ซิดนีย์, ออสเตรเลีย--16 พ.ย.--มีเดียเน็ท อินเตอร์เนชั่นแนล — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนออสเตรเลีย และนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด แห่งออสเตรเลีย ได้รับการคาดหมายว่าจะประกาศขยายกองทัพและกิจกรรมทางการทหารของสหรัฐในออสเตรเลียอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของสหรัฐในการย้ำจุดยืนและกระจายกองกำลังทั่วเอเชีย รวมถึงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของพันธมิตรด้านความมั่นคงออสเตรเลีย-สหรัฐ ซึ่งมีความสัมพันธ์ยาวนานถึง 60 ปี
ผลสำรวจของสถาบันโลวีเพื่อนโยบายระหว่างประเทศ (Lowy Institute for International Policy) ของออสเตรเลีย ระบุว่า ประชาชนชาวออสเตรเลียจำนวนมากสนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ เนื่องจากมีความไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาค
“ผลสำรวจประจำปี 2554 ระบุว่า ชาวออสเตรเลีย 59% เห็นว่าพันธมิตรมีความสำคัญมากสำหรับความมั่นคงของออสเตรเลีย (เพิ่มขึ้นจาก 36% ในปี 2550) ขณะที่อีก 23% เห็นว่ามีความสำคัญพอสมควร” เฟอร์กัส แฮนเซ่น (Fergus Hanson) ผู้ทำการสำรวจ กล่าว
ผลสำรวจประจำปี 2554 ยังเปิดเผยว่า ชาวออสเตรเลีย 55% สนับสนุนให้มีการตั้งสหรัฐตั้งฐานทัพในออสเตรเลียได้ ( http://www.lowyinstitute.org/Publication.asp?pid=1617 )
“การทำข้อตกลงใหม่ๆจะเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในด้านความเป็นพันธมิตร ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ออสเตรเลียให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตอกย้ำให้เห็นว่าการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐเป็นส่วนสำคัญในนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลีย” แอนดรูว์ เชียเรอร์ (Andrew Shearer) ผู้อำนวยการด้านการศึกษาของสถาบันโลวี
“การที่ประธานาธิบดีโอบามาเดินทางเยือนเอเชียแสดงให้เห็นว่าอเมริกายังไม่ได้ตกต่ำอย่างที่หลายคนทำนายไว้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทรงอิทธิพลในแปซิฟิก และยังคงต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ในกิจการต่างๆในเอเชีย ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร”
“การขยายกองทัพสหรัฐจะเป็นประโยชน์ต่อออสเตรเลีย เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐอเมริกา และเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค บรรดาประเทศเพื่อนบ้านของเราไม่อาจแสดงความเห็นด้วยต่อสาธารณะ แต่ลึกๆแล้วพวกเขาต้องเห็นด้วยแน่นอน”
มร.เชียเรอร์ ซึ่งเป็นอดีตนักการทูตระดับสูงประจำกรุงวอชิงตัน เชื่อว่าการเรียกร้องให้ออสเตรเลียตีตัวออกห่างจากสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างออสเตรเลียกับจีนที่กำลังเติบโต ถือเป็นแนวทางที่ผิด และเขาสนับสนุนมาตลอดให้ขยายกองทัพสหรัฐในออสเตรเลีย
ในบทความล่าสุดว่าด้วยอนาคตของพันธมิตรในชื่อ “Uncharted Waters: The US
Alliance and Australia’s New Era of Strategic Uncertainty” มร.เชียเรอร์ระบุว่า ประชาชนที่สนับสนุนการเป็นพันธมิตรระหว่างออสเตรเลีย-สหรัฐ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนทั้งในออสเตรเลียและหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กังวลเรื่องที่จีนเริ่มถือสิทธิ์และแสดงความมุ่งหมายต่างๆในระยะยาว ( http://www.lowyinstitute.org/Publication.asp?pid=1669 )
ผลลัพธ์อื่นๆที่ได้จากการสำรวจล่าสุดของสถาบันโลวีประกอบด้วย
* 78% ของชาวออสเตรเลียที่ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่า ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งช่วยส่งเสริมค่านิยมและอุดมคติหลายๆอย่างที่ชาวออสเตรเลียและชาวอเมริกันมีร่วมกัน ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 73% เห็นว่าการเป็นพันธมิตรมีความเสี่ยง โดยยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นที่ออสเตรเลียจะถูกดึงเข้าไปร่วมสงครามในเอเชียทั้งที่ออสเตรเลียไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 21% เห็นว่าออสเตรเลียสามารถป้องกันตนเองได้โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
* 83% ของชาวออสเตรเลียเชื่อมั่นว่าสหรัฐอเมริกาจะแสดงความรับผิดชอบต่อโลก อย่างมากหรือค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเท่ากับประเทศญี่ปุ่น
* ผลสำรวจของสถาบันโลวีประจำปี 2553 ได้มีการถามความเห็นเรื่องสถานะของสหรัฐอเมริกาในเวทีโลกในช่วง 10 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถาม 48% เห็นว่าอเมริกาจะยังคงเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการทหารเหมือนเดิม และ 31% เห็นว่าจะเพิ่มขึ้น (ส่วน 20% คิดว่าจะลดลง) ขณะเดียวกัน 30% เห็นว่าสหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจเหมือนเดิม ส่วน 28% คิดว่าจะเพิ่มขึ้น และ 40% คิดว่าจะลดลง
ข้อมูลเพิ่มเติม
หากต้องการสัมภาษณ์มร.เชียเรอร์ (ซิดนีย์, ออสเตรเลีย) กรุณาส่งอีเมลมาโดยตรงที่ ashearer@lowyinstitute.org
หากต้องการสัมภาษณ์มร.เฟอร์กัส แฮนเซ่น (วอชิงตันดีซี, สหรัฐอเมริกา) กรุณาส่งอีเมลมาโดยตรงที่ fhanson@lowyinstitute.org
สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการสอบถามข้อมูลทั่วไป กรุณาติดต่อ สเตฟานี ดันสแตน (Stephanie Dunstan) (ซิดนีย์, ออสเตรเลีย) ที่อีเมล sdunstan@lowyinstitute.org หรือหมายเลขโทรศัพท์ + 61 (0)2 82389040 (สำนักงาน) และ + 61 (0) 435 802629 (มือถือ)
แหล่งข่าว: สถาบันโลวีเพื่อนโยบายระหว่างประเทศ
AsiaNet 47340
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --