งบการเงิน (Financial Statement) ไม่เคยโกหกใคร นี่คือความจริง เว้นแต่บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบกิจการ
จะหมกเม็ดเท่านั้น งบการเงินบอกเราได้ว่าในแต่ละช่วงเวลาหรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง บริษัทห้างร้านนั้นมีผลการประกอบการ
หรือมีสุขภาพทางการเงินดีร้ายอย่างไร โดยปกติงบการเงินจะประกอบไปด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งตามมาตรา 38 วรรคหนึ่งแห่งพ.ร.บ.
การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ.2542 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าจัดทำงบการเงินยื่นต่อ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าตามแบบ วิธีการและภายในระยะเวลาที่เลขาธิการกำหนด
ในที่นี้จะกล่าวถึงการจัดทำงบการเงินของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าล่วงหน้าเท่านั้น โดยประกาศสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ที่ สธ 2/2547 เรื่องแบบวิธีการและระยะเวลาในการจัดทำงบการเงิน
ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน 2547 กำหนดให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้า
ล่วงหน้าจัดทำงบการเงินซึ่งสรุปได้ง่าย ๆ ตามตารางข้างล่างนี้
ประเภทของ การตรวจสอบ/การสอบทาน/ ระยะเวลาการจัดส่ง
งบการเงินที่ต้องจัดส่ง การแสดงความเห็น ให้แก่เลขาธิการ
1.งบการเงินสำหรับงวดการบัญชี ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็น ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวัน
ในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรก โดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก สิ้นงวดการบัญชีนั้น
คณะกรรมการ ก.ส.ล.แล้ว
2.งบการเงินสำหรับรอบปีบัญชี (1) ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็น ภายใน 21 วันนับตั้งแต่วันถัด จากวันที่งบการเงินนั้นได้รับ
โดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก อนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า
คณะกรรมการ ก.ส.ล.แล้ว และ หรือผู้ค้าล่วงหน้า แต่ไม่เกิน 4 เดือนนับตั้งแต่วันถัดจาก
(2)ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของ วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น
นายหน้าซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าล่วงหน้า
3.งบการเงินเฉพาะที่สิ้นสุด ผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชี ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2547
ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 รับอนุญาตแล้ว
4.งบการเงินสิ้นสุด ณ วันทำการ - ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
สุดท้ายของทุกเดือน (ทำทุกเดือน)
(เฉพาะงบดุลและงบกำไรขาดทุนเท่านั้น)
นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าล่วงหน้าอาจส่งงบการเงินต่อไปนี้แทนงบการเงินที่สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2547
ตามข้อ 3. ข้างต้นได้
ประเภทของ การตรวจสอบ/การสอบทาน/ ระยะเวลา
งบการเงินที่ต้องจัดส่ง การแสดงความเห็น การจัดส่งให้แก่เลขาธิการ
> หากท่านได้จัดทำงบการเงินสิ้นสุด > ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็น > ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
ณ ขณะใดขณะหนึ่งในระหว่างวันที่ หรือผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชี
31 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 31 รับอนุญาตแล้ว
สิงหาคม 2547 แล้ว
สำหรับในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งงบการเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าล่วงหน้า
สามารถขอขยายระยะเวลาในการจัดส่งงบการเงินตามข้อ 1- ข้อ 3 ข้างต้นได้ หากมีเหตุจำเป็นและสมควร โดยยื่นต่อ
เลขาธิการก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุดลง นอกจากนี้ ต้องประกาศงบการเงินตามข้อ 1 - ข้อ 3 ไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ประชาชน
ตรวจดูได้ ณ สถานที่ทำการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือนด้วย ก็อย่างที่บอกนั่นล่ะค่ะว่า งบการเงินบอกกล่าวสุขภาพ
ทางการเงินของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ลูกค้าก็ต้องอยากทราบล่ะว่า นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าของตนมีสุขภาพทางการเงินดี
หรือเปล่า (และสมควรไว้วางใจต่อไปหรือไม่) เพราะฉะนั้น การจัดทำงบการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรศึกษาให้ดีๆ นะคะ
เพราะถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลา
ที่ฝ่าฝืนหรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องค่ะ
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-
จะหมกเม็ดเท่านั้น งบการเงินบอกเราได้ว่าในแต่ละช่วงเวลาหรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง บริษัทห้างร้านนั้นมีผลการประกอบการ
หรือมีสุขภาพทางการเงินดีร้ายอย่างไร โดยปกติงบการเงินจะประกอบไปด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งตามมาตรา 38 วรรคหนึ่งแห่งพ.ร.บ.
การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ.2542 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าจัดทำงบการเงินยื่นต่อ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าตามแบบ วิธีการและภายในระยะเวลาที่เลขาธิการกำหนด
ในที่นี้จะกล่าวถึงการจัดทำงบการเงินของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าล่วงหน้าเท่านั้น โดยประกาศสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ที่ สธ 2/2547 เรื่องแบบวิธีการและระยะเวลาในการจัดทำงบการเงิน
ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน 2547 กำหนดให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้า
ล่วงหน้าจัดทำงบการเงินซึ่งสรุปได้ง่าย ๆ ตามตารางข้างล่างนี้
ประเภทของ การตรวจสอบ/การสอบทาน/ ระยะเวลาการจัดส่ง
งบการเงินที่ต้องจัดส่ง การแสดงความเห็น ให้แก่เลขาธิการ
1.งบการเงินสำหรับงวดการบัญชี ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็น ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวัน
ในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรก โดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก สิ้นงวดการบัญชีนั้น
คณะกรรมการ ก.ส.ล.แล้ว
2.งบการเงินสำหรับรอบปีบัญชี (1) ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็น ภายใน 21 วันนับตั้งแต่วันถัด จากวันที่งบการเงินนั้นได้รับ
โดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก อนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า
คณะกรรมการ ก.ส.ล.แล้ว และ หรือผู้ค้าล่วงหน้า แต่ไม่เกิน 4 เดือนนับตั้งแต่วันถัดจาก
(2)ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของ วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น
นายหน้าซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าล่วงหน้า
3.งบการเงินเฉพาะที่สิ้นสุด ผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชี ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2547
ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 รับอนุญาตแล้ว
4.งบการเงินสิ้นสุด ณ วันทำการ - ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
สุดท้ายของทุกเดือน (ทำทุกเดือน)
(เฉพาะงบดุลและงบกำไรขาดทุนเท่านั้น)
นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าล่วงหน้าอาจส่งงบการเงินต่อไปนี้แทนงบการเงินที่สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2547
ตามข้อ 3. ข้างต้นได้
ประเภทของ การตรวจสอบ/การสอบทาน/ ระยะเวลา
งบการเงินที่ต้องจัดส่ง การแสดงความเห็น การจัดส่งให้แก่เลขาธิการ
> หากท่านได้จัดทำงบการเงินสิ้นสุด > ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็น > ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
ณ ขณะใดขณะหนึ่งในระหว่างวันที่ หรือผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชี
31 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 31 รับอนุญาตแล้ว
สิงหาคม 2547 แล้ว
สำหรับในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งงบการเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าล่วงหน้า
สามารถขอขยายระยะเวลาในการจัดส่งงบการเงินตามข้อ 1- ข้อ 3 ข้างต้นได้ หากมีเหตุจำเป็นและสมควร โดยยื่นต่อ
เลขาธิการก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุดลง นอกจากนี้ ต้องประกาศงบการเงินตามข้อ 1 - ข้อ 3 ไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ประชาชน
ตรวจดูได้ ณ สถานที่ทำการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือนด้วย ก็อย่างที่บอกนั่นล่ะค่ะว่า งบการเงินบอกกล่าวสุขภาพ
ทางการเงินของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ลูกค้าก็ต้องอยากทราบล่ะว่า นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าของตนมีสุขภาพทางการเงินดี
หรือเปล่า (และสมควรไว้วางใจต่อไปหรือไม่) เพราะฉะนั้น การจัดทำงบการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรศึกษาให้ดีๆ นะคะ
เพราะถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลา
ที่ฝ่าฝืนหรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องค่ะ
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-