กัวลาลัมเปอร์--9 พ.ค.--พีอาร์นิวสไวร์ - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าต่างเรียกร้องให้มีการจัดการปัญหาสมองขาดเลือดในแถบเอเชียแปซิฟิคอย่างเร่งด่วน
? ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และกลุ่มผู้ป่วยต่างเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายระดับประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิคให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการป้องกันภาวะสมองขาดเลือดที่ส่งผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนนับล้านที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจกระตุก (AF) ในแต่ละปี
? ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิคมีจำนวนผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเป็นจำนวนหลายล้านคน ซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนมีอายุยืนขึ้น1
? ภาวะอาการ AF เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด โดยเป็นความผิดปกติของจังหวะการทำงานของหัวใจ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการสมองขาดเลือดได้ถึงห้าเท่า และเป็นสาเหตุของอาการสมองขาดเลือดทั้งหมดถึง 15-20% และมีสัดส่วนอยู่ที่ 20% ของภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน (เกิดจากเลือดอุดตันในหลอดเลือดที่สมอง)2,3,4,5
? ผลจากภาวะสมองขาดเลือดไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วย แต่ยังส่งผลต่อครอบครัวและผู้ที่ให้กาดูแลด้วย6,7 การช่วยเหลือและการดูแลในระยะยาวจะต้องมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรอดชีวิตอยู่ได้
? ภาวะสมองขาดเลือดมีข้อจำกัดสำคัญอยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการดูแล เช่น ในประเทศจีน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยโดยรวมในการรักษาภาวะสมองขาดเลือดในโรงพยาบาลเมื่อปี 2010 สูงกว่ากึ่งหนึ่งของค่าจ้างเฉลี่ยต่อปี8
? ผลกระทบจากภาวะสมองขาดเลือดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื่อว่าจะมีผู้ป่วยกลุ่ม AF เพิ่มขึ้นอีก 2.5 เท่าภายในปี 2050 เนื่องจากมีประชากรสูงอายุเป็นจำนวนมาก และอัตรารอดชีวิตที่สูงขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเอื้อต่อภาวะ AF (เช่น หัวใจวาย)9,10
รายงานข้อมูลชุดใหม่ How Can We Avoid a Stroke Crisis in the Asia-Pacific Region? เปิดเผยว่าจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะสมองขาดเลือดกับผู้ป่วยอีกนับล้านรายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจกระตุก (AF) ได้รับผลกระทบทั้งในทางร่างกายและจิตใจ หรือแม้แต่เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
สามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่ :
http://multivu.prnewswire.com/mnr/prne/strikeoutstroke/48909/
รายงานดังกล่าวซึ่งเปิดเผยในวันนี้ระหว่างงาน Asian Pacific Congress of Cardiology (APCC) ครั้งที่ 18 โดย Action for Stroke Prevention กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพจากทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้มีการกำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะสมองขาดเลือดในผู้ป่วยแถบเอเชียแปซิฟิคที่มีอาการ AF หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หนึ่งในสาเหตุสำคัญของภาวะสมองขาดเลือด2 คำแนะนำจากผลการรายงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสมาคมการแพทย์และหน่วยงานเพื่อการดูแลผู้ป่วยชั้นนำ 32 แห่งทั้งในแถบเอเชียแปซิฟิคและในระดับสากล เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการอย่างภาวะโรคนี้อย่างจริงจัง
ปัญหาภาวะสมองขาดเลือดที่แพร่กระจายทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกอาจส่งผลกระทบ
รุนแรงอย่างชัดเจนหากไม่มีการจัดการในตอนนี้เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดที่สามารถป้องกันได้ซึ่งพบอยู่ทุกปี Dr. Sim Kui Hian
หัวหน้าแผนกหลอดเลือดหัวใจ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์โรงพยาบาล Sarawak ประเทศมาเลเซียกล่าวว่า “ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดขึ้นทั่วเอเชียมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงและเป็นภาระทางเศรษฐกิจของประเทศ สมาชิกกลุ่ม Action for Stroke Prevention จึงได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์ความเสี่ยงจากปัญหาโรคสมองขาดเลือดที่เกิดขึ้น และเร่งเร้าให้ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย ภาครัฐ กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วยและ
สมาคมการแพทย์ต่าง ๆ กำหนดแนวทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันผลกระทบจากโรคสมองขาดเลือดที่มีต่อบุคคล ครอบครัวและผู้ดูแล”
ข้อเสนอแนะจากรายงานดังกล่าวประกอบไปด้วย:
? การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะ AF และภาวะสมองขาดเลือดเนื่องจากภาวะ AF เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
? การกำหนดวิธีเพื่อการวินิจฉัยภาวะ AF แต่เนิ่น ๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด
? การกำหนดแนวทางใหม่ที่ดีกว่าเพื่อป้องกันภาวะสมองขาดเลือดในผู้ป่วยกลุ่ม AF ? ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินการที่ดีที่สุดระหว่างภาครัฐในแถบเอเชียแปซิฟิค
? พัฒนาแนวทางเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้
? การกำหนดแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เท่าเทียมกันและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยกลุ่ม AF ในประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิค
? การพัฒนาด้านการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุ การป้องกันและการจัดการภาวะ AF และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้อมูลทางระบาดวิทยาในพื้นที่แถบเอเชียแปซิฟิค
โรคสมองขาดเลือดสามารถป้องกันได้ — ร่วมกันป้องกันอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้
"เนื่องจากภาวะสมองขาดเลือดจำนวนมากมีสาเหตุมาจากภาวะ AF ซึ่งสามารถป้องกันได้เราจึงเชื่อว่า
การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคสมองขาดเลือดในผู้ป่วยกลุ่ม AF และในทางกลับกันก็จะช่วยลดภาระแก่แพทย์ ภาระทางการเงินและสังคมเนื่องจากโรคสมองขาด
เลือดในแถบเอเชียแปซิฟิค” Professor Gregory Lip ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลอดเลือดหัวใจ Medicine, University of Birmingham Centre for Cardiovascular Sciences, City Hospital Birmingham ประเทศอังกฤษกล่าว
ทุกปี ประชากรทั่วโลกกว่า 15 ล้านคนได้รับผลกระทบจากภาวะสมองขาดเลือด12 ประมาณห้าล้านรายจากจำนวนนี้พิการในเวลาต่อมา และอีกกว่าห้าล้านคนเสียชีวิต ซึ่งเป็นสัดส่วนมากถึง 10% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก12-14
ในเอเชียแปซิฟิคช่วงปี 2004 มีผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากสมองขาดเลือดประมาณ 4.4 ล้านคนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 9.1 ล้านคนในแถบแปซิฟิคตะวันตก14 ในปีเดียวกัน จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดเป็นครั้งแรกเท่ากับ 5.1 ล้านคนในแถบพื้นที่เดียวกันนี้15 ซึ่งสูงกว่าค่าโดยประมาณของผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่มาก15
ผู้ป่วยสมองขาดเลือดเนื่องจากภาวะ AF มักจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลยาวนานกว่า และมักไม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน อีกทั้งมีโอกาสพิการ16,17 ในอัตราที่สูงกว่าผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดโดยไม่มีสาเหตุมาจากภาวะ AF ถึง 50% ผู้ป่วยในแถบเอเชียแปซิฟิคที่เกิดภาวะ AF มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในประเทศจีน พบว่ามีผู้ป่วยกลุ่ม AF มากถึงแปดล้านราย18,19
“ทุกปี ผู้ป่วยในช่วงอายุต่าง ๆ นับล้านที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจกระตุกและเกิดอาการสมองขาดเลือดต้องอยู่ในสภาพพิการ” Trudie Lobban ผู้ก่อตั้งและผู้ดูแล Arrhythmia Alliance และผู้ร่วมก่อตั้ง รวมทั้ง CEO ของ Atrial Fibrillation Association กล่าว“หากเราไม่ใช่ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจกระตุก ก็ยังมีโอกาสที่เราจะต้องดูแลหรือรู้จักกับคนที่มีอาการเหล่านี้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน
เพื่อปรับปรุงแนวทางการวินิจฉัยและดูแลภาวะ AF เพื่อป้องกันผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยที่สมองขาดเลือด รวมทั้งกับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย
ภาระทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเนื่องจากอาการสมองขาดเลือดสำหรับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิคเป็นปัญหาที่น่ากังวลอยู่ไม่น้อย เช่นในกรณีของประเทศจีน รัฐบาลต้องสูญเสียเงินรายได้ถึง 558,000 ล้านเหรียญเนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจ สมองขาดเลือดและเบาหวาน20
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือผลกระทบจากภาวะสมองขาดเลือดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื่อว่าจะมีผู้ป่วยกลุ่ม AF เพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากมีประชากรสูงอายุเป็นจำนวนมาก และอัตรารอดชีวิตที่สูงขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเอื้อต่อภาวะ AF (เช่น หัวใจวาย)
- จบ —
Action for Stroke Prevention เป็นโครงการภายใต้ทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษาวิจัยจาก Bayer HealthCare รายงานและเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดผ่านการพิจารณาโดยผู้จัดทำ โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ Bayer HealthCare.
ข้อมูลติดต่อ
Erika Aalto Melissa Gonzalez
อีเมล: e.aalto@togorun.net อีเมล: m.gonzalez@togorun.net
โทร: +44 (0) 207 554 1708 โทร: +1 (212) 453 2047
ข้อมูลอ้่างอิง
1. Liu LS, Caguioa ES, Park CG et al. Reducing stroke risk in hypertensive patients: Asian Consensus Conference recommendations. Int J Stroke 2006;1:150—7
2. Kannel WB, Benjamin EJ et al. Prevalence, incidence, prognosis, and predisposing conditions for atrial fibrillation: population-based estimates. Am J Cardiol 1998;82:457-507
3. Wolf PA, Abbott RD, Kannel WB. Atrial fibrillation as an independent risk factor for stroke: the Framingham Study. Stroke 1991;22:983—8
4. American College of Cardiology. CardioSmart. Atrial fibrillation. 2010
5. Marini C, De Santis F, Sacco S et al. Contribution of atrial fibrillation to incidence and outcome of ischemic stroke: results from a population based study. Stroke 2005;36:1115—19
6. Wolfe CD. The impact of stroke. Br Med Bull 2000;56:275-86
7. White CL, Poissant L, Cote-LeBlanc G et al. Long-term caregiving after stroke: the impact on caregivers’ quality of life. J Neurosci Nurs. 2006;38:354—60
8. Wei et al. Variations and determinants of hospital costs for acute stroke in China. PLoS One 2010;28; 5(9):e13041. doi:10.1371/journal.pone.0013041
9. Go AS, Hylek EM, Phillips KA et al. Prevalence of diagnosed atrial fibrillation in adults: national implications for rhythm management
10. Murphy NF, Simpson CR, Jhund PS et al. A national survey of the prevalence, incidence, primary care burden and treatment of atrial fibrillation in Scotland. Heart 2007;93:606—12
11. Kirchhof et al. Early and comprehensive management of atrial fibrillation: Proceedings from the 2nd AFNET/EHRA consensus conference on AF entitled ‘research perspectives in AF’. EurHJ 2009
12. Wolfe C, Rudd A. The Burden of Stroke White Paper: Raising awareness of the global toll of stroke-related disability and death, 2007. http://www.safestroke.org/Portals/10/FINAL%20Burden%20of%20
Stroke.pdf. Accessed March 2011
13. World Health Organization. The Atlas of Heart Disease and Stroke. 2004 http://www.who.int/cardiovascular_diseases/resources/atlas/en/. Accessed March 2011
14. World Health Organization. The global burden of disease: 2004 update. Disease and injury regional estimates for 2004. Prevalence for WHO regions. 2008. http://www.who.int/entity/healthinfo/ global_burden_disease/PREV6%202004.xls. Accessed March 2011
15. World Health Organization. The global burden of disease: 2004 update. 2008http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/GBD_ report_2004update_full.pdf. Accessed March 2011
16. Lamassa M, Di Carlo A, Pracucci G et al. Characteristics, outcome, and care of stroke associated with atrial fibrillation in Europe: data from a multicenter multinational hospital based registry (The European Community Stroke Project). Stroke 2001;32:392—8
17. J?rgensen HS, Nakayama H, Reith J et al. Acute stroke with atrial fibrillation. The Copenhagen Stroke Study. Stroke 1996;27:1765—9
18. Zhou Z, Hu D. An epidemiological study on the prevalence of atrial fibrillation in the Chinese population of mainland China. J Epidermiol 2008;18:209-16
19. Hu D, Sun Y. Epidemiology, risk factors for stroke, and management of atrial fibrillation in China. JACC 2008;52:865—8
20. World Health Organization. Cardiovascular diseases (CVDs): Fact sheet N?317. 2011 http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/index.html. Accessed March 2011
AsiaNet 44476
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --