การประชุมด้านการศึกษาและทักษะระดับโลก (GESF) จะจัดขึ้นทุกปีที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หลังเสร็จสิ้นการจัดงานครั้งปฐมฤกษ์ และจะเปรียบเสมือน “การประชุมดาวอสด้านการศึกษา”

ข่าวต่างประเทศ Monday March 18, 2013 13:35 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์--18 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ผู้นำจากทั่วโลกได้รับการเรียกร้องให้เข้าร่วมการประชุมในปี 2557 เพื่อจัดการกับวิกฤตครั้งยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 21 ซันนี่ วาร์คีย์ (Sunny Varkey) ผู้ก่อตั้งและประธานจีอีเอ็มเอส เอ็ดดูเคชั่น (GEMS Education) กล่าวในวันสุดท้ายของการประชุมด้านการศึกษาและทักษะระดับโลก (Global Education and Skills Forum: GESF) ครั้งปฐมฤกษ์ ซึ่งจัดขึ้นที่ดูไบและมีตัวแทน 500 คนจาก 50 ประเทศ ร่วมหารือถึงความต้องการระดับโลกในการพัฒนาการศึกษาว่า “ผลตอบรับที่ได้จากผู้เข้าร่วมและสนับสนุนการประชุมทำให้เราตัดสินใจว่า เราจะจัดการประชุม GESF เป็นประจำทุกปีที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเราจะทำให้การประชุมนี้เปรียบเสมือน “การประชุมดาวอสด้านการศึกษา” การศึกษาควรถูกพิจารณาให้เป็นวาระสำคัญที่สุดของโลก เนื่องจากการศึกษาสามารถบรรเทาปัญหาใหญ่ๆที่โลกต้องเผชิญได้ ผมจึงขอเรียกร้องให้ผู้นำประเทศ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำธุรกิจ และองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ มาร่วมการประชุมในปี 2557 เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการศึกษาเพื่อประโยชน์ของเด็กๆทั่วโลก” ดร.ฟารีด ซาคาเรีย (Dr. Fareed Zakaria) นักวิเคราะห์ประเด็นข่าวทั่วโลกจากซีเอ็นเอ็น ซึ่งมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และเป็นผู้ปราศรัยคนสำคัญของการประชุม กล่าวถึงการประชุมนี้ว่า “ผมคิดว่าการประชุมลักษณะนี้มีประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้การศึกษามีความทันสมัย ก้าวไกล และสร้างสรรค์เทียบเท่ากับภาคส่วนอื่นๆในสังคมในอนาคต” บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของการประชุมในปีนี้ว่า “คาดกันว่าภายในปี 2593 เด็กทั่วโลก 86% จะอาศัยอยู่ในประเทศซึ่งตอนนี้เป็นประเทศกำลังพัฒนา ลำพังรัฐบาลหรือความช่วยเหลือจากนานาชาติไม่สามารถทำให้เด็กๆเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งจำเป็นต่อการอยู่ร่วมในสังคมโลกอย่างเต็มภาคภูมิ โดยเฉพาะในกรณีของเด็กและสตรี” โทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวถึงการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการการศึกษาที่ดีขึ้นทั่วโลก ระหว่างการประชุม GESF ที่ดูไบว่า “อนาคตของการศึกษาขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ไม่มีเหตุผลที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบด้านการศึกษา ประเทศที่มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนกำลังประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษา” มาเรีย คีวานูก้า (H.E. Maria Kiwanuka) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง การวางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งยูกันดา กล่าวว่า “ภาคเอกชนสามารถประสานการโยกย้ายบุคลากรจากภาครัฐมายังภาคเอกชนได้ การประสานงานกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรวิชาการถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งสามฝ่ายต้องประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง” การประชุม GESF ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือขององค์การยูเนสโก (UNESCO), สภาธุรกิจเครือจักรภพ (Commonwealth Business Council), รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีอีเอ็มเอส เอ็ดดูเคชั่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อสรรหาวิธีปฏิรูประบบการศึกษาอย่างแท้จริง ยั่งยืน และยืดหยุ่น ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น วัตถุประสงค์หลักของการประชุมในครั้งนี้คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่มุ่งเน้นในเรื่องการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน เด็กๆประมาณ 67 ล้านคนไม่ได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถม และเด็กอีก 72 คนขาดโอกาสที่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา การประชุมนี้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆในภาคการศึกษา อาทิ การประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา อาชีวศึกษาและการศึกษาเฉพาะทาง รวมถึงความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย อี ปิแอร์ คูรันซีซ่า (E. Pierre Nkurunziza) ประธานาธิบดีแห่งประเทศบุรุนดี, มาเรีย คีวานูก้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง การวางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งยูกันดา, โอลูเซกัน โอบาซันโจ (H.E. Olusegun Obasanjo) อดีตประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย, ไซริโน โอฟุโฮะ (H, H.E. Cirino Ofuho) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชน, ชิลันโด อาร์ลินโด (H.E. Chilundo Arlindo) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการประจำโมซัมบิค ซูดานใต้, รีม อัล ฮาชีมี่ (H.E. Reem Al Hashimy) ผู้ว่าการรัฐแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, นิค ฟูลเลอร์ (Nick Fuller) หัวหน้าฝ่ายการศึกษาประจำโอลิมปิก 2555 แห่งสหราชอาณาจักร, ซาชิ ธาเรอร์ (H.E. Shashi Tharoor) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศอินเดีย และลอร์ด แอนดริว อะโดนิส (Lord Andrew Adonis) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งสหราชอาณาจักร เฟซบุ๊ก: http://www.facebook.com/GESForum ทวิตเตอร์: http://www.twitter.com/GemsEducation สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: มาร์กาเร็ต ฟลานากัน / รีเบ็คก้า เซจแมน ASDA'A Burson-Marsteller โทร. +971-4-4507-600 อีเมล: margaret.flanagan@bm.com / rebecca.sageman@bm.com แหล่งข่าว: จีอีเอ็มเอส เอ็ดดูเคชั่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ