สนธิสัญญาลิสบอนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการล็อบบี้อียู

ข่าวต่างประเทศ Monday July 1, 2013 16:02 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

บรัสเซลส์ เบอร์ลิน และมิวนิค--1 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ การเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความสามารถเชิงกระบวนการ สนธิสัญญาลิสบอนทำให้เงื่อนไขพื้นฐานอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการสื่อสารระหว่างภาคการเมืองและธุรกิจเปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ ขณะนี้โครงสร้างการตัดสินใจในอียูและประเทศสมาชิกมีความยุ่งยากมากขึ้นแม้แต่กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ในทางปฏิบัตินั้น บริษัทต่างๆไม่ได้ขาดความสามารถในด้านเนื้อหา เช่น ข้อโต้แย้งที่ดีสำหรับเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับบริษัท แต่บริษัทจำเป็นต้องมีความสามารถเชิงกระบวนการมากขึ้น เช่น มีความรู้รอบด้านเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดจนโอกาสที่ดีในการมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว ดร.เคลเมนส์ จูส (Dr. Klemens Joos) ซีอีโอบริษัท EUTOP International GmbH แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “สนธิสัญญาลิสบอนต้องการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ อันที่จริงแล้วเนื้อหาและข้อโต้แย้งมีความสำคัญ แต่ก็ต้องสื่อสารให้ถูกคน ถูกที่ และถูกเวลาด้วย ซึ่งสิ่งนี้ทำได้ยากขึ้นเพราะกระบวนการมีความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนั้นการตัดสินใจของอียูและประเทศสมาชิกยังมีหลายระดับเกินไป ดังนั้นความสามารถเชิงกระบวนการจึงมีความสำคัญต่อการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือมากกว่าความสามารถเชิงเนื้อหา หากปราศจากความสามารถเชิงกระบวนการแล้ว การเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้” ในทางปฏิบัตินั้น สนธิสัญญาลิสบอนส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจในอียูเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่อดีตการตัดสินใจของสภายุโรปต้องใช้การลงมติแบบเป็นเอกฉันท์ แต่ตอนนี้สนธิสัญญาลิสบอนทำให้มีการใช้หลักเสียงข้างมากในหลายๆเรื่อง นอกจากนี้ ตั้งแต่อดีตหากบริษัทใดทำให้ตัวแทนของประเทศตนเองที่เป็นสมาชิกในสภายุโรปเชื่อในมูลเหตุของบริษัทได้แล้ว จะไม่มีการตัดสินที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทอย่างเด็ดขาด แต่หลังมีสนธิสัญญาลิสบอนซึ่งนำหลักเสียงข้างมากมาใช้ การออกเสียงเพียงหนึ่งหรือไม่กี่เสียงของประเทศสมาชิกแทบไม่มีความหมายหากไม่สามารถรวบรวมเสียงให้ถึงขั้นต่ำเพื่อยับยั้งการตัดสินใจของกลุ่มที่มีเสียงข้างมาก (blocking minority) การปรับปรุงกระบวนการร่วมกันตัดสินใจให้เป็นขั้นตอนปกติตามกฎหมายและเป็นเครื่องมือทางกฎหมายของอียูให้ผลลัพธ์เหมือนๆกัน การที่สภายุโรปเข้าไปมีส่วนในมาตรการทางกฎหมายทั้งหมดของอียูอันเกี่ยวเนื่องกับบริษัทต่างๆนั้น ทำให้การรักษาผลประโยชน์ของประเทศตกอยู่ในภาวะล้มเหลวอย่างแท้จริง และที่แย่ไปกว่านั้นคือ ข้อเท็จจริงที่ว่าการทำงานของรัฐสภาไม่สอดคล้องกับฝ่ายบริหาร ไม่เหมือนกับในระดับประเทศสมาชิก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ต้องมีการร่วมมือกันของกลุ่มต่างๆและประเทศสมาชิกต่างๆ โดยไม่มีการแบ่งฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล หลักการว่าด้วยการพัฒนาเชิงกระบวนการในยุโรปและความสำคัญของความสามารถเชิงกระบวนการในการเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์นั้น ถูกคิดค้นโดยดร.เคลเมนส์ จูส เมื่อช่วงปลายทศวรรษ 1980 และเขาได้นำมาปฏิบัติจริงในปีค.ศ. 1990 ผ่านการก่อตั้งบริษัท EUTOP International GmbH ทั้งนี้ ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขาซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 1997 (“Representing the Interests of German companies with the Institutions of the European Union” คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยลุดวิก แม็กซิมิเลียน แห่งมิวนิค) เขาได้วางรากฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับบริการของ EUTOP ซึ่งในตอนนั้นอียูมีสมาชิกเพียง 15 ประเทศ และหลักการดังกล่าวยังคงถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในสภายุโรป ขณะที่กระบวนการร่วมกันตัดสินใจถูกนำไปใช้ในบทบัญญัติจำนวนหนึ่ง ในหนังสือ “Lobbying in the New Europe - Successful Representation of Interests After the Treaty of Lisbon” ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2010 ดร.จูสได้กล่าวลงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการนี้ โดยกล่าวถึงการปฏิรูปมากมายที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาลิสบอน ทฤษฎีที่พัฒนาโดยดร.จูส ว่าด้วยความสามารถเชิงกระบวนการ ได้ถูกนำไปใช้มากขึ้นโดยนักเขียนหลายท่าน เช่น แดเนียล กูเกน (Daniel Gueguen) ซึ่งระบุความแตกต่างระหว่าง “องค์ประกอบทางเทคนิค” (ความรู้ในเนื้อหาและข้อโต้แย้งสำคัญๆ) กับ “องค์ประกอบเชิงกระบวนการ” (ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการตัดสินใจ) ในหนังสือเล่มล่าสุดของเขาชื่อ “Reshaping European Lobbying” พร้อมกับระบุว่าองค์ประกอบทั้งสองมีความสำคัญพอๆกันสำหรับการดำเนินกลยุทธ์การเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ให้ประสบความสำเร็จ (สนับสนุนด้วยตัวอย่างเกี่ยวกับกระบวนการหลายตัวอย่าง) แนวคิดของดร.จูส ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาบริการของ EUTOP ได้รับการรับรองด้วยเรื่องราวความสำเร็จของบริษัทที่ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี สื่อมวลชนติดต่อ: บรูโน่ ไซเฟิร์ต (Bruno Seifert) โทร: +49-6133-5090880 แฟกซ์: +49-6133-5099098 มือถือ: +49-171-33-22-434 แหล่งข่าว: EUTOP international GmbH
แท็ก อียู  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ