นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเปิดเผยภายหลัง จากการประชุมคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (คณะกรรมการ ก.ส.ล.) ว่า ในวันนี้คณะกรรมการ ก.ส.ล. มีมติให้ความเห็นชอบประกาศ 2 ฉบับ คือ ประกาศเรื่องค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) และประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้มีความเป็นสากล เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และขยายฐานลูกค้าให้กับตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ต.ส.ล.)
ทั้งนี้ ประกาศ เรื่องค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) เป็นประกาศที่สืบเนื่องมาจากหลักการที่คณะกรรมการ ก.ส.ล. ได้ให้ความเห็นชอบการปรับอัตราค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเดิมกำหนดให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเรียกเก็บค่าตอบแทนในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อหรือขายที่จับคู่ได้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของการซื้อขายสินค้าเกษตรชนิดใหม่ สามารถลดค่าตอบแทนลงได้ถึงอัตราร้อยละ 0.10 ของมูลค่าการซื้อหรือขายที่จับคู่ได้ เพื่อให้ ต.ส.ล. สามารถแข่งขันกับตลาดล่วงหน้าต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเรียกเก็บที่อัตราร้อยละ 0.15 และเมื่อครบระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว อัตราค่าตอบแทนจะต้องกลับไปเก็บอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เช่นเดิม ทั้งนี้กรณียางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำการซื้อขายชนิดแรกใน ต.ส.ล. จะครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547 นี้
สำหรับสาระสำคัญของประกาศ เรื่องค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) นี้ เป็นหลักการสำคัญในการกำหนดอัตราค่าตอบแทน ซึ่งได้กำหนดอัตราผลตอบแทนแบบ 4 อัตรา โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ลักษณะลูกค้าเป็นลูกค้ารายย่อยหรือรายใหญ่ วิธีการซื้อขายเป็นแบบการซื้อขายด้านใดด้านหนึ่ง หรือแบบการซื้อขายที่มีความสัมพันธ์กัน (Outright /Spread Trading) ลักษณะการถือครองสัญญาการซื้อขายแบบถือครองข้ามวัน หรือถือครองวันเดียว (Position /Day Trading) โดยได้กำหนดอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงสุดและต่ำสุดไว้ อัตราค่าตอบแทนดังกล่าวข้างต้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามระบบการซื้อขายล่วงหน้าในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการคิดอัตราค่าตอบแทนแบบ 4 อัตราได้ ในระหว่างนี้จึงกำหนดให้นายหน้า ซื้อขายล่วงหน้าเรียกเก็บค่าตอบแทนในอัตราเดียวที่มีกำหนดอัตราขั้นสูงสุดและต่ำสุดระหว่างร้อยละ 0.10 — 0.25 ของมูลค่าการซื้อหรือขายที่จับคู่ได้ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2548
ในส่วนประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจ การซื้อขายล่วงหน้าประเภทนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ได้กำหนดให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการ ก.ส.ล. ที่ กน 1/2545 และ กน1/2546 เรื่องประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติและเงื่อนไขของการอนุญาตให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบันและมีคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตที่เข้มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าจำนวน 18 ราย โดยประกาศฉบับใหม่นี้มีสาระสำคัญ คือ ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตเป็นนายหน้า ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งใหม่ ซึ่งมีนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50 % นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นในเรื่อง ฐานะทางการเงิน ระบบงานและบุคลากร คุณสมบัติของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นต้น และยังได้มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอัตราที่สูงขึ้นอีกด้วย
ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. ชั้น 15 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ทุกวันในเวลาราชการ หรือโทรศัพท์ 0-2685-3250 ต่อ 601 โทรสาร 0-2685-3259
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-
ทั้งนี้ ประกาศ เรื่องค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) เป็นประกาศที่สืบเนื่องมาจากหลักการที่คณะกรรมการ ก.ส.ล. ได้ให้ความเห็นชอบการปรับอัตราค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเดิมกำหนดให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเรียกเก็บค่าตอบแทนในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อหรือขายที่จับคู่ได้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของการซื้อขายสินค้าเกษตรชนิดใหม่ สามารถลดค่าตอบแทนลงได้ถึงอัตราร้อยละ 0.10 ของมูลค่าการซื้อหรือขายที่จับคู่ได้ เพื่อให้ ต.ส.ล. สามารถแข่งขันกับตลาดล่วงหน้าต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเรียกเก็บที่อัตราร้อยละ 0.15 และเมื่อครบระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว อัตราค่าตอบแทนจะต้องกลับไปเก็บอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เช่นเดิม ทั้งนี้กรณียางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำการซื้อขายชนิดแรกใน ต.ส.ล. จะครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547 นี้
สำหรับสาระสำคัญของประกาศ เรื่องค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) นี้ เป็นหลักการสำคัญในการกำหนดอัตราค่าตอบแทน ซึ่งได้กำหนดอัตราผลตอบแทนแบบ 4 อัตรา โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ลักษณะลูกค้าเป็นลูกค้ารายย่อยหรือรายใหญ่ วิธีการซื้อขายเป็นแบบการซื้อขายด้านใดด้านหนึ่ง หรือแบบการซื้อขายที่มีความสัมพันธ์กัน (Outright /Spread Trading) ลักษณะการถือครองสัญญาการซื้อขายแบบถือครองข้ามวัน หรือถือครองวันเดียว (Position /Day Trading) โดยได้กำหนดอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงสุดและต่ำสุดไว้ อัตราค่าตอบแทนดังกล่าวข้างต้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามระบบการซื้อขายล่วงหน้าในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการคิดอัตราค่าตอบแทนแบบ 4 อัตราได้ ในระหว่างนี้จึงกำหนดให้นายหน้า ซื้อขายล่วงหน้าเรียกเก็บค่าตอบแทนในอัตราเดียวที่มีกำหนดอัตราขั้นสูงสุดและต่ำสุดระหว่างร้อยละ 0.10 — 0.25 ของมูลค่าการซื้อหรือขายที่จับคู่ได้ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2548
ในส่วนประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจ การซื้อขายล่วงหน้าประเภทนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ได้กำหนดให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการ ก.ส.ล. ที่ กน 1/2545 และ กน1/2546 เรื่องประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติและเงื่อนไขของการอนุญาตให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบันและมีคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตที่เข้มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าจำนวน 18 ราย โดยประกาศฉบับใหม่นี้มีสาระสำคัญ คือ ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตเป็นนายหน้า ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งใหม่ ซึ่งมีนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50 % นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นในเรื่อง ฐานะทางการเงิน ระบบงานและบุคลากร คุณสมบัติของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นต้น และยังได้มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอัตราที่สูงขึ้นอีกด้วย
ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. ชั้น 15 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ทุกวันในเวลาราชการ หรือโทรศัพท์ 0-2685-3250 ต่อ 601 โทรสาร 0-2685-3259
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-