ลอนดอน--22 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ในช่วงเดือนแห่งโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งตรงกับเดือนก.ย. ของทุกปีนั้น จะมีการจัด Memory Walk ซึ่งเป็นการร่วมเดินรณรงค์ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม แต่การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันนี้ ระหว่างการประชุมของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ครั้งที่ 28 ณ กรุงไทเป การเดินรณรงค์ดังกล่าวสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 4,000 คน จาก 35 ประเทศ รวมถึงประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-Jeou) ของไต้หวันอีกด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลของไต้หวันเพิ่งประกาศเตรียมจัดทำแผนอัลไซเมอร์ระดับชาติ
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130422/610752-a )
(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130422/610752-b )
องค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) เปิดเผยว่า ในปี 2553 มีผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคจิตเสื่อมอื่นๆกว่า 36 ล้านคน โดยจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 7.7 ล้านคนในแต่ละปี หรือในทุกๆ 4 วินาที จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1 คนทั่วโลก โรคอัลไซเมอร์ส่งผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อครอบครัวผู้ป่วย และสังคม ซึ่งหากเราไม่รีบหาทางแก้ปัญหาแล้วโรคอัลไซเมอร์จะกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพ และเป็นภาระการดูแลของสังคมที่ใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 21 ในวันนี้ ผู้คนกว่า 3,000 คนมารวมตัวกันในกรุงไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม นอกจากนี้ ประธานาธิบดีหม่ายังได้ร่วมเดินรณรงค์และปราศรัยกับกลุ่มตัวแทน ตลอดจนประกาศประเด็นสำคัญๆที่น่าเป็นห่วง 7 ประเด็นในนโยบายสาธารณะซึ่งรวมถึง การศึกษา การรักษาที่ดียิ่งขึ้น และการให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วย
ตัวแทนส่วนใหญ่เตรียมเข้าร่วมการประชุมของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลครั้งที่ 28 ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยหัวข้อประชุมเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แนวทางปฏิบัติในการรักษาโรคจิตเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ นโยบายปัจจุบันของประเทศต่างๆทั่วโลก และการดำเนินงานของสมาคมอัลไซเมอร์ในประเทศเหล่านั้น เป็นต้น
“โรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อมอื่นๆมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้ป่วย และครอบครัวของพวกเขา ซึ่งเราจะต้องตระหนักถึงสิ่งต่างๆมากมายที่เราสามารถทำได้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา” นายมาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann) กรรมการผู้อำนวยการ ADI กล่าว “ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับโรคจิตเสื่อมจะช่วยให้ครอบครัวผู้ป่วยสามารถรับมือกับโรค และคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น” ในการประชุม จะมีการนำเสนอโครงการสนับสนุนดีๆมากมาย รวมถึงการวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา แนวทางการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจิตเสื่อม และประเทศที่ได้ดำเนินการใช้แผนอัลไซเมอร์ระดับชาติ “เรากระตุ้นให้รัฐบาลของทุกประเทศสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และให้ตระหนักถึงโรคจิตเสื่อมในฐานะปัญหาด้านสุขภาพระดับชาติ และเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรก” ดร. เจค็อบ รอย คิวเรียโคส (Dr. Jacob Roy Kuriakose) ประธาน ADI กล่าว
ขณะนี้ ADI กำลังดำเนินการจัดประชุมร่วมกับสมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งไต้หวัน (Taiwan Alzheimer’s Disease Association: TADA)
เกี่ยวกับ ADI
สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer’s Disease International) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกซึ่งประกอบด้วยสมาคมอัลไซเมอร์ 79 แห่งทั่วโลก โดยสมาคมอัลไซเมอร์ในประเทศต่างๆให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย ADI ยังได้ประสานงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2539 และองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) ตั้งแต่ปี 2555 โดยวิสัยทัศน์ของ ADI คือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และครอบครัวของผู้ป่วยทั่วโลก
เกี่ยวกับ TADA
สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งไต้หวัน (Taiwan Alzheimer’s Disease Association: TADA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 และเข้าเป็นสมาชิกของ ADI อย่างเต็มตัวในปี 2548 โดยมีวิสัยทัศน์คือ การสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านั้น รวมถึงการสร้างโลกที่ปราศจากโรคจิตเสื่อม
ติดต่อ
ต่างประเทศ: มาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann)
กรรมการผู้อำนวยการ ADI
อีเมล: m.wortmann@alz.co.uk
มือถือ: +31-653-131-811
ไต้หวัน: ซิน-ผิง หง (Hsin-Ping Hung) TADA
อีเมล: hsinpinghung@gmail.com
แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล