โรงเรียนธุรกิจระดับโลก IMD เปิดเผยผลการจัดอันดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศทั่วโลกประจำปีที่ 25

ข่าวต่างประเทศ Thursday May 30, 2013 08:26 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์--30 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ IMD โรงเรียนธุรกิจชั้นนำของโลกในสวิตเซอร์แลนด์ได้เปิดเผยการจัดอันดับศักยภาพในการแข่งขันของ 60 ประเทศทั่วโลกประจำปีที่ 25 ในปี 2556 โดยประเทศ 10 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ 1.สหรัฐอเมริกา 2. สวิตเซอร์แลนด์ 3. ฮ่องกง 4. สวีเดน 5. สิงคโปร์ 6. นอร์เวย์ 7. แคนาดา 8. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 9. เยอรมนี และ 10. กาตาร์ ดูผลการจัดอันดับทั้งหมดได้ที่: http://www.worldcompetitiveness.com/Press รหัสผ่าน (แยกตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่): wcy25IMD ไฮไลท์ของการจัดอันดับปี 2556 สหรัฐอเมริกากลับมาทวงอันดับที่ 1 อีกครั้งในปีนี้ แรงหนุนจากภาคการเงินที่ดีดตัวดีขึ้น รวมทั้งการนวัตกรรมต่างๆทางด้านเทคโนโลยี และบริษัทหลายแห่งประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ส่วนจีน (อันดับที่ 21) และญี่ปุ่น (อันดับที่ 24) ต่างมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น สำหรับญี่ปุ่นนั้น ดูเหมือนว่า นโยบายอาเบะโนมิคส์กำลังเริ่มส่งผลกระทบในด้านบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดในยุโรปประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ (อันดับที่ 2) สวีเดน (อันดับที่ 4) และเยอรมนี (อันดับที่ 9) ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตเพื่อการส่งออก ความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง (SMEs) ที่แข็งแกร่ง ตลอดจนความมีวินัยทางการคลังของประเทศ ส่วนประเทศอื่นๆในภูมิภาคยุโรป ล้วนได้รับผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวช้าลง และก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการอื่นๆในช่วงเวลาที่เหมาะสม กลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) อยู่ในอันดับที่หลากหลาย โดยจีน (อันดับที่ 21) และรัสเซีย (อันดับที่ 42) ขยับอันดับสูงขึ้น ขณะที่อินเดีย (อันดับที่ 40) บราซิล (อันดับที่ 51) และแอฟริกาใต้ (อันดับที่ 53) ร่วงต่ำลง เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้ยังคงต้องพึ่งพาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เป็นไปอย่างล่าช้าอยู่มาก สำหรับภูมิภาคละตินอเมริกานั้น เม็กซิโก (อันดับที่ 32) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังจำเป็นต้องจับตาดูเศรษฐกิจต่อไปหลังจากการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง “ขณะที่ยูโรโซนยังคงอยู่ในภาวะชะงักงันนั้น สหรัฐอเมริกาสามารถพลิกกลับมาทวงตำแหน่งแชมป์คืนอย่างยิ่งใหญ่ และข่าวดีกว่านั้นก็คือ ญี่ปุ่นได้กลับมาอภิปรายเรื่องการใช้นโยบายรัดเข็มขัดอีกครั้ง” ศาสตราจารย์สเตฟาน กาเรลลิ ผู้อำนวยการ IMD World Competitiveness Center กล่าว “แม้ว่าการปฏิรูปโครงสร้างเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ก็ต้องคำนึงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ ผลกระทบที่ร้ายแรงของมาตรการรัดเข็มขัดมักจะสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน และท้ายที่สุด ประเทศต่างๆจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่ง” “เป็นความจริงที่ศักยภาพการแข่งขันของยุโรปกำลังลดลง แต่สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน เยอรมนี และนอร์เวย์กำลังฉายแววแห่งความสดใส และแม้ว่าผลการจัดอันดับของละตินอเมริกาจะน่าผิดหวัง แต่ก็ยังมีกลุ่มบริษัทระดับโลกอีกมากมายอยู่ในภูมิภาคนี้ ด้านบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ต่างมียุทธศาสตร์ในศักยภาพการแข่งขันที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศ BRICS ก็ยังคงเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยโอกาส” กาเรลลิเสริม “สุดท้ายนี้ กฎทองคำของการสร้างศักยภาพในการแข่งขันเป็นง่ายๆ คือ การผลิต ความหลากหลาย การส่งออก การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา การสนับสนุน SMEs การมีวินัยทางการคลัง และที่สำคัญที่สุดก็คือ การรักษาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ” IMD World Competitiveness Center เป็นส่วนหนึ่งของ IMD IMD คือโรงเรียนธุรกิจชั้นนำ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้นำทั่วโลกผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูง ทำไมต้องเป็น IMD? เพราะเราทุ่มเทเต็มที่ให้กับการพัฒนาผู้บริหารในโลกของความเป็นจริง เรานำเสนอความเป็นเลิศแบบสวิสพร้อมวิสัยทัศน์ระดับโลก และเรามีวิธีการสอนที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย และมีประสิทธิภาพ ( http://www.imd.org ) ทั้งนี้ World Competitiveness Yearbook เป็นรายงานชั้นนำเกี่ยวกับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศต่างๆซึ่งตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2532 ติดต่อ แมทธิว โมร์เตลลาโร โทร. +41-21-618-03-52 อีเมล: press.room@imd.org แหล่งข่าว: IMD

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ