ตลาด สินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดซื้อขายมาแล้ว 2 ปีเศษ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก้าวที่สำคัญต่อไปคือการพัฒนาให้ AFET เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า กล่าวว่า การส่งเสริมและพัฒนาการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า รวมทั้งการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ ก.ส.ล. ดังนั้นหลังจากจัดตั้งองค์กร และเปิดซื้อขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พ.ค.47 มีการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 จำนวน 44 ข้อตกลง ก็ได้จัดทำแผนและดำเนินมาตรการเร่งรัดเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายใน AFET เพื่อก้าวสู่การเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อความมั่นคงยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาหลัง AFET เปิดซื้อขาย ได้มีมาตรการเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายใน AFET หลายมาตรการ ที่สำคัญคือ
การเพิ่มสินค้าซื้อขายใน AFET ซึ่งได้ทะยอยนำสินค้าที่มีศักยภาพและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเข้าซื้อขายตามลำดับ ปัจจุบันมียางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง น้ำยางข้น ข้าวขาว 5% แป้งมันสำปะหลัง และกำลังจะนำมันสำปะหลังเส้น กับกุ้งขาวแวนนาไม เข้าซื้อขายเป็นลำดับต่อๆ ไป
การเพิ่มประเภทผู้ประกอบธุรกิจ จากที่มีผู้ค้าและนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าในระยะแรก ได้เพิ่มตัวแทนซื้อขายล่วงหน้า (บุคคลธรรมดา) ตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายล่วงหน้า (นิติบุคคล) และล่าสุดจะมีผู้จัดการการซื้อขายล่วงหน้าที่จะเปิดให้ยื่นขออนุญาตเป็นธุรกิจประเภทใหม่ปลายปีนี้
ปรับปรุงคุณสมบัตินายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มความเข้มแข็ง ได้วางกฎระเบียบให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนที่เรียกชำระแล้ว ให้มีผู้บริหารที่ทำงานเต็มเวลา ให้มีพนักงานที่ผ่านการอบรมมีจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้น AFET ยังกำหนดให้มีปริมาณการซื้อขายขั้นต่ำของนายหน้าแต่ละรายด้วย
การเพิ่มเวลาซื้อขาย จากเดิมมีเฉพาะช่วงเช้า 10.00 — 12.00 น. เพิ่มเวลาในช่วงบ่าย 13.00 — 15.00 น. ด้วย
เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยได้ให้การศึกษาอบรมความรู้ทั้งผู้สนใจทั่วไป พนักงานของผู้ประกอบธุรกิจ ข้าราชการ ผู้เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น อัยการ ผู้พิพากษา รวมแล้วกว่า 15,000 คน นอกจากนั้น ยังได้จัดอบรมเพื่อสร้างผู้เผยแพร่ความรู้ด้านการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าประจำอำเภอ (One Amphor One Expert ) โดยจัดอบรมความรู้เบื้องต้นแล้ว 615 คน จะต้องเลือกเข้าอบรมแบบเข้มข้นสำหรับการเป็น OAOE ต่อไป
เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้อง ก.ส.ล. ได้นำเอารหลักการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานสากลขององค์กรกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา (CFTC) มาปรับใช้ในการกำกับดูแล AFET ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องในธุรกรรมการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า นอกจากนั้น ก.ส.ล. ยังได้ลงนามความร่วมมือกับองค์กรกำกับดูแลรวมทั้ง AFET ได้ลงนามความร่วมมือกับตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศอีกหลายแห่ง
เพิ่มสิ่งจูงใจ ได้ประสานกรมสรรพากรให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้จากกำไร (Capital Gain Tax) และภาษีธุรกิจเฉพาะในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทั้งได้รับอนุญาตจากธปท.ให้โอนเงินตราต่างประเทศได้สะดวกสำหรับชาวต่างประเทศที่ซื้อขายใน AFET นอกจากนั้น AFET ยังได้ดำเนินการรลดค่าคอมมิชชั่นที่นายหน้าเรียกเก็บจากลูกค้า ลดค่าธรรมเนียมที่ AFET เรียกเก็บจากนายหน้า และลดอัตราเงินประกันที่นายหน้าเรียกเก็บจากลูกค้า
การรับลูกค้ารายใหญ่ของนายหน้าเป็น Associate Trader ของ AFET เพื่อให้ลูกค้ารายใหญ่ต่างประเทศสามารถส่งคำสั่งซื้อขายมายังAFET ได้สะดวก
จาก มาตรการเพิ่มสภาพคล่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปริมาณการซื้อขายใน AFET เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2548 ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นจาก ปี 2547 ถึง 196% และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ่น 283% ทั้งนี้ AFET มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2549 จำนวน 1,086 ข้อตกลง คิดเป็นมูลค่า 435.58 ล้านบาท โดยในเดือน พ.ค.2549 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 659 ข้อตกลง มูลค่าวันละ 263.33 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงขึ้นกว่าปริมาณเฉลี่ยปี 2548 ที่ผ่านมามาก
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล กล่าวต่อว่า สำหรับการก้าวสู่ความเป็นสากลเพื่อให้ AFET เป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในภูมิภาคและเพื่อความยั่งยืนในอนาคตนั้น จะยังคงดำเนินมาตรการเพิ่มสภาพคล่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มเติมมาตรการเสริมสภาพคล่องอีกบางส่วน รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ได้แก่การจัดให้มีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เนต กระดานซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าวได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว การจัดตั้งกองทุนต่างๆ ได้แก่ การจัดตั้งกองทุน สินค้าเกษตรล่วงหน้า กองทุนเสริมสภาพคล่องใน AFET กองทุนประกันราคาสินค้าเกษตร การจัดให้มีศูนย์ข้อมูลและวิจัยสินค้าเกษตรล่วงหน้า รวมทั้งจะได้ศึกษาสินค้าที่มีศักยภาพที่จะนำเข้ามาซื้อขายใน AFET เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ได้มีแผนงานที่จะดำเนินการมาตรการต่างๆ ไว้ทั้งหมดแล้ว คาดว่าภายใน 5 ปี (2549-2553) AFET จะสามารถก้าวสู่การเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างแน่นอน
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า กล่าวว่า การส่งเสริมและพัฒนาการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า รวมทั้งการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ ก.ส.ล. ดังนั้นหลังจากจัดตั้งองค์กร และเปิดซื้อขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พ.ค.47 มีการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 จำนวน 44 ข้อตกลง ก็ได้จัดทำแผนและดำเนินมาตรการเร่งรัดเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายใน AFET เพื่อก้าวสู่การเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อความมั่นคงยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาหลัง AFET เปิดซื้อขาย ได้มีมาตรการเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายใน AFET หลายมาตรการ ที่สำคัญคือ
การเพิ่มสินค้าซื้อขายใน AFET ซึ่งได้ทะยอยนำสินค้าที่มีศักยภาพและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเข้าซื้อขายตามลำดับ ปัจจุบันมียางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง น้ำยางข้น ข้าวขาว 5% แป้งมันสำปะหลัง และกำลังจะนำมันสำปะหลังเส้น กับกุ้งขาวแวนนาไม เข้าซื้อขายเป็นลำดับต่อๆ ไป
การเพิ่มประเภทผู้ประกอบธุรกิจ จากที่มีผู้ค้าและนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าในระยะแรก ได้เพิ่มตัวแทนซื้อขายล่วงหน้า (บุคคลธรรมดา) ตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายล่วงหน้า (นิติบุคคล) และล่าสุดจะมีผู้จัดการการซื้อขายล่วงหน้าที่จะเปิดให้ยื่นขออนุญาตเป็นธุรกิจประเภทใหม่ปลายปีนี้
ปรับปรุงคุณสมบัตินายหน้าซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มความเข้มแข็ง ได้วางกฎระเบียบให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนที่เรียกชำระแล้ว ให้มีผู้บริหารที่ทำงานเต็มเวลา ให้มีพนักงานที่ผ่านการอบรมมีจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้น AFET ยังกำหนดให้มีปริมาณการซื้อขายขั้นต่ำของนายหน้าแต่ละรายด้วย
การเพิ่มเวลาซื้อขาย จากเดิมมีเฉพาะช่วงเช้า 10.00 — 12.00 น. เพิ่มเวลาในช่วงบ่าย 13.00 — 15.00 น. ด้วย
เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยได้ให้การศึกษาอบรมความรู้ทั้งผู้สนใจทั่วไป พนักงานของผู้ประกอบธุรกิจ ข้าราชการ ผู้เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น อัยการ ผู้พิพากษา รวมแล้วกว่า 15,000 คน นอกจากนั้น ยังได้จัดอบรมเพื่อสร้างผู้เผยแพร่ความรู้ด้านการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าประจำอำเภอ (One Amphor One Expert ) โดยจัดอบรมความรู้เบื้องต้นแล้ว 615 คน จะต้องเลือกเข้าอบรมแบบเข้มข้นสำหรับการเป็น OAOE ต่อไป
เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้อง ก.ส.ล. ได้นำเอารหลักการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานสากลขององค์กรกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา (CFTC) มาปรับใช้ในการกำกับดูแล AFET ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องในธุรกรรมการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า นอกจากนั้น ก.ส.ล. ยังได้ลงนามความร่วมมือกับองค์กรกำกับดูแลรวมทั้ง AFET ได้ลงนามความร่วมมือกับตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศอีกหลายแห่ง
เพิ่มสิ่งจูงใจ ได้ประสานกรมสรรพากรให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้จากกำไร (Capital Gain Tax) และภาษีธุรกิจเฉพาะในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทั้งได้รับอนุญาตจากธปท.ให้โอนเงินตราต่างประเทศได้สะดวกสำหรับชาวต่างประเทศที่ซื้อขายใน AFET นอกจากนั้น AFET ยังได้ดำเนินการรลดค่าคอมมิชชั่นที่นายหน้าเรียกเก็บจากลูกค้า ลดค่าธรรมเนียมที่ AFET เรียกเก็บจากนายหน้า และลดอัตราเงินประกันที่นายหน้าเรียกเก็บจากลูกค้า
การรับลูกค้ารายใหญ่ของนายหน้าเป็น Associate Trader ของ AFET เพื่อให้ลูกค้ารายใหญ่ต่างประเทศสามารถส่งคำสั่งซื้อขายมายังAFET ได้สะดวก
จาก มาตรการเพิ่มสภาพคล่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปริมาณการซื้อขายใน AFET เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2548 ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นจาก ปี 2547 ถึง 196% และมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ่น 283% ทั้งนี้ AFET มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2549 จำนวน 1,086 ข้อตกลง คิดเป็นมูลค่า 435.58 ล้านบาท โดยในเดือน พ.ค.2549 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 659 ข้อตกลง มูลค่าวันละ 263.33 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงขึ้นกว่าปริมาณเฉลี่ยปี 2548 ที่ผ่านมามาก
นายชัยพัฒน์ สหัสกุล กล่าวต่อว่า สำหรับการก้าวสู่ความเป็นสากลเพื่อให้ AFET เป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในภูมิภาคและเพื่อความยั่งยืนในอนาคตนั้น จะยังคงดำเนินมาตรการเพิ่มสภาพคล่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มเติมมาตรการเสริมสภาพคล่องอีกบางส่วน รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ได้แก่การจัดให้มีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เนต กระดานซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าวได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว การจัดตั้งกองทุนต่างๆ ได้แก่ การจัดตั้งกองทุน สินค้าเกษตรล่วงหน้า กองทุนเสริมสภาพคล่องใน AFET กองทุนประกันราคาสินค้าเกษตร การจัดให้มีศูนย์ข้อมูลและวิจัยสินค้าเกษตรล่วงหน้า รวมทั้งจะได้ศึกษาสินค้าที่มีศักยภาพที่จะนำเข้ามาซื้อขายใน AFET เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ได้มีแผนงานที่จะดำเนินการมาตรการต่างๆ ไว้ทั้งหมดแล้ว คาดว่าภายใน 5 ปี (2549-2553) AFET จะสามารถก้าวสู่การเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างแน่นอน
--สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า--
-พห-