ไทยและฟิลิปปินส์เริ่มใช้เครื่องฉายรังสี TomoTherapy รักษาผู้ป่วยมะเร็งเป็นครั้งแรกในประเทศ

ข่าวต่างประเทศ Thursday May 24, 2012 16:22 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ซันนี่เวล, แคลิฟอร์เนีย--24 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์ เครื่องฉายรังสีภาพนำแบบเกลียวหมุน (TomoTherapy) ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเฉพาะบุคคลที่มีความแม่นยำและมีคุณภาพสูง แอคคิวเรย์ อินคอร์ปอเรทเต็ด (Accuray Incorporated) (Nasdaq: ARAY) บริษัทชั้นนำด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ประกาศว่า โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และศูนย์การแพทย์มากาติ หรือ มากาติเมด (MakatiMed) ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เริ่มทำการรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องฉายรังสีภาพนำแบบเกลียวหมุน TomoTherapy(R) ซึ่งใช้เทคนิคการฉายรังสีแบบ IG-IMRT โดยเป็นการผสมผสานอย่างสมบูรณ์ระหว่างการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม หรือ intensity modulated radiation therapy (IMRT) กับการฉายรังสีรักษาภาพนำวิถี หรือ Image guided radiation therapy (IGRT) เครื่อง TomoTherapy ช่วยให้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมากาติเมด สามารถเสนอทางเลือกการรักษาแบบไม่ทำให้เกิดแผลและเป็นการรักษาเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ป่วยได้ โดยสามารถรักษามะเร็งได้ทุกจุดทั่วร่างกาย ทำให้โรงพยาบาลทั้งสองแห่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ติดตั้งเครื่อง TomoTherapy และโรงพยาบาลทั้งสองแห่งเริ่มรักษาผู้ป่วยคนแรกด้วยเครื่องนี้เมื่อฤดูใบไม้ผลิ “ในฐานะโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงและเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่มีเครื่อง TomoTherapy เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัยที่สุดและได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพสูงสุด” ดร.สมศักดิ์ วรรณวิไลรัตน์ หัวหน้านักฟิสิกส์หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว “เราเล็งเห็นว่าการใช้เทคนิค IMRT รักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เป็นทางเลือกที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของผู้ป่วยทั่ว 17 จังหวัดทางภาคเหนือ รวมถึงผู้ป่วยชาวต่างชาติที่มีเวลารักษาน้อยได้” “เครื่อง TomoTherapy มีการผสมผสานอย่างสมบูรณ์ระหว่างศักยภาพของเทคโนโลยีภาพนำวิถีและการรักษาด้วยรังสี เราสามารถรักษาโรคมะเร็งได้เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ก้อนมะเร็งรูปร่างผิดปกติ ไปจนถึงการรักษาระยะยาวอย่างการรักษาก้อนมะเร็งหลายจุดบริเวณกระดูกสันหลังหรือในสมอง” ดร.แคธลีน บัลดิเวีย (Dr. Kathleen Baldivia) หัวหน้าหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาของมากาติเมด กล่าว “เครื่อง TomoTherapy จะแบ่งรังสีเป็นรังสีย่อยๆ ทำให้แพทย์เลือกความเข้มของการฉายรังสีได้หลากหลายในการรักษาบริเวณเดียว ช่วยลดอันตรายและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เครื่อง TomoTherapy มีดีไซน์ที่ล้ำสมัย มาพร้อมกับความแม่นยำในการรักษา และมีการแสดงภาพรายวันเพื่อความเที่ยงตรงในการรักษาอย่างแท้จริง TomoTherapy เป็นเครื่องฉายรังสีแบบ IG-IMRT ซึ่งมีระบบซีทีสแกนรายวัน ทำให้แพทย์ทำการรักษาเฉพาะบุคคลได้อย่างแม่นยำและมีคุณภาพสูงตามความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ป่วยแต่ละคน ลักษณะเครื่องแบบเกลียวหมุนทำให้รักษามะเร็งได้ครอบคลุมมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยจำนวนมากมีทางเลือกมากขึ้น “เรายินดีที่การรักษาด้วยเครื่อง TomoTherapy และการแสดงภาพรายวันเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และประเทศใกล้เคียง” ดร.ยวน เอส. ธอมสัน (Euan S. Thomson, Ph.D.) ประธานและซีอีโอบริษัทแอคคิวเรย์ กล่าว “ในฐานะโรงพยาบาลระดับแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน การติดตั้งเครื่อง TomoTherapy ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมากาติเมดจึงถือเป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับแอคคิวเรย์ ซึ่งกำลังพยายามขยายธุรกิจในระดับสากลและยกระดับการเข้าถึงการรักษา ซึ่งจะทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยดีขึ้น” เกี่ยวกับ แอคคิวเรย์ แอคคิวเรย์ อินคอร์ปอเรทเต็ด (Nasdaq: ARAY) ในซันนี่เวล, แคลิฟอร์เนีย เป็นบริษัทชั้นนำด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ซึ่งพัฒนา ผลิต และจำหน่ายโซลูชั่นการรักษาที่ทันสมัย เป็นส่วนบุคคล และมีมาตรฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น เทคโนโลยีระดับแนวหน้าของบริษัทอันได้แก่ CyberKnife และ TomoTherapy ออกแบบมาเพื่อใช้ในการผ่าตัดด้วยรังสี, การฉายรังสีเทคนิค Stereotactic Body Radiotherapy (SBRT), การฉายรังสีแบบ IMRT, การฉายรังสีแบบ IGRT และการรักษาแบบ adaptive radiation therapy ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบันเครื่องของบริษัทถูกนำไปติดตั้งในโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลกแล้ว 635 เครื่อง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.accuray.com คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ (Safe Harbor) ข้อความในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ หากแต่เป็นข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า ตามที่มีการจำกัดความในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคลปีพ.ศ. 2538 (Private Securities Litigation Reform Act of 1995) ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เกี่ยวข้องกับชื่อเสียง, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเครื่อง TomoTherapy, คุณภาพการรักษา, การขยายธุรกิจสู่สากล, ความเป็นผู้นำนวัตกรรมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาของบริษัท ฯลฯ ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้ามีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงออกมาแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวระบุอยู่ในหัวข้อ “ปัจจัยเสี่ยง” ในรายงาน Form 10-Q ของบริษัท ประจำไตรมาส 1, 2 และ 3 ของปีงบการเงิน 2555 ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้ากล่าวถึงข้อมูล ณ วันที่มีการจัดทำข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าขึ้นเท่านั้น และอ้างอิงข้อมูลที่บริษัทมี ณ เวลาที่ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าถูกจัดทำขึ้น และ/หรือ อ้างอิงจากความเชื่อโดยสุจริตของทีมบริหารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในอนาคต บริษัทไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าตามผลการดำเนินงานหรือผลลัพธ์ที่แท้จริง ตามการเปลี่ยนแปลงคาดการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อข้อมูลคาดการณ์ล่วงหน้า เว้นเสียแต่ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรยึดถือข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้มากเกินควร สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญได้ตามลิงก์ ยวน ธอมสัน https://profnet.prnewswire.com/Subscriber/ExpertProfile.aspx?ei=81869

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ