คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) อนุมัติหลักการแผนแม่บทในการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ต.ส.ล.) ให้เติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับปีงบประมาณ 2548 - 2553 ในการประชุม ก.ส.ล. วันนี้
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการ ก.ส.ล. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม ก.ส.ล. วันนี้ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติหลักการแผนแม่บทในการพัฒนา ต.ส.ล. ให้เติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับปีงบประมาณ 2548 - 2553 โดยการพัฒนาให้ ต.ส.ล. เติบโตอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องวางแผนงานที่ควรดำเนินการตามลำดับขั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยแผนการพัฒนาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 มีแผนงานสำคัญที่เร่งดำเนินการเป็นลำดับแรกคือ การส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องใน ต.ส.ล. ทั้งนี้ ได้วางมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มสภาพคล่องใน ต.ส.ล. ซึ่งบางมาตรการได้ดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน เช่น การขยายเวลาการซื้อขาย การลดค่าคอมมิชชั่น การลดมาร์จิ้น เป็นต้น ส่วนมาตรการอื่น ๆ จะดำเนินการต่อเนื่องไป ที่สำคัญได้แก่ การเพิ่มสินค้าเกษตรซื้อขายใน ต.ส.ล. การซื้อขายผ่านระบบ Internet การจัดตั้งกองทุนลงทุนใน ต.ส.ล. ซึ่งระดมทุนจากภายในประเทศ ทั้งนี้ มาตรการเพิ่มสภาพคล่องใน ต.ส.ล. นี้จะดำเนินต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไปด้วย เพื่อให้ตลาดมีสภาพคล่องในระดับที่มีความมั่นคงยั่งยืนได้
สำหรับแผนงานอื่นที่จะดำเนินงานควบคู่ไปกับการเพิ่มสภาพคล่องใน ต.ส.ล. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 รวมทั้งแผนงานที่จะดำเนินการเป็นลำดับในปีต่อ ๆ ไป แผนงานที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกษตรกรเป้าหมายมีทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรโดยดำเนินการผ่านสถาบันตัวกลาง การส่งเสริมให้ตลาดเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ การปรับปรุงระบบการซื้อขายและระบบหักบัญชีของตลาด รวมถึงการกำกับดูแลให้เป็นมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการ ก.ส.ล. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม ก.ส.ล. วันนี้ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติหลักการแผนแม่บทในการพัฒนา ต.ส.ล. ให้เติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับปีงบประมาณ 2548 - 2553 โดยการพัฒนาให้ ต.ส.ล. เติบโตอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องวางแผนงานที่ควรดำเนินการตามลำดับขั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยแผนการพัฒนาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 มีแผนงานสำคัญที่เร่งดำเนินการเป็นลำดับแรกคือ การส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องใน ต.ส.ล. ทั้งนี้ ได้วางมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มสภาพคล่องใน ต.ส.ล. ซึ่งบางมาตรการได้ดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน เช่น การขยายเวลาการซื้อขาย การลดค่าคอมมิชชั่น การลดมาร์จิ้น เป็นต้น ส่วนมาตรการอื่น ๆ จะดำเนินการต่อเนื่องไป ที่สำคัญได้แก่ การเพิ่มสินค้าเกษตรซื้อขายใน ต.ส.ล. การซื้อขายผ่านระบบ Internet การจัดตั้งกองทุนลงทุนใน ต.ส.ล. ซึ่งระดมทุนจากภายในประเทศ ทั้งนี้ มาตรการเพิ่มสภาพคล่องใน ต.ส.ล. นี้จะดำเนินต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไปด้วย เพื่อให้ตลาดมีสภาพคล่องในระดับที่มีความมั่นคงยั่งยืนได้
สำหรับแผนงานอื่นที่จะดำเนินงานควบคู่ไปกับการเพิ่มสภาพคล่องใน ต.ส.ล. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 รวมทั้งแผนงานที่จะดำเนินการเป็นลำดับในปีต่อ ๆ ไป แผนงานที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกษตรกรเป้าหมายมีทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรโดยดำเนินการผ่านสถาบันตัวกลาง การส่งเสริมให้ตลาดเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ การปรับปรุงระบบการซื้อขายและระบบหักบัญชีของตลาด รวมถึงการกำกับดูแลให้เป็นมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-