ชิคาโก้--7 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
-- ผู้ป่วยฐานะยากจนยังคงต้องดิ้นรนหาทางเข้ารับการรักษาโรคมากขึ้น แม้ว่าบริการนี้จะไม่คิดค่าใช้จ่ายก็ตาม
ผลการศึกษาเปิดเผยว่า เมื่อมีการปฏิรูประบบสาธารณสุขในประเทศไทย โรงพยาบาลต่างๆของรัฐจึงได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้บริการแก่ผู้ยากไร้ แต่ผู้ที่มีฐานะยากจนยังคงต้องดิ้นรนหาทางเข้ารับการรักษาโรค ขณะทที่อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลง แม้ว่าคนฐานะยากจนจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเลยก็ตาม
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20100914/DC63872LOGO)
การศึกษาในหัวข้อ “ความเสมอภาคครั้งใหญ่: การเข้าถึงบริการสาธารณสุข และอัตราการเสียชีวิตของทารกในประเทศไทย” ซึ่งได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข พบว่า การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้านบริการสุขภาพนั้น มีผลกระทบน้อยกว่าการเพิ่มเงินสนับสนุนให้กับทางโรงพยาบาล ผลการศึกษาในครั้งนี้ ที่กำลังจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร American Economics Journal: Applied Economics ยังชี้เพิ่มเติมว่า รัฐบาลควรปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยอาศัยการจ่ายเงินชดเชยผู้ให้บริการสุขภาพเป็นปัจจัยหลัก เพื่อก่อให้เกิดการบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
นายเนธาเนียล เฮ็นเดร็น นักวิจัยหลังปริญญาเอกที่สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในคณะนักวิจัยร่วมกับนายโจนาธาน กรูเบอร์ และนายโรเบิร์ต เอ็ม ทาวน์เซ็น ซึ่งทั้งคู่นั้นเป็นศาตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตต์ (MIT) กล่าวว่า “เมื่อรัฐบาลไทยได้เข้ามาจัดหาทรัพยากร เพื่อให้การรักษาผู้ยากไร้ตามโรงพยาบาลต่างๆอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยฐานะยากจนก็จะได้รับบริการรักษาโรคอย่างทั่วถึง ซึ่งการบริการสุขภาพที่ครอบคลุม และความเชื่อมั่นจากประชาชนที่เพิ่มขึ้นนั้น ได้ส่งผลโดยตรงต่ออัตราการตายของทารก จึงสรุปได้ว่า การจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ให้บริการสุขภาพนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถพัฒนาผลลัพธ์ด้านสุขภาพ และการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในประเทศที่กำลังพัฒนา”
การปฏิรูประบบสาธารณสุขในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี 2544 โดยมีชื่อโครงการว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิรูปบริการด้านสุขภาพครั้งใหญ่ และทะเยอทะยานมากที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันในด้านภูมิศาสตร์ที่มีมานาน ในเรื่องบริการสาธารณสุข ซึ่งทางรัฐบาลได้ดำเนินโครงการโดยอัดเม็ดเงินสนับสนุนโรงพยาบาลต่างๆ ที่ให้บริการผู้มีฐานะยากไร้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เช่น จาก 250 บาท (ประมาณ 6 ดอลลาร์) ต่อคนต่อปี เป็น 1,200 บาท (ประมาณ 35 ดอลลาร์) อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายร่วมสำหรับผู้ป่วยเหลือเพียงคนละ 30 บาท หรือประมาณ 35 เซนต์ การปฏิรูปดังกล่าวจึงส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสถานบริการสุขภาพต่างๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงินของตนเอง และยังกำจัดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยอีกด้วย
การปฏิรูประบบสาธารณสุขทำให้ผู้ที่ไม่เคยมีประกันสุขภาพ หันมาใช้บริการรักษาโรคกันมากขึ้นอย่างน่าพอใจ แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ผู้ที่เคยจัดอยู่ในรายชื่อของโครงการสวัสดิการรักษาพยาบาล เช่น มารดาและทารก ก่อนหน้าที่นโยบาย 30 บาทจะเกิดขึ้น กลุ่มจังหวัดที่ยากจนต่างมีอัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ในระดับที่สูงกว่า แต่หลังจากนโยบายนี้ได้เข้ามามีบทบาท อัตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นอัตราในจังหวัดที่ร่ำรวยหรือยากจน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน การศึกษาครั้งนี้มีสิ่งที่ยืนยันได้ว่า การปฏิรูปด้านสุขภาพนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของทารกได้มากถึง 30% ในจังหวัดที่ยากจน
คณะผู้จัดทำการศึกษาระบุว่า “โดยแท้จริงแล้ว ข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของทารกที่ได้จากการสำรวจเมื่อปี 2543-2545 นั้น สอดคล้องกับความจริงที่ว่า สาเหตุหลักๆของการเสียชีวิตของทารกทั่วโลกนั้น เกิดจากโรคที่รักษาได้ เช่น อาการขาดน้ำ ที่เกี่ยวข้องกับ อาการท้องร่วง ปวดบวม และการติดเชื้อ”
คณะนักวิจัยได้อาศัยข้อมูลในการศึกษาจากผลสำรวจข้อมูลด้านสาธารณสุข และสวัสดิการสังคมของไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ทั่ว 76 จังหวัดในประเทศ และยังใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัด นอกจากนี้ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติไทยยังมีส่วนสำคัญ ในการให้สิทธิ์คณะวิจัย เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลสำคัญๆเหล่านี้
นายโจนาธาน กรูเบอร์ (Jonathan Gruber) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตต์ (MIT) ได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ปี 2535 เขายังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการดูแลโครงการบริการสาธารณสุข ที่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ ที่เขาทำงานในฐานะผู้ช่วยนักวิจัย
นายเนธาเนียล เฮ็นเดร็น (Nathaniel Hendren) เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกด้านสุขภาพและผลของอายุ ที่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ เขากำลังจะได้ร่วมงานที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในเดือน ก.ค. ปี 2556
นายโรเบิร์ต เอ็ม ทาวเซ็น ศาสตราจารย์ระดับ Elizabeth and James Killian ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตต์ (MIT) และเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ที่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UC-UTCC) เมื่อปี 2547 อีกด้วย ซึ่งทางศูนย์วิจัยนี้ได้อำนวยความสะดวกในการทำวิจัย และได้ให้ความช่วยเหลือในการเสาะหาและวิเคราะห์ข้อมูลทุตยภูมิ เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และรัฐศาสตร์