ที่ประชุมโรคหัวใจแห่งเอเชียแปซิฟิก ชี้คนเอเชียมีคอเรสเตอรอลสูง เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองขาดเลือด โรคที่คร่าชีวิตชาวเอเชียมากที่สุด

ข่าวต่างประเทศ Thursday January 15, 2004 11:28 —Asianet Press Release

สิงคโปร์, 15 ม.ค. - เอ็กซ์เอฟเอ็นเอชเค/เอเชียเน็ท
แพทย์โรคหัวใจที่เข้าร่วมการประชุมโรคหัวใจแห่งเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 14 (14th Annual Asian Pacific Congress of Cardiology) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ในสัปดาห์นี้ เตือนว่า ชาวเอเชียอาจจะเสี่ยงเป็นโรคสมองขาดเลือดมากขึ้น หลังจากพบว่าระดับคอเรสเตอรอลในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น
ในวารสารระบาดวิทยา (Journal of Epidemiology) เมื่อปีที่แล้ว ได้เผยแพร่การศึกษาของเอเชียแปซิฟิก โคฮอร์ท สตัดดีส์ คอลลาบอเรชั่น (Asia Pacific Cohort Studies Collboration) ซึ่งรายงานว่า ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองขาดเลือดชนิดอิสคาเอมิค (ischaemic stroke) ทั้งแบบที่ร้ายแรงถึงชีวิต หรือไม่ร้ายแรง เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 25 นอกจากนี้ผลการศึกษา 29 กลุ่มทั่วภูมิภาค ยังยืนยันว่า ระดับคอเรสเตอรอลในชาวเอเชียก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
ความเชื่อมโยงระหว่างคอเรสเตอรอลและโรคสมองขาดเลือด
นอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจแล้ว การมีระดับคอเรสเตอรอลสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคสมองขาดเลือดชนิดอิสคาเอมิคอีกด้วย ซึ่งโรคสมองขาดเลือดชนิดดังกล่าว จะทำให้เลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงสมองบางส่วนถูกขัดขวาง เพราะหลอดเลือดแข็งตัว หรือเกิดการอุดตันในเส้นเลือด ทั้งนี้ลักษณะดังกล่าวแตกต่างกับโรคสมองขาดเลือดชนิดฮาเอมอร์ราจิก (haemorrhagic) ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดแตก และส่งผลให้เลือดคั่งในสมอง
โรคสมองขาดเลือดชนิดอิสคาเอมิค จะทำให้เกิดการอุดตันในส่วนต่างๆ ตั้งแต่หัวใจไปจนกระทั่งเส้นโลหิตในสมอง ตัวอย่างเช่น คอรสเตอรอลสูงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดตะกอนไขมันขนาดใหญ่ (หลอดเลือดแข็ง) ในเส้นเลือดใหญ่ที่นำไปสู่สมอง ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไหลช้าลง หรือหยุดไหลโดยสนิท สภาพเช่นนี้ร้ายแรงมาก เพราะโดยปรกติ เส้นเลือดใหญ่ที่นำไปสู่สมองแต่ละเส้นจะนำเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง นอกจากนี้ตะกอนไขมันอาจจะขัดขวางเลือดที่นำไปเลี้ยงสมอง โดยตะกอนไขมันจะไหลไปพร้อมกับเลือด และอุดตันในหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก จนกระทั่งไม่สามารถไหลต่อไปได้อีก ขณะเดียวกันเลือดที่ไหลจากห้องหัวใจไปสู่สมองยังอาจจับตัวเป็นก้อน และเกิดการอุดตันได้
การรักษาระดับคอเรสเตอรอลสูง และการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองขาดเลือด
เนื่องด้วยปริมาณการใช้ยา (รู้จักกันในชื่อ "สตาติน") เพื่อลดระดับคอเรสเตอรอล ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ นักวิจัยจึงได้ค้นคว้าตัวยาใหม่ๆ เพื่อช่วยป้องกันอันตรายอื่นๆ อันมีสาเหตุมาจากระดับคอเรสเตอรอลสูง ซึ่งนอกจากโรคหัวใจแล้ว ยังรวมถึงโรคสมองขาดเลือดอีกด้วย
"การศึกษาของแอสคอท (Anglo-Scandinavian Cardiac Outcomes Trial) ได้สิ้นสุดลงเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมถึง 2 ปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลการศึกษาดังกล่าวสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วย ด้วยการลดภาวะสมองขาดเลือดในผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงลงได้ด้วยการรักษาด้วยยาอทอร์วาสเททิน (Atorvastatin) หรือลิพิทอร์ (Lipitor)" ศาสตราจารย์ทอนคินกล่าว
"ผลการศึกษาเกี่ยวกับยาลิพิทอร์อื่นๆนั้น จะสามารถระบุถึงผลกระทบจากการลดความเสี่ยงของโรคสมองขาดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยประสบภาวะหัวใจวายมาแล้ว" ศาสตราจารย์ทอนคินกล่าว
กลุ่มผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่
ทอนคินเน้นว่า ผลการศึกษายังคงยืนยันได้ว่า แม้แต่ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงที่อยู่ในระหว่างการรักษาก็ยังไม่บรรลุผลตามที่ได้ตั้งไว้ แพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เปลี่ยนวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม
"ทั้งนี้ หากใช้วิธีการรักษาแบบจริงจัง ทางแพทย์เองต้องหาวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวอย่างต่อเนื่องได้ด้วยการแนะนำในเรื่องอาหาร, การออกกำลังกาย, การดูแลตัวเองที่บ้าน และการรับประทานยา" ทอนคินกล่าว
ใครบ้างที่อยู่ในภาวะเสี่ยง
ศาสตราจารย์แอนดรูว์ ทอนคิน หัวหน้าศูนย์วิจัยโรคหัวใจ แผนกระบาดวิทยาและเภสัชสศาสตร์เพื่อการป้องกันโรค มหาวิทยาลัยโมนาช เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ระบุว่า การประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีแบบเดิมจะต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
ศาสตราจารย์ทอนคินกล่าวว่า แพทย์ในประเทศต่างๆได้พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดมานาน แต่เราต้องขยายจุดมุ่งหมายของเราให้ครอบคลุมเรื่องการประเมินความเสี่ยงอย่างเต็มที่, ภาวะการเผาผลาญอาหารบกพร่อง, โรคเบาหวาน เช่นเดียวกับปัจจัยที่จะสามารถป้องกันผู้ป่วยจากการรักษาแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ศาสตราจารย์ทอนคินยังเป็นผู้นำกลุ่มปฏิบัติการเพื่อแนวทางการป้องกันความเสี่ยงแบบเต็มที่ให้แก่กลุ่มผู้ป่วยในออสเตรเลีย โดยเครื่องมือดังกล่าวจะสามารถใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยได้อย่างละเอียด
ติดต่อ: เวเบอร์ แชนด์วิค (Weber Shandwick)
วาเลรี แทน (Valerie Tan)
โทร.+65-9367-3674
จิล มอร์เทนเซน (Jill Mortensen)
โทร.+852-9732-8422
ที่มา: เวเบอร์ แชนด์วิค เผยแพร่ในนามของไฟเซอร์
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--
-ปป/สพ-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ