องค์การอนามัยโลกร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลชี้โรคจิตเสื่อมต้องได้รับการจัดอันดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในด้านอนามัยโลก

ข่าวต่างประเทศ Wednesday April 11, 2012 13:01 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

เจนีวา--11 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ รายงานฉบับใหม่เรียกร้องให้นานาประเทศจัดอันดับโรคจิตเสื่อมเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุข รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI) เรียกร้องให้รัฐบาลและผู้บริหารระดับนโยบายจัดสำดับความสำคัญของโรคจิตเสื่อมให้อยู่ในประเด็นสำคัญอันดับต้นๆในด้านอนามัยโลก โดยรายงานฉบับใหม่นี้ได้ให้มุมมองอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคจิตเสื่อมที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งนอกเหนือไปจากวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและกรณีศึกษาจากทั่วโลกแล้ว ในรายงานยังได้รวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุม ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลจากกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความยากลำบากในการเก็บรวบรวมข้อมูล นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในระดับโลกที่แท้จริง รายงานในหัวข้อ “Dementia: A Public Health Priority” นั้น เป็นรายงานซึ่ง WHO และ ADIได้รวบรวมข้อมูลจากคณะผู้เชี่ยวชาญ 4 กลุ่ม นำโดยทีมนักวิจัยจากสถาบันจิตเวชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคิง คอลเลจ ในลอนดอน และ สถาบันวิทยาศาสตร์ประสาทวิทยาในอินเดีย “WHO ตระหนักถึงขนาดและความซับซ้อนของความท้าทายอันเกิดจากโรคจิตเสื่อมและเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ จัดลำดับความสำคัญของโรคจิตเสื่อมให้อยู่ในอันดับต้นๆ” ดร.เชคฮาร์ แซกซีนา (Shekhar Saxena) ผู้อำนวยการฝ่ายสุขภาพจิตและการใช้สารในทางที่ผิดของ WHO กล่าวและระบุว่า “ปัจจุบัน มีเพียง 8 ประเทศ จากสมาชิก WHO ทั้งหมด 194 ประเทศที่ได้ทำแผนแห่งชาติรองรับโรคจิตเสื่อมเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่อีก 2-3 ประเทศกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ความหวังของเราก็คือการเห็นประเทศต่างๆ ปฏิบัติตาม และใช้รายงานฉบับนี้เป็นบรรทัดฐานในการวางแผนและดำเนินการ” มาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortman) กรรมการผู้อำนวยการของ ADI กล่าวว่า “ด้วยผลกระทบที่รุนแรงของโรคจิตเสื่อมที่มีต่อประชาชน ตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย สังคม และ ระบบสาธารณสุขของประเทศ โรคจิตเสื่อมไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงวิกฤติด้านสาธารณสุขเท่านั้นแต่รวมไปถึงด้านสังคมและงบประมาณด้วยเช่นกัน โดยทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกๆ 4 วินาที ระบบสาธารณสุขในปัจจุบันของเรายังไม่สามารถรับมือกับการลุกลามออกไปของวิกฤตโรคจิตเสื่อมได้ ในขณะที่เราต่างก็มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รายงานนี้แสดงให้เห็นว่า ยังมีหลายสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เป็นโรคจิตเสื่อม ตลอดทั้งผู้ดูแลผู้ป่วย” การเผยแพร่รายงาน WHO/ADI มาจากความต้องการของดร.ปีเตอร์ ไพออต (Peter Piot) ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขโลกและอดีตผู้อำนวยการบริหารโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ซึ่งช่วยเปลี่ยนโรค HID/AIDs จากโรคที่ไม่มีทางรักษาได้มาเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.ไพออตอธิบายถึงโรคจิตเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะว่า เป็นระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลัง เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผลการวิจัยของ ADI มีความสอดคล้องกับรายงานของ WHO ที่คาดว่า จำนวนประชากรที่ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมทั่วโลกอาจอยู่ที่ระดับ 35.6 ล้านคนในปี 2553 และอาจเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 2 เท่าในทุกๆ 20 ปี แตะที่ 65.7 ล้านคนในปี 2573 และ 115.4 ล้านคนในปี 2593 หากเปรียบเทียบระหว่างโรคจิตเสื่อมในวันนี้กับโรค HIV/AIDS ในปี 2523 ดร.ไพออต กล่าวว่า โลกต้องแก้ปัญหาโรคจิตเสื่อมในระดับเดียวกันอย่างเร่งด่วน “หากทั่วโลกต้องการให้มีการเรียกร้อง การเรียกร้องครั้งนี้ นับเป็นวิกฤตระดับโลก ผมยังมองไม่เห็นทางเลือกอื่นที่ดีไปกว่าการรักษาโรคอัลไซเมอร์ อย่างน้อยก็เท่ากับที่เราได้ให้ความสำคัญกับโรค HIV/AIDs” การรับรายงานฉบับสำเนา Dementia: A Public Health Priority สามารถดาวน์โหลดได้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายนเป็นต้นไปที่ http://www/alz.co.uo/WHO-dementia-report เกี่ยวกับ WHO และ ADI องค์การอนามัยโลก (World Health Organization—WHO) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลและประสานงานของเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพภายในเครือข่ายของหน่วยงานสหประชาชาติ http://www.www.who.int/about/en สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกของสมาคมอัลไซเมอร์ที่ให้การสนับสนุนผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมตลอดจนครอบครัวในประเทศที่ผู้ป่วยพำนักอาศัยอยู่ http://www.alz.co.uk ที่มา: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ