนัดชำระเงินประกัน พ.ศ. 2547 หรือที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
(2) สำนักหักบัญชีจะคืนหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบโดยไม่มีดอกผล
หลังจากหักค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายที่สำนักหักบัญชีมีอำนาจหักได้ตามข้อบังคับ
นี้ให้แก่สมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ในวันทำการถัดไปหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาของการยื่นข้อเรียกร้อง
ค่าเสียหายตามข้อ 20 (3)
(ข) หากมีการเรียกร้องค่าเสียหายโดยสมาชิกผู้ขายหรือสมาชิกผู้ซื้อ
และสำนักหักบัญชีได้รับคำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่เป็นที่สุดตาม
ข้อ 29 (2) หรือคำชี้ขาดข้อพิพาทตามข้อ 30 แล้ว การคืนหลักประกันการส่งมอบ -รับมอบ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่ตลาดกำหนด
(ค) ในวันทำการถัดจากวันที่ได้รับคำบอกกล่าวการส่งมอบโดยทางเลือก
อื่นจากสมาชิกผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อ
(ง) ในวันทำการถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากสมาชิก
ผู้ขายและสมาชิกผู้ซื้อว่าไม่ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ต่อกัน
ข้อ 27. ความรับผิดของตลาด
ในการส่งมอบ-รับมอบตามข้อบังคับนี้ ตลาด สำนักหักบัญชี กรรมการ
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของตลาดมีหน้าที่เพื่อให้มีการ
ดำเนินการให้ครบถ้วนตามข้อบังคับนี้ และไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ตลาดจะไม่รับผิดชอบต่อ
การกระทำไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ การฉ้อฉล หรือการผิดนัดใดๆ ของผู้ขาย ผู้
ซื้อหรือสมาชิกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลอื่นใดที่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการใด ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการส่งมอบหรือรับมอบสินค้าภายใต้ข้อบังคับนี้
ข้อ 28. เหตุสุดวิสัย
ในกรณีที่เกิดอุปสรรคในการส่งมอบ-รับมอบ เนื่องจากเหตุสุดวิสัย (Force
Majeure) สมาชิกผู้ขายหรือสมาชิกผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี จะต้องแจ้งให้ตลาดทราบโดยทันที
พร้อมทั้งแจ้งยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทำการถัดไป หากตลาดมีความเห็นว่า
มีเหตุสุดวิสัยอันเป็นอุปสรรคในการส่งมอบ-รับมอบเกิดขึ้นจริง คณะกรรมการตลาดอาจ
พิจารณากำหนดมาตรการในการแก้ไขอุปสรรคนั้นตามที่เห็นสมควร เช่น ขยายเวลาใน
การส่งมอบ-รับมอบ หรือให้นำสินค้าอื่นที่มีชนิด และคุณภาพเท่าเทียมกันหรือดีกว่ามา
ส่งมอบแทน (Alternative Facilities) หรือให้ชดใช้ความเสียหายตามส่วนต่างของราคา
(Cash Settlement) ตามวิธีการที่ตลาดกำหนด
ทั้งนี้ หากสมาชิกผู้ขาย สมาชิกผู้ซื้อ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตาม
ข้อบังคับนี้ อันเป็นเหตุจากเหตุสุดวิสัย ตลาดอาจพิจารณายกเว้นบทลงโทษ และค่าปรับ
ตามความเหมาะสม
หากเหตุสุดวิสัยดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานโดยไม่อาจแก้ไขอุปสรรค
นั้นได้ แต่ไม่เกินสาม (3) เดือนนับแต่วันที่กำหนดให้แจ้งความประสงค์ส่งมอบ-รับมอบ
คณะกรรมการตลาดอาจพิจารณากำหนดวิธีการชดใช้ความเสียหายตามส่วนต่างของราคา
(Cash Settlement) ดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 29. การระงับข้อพิพาท
(1) ในกรณีที่มีข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับการส่งมอบ-รับมอบสินค้า รวมถึงการ
เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องของผู้ขาย ผู้ซื้อ หรือ
สมาชิกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามข้อบังคับนี้ ให้นำข้อพิพาทดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการ
หรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยเบื้องต้น
(2) หากผู้ขาย ผู้ซื้อ สมาชิกผู้ขาย หรือสมาชิกผู้ซื้อสามารถตกลงตาม
คำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ให้ความตกลงดังกล่าวเป็นที่สุด
(3) ผู้ขาย ผู้ซื้อ สมาชิกผู้ขาย หรือสมาชิกผู้ซื้อที่ไม่สามารถตกลงตาม
คำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ อาจยื่นคำร้องต่อตลาดหรือสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อขอให้มีการชี้ขาดข้อพิพาทตาม
พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542
ข้อ 30. การปฏิบัติตามคำไกล่เกลี่ยและคำชี้ขาด
เมื่อมีคำไกล่เกลี่ยของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอันเป็นที่สุด หรือ
คำชี้ขาดข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 แล้ว ให้
คู่กรณีผู้ที่มีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามที่ได้ระบุไว้ในคำไกล่เกลี่ยหรือคำชี้ขาดนั้น
แจ้งให้สำนักหักบัญชีชำระค่าเสียหายจากหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบของคู่กรณี
ฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามคำชี้ขาด ในกรณีที่มีหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบคงเหลือ
ภายหลังจากหักค่าปรับ ค่าใช้จ่ายของตลาด และชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแล้ว ให้คืน
แก่คู่กรณีฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หากหลักประกันการส่งมอบ-รับมอบไม่เพียงพอที่จะ
ชดใช้ค่าเสียหายตามคำชี้ขาด ให้คู่กรณีฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายรับผิดชอบค่าเสียหายให้
ครบตามจำนวน
ข้อ 31. ให้ผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยรักษาการ
ตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548
(ลงนาม) สุวรรณ วลัยเสถียร
(นายสุวรรณ วลัยเสถียร)
ประธานกรรมการ
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
--ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย--
-พห-