ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์--12 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ตัวแทนจาก 46 ประเทศ จะเข้าร่วมการประชุมด้านการศึกษาระดับโลก
บิล คลินตัน (Bill Clinton), โทนี่ แบลร์ (Tony Blair), ผู้นำรัฐต่างๆ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา และกระทรวงการคลังจากประเทศต่างๆจะเข้าร่วมอภิปรายเรื่องภารกิจที่พันธมิตรภาครัฐบาล และเอกชนสามารถเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา เพื่อประโยชน์แก่เยาวชนทั่วโลก และพัฒนาแรงงานที่มีทักษะที่เหมาะสมได้ในอนาคต
พิธีเปิดการประชุมด้านการศึกษาและทักษะระดับโลก (Global Education and Skills Forum) จะจัดขึ้นที่ดูไบ ในวันที่ 14 — 17 มีนาคม 2556 การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากองค์การยูเนสโก (UNESCO), สภาธุรกิจเครือจักรภพ (Commonwealth Business Council), รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และองค์กรจีอีเอ็มเอส เอ็ดดูเคชั่น (GEMS Education) การประชุมจะหารือเกี่ยวกับวิธีเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และยั่งยืนอย่างแท้จริงทั้งในระดับโลก และระดับท้องถิ่น
การประชุมจะเน้นในเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความเป็นพันธมิตรของภาครัฐฯ และเอกชน รวมถึงแผนการกำกับดูแลที่รับรองเรื่องคุณภาพ ความสัมพันธ์ ความเสมอภาค และการเข้าถึงข้อกำหนดด้านการศึกษา
คริส เคิร์ก (Chris Kirk) โฆษกการประชุมทักษะและการศึกษาระดับโลก กล่าวว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะปฏิรูประบบการศึกษา โลกกำลังประสบกับสภาวะความต้องการคุณภาพทางการศึกษาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนทั้งในเอเชีย และแอฟริกา ประชากรโลกส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ เด็กๆนับล้านคนกำลังต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพ ในขณะที่รัฐบาล และภาคเอกชนยังคงโต้เถียงกันอยู่อย่างต่อเนื่อง”
“เด็ก และวัยรุ่นต้องการความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพทั่วโลกเพื่อตอบสนองความต้องการ รวมถึงเพิ่มความคาดหวังของครอบครัว และชุมชนต่างๆทั่วโลก การปฏิรูประบบการศึกษาในลักษณะนี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และองค์กรอื่นๆที่ไม่อยู่ในอำนาจรัฐบาลหันมาร่วมมือกัน”
ไอรีน่า โบโกว่า (Irina Bokova) ผู้อำนวยการใหญ่แห่งยูเนสโก กล่าวว่า “องค์กรต่างๆทั่วโลกต่างก็มีเรื่องราวต่างๆทั่วโลกที่องค์กรให้ความสนใจ แต่ความสนใจใหม่ๆที่องค์กรภาคเอกชนต่างมีความเข้าใจตรงกันคือ การที่ประชาชนได้รับการศึกษาที่ดี การศึกษาเป็นสิ่งที่องค์กรภาคเอกชนให้ความสำคัญ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติทางการตลาด ทำให้ผู้คนมีฐานะที่ดี และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ องค์กรภาคเอกชนเปิดกว้างสำหรับวิธีการร่วมมือในรูปแบบใหม่ๆ ความร่วมมือระยะยาวในรูปแบบใหม่ๆระหว่างภาคเอกชน และรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาระดับโลกที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้”
เด็กๆประมาณ 67 ล้านคนไม่ได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถม และเด็กอีก 72 คนขาดโอกาสที่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา
ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมของช่องว่างทางการศึกษา ได้แก่ อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น อาชีพในระดับชั้นนำต่างๆกลายเป็นอาชีพของชาวต่างชาติ นักเรียนที่มีความสามารถย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศเพื่อโอกาสในการทำงานที่ดีกว่า คุณภาพทางการศึกษาต่ำ ขาดทักษะตามความต้องการทางสภาวะเศรษฐกิจ
การประชุมครอบคลุมหัวข้อต่างๆในภาคการศึกษา อาทิ การประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาเฉพาะทาง รวมถึงความเสมอภาคทางการศึกษา
ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย อี ปิแอร์ คูรันซีซ่า (E. Pierre Nkurunziza) ประธานาธิบดีแห่งประเทศบุรุนดี, มาเรีย คีวานูก้า (H.E. Maria Kiwanuka) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ และแผนงานแห่งยูกันดา, โอลูเซกัน โอบาซันโจ (H.E. Olusegun Obasanjo) อดีตประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย, ไซริโน โอฟุโฮะ (H, H.E. Cirino Ofuho) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชน, ชิลันโด อาร์ลินโด (H.E. Chilundo Arlindo) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการประจำโมซัมบิค เซาธ์ซูดาน, รีม อัล ฮาชีมี่ (H.E. Reem Al Hashimy) ผู้ว่าการรัฐแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, นิค ฟูลเลอร์ (Nick Fuller) หัวหน้าฝ่ายการศึกษาประจำโอลิมปิก 2555 แห่งสหราชอาณาจักร, ซาชิ ธาเรอร์ (H.E. Shashi Tharoor) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศอินเดีย และลอร์ด แอนดริว อะโดนิส (Lord Andrew Adonis) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งสหราชอาณาจักร
http://www.facebook.com/GESForum
http://www.twitter.com/GemsEducation
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
ASDA'A Burson-Marsteller
มาร์กาเร็ต ฟลานากัน / รีเบ็คก้า เซจแมน
โทร. (+971)4-4507-600
อีเมล: margaret.flanagan@bm.com / rebecca.sageman@bm.com
แหล่งข่าว: ยูเนสโก, สภาธุรกิจเครือจักรภพ, รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ จีอีเอ็มเอส เอ็ดดูเคชั่น