จาการ์ต้า, 3 ม.ค.—แอนทาร่า/เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ใช้ความพยายามทุกขั้นตอนที่จะรับมือกับเหตุการณ์มหันตภัยธรรมชาติที่ได้ทำลายล้างเมืองและหมู่บ้านหลายแห่งในจังหวัดอาเซะห์และเกาะสุมาตราเหนือ โดยรัฐบาลอินโดนีเซียรู้สึกปลาบปลึ้มใจเป็นอย่างยิ่งกับการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ซึ่งประเทศพันธมิตรทั่วทุกมุมโลกต่างให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งองค์กรสากล เอ็นจีโอ และแม้กระทั่งส่วนบุคคลเองด้วย
การให้ความสำคัญในเรื่องความสงบสุขนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอาเซะห์ ส่งผลให้รัฐบาลอินโดนีเซียเปิดทางให้กับความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมสากล ปัจจัยบรรเทาทุกข์ที่ได้รับบริจาคจาก 18 ประเทศพันธมิตรและองค์กรทางด้านมนุษยธรรมต่างๆ ที่ขนส่งผ่านทางเครื่องบินลำเลียงสินค้า 42 เที่ยวบินและสายการบินอื่นๆ ที่ได้ส่งผ่านมายังท่าอากาศยานโพโลเนีย เมือง เมดานหรือส่งผ่านโดยตรงไปสู่ท่าอากาศยานสุลต่าน อิสคานดาร์ มูดา, บันดา อะเซห์ (ตามรายชื่อแนบมา)
สิ่งของบรรเทาทุกข์ประกอบด้วยสิ่งของที่จำเป็นและสิ่งของที่ใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งได้แก่ อาหาร ยา ผ้าห่ม ถุงห่อศพ เสื้อผ้า เตนท์ ฟูก หน้ากาก ชุดอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำดื่มที่สะอาด ผ้าอนามัย วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างบ้านเรือน
การให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมสากลยังอยู่ในรูปแบบของการให้เงินบริจาคหรือการบริจาคสิ่งของโดยทั่วไป การให้ความช่วยเหลือส่วนมากส่งตรงจากผู้บริจาคไปสู่หน่วยงานแห่งชาติเพื่อบรรเทาทุกข์ทางด้านมหันตภัยธรรมชาติ (บากอร์นาส พีบีพี) หรือ สภากาชาดอินโดนีเซีย (พีเอ็มไอ) การให้ความช่วยเหลือบ้างก็มาในรูปแบบการส่งหน่วยค้นหาและกู้ภัย (เอสเออาร์) รวมทั้งทีมแพทย์
การแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือได้รับการดำเนินการจากหน่วยงานแห่งชาติเพื่อบรรเทาทุกข์ทางด้านมหันตภัยธรรมชาติ (บากอร์นาส พีบีพี) หรือจากสภากาชาดอินโดนีเซีย (พีเอ็มไอ) โดยการใช้วิธีแจ้งความจำนงกับองค์กรที่มีอำนาจในอินโดนีเซียทำให้เอ็นจีโอจากประเทศที่ทำการบริจาคก็สามารถที่จะหกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ได้โดยตรงสู่พื้นที่มหันตภัย
ในเรื่องของการขนส่งสิ่งของและอาสาสมัครเพื่อบรรเทาทุกข์จากประเทศที่ให้บริจาคนั้น รัฐบาลอินโดนีเซียยังได้ให้บริการเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 50 เครื่อง เพื่อให้ขั้นตอนการขนส่งสิ่งของเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น
ลูกเรือของเที่ยวบินขนส่งสินค้าดังกล่าวยังได้รับอนุญาตเปิดบริการวีซ่า ณ จุดที่เดินทางไปถึงได้ทันที (visa-on-arrival) ซึ่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
หนึ่งในความท้าทายที่ยากลำบากที่สุดในขั้นตอนนี้คือ การขนส่งและแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปยังพื้นที่ประสบภัย ซึ่งระบบการสื่อสารและสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ถูกตัดขาด ทางรัฐบาลอินโดนีเซียถือโอกาสในครั้งนี้แสดงความทราบซึ้งและไมตรีจิตไปยังประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านการขนส่งทางอากาศ อาทิ เครื่องบินของออสเตรเลีย (เครื่องบินเฮอร์คิวลิส ซี-130 จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องบินขนส่งพยาบาลในยามฉุกเฉินอีก 1 เครื่อง) เครื่องบินของประเทศนิว ซีแลนด์ (เครื่องบินเฮอร์คิวลิส ซี —130 จำนวน 1 เครื่อง) เครื่องบินสิงคโปร์ (เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 4 เครื่อง) และเครื่องบินของอินเดีย (1 floating hospital) เรารู้สึกทราบซึ้งในการให้ความช่วยเหลือจากประเทศพันธมิตรเพื่อระดมเครื่องบินขนส่งทางอากาศไปยังพื้นที่ประสบภัยมากขึ้น
ในระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์กับนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาตินั้น ประธานาธิบดียุดโยโน่แห่งอินโดนีเซียแสดงความซาบซึ้งกับการสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติที่มีต่ออินโดนีเซียในเรื่องการจัดการประชุมระดับนานาชาติเพื่อประสานความร่วมมือในการสร้างและพลิกฟื้นสภาพพื้นที่ที่ประสบภัย ท้ายที่สุด อินโดนีเซียยังได้กล่าวแสดงความซาบซึ้งว่า ความร่วมมือดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์ถึงความยินดีในการสนับสนุนที่กำลังขยายตัวขึ้นในชุมชนระดับนานาชาติ
ต่อไปนี้คือ รายชื่อประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมสากลที่ได้ส่งเงินและเดินทางมาช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัย รายชื่อประเทศที่ให้ความช่วยเหลือนี้จะได้รับการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คณะกรรมการบริหารข้อมูลและสื่อ กระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย
เจแอล พีจามบอน หมายเลข 6
จาการ์ต้า ภูสาท 10110
โทร +62-21-381-3453, +62-21-344-1508 ต่อ 4015
http://www.dfa-depl.go.id
E-mail: ditpen1@deplu.go.id
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--