Blue Peace for the Nile แนวทางใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามน้ำในแถบประเทศลุ่มน้ำไนล์

ข่าวต่างประเทศ Wednesday March 20, 2013 12:00 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

มุมไบ--20 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ รายงาน “สันติภาพแห่งลุ่มน้ำไนล์” (Blue Peace for the Nile) ได้นำเสนอแผนโครงสร้างทางการเมืองรูปแบบใหม่ เพื่อกอบกู้เอกภาพแห่งลุ่มน้ำไนล์กลับคืนมาจากสงครามรุนแรงระหว่างอียิปต์ และเอธิโอเปียที่เกิดจากความไม่ลงรอยกันในข้อตกลงกรอบการดำเนินการลุ่มน้ำไนล์ (Nile River Comprehensive Framework Agreement) รายงานดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยกลุ่ม Strategic Foresight Group ซึ่งเป็นคณะทำงานอิสระระดับนานาชาติในมุมไบ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ และผู้เชี่ยวชาญ 100 คนจากประเทศในเขตลุ่มน้ำไนล์ รายงาน “สันติภาพแห่งลุ่มน้ำไนล์” จะถูกนำมาเผยแพร่ในวันน้ำโลกซึ่งตรงกับสัปดาห์นี้ โดยจะมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในแถบลุ่มน้ำไนล์ทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ บุรุนดี รวันดา ดีอาร์คอนโก้ เคนย่า ทันซาเนีย ยูกันดา อีริเทรีย เอธิโอเปีย เซาท์ซูดาน ซูดาน และอียิปต์ รายงานดังกล่าวได้เสนอให้จัดการประชุมกลุ่มหัวหน้ารัฐบาล ที่สนับสนุนกลยุทธ์ด้านกฏหมาย รัฐสภา และการร่วมมือกันอย่างมีคุณภาพ (รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130320/601241 ) ประเทศในแถบลุ่มน้ำไนล์ต้องการงบประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์สำหรับการพัฒนาพลังงานน้ำ และการชลประทาน รวมถึงระบบน้ำประปา และงบประมาณอีกหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาด้านการศึกษา และสุขภาพ ในระยะเวลา 22 ปีที่ผ่านมา เขตพื้นที่ลุ่มน้ำไลน์เกิดอุทกภัย 140 ครั้ง และภัยแล้ง 70 ครั้ง พื้นที่ลุ่มน้ำไนล์มีความเสี่ยง 80% ที่จะเผชิญกับภัยแล้ง หรือสถานการณ์กึ่งภัยแล้งที่จะก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนักภายในปี 2593 ประเทศในแถบลุ่มน้ำไนล์ได้แบ่งแยกเขตแดนตามโครงสร้างทางกฏหมายการปกครองประเทศลุ่มน้ำไนล์ แม้จะมีภัยคุกคามร้ายแรงจากทะเลทรายที่แห้งแล้ง การขาดแคลนอาหาร วิกฤตการเงิน และปัญหาสุขภาพก็ตาม เอธิโอเปีย ยูกันดา เคนย่า ทันซาเนีย รวันดา และบุรุนดีได้ลงนามในข้อตกลงเขตแดนลุ่มน้ำไนล์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาในประวัติศาสตร์ และเสริมสร้างศักยภาพวิถีความเป็นไปแห่งลุ่มน้ำไนล์ อย่างไรก็ตาม รายนามประชากรที่เห็นด้วยกับข้อตกลงเขตแดนลุ่มน้ำไนล์มีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดในแถบลุ่มน้ำไนล์ และน้อยกว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่ในแถบลุ่มน้ำไลน์ อียิปต์ ซูดาน เซาธ์ซูดาน ดีอาร์คอนโก้ และอีริเทรีย ซึ่งไม่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลง ครอบคลุมพื้นที่ในแถบลุ่มน้ำไนล์กว่า 70% และมีประชากรเกินครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในแถบลุ่มน้ำไนล์ รายงานของ Strategic Foresight Group เสนอว่า อุปสรรคดังกล่าวสามารถคลี่คลายได้ ซันดีพ วอสเลการ์ (Sundeep Waslekar) ประธาน Strategic Foresight Group กล่าวว่า “เราต้องดำเนินการร่วมกับกระทรวงน้ำของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นผู้กำหนดเขตแดนลุ่มน้ำไนล์ในปัจจุบัน เพื่อเชื่อมโยงผู้นำรัฐบาลอย่างเป็นระบบ พวกเขามีความสามารถด้านการเมืองเพื่อการเจรจาแลกเปลี่ยนครั้งสำคัญ ในอดีต เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้นำแถวหน้ายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ก็มักจะช่วยบรรเทาวิกฤตลงได้” เขาระบุว่า การประชุมอย่างไม่เป็นทางการเรื่องการโอนอ่อนผ่อนปรนของผู้นำประเทศต่างๆอย่างเป็นกลางถือเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการร่วมมือทางการเมืองในการประชุมความร่วมมือปีแห่งน้ำสากลในปี 2556 สำหรับรายงานฉบับเต็ม และฉบับย่อ กรุณาติดต่อ: info@strategicforesight.com เว็บไซต์: http://www.strategicforesight.com ติดต่อ: อิลมัส ฟูเทอฮัลลี่ โทร. (+91)22-26318260 แหล่งข่าว: Strategic Foresight Group

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ