สแครนตัน, เพนซิลวาเนีย--10 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ผลการศึกษาล่าสุดของ ดร. โจ วินสัน (Joe Vinson) ศาสตราจารย์ด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยสแครนตัน ในวารสารฟู้ดแอนด์ฟังก์ชั่นของสมาคมเดอะ รอยัล โซไซตี้ ออฟ เคมิสทรี ซึ่งได้รับการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 ระบุว่า พืชตระกูลถั่วเปลือกแข็งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และจัดอันดับให้ผลวอลนัทอยู่ที่อันดับสูงสุดของถั่วที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่เรียกว่า สารโพลีฟีนอล และคุณภาพของสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าถั่วชนิดอื่นๆที่ผ่านการวิเคราะห์
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20120110/SF33017)
การศึกษาของดร.วินสันนั้น ได้มีการประเมินคุณค่าถั่ว 9 ชนิดที่ผ่านการอบแล้วและชนิดที่ดิบ รวมทั้งเนยถั่วลิสง 2 ชนิด เพื่อวัดปริมาณสารโพลีฟีนอลที่ตรวจพบในถั่วดังกล่าว และประเมินสรรพคุณที่คาดว่า จะมีในสารโพลีฟีนอลที่จะยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในโปรตีนจำพวกไลโปโปรตีนซึ่งมีความเข้มข้นต่ำกว่า ซึ่งมักจะใช้ชื่อว่า “คอเลสเตอรอลชนิดเลว” การศึกษาของดร.วินสันพบว่า ผลวอลนัทมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูงที่สุด และพบว่าคุณภาพของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผลวอลนัทนั้นมีมากที่สุดเมื่อเทียบกับถั่วอื่นๆ
“อันดับของวอลนัทนั้นอยู่สูงกว่าถั่วบราซิล พิสตาชิโอ้ พีแคน ถั่วลิสง อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และเฮเซลนัท” ดร.วินสันกล่าว การศึกษาของเขายังพบว่าจำนวนสารโพลีฟีนอลทั้งหมดในเนยถั่วนั้น มีปริมาณต่ำกว่าถั่วลิสงที่ผ่านการคั่วเป็นอย่างมาก แต่ความแตกต่างนี้ไม่มีมีนัยในทางสถิติมากนัก
ผลการวิจัยของดร.วินสันยังได้วิเคราะห์การบริโภคถั่วรายวันในอาหารทั้งในสหรัฐและสหภาพยุโรป ซึ่งจากการศึกษาชี้ว่า ถั่วคิดเป็นเพียง 8% ของสารต่อต้านอนุมูลอิสระทั้งหมดที่มนุษย์บริโภคเฉลี่ยต่อวัน
“ปริมาณการบริโภคถั่วทั้งหมด (ถั่วต่างๆและถั่วลิสง) ในสหรัฐอยู่ที่ประมาณ 12.9 กรัมต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการบริโภคถั่วในสหภาพยุโรปในปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ 11.1 กรัมต่อวัน” ดร.วินสันระบุในผลการวิจัย “ในสหรัฐการบริโภคถั่วลิสงคิดเป็นร้อยละ 65 ส่วนในสหภาพยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 45”
ดร.วินสันสันนิษฐานว่า ปริมาณการบริโภคถั่วต่อวันซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำนั้น อาจจะเป็นเพราะหลายคนยังไม่ทราบว่า ถั่วเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ขณะที่หลายคนอาจจะกลัวว่าอาหารที่ให้ไขมันและพลังงานสูงนี้จะทำให้น้ำหนักเพิ่ม แต่เขาระบุว่า ถั่วประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fat) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monosaturated fat) ไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวชนิดที่จะเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด
ผลการวิจัยของดร.วินสันสรุปได้ว่า “ถั่วมีใยอาหารสูง มีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ถั่วเป็นของขบเคี้ยวที่ให้คุณค่าทางอาหาร และยังเป็นอาหารเสริมที่ให้ทั้งคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ อันจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อร่างกายของผู้บริโภค”
ดร. วินสันยังกล่าวด้วยว่า ผู้บริโภคควรรับประทานในปริมาณน้อย อาทิ การรับประทานวอลนัทเพียงวันละ 7 ผลต่อวันก็จะทำให้ได้รับคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพียงพอ ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ที่ไม่เคยพบในการวิจัยครั้งก่อนหน้านี้เลย
ดร.วินสันยังได้นำเสนองานวิจัยชิ้นนี้ในที่ประชุมและงานแสดงผลงานของสังคมเคมีอเมริกันครั้งที่ 241 (National Meeting and Exposition of the American Chemical society) ไปเมื่อเดือนมี.ค. 2554 ด้วย
สำหรับเดอะ รอยัล โซไซตี้ ออฟ เคมิสทรี เป็นองค์กรวิชาชีพที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักรสำหรับนักวิทยาศาสตร์เคมี ทั้งยังเป็นชุมชนสากลสำหรับนักวิทยาศาสตร์เคมีระดับก้าวหน้า มีสมาชิกกว่า 47,000 คน (ข้อมูลจากเว็บไซต์) องค์กรแห่งนี้ตีพิมพ์วารสารทางวิชาการหลายฉบับ รวมทั้งฟู้ด แอนด์ ฟังก์ชัน
แหล่งข่าว มหาวิทยาลัยสแครนตัน
ติดต่อ:
สแตน ซิกมันต์ (Stan Zygmunt)
ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวและประชาสัมพันธ์
โทร. +1-570-941-7662 (ที่ทำงาน), +1-570-842-6705 (บ้าน) และอีเมล์ zygmunts2@scranton.edu
หรือ เจอร์รี ซาบอสกี (Gerry Zaboski)
รองประธานศิษย์เก่าและฝ่ายประชาสัมพันธ์
โทร. +1-570-941-7669 (ที่ทำงาน), +1-570-693-3459 (บ้าน) และอีเมล์ zaboskig1@scranton.edu
มหาวิทยาลัยสแครนตัน (University of Scranton)
AsiaNet 47994
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --