เซเว่นอีเลฟเว่นถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีเพิกเฉยระเบียบข้อบังคับใหม่ด้านสุขภาพในประเทศไทย

ข่าวต่างประเทศ Thursday December 22, 2005 14:12 —Asianet Press Release

ดัลลัส, เท็กซัส, 22 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทยพบว่า ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-eleven) เป็นกิจการค้าปลีกในลักษณะสะดวกซื้อเพียงรายเดียวจากร้านค้าปลีก 500,000 ร้านในประเทศ ที่ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามโฆษณาบุหรี่ครั้งใหม่ คำสั่งห้ามโฆษณาบุหรี่ที่มีระยะเวลา 13 ปีของไทย ถือเป็นแม่แบบของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ(FCTC) ครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งกลายเป็นกฎหมายระดับนานาชาติในปีนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับคำสั่งห้ามดังกล่าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะอุดช่องโหว่ที่ผู้ประกอบการยาสูบอย่างฟิลิป มอร์ริส/อัลเตรีย ได้กำหนดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางการโฆษณา ณ "จุดขาย" ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และร้านค้าปลีกอื่นๆ
"ประเทศไทยจะใช้มาตรการที่เด่นชัดในการปกป้องประชาชนจากการกระทำที่เป็นอันตรายของบริษัทอย่างฟิลิป มอร์ริส/อัลเตรีย ซึ่งรวมถึงการห้ามโฆษณาบุหรี่ ณ จุดขาย" แคธรีน มัลวีย์ ผู้อำนวยการบริหาร Corporate Acoountability International "ความสำเร็จของประเทศไทยในการยืนหยัดต่อสู้กับผู้ประกอบการบุหรี่รายใหญ่ นำไปสู่พื้นฐานสำคัญสำหรับสนธิสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบระดับโลก ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศอื่นๆ ออกคำสั่งห้ามโฆษณาบุหรี่ในประเทศของตนเองเช่นกัน"
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระบุว่า ฟิลิป มอร์ริส/อัลเตรีย ได้รุกทำโฆษณา ณ จุดขายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นของไทย เมื่อ 9 ปีก่อน ฟิลิป มอร์ริส/อัลเตรียได้ติดต่อกับผู้ค้าปลีกบุหรี่ของไทย และจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อผลักดันให้มีการโฆณาเป็นพิเสษในสถานที่ที่กำหนด ด้วยจำนวนลูกค้าเฉลี่ย 1,000 รายต่อวันที่เข้าร้านเซเว่นอีเลฟเว่นแต่ละสาขาจากทั้งหมดกว่า 3,200 สาขาในประเทศไทยนั้น เซเว่นอีเลฟเว่นจึงเป็นหนึ่งในร้านค้าปลีกรายสำคัญสำหรับการโฆษณาบุหรี่ ณ จุดขายของฟิลิป มอร์ริส/อัลเตรีย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทยยังได้เน้นย้ำความจริงที่ว่า เซเว่นอีเลฟเว่นเป็นสมาชิกรายสำคัญของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ที่แสดงการคัดค้านเมื่อกระทรวงสาธารณสุขเริ่มใช้มาตรการอุดช่องโหว่ดังกล่าว
เมื่อ 2 เดือนก่อน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ส่งคำร้องเรียนไปยังหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆเพื่อพิจารณาเรื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ให้ความร่วมมือ แต่ไม่มีการกระทำใดๆเกิดขึ้น "เซเว่นอีเลฟเว่นกับการกระทำที่ไม่รับผิดชอบอาจทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นกับการบังคับใช้กฎหมาย เพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของทางร้าน" ดร. หทัย หนึ่งในผู้ร่างคำสั่งห้ามโฆษณาและผู้เจรจาเรื่องสนธิสัญญาการสูบบุหรี่ทั่วโลกของไทยอธิบาย
สนธิสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบทั่วโลก ที่กลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยคำสั่งห้ามโฆษณา ส่งเสริม และสนับสนุนการสูบบุหรี่ ทั้งนี้ประเทศต่างๆ กว่า 115 ประเทศ ซึ่งรวมถึงมากกว่า 70% ของประชากรโลก ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) การห้ามโฆษณาของไทยเป็นแม่แบบสำหรับการเจรจาเรื่องสนธิสัญญาของ WHO และการทำนโยบายของไทยให้ชัดเจนในขณะนี้ มีขึ้นก่อนการประชุมบังคับครั้งแรกของสนธิสัญญาซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 6-17 ก.พ. ปีหน้า ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีบุชลงนามในสนธิสัญญาการควบคุมการบริโภคยาสูบทั่วโลกแล้ว โดยได้มีการประกาศให้ทราบเรื่องเมื่อเกือบ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการยื่นเรื่องให้กับวุฒิสภารับรอง
Corporate Accountability International หรือ Infact เดิม เป็นองค์กรสมาชิกที่ปกป้องประชาชน ด้วยการเข้าร่วมรณรงค์ที่ท้าทายการกระทำของหน่วยงานที่ไม่รับผิดชอบและเป็นอันตรายทั่วโลก เป็นเวลากว่า 25 ปี ที่เราได้บังคับบริษัทเหล่านี้ เช่น เนสท์เล่, เจเนรัล อีเลคทริค และฟิลิป มอร์ริส/อัลเตรีย ให้หยุดการกระทำที่ไม่ถูกต้องต่างๆ Corporate Accountability International ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การอนามัยโลก (WHO) นั้น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสนธิสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่ http://www.stopcorporateabuse.org
ติดต่อ:
ไบรอัน เฮิร์ช
Corporate Accountability International
โทร. (617) 695-2525
ดร. หทัย ชิตานนท์
สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
อีเมล์ pirayu@asianet.co.th
ที่มา: Corporate Accountability International
ติดต่อ:
ไบรอัน เฮิร์ช
Corporate Accountability International
โทร. +1-617-695-2525; หรือ
ดร. หทัย ชิตานนท์
สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
อีเมล์ pirayu@asianet.co.th
เว็บไซต์: http://www.stopcorporateabuse.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ