เคพีเอ็มจีชี้ความเสี่ยงด้านภาษีและโอกาสในเอเชีย แปซิฟิก: นิตยสารฉบับใหม่วิเคราะห์เจาะลึกประเด็นสำคัญ

ข่าวต่างประเทศ Monday November 14, 2011 14:48 —Asianet Press Release

ซิดนีย์, ออสเตรเลีย--14 พ.ย.--ซีเอ็นดับเบิลยู — เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ภาษี และการปฏิรูปด้านการกำกับดูแล ล้วนแล้วแต่เป็นความท้าทายที่ซับซ้อนที่ฝ่ายบริหารด้านภาษีต้องเผชิญและจำเป็นต้องมองการณ์ให้ไกล เพื่อวางรูปแบบการปฏิบัติงานใหม่และปรับปรุงยุทธศาสตร์ที่ดำเนินมาอย่างยาวนานเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว ความท้าทายต่างๆเหล่านี้กลายเป็นประเด็นสำคัญ ในการประชุมสุดยอดเคพีเอ็มจี แปซิฟิค ซัมมิท ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในวันนี้ และในนิตยสารฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า ฟิวเจอร์ โฟกัส: ภาษีและการเปลี่ยนในข้อเท็จจริงใหม่ด้านธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (Future Focus: Tax and Transformation in Asia Pacific’s New Business Reality) นิตยสารฟิวเจอร์ โฟกัส และที่ประชุมได้หารือในประเด็นเรื่องวิธีการตรวจสอบเรื่องการดำเนินการด้านภาษีของบริษัทต่างๆที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และการจัดลำดับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุดว่า มีการดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะรับมือกับความยุ่งยากซับซ้อนที่มีเพิ่มมากขึ้นและการพัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแห่งนี้ “เจ้าหน้าที่สรรพากรกำลังจับตามองกิจการระหว่างประเทศของบริษัทผู้เสียภาษี เพื่อปกป้องสถานภาพการเงินของรัฐบาลและป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบบัญชีโอนเงิน ผู้ที่เดินทางเพื่อทำธุรกิจระยะสั้นไปจนถึงความท้าทายในเรื่องของโครงสร้างการถือหุ้นในต่างประเทศ” วอร์ริค เคลน หัวหน้าฝ่ายภาษีประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกของเคพีเอ็มจีกล่าว “ธุรกิจต่างๆในภูมิภาคกำลังถูกท้าทายให้ก้าวให้ทันตามการเปลี่ยนแปลงที่ทั้งรวดเร็วและซับซ้อน” นิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยทีมงานมืออาชีพอาวุโสด้านภาษีของเคพีเอ็มจี แจกแจงให้เห็นว่า ในปัจจุบัน บริษัทในเอเชียแปซิฟิกจำเป็นต้องรับมือกับกฎเกณฑ์การกำหนดราคาโอนเงินที่แตกต่างกันในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาที่หลากหลายอย่างไร ตั้งแต่ตลาดที่อิ่มตัวแล้วอย่างญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ไปจนถึงกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยลงมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มร.เคลนมองว่า “ความแตกต่างเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อความพยายามที่จะกำหนดนโยบายราคาโอนเงินทั่วทั้งบริษัทให้ได้อย่างสม่ำเสมอ การรับมือกับหลักเกณฑ์ใหม่ย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงเช่นกัน แม้ว่าราคาโอนของบริษัทอาจจะอยู่ในสถานะที่ดี แต่ทีมงานภาคสนามของกรมสรรพากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย อาจจะขาดประสบการณ์ทางด้านเทคนิค ซึ่งอาจทำให้การตรวจสอบยุ่งยากซับซ้อนและก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้” ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ยกระดับการกำหนดนโยบายราคาโอนให้เป็นไปอย่างรอบคอบยิ่งขึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่นประเทศจีน ถึงแม้ว่า ในหลายกรณีจะยังคงคล้ายคลึงกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาก็ตาม โดยมูลค่าเฉลี่ยของการปรับเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้มูลค่าการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 354% (จากไม่ถึง 500 ล้านหยวนในปี 2548 มาเป็นกว่า 2,000 ล้านหยวนในปี 2552) มืออาชีพด้านภาษีของเคพีเอ็มจีระบุว่า มีสัญญาณบ่งชี้ว่า กระแสดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเพิ่มกฎเกณฑ์ราคาโอนภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องทำให้กรมสรรพากรมีข้อมูลล้นเหลือที่จะใช้เป็นเป้าหมายในการเข้าไปตรวจสอบบัญชี นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่กรมสรรพากรสามารถใช้เพื่อติดตามอุตสาหกรรม กลุ่มต่างๆ หรือแม้กระทั่งบริษัทในเป้าหมายที่มีผลประกอบการผิดปกติ และสามารถพุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบกิจกรรมในกลุ่มเหล่านี้ นิตยสารฟิวเจอร์ โฟกัสยังได้วิพากษ์ในประเด็นที่ว่า ธุรกิจในภูมิภาคนี้จำเป็นจะต้องวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีทางอ้อมอย่างไร พร้อมระบุว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม/ภาษีสินค้าและบริการเฉลี่ยในโอเชียเนียเพิ่มขึ้นจาก 12% ในปี 2553 มาเป็น 12.5% ในปี 2554 และในเอเชียเพิ่มขึ้นจาก 11.64% ในปี 2553 มาเป็น 11.93% ในปี 2554 ได้อย่างไร “เมื่อต้องวางแผนกลยุทธ์ ธุรกิจต่างๆในเอเชียแปซิฟิกต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษีทางอ้อมด้วย” มร.เคลนกล่าว “ตัวอย่างเช่น ควรจะนำอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม/ภาษีสินค้าและบริการมาประกอบการพิจารณา เมื่อต้องเจรจาสัญญาระยะยาวกับซัพพลายเออร์ และเมื่อต้องใช้ระบบไอทีใหม่ๆ นอกจากนี้ ควรจะต้องแน่ใจว่า ธุรกิจของตนเองมีแหล่งจัดการภาษีเงินได้กับภาษีมูลค่าเพิ่ม/ภาษีสินค้าและบริการที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวรอท่าอยู่แล้ว” ฟิวเจอร์ โฟกัส ยังได้ชูประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับบริหารการจัดการความเสี่ยงทางด้านภาษี รวมทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นและผลกระทบเมื่อเดือนมี.ค. 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่จะต้องมีระบบที่แข็งแกร่งไว้รองรับการติดตามและวางแผนการเดินทางของลูกจ้าง เหตุฉุกเฉินในลักษณะดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องโยกย้ายลูกจ้างออกจากเขตอันตรายเป็นระยะเวลาที่ไม่สามารถระบุได้ หรืออาจจะต้องปล่อยให้ลูกจ้างพำนักอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานานกว่ากำหนด “ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากมหันตภัยทางธรรมชาติ เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ย่อมทำให้ต้องมีการดำเนินการด้านภาษี เช่นเดียวกับการเดินทางของลูกจ้างในวาระอื่นๆ” มร.เคลนกล่าว “จริงๆแล้ว สถานการณ์เหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ เช่น เมื่อมีการโยกย้ายผู้บริหารระดับกำหนดนโยบายสำคัญๆจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำหน้าที่ทางธุรกิจ โดยจะต้องมีการตีความราคาโอนและการตั้งรกรากถาวรด้วย เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นดังนี้แล้ว สิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดคือ การเข้าถึงข้อมูลให้ได้อย่างฉับไวว่าลูกจ้างของคุณอยู่แห่งหนใด และมีทางเลือกใดๆเพื่อจะโยกย้ายพวกเขาไปยังที่ที่ปลอดภัยและประหยัด” เนื่องจากบริษัทต่างๆในเอเชียแปซิฟิกได้เติบโตและขยายตัวเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ฝ่ายบริหารภาษีจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีรับมือกับประเด็นระดับโลกอันยุ่งยากซับซ้อนดังเช่นที่กล่าวมา ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรด้วย นับว่ายังโชคดีที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา องค์กรชั้นนำในยุโรป อเมริกาเหนือ และจากทั่วโลกได้พยายามอย่างหนัก เพื่อที่จะหาทางออกให้กับหลายประเด็นในส่วนนี้ “บริษัทในเอเชียแปซิฟิกสามารถหลีกเลี่ยงขั้นตอนการพัฒนาต่างๆเหล่านี้ได้ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบ กระบวนการขั้นตอน และเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้ว” มร.เคลนกล่าว “ในนิตยสารฉบับใหม่และสุดยอดการประชุมของเรา มืออาชีพด้านภาษีของเคพีเอ็มจีได้นำเสนอแนวความคิดที่ชัดเจน ซึ่งบริษัทในเอเชียแปซิฟิกจะสามารถนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าได้” สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งบทสนทนาทางโซเชียลมีเดียจากที่ประชุมสามารถเยี่ยมชมได้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์(http://twitter.com/#!/kpmgglobal) และลิงค์อินที่ (http://www.linkedin.com/groups?gid=4064840)ขณะที่วีดีโอและข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งนิตยสารฟิวเจอร์ โฟกัส: ภาษีและการเปลี่ยนในข้อเท็จจริงใหม่ด้านธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก สามารถเข้าชมได้ที่ www.kpmg.com/taxviews. หมายเหตุ: อัตราภาษีทางอ้อมเฉลี่ยล่าสุด ณ เดือนต.ค. 2554 โอเชียเนียและเอเชียเป็นคำนิยามโดยองค์การสหประชาชาติ เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชันแนล เคพีเอ็มจีเป็นเครือข่ายบริษัทมืออาชีพระดับโลก ให้บริการตรวจสอบบัญชี ภาษี และคำปรึกษา เรามีสุดยอดมืออาชีพ 138,000 คน ทำงานร่วมกันเพื่อนำเสนอคุณค่าใน 150 ประเทศทั่วโลก บริษัทอิสระซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายเคพีเอ็มจีนับเป็นบริษัทในเครือเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชันแนล โคออเปเรทีฟ (“เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชันแนล”) ในนามบริษัทสัญชาติสวิส แต่ละบริษัทของเคพีเอ็มจีเป็นองค์กรที่แยกต่างหากจากกันตามกฎหมาย และนิยามแต่ละบริษัทที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน แหล่งข่าว: เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชันแนล ติดต่อ: สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายสัมภาษณ์ กรุณาติดต่อ: เจมส์ บิ๊กก์ (James Bigg) เอเดลแมน พับลิก รีเลชั่นส์ โทรศัพท์: +1-416-849-2496 อีเมล์: james.bigg@edelman.com/ AsiaNet 47273 -- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ