ศาลฎีกาแคนาดาพิพากษายืนกฎหมายควบคุมยาสูบ หวังเป็นแบบอย่างในการควบคุมยาสูบรูปแบบเดียวกันทั่วโลก

ข่าวต่างประเทศ Friday June 29, 2007 10:50 —Asianet Press Release

วอชิงตัน--29 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
แถลงการณ์ของนาย แมทธิว แอล.ไมเยอร์ส ประธานโครงการรณรงค์ปลอดยาสูบในเยาวชน
ศาลฎีกาแคนาดาได้ตัดสินพิพากษายืนกฎหมายควบคุมยาสูบที่เข้มงวด ซึ่งถือเป็นการนำมาซึ่งชัยชนะที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของประชาชน และส่งผลสะท้อนในระดับโลกถึงการคงไว้ซึ่งกฎหมายในการควบคุมยาสูบอย่างจริงจัง กฎหมายฉบับดังกล่าวครอบคลุมถึงการห้ามโฆษณายาสูบและการเป็นผู้สนับสนุน รวมทั้งให้ทำภาพกราฟฟิกเตือนเรื่องสุขภาพบนหีบห่อบุหรี่ แคนาดาเป็นผู้นำของโลกในการประกาศใช้มาตรการกวดขันเพื่อลดการใช้ยาสูบลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุมเข้มเรื่องการทำตลาดและการให้คำเตือนด้านสุขภาพ อีกทั้งยังมีรัฐธรรมนูญที่เข้มงวดเพื่อปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก
การพิพากษาอย่างเป็นเอกฉันท์ในวันนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศต่างๆสามารถดำเนินการอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้ยาสูบได้ และยังช่วยรักษาชีวิตได้อย่างสอดคล้องเช่นเดียวกับมาตรการคุ้มครองเสรีภาพในการกล่าวสุนทรพจน์ การตัดสินใจของศาลฏีกาในครั้งนี้เป็นการย้ำถึงสิทธิของรัฐบาลในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้ยาสูบซึ่งคร่าชีวิตประชากรไปมากกว่า 5 ล้านรายทั่วโลกในแต่ละปี ตลอดถึงการจำกัดความสามารถของบริษัทยาสูบที่ชี้นำผู้บริโภคไปในทางที่ผิด หรือการทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งเสพติดและเป็นอันตรายถึงชีวิต ในรูปแบบของการชักจูงใจและล่อใจแก่เยาวชน
กฎหมายของแคนาดาฉบับนี้มีคำสั่งให้ผู้ผลิตติดป้ายคำเตือนสุขภาพโดยใช้รูปภาพขนาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 50% ของหีบห่อบุหรี่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยมีคำสั่งห้ามการทำตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบที่"เป็นเท็จ ชักจูงไปในทางที่ผิด หรือ เข้าใจผิด" ห้ามเป็นผู้สนับสนุนยาสูบ การควบคุมการโฆษณายาสูบ รวมไปถึงการจำกัดโฆษณายาสูบในสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับผู้ใหญ่ การจัดตั้งและการสั่งห้าม"โฆษณาไลฟ์สไตล์"
การพิพากษาของศาลฏีกาแคนาดาเป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับที่ประเทศทั่วโลกเตรียมตัวเข้าร่วมการประชุมระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน- 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งการประชุมจะมีการประกาศใช้สนธิสัญญาการควบคุมยาสูบนานาชาติ กรอบการทำงานการประชุมว่าด้วยการควบคุมยาสูบ คำตัดสินของศาลแคนาดาในครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นนานาชาติให้ประกาศใช้มาตรการบนพื้นฐานของเหตุผลและเข้มงวดซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องของสนธิสัญญา และให้การรับรองโดย 148 ประเทศที่มีพันธกิจร่วมกันดังนี้:
-ห้ามมิให้มีการโฆษณา ส่งเสริม และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด (ประเทศที่มีข้อจำกัดด้านรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการตามขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้)
-กำหนดให้ผู้ประกอบการติดฉลากที่ระบุเตือนถึงอันตรายต่อสุขภาพขนาดใหญ่ในสัดส่วน 30% บริเวณด้านหน้าและหลังซองยาสูบ โดยในสนธิสัญญาแนะนำให้ติดฉลากดังกล่าวอย่างน้อย 50% ของซองยาสูบ ซึ่งรวมถึงให้ครอบคลุมภาพประกอบที่ใช้โฆษณาบนซองยาสูบ
-ห้ามมิให้ผู้ประกอบการติดฉลากที่มีข้อความที่ไม่ถูกต้อง ข้อความที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือหลอกลวง บนซองผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมถึงข้อความเช่น"โลว์-ทาร์"และ"ไลท์" ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่าเมื่อสูบแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
-กำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบุหรี่แต่ได้รับควันพิษจากผู้สูบุหรี่ โดยในการประชุมที่กรุงเทพฯนั้น ประเทศต่างๆควรใช้มาตรฐานในการกำหนดเงื่อนไขที่เรียกร้องให้ประเทศต่างๆใช้นโยบายในการกำหนดให้สถานที่ทำงาน หรือสถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100%
-กำหนดราคายาสูบให้สูงขึ้น
-สกัดกั้นการลักลอบนำเข้าบุหรี่
-กำหนดปริมาณสารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ยาสูบ
ทั้งนี้ ในศุตวรรษที่ 20 พิษภัยจากการใช้ยาสูบได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 100 ล้านคน และหากแนวโน้มการใช้ยาสูยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะยิ่งทำให้ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากการใช้ยาสูบในศตวรรษที่ 21 พุ่งขึ้นเป็น 1 พันล้านคน ซึ่งหากประเทศต่างๆยังไม่กำหนดใช้มาตรการอย่างเร่งด่วนจะทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึง 10 ล้านคนต่อปีในปี 2563 ซึ่ง 70% ในจำนวนนั้นอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีข่าวดี คือ ประเทศต่างๆสามารถป้องกันมิให้มียอดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ด้วยการใช้มาตรการป้องกันอย่างเข้มงวดตามข้อห้ามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญายาสูบ และหากจำนวนของผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วโลกปรับตัวลดลง 50% ประเทศต่างๆจะมีอัตราผู้รอดชีวิตจากภัยของบุหรี่ถึงกว่า 300 ล้านคนภายใน 50 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คำตัดสินจากศาลฎีกาของแคนาดาในขณะนี้น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ประเทศต่างๆทั่วโลกหันมาดำเนินการตามข้อบังคับที่กำหนดขึ้นกันอย่างจริงจัง
แหล่งข่าว: โครงการรณรงค์ปลอดยาสูบในเยาวชน
ติดต่อ: ไบรอัน บอนเนอร์ หรือ นิโคล ดัฟเฟิร์ต,
ทั้งคู่จากโครงการรณรงค์ปลอดยาสูบในเยาวชน
โทร +1-202-296-5469
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ