ย่างกุ้ง, พม่า--17 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
วอล์ค ฟรี (Walk Free) โครงการความเคลื่อนไหวเพื่อยุติการเป็นทาส เปิดตัวโครงการระดับโลก “Putting Slavery out of Business” ที่ประเทศพม่าในวันนี้
สมาชิกของวอล์ค ฟรี จากทั่วโลก จะเรียกร้องให้บริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกร่วมมือกันยุติการเป็นทาส ด้วยการตรวจสอบ ยกเลิก และป้องกันการบังคับใช้แรงงานในกิจการของตนเอง และห่วงโซ่อุปทาน
นิค โกรโน (Nick Grono) ซีอีโอ วอล์ค ฟรี กล่าวว่า “ธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาโดยตลอด รวมถึงการกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ไปจนถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ หากบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำของโลก 25 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าสุทธิมากกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วมกันให้ความสำคัญกับการยกเลิกการเป็นทาสยุคใหม่พอๆกับนวัตกรรมหลักในอนาคตขององค์กร เราก็จะสามารถจัดการกับการเป็นทาสในอุตสาหกรรมได้ภายในยุคนี้”
“เนื่องจากการบังคับใช้แรงงานยังไม่มีบทลงโทษทางกฏหมาย จึงเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ เช่น การหลอกลวงให้มารับสมัครงาน ดังนั้น ขณะนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างต้องสร้างความถูกต้องในส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบของตน เพื่อทำให้ประเด็นเรื่องการเป็นทาสยุคใหม่ถูกจัดลำดับความสำคัญให้เป็นวาระระดับโลก”
วอล์ค ฟรี กำลังเรียกร้องให้บริษัทใหญ่ระดับโลกให้ปฏิญญายกเลิกการเป็นทาสให้หมดสิ้นไปภายในวันที่ 31 มีนาคม 2556 โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบที่ดีสำหรับธุรกิจทุกรูปแบบ โดยการให้ข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการเพื่อคัดเลือกข้อมูล และหยุดฝันร้ายของคนที่ตกเป็นทาสยุคใหม่นับล้านคนทั่วโลก
เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน (Sir Richard Branson) ได้ลงนามในปฏิญญาของวอล์ค ฟรี และส่งสาส์นให้การสนับสนุนโครงการที่เปิดตัวในพม่าว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามในปฏิญญา ในนามของกลุ่มบริษัทที่ปราศจาคการบังคับใช้แรงงาน และผมจะขอให้ธุรกิจอื่นๆดำเนินการเช่นเดียวกับผม”
ขณะที่หลายคนคิดว่า การเป็นทาสถือเป็นมรดกตกทอดของอดีต ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ประมาณการว่า จำนวนผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของความรุนแรง การเหยียดหยาม และการลงโทษอย่างรุนแรง[1] ในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 20.9 ล้านคน ผู้คนส่วนใหญ่ในผู้คนจำนวนมากเหล่านี้กว่า 14.2 ล้านคน ตกอยู่ในสถานะการบังคับใช้แรงงาน ถูกใช้งานเพื่อหาแหล่งวัตถุดิบ และผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง งานด้านการผลิต และงานภายในประเทศ
บางบริษัทพึ่งพาสินค้าที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบในประเทศที่มีความรับผิดชอบทางธุรกิจต่ำ และมีช่องโหว่ทางกฏหมาย และปัจจัยอื่นๆ อาทิ ปัญหาความยากจน ปัญหาการแบ่งแยก และการขัดแย้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ ผู้จัดจำหน่ายต่างแสวงหาผลประโยชน์จากกระบวนการ และผู้คนเพื่อผลกำไรของตนเองโดยปราศจากการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานที่เหมาะสม
โครงการ Putting Slavery out of Business เปิดตัวขึ้นที่เมืองย่างกุ้ง ภายใต้การนำโดยนายนิค โกรโน ซีอีโอวอล์ค ฟรี, นายหลุยส์ ดีบักค่า (Luis CdeBaca) เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์, นายแอนดรูว์ ฟอร์เรสต์ (Andrew Forrest) ผู้ก่อตั้ง และประธานบริษัทฟอร์ทคิว เมทัลส์ กรุ๊ป (Fortescue Metals Group), ดร. ซูซู ธาตัน (Dr. Susu Thatun) ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้ามนุษย์และการอพยพ และนายเควิน บาลส์ (Kevin Bales) ผู้ก่อตั้ง ฟรี เดอะ สลาฟส์ (Free the Slaves)
กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดวีดีโอ และรูปภาพงานของวอล์ค ฟรี และผู้สนับสนุน (คลิปวีดีโอของ แอนดรูว์ ฟอร์เรสต์, หลุยส์ ดีบักค่า, เจสัน มาร์ซ, เควิน บาลส์ และดร. ซูซู ธาตัน)
คำปฏิญญายกเลิกการเป็นทาส:
เราปฏิญาณยกเลิกการเป็นทาสให้หมดสิ้นไป เราจะป้องกันการบังคับใช้แรงงานในการผลิตสินค้า เราปฏิญาณว่า การดำเนินกิจการของเราจะปราศจากการบังคับใช้แรงงาน และจะตรวจสอบห่ววงโซ่อุปทาน และการเตรียมการทั้งหมดอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อสร้างความมั่นใจ เราจะดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
โครงการ Putting Slavery out of Business มีบริษัทต่างๆเข้าร่วมลงนามดังต่อไปนี้:
แอปเปิล (Apple)
เอ็กซ์ซอน โมบิล (Exxon Mobil).
ไมโครซอฟต์ (Microsoft)
วอล-มาร์ท สโตร์ส (Wal-Mart Stores)
เชลล์ (Shell)
เจเนอรัล อิเล็กทริค (General Electric)
กูเกิล (Google)
ไอบีเอ็ม (IBM)
เชฟรอน (Chevron)
เบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ (Berkshire Hathaway)
เนสท์เล่ (Nestle)
เอที แอนด์ ที (AT&T)จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (Procter & Gamble)ไฟเซอร์ (Pfizer)
เอชเอสบีซี (HSBC)
โคคา-โคล่า (Coca-Cola)
โรช (Roche)
ซัมซุง (Samsung)
ออราเคิล (Oracle)
โนวาร์ทิส (Novartis)
เมิร์ค แอนด์ ซีโอ (Merck & Co.)โวดาโฟน (Vodafone)
แอนฮิวเซอร์-บูช อินเบฟ (Anheuser-Busch InBev)
โตโยต้า (Toyota)
www.walkfree.org
ทวิทเตอร์: @walkfree
ติดต่อสำหรับสื่อมวลชน:
รันย่า อัลคาดามานี (Ranya Alkadamani)
อีเมล: ranya@walkfree.org
โทร. +95-9419-87875 (พม่า) / +61-434-664-589 (ออสเตรเลีย)
[1] ประมาณการการบังคับใช้แรงงานจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศทั่วโลกปี 2555